สถานธนานุเคราะห์ในสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ 31 สาขา เริ่มคึกคัก ประชาชนที่เดือดร้อนด้านการเงินหันพึ่ง นำสิ่งของมาจำนำ เพื่อใช้จ่ายช่วงเปิดเทอมเฉลี่ยวันละ 10 ล้านบาท
นายกฤษฎา จุลการ ผู้อำนวยการสำนักงานธนานุเคราะห์ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวเนื่องในโอกาสครบรอบวันก่อตั้งสำนักงานสถานธนานุเคราะห์ 50 ปี วันนี้ (29 เม.ย.) ว่า วันนี้นอกจากการทำบุญในช่วงเช้าแล้ว สถานธนานุเคราะห์หรือโรงรับจำนำในสังกัดของกระทรวงฯ ซึ่งตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ ปริมณฑล และต่างจังหวัดรวม 31 สาขา ได้จัดกิจกรรมมอบของที่ระลึกเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น กระเป๋า แก้วน้ำ ให้แก่ผู้มาใช้บริการทุกสาขา ซึ่งคาดว่าจะมีจำนวนไม่ต่ำกว่า 13,000 คน ขณะเดียวกันยังจัดประมูลของหลุดจำนำหมุนเวียนกันไปในแต่ละสาขา จากปกติจะจัดประมูลที่สำนักงานใหญ่บริเวณกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
ทั้งนี้ จากการดำเนินการมา 50 ปี นับตั้งแต่ปี 2498 รับเงินเริ่มต้นจากกระทรวงการคลัง 30.99 ล้านบาท หลังจากนั้นส่งเงินคืนคลังร้อยละ 35 ต่อปี เป็นเงินประมาณ 459.88 ล้านบาทแล้ว
นายกฤษฎา กล่าวต่อว่า สำหรับการใช้บริการของประชาชนในช่วงใกล้เปิดภาคเรียนนี้ เริ่มมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ เฉลี่ยต่อวันมีผู้ใช้บริการวงเงินประมาณ 10 ล้านบาททุกสาขา จากเงินสำรองที่เตรียมไว้ 400 ล้านบาท เนื่องจากปัจจุบันบางส่วนหันไปพึ่งสถาบันการเงินแบบด่วน สำหรับสิ่งของที่ประชาชนนำมาจำนำมากที่สุด คือ ทองคำ ถึงร้อยละ 95 โดยเฉพาะวันนี้บาทละประมาณ 8,550 บาท สามารถจำนำได้เป็นเงินประมาณ 6,600 บาท นอกจากนั้นเป็นของเบ็ดเตล็ด เช่น วิทยุ กีตาร์ นาฬิกา ที่มีน้อยที่สุด คือ ตู้เย็น ตลอดทั้งปีนี้มาจำนำเพียง 32 ตู้ เนื่องจากราคาได้ไม่มาก โดยกลุ่มผู้มาใช้บริการมากที่สุดร้อยละ 85 เป็นอาชีพรับจ้าง ตามด้วยแม่บ้าน ข้าราชการ และพนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 5-6
ส่วนในปี 2547 ที่ผ่านมามีผู้ใช้บริการตลอดทั้งปีรวมกว่า 800,000 คน มูลค่ากว่า 5,000 ล้านบาท และคาดว่าในปีนี้คนมาใช้บริการจะถึง 1 ล้านคน โดยขณะนี้ตัวเลขอยู่ที่ประมาณ 360,000 คน
“เดือนเมษายนปีที่แล้ว มีผู้ใช้บริการ 71,144 คน กว่า 605 ล้านบาท เดือนพฤษภาคม 72,383 คน 606 ล้านบาท และเดือนมิถุนายน 68,000 คน 570 ล้านบาท ของเราดูแลประชาชนได้มาก ที่สำคัญให้โอกาสเมื่อครบ 4 เดือน กับ 30 วันแล้วถ้าเกิดลืม และไม่มาถ่าย จะให้โอกาส ก่อนขายทอดตลาด สามารถมาเรียกซื้อคืนกลับไปได้ แต่ถ้าเป็นเอกชน 1 เดือนยึดเลย และของเราถ้าราคาทองคำถึง 8,550 บาท แต่ตอนจำนำราคาไม่ถึงนั้น เช่น 7,000 บาท ก็ยังขอเพิ่มได้ และดอกเบี้ยก็น้อยมาก วงเงินต่ำกว่า 3,000 บาท คิดอัตราดอกเบี้ย 75 สตางค์” นายกฤษฎา กล่าว
นายกฤษฎา จุลการ ผู้อำนวยการสำนักงานธนานุเคราะห์ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวเนื่องในโอกาสครบรอบวันก่อตั้งสำนักงานสถานธนานุเคราะห์ 50 ปี วันนี้ (29 เม.ย.) ว่า วันนี้นอกจากการทำบุญในช่วงเช้าแล้ว สถานธนานุเคราะห์หรือโรงรับจำนำในสังกัดของกระทรวงฯ ซึ่งตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ ปริมณฑล และต่างจังหวัดรวม 31 สาขา ได้จัดกิจกรรมมอบของที่ระลึกเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น กระเป๋า แก้วน้ำ ให้แก่ผู้มาใช้บริการทุกสาขา ซึ่งคาดว่าจะมีจำนวนไม่ต่ำกว่า 13,000 คน ขณะเดียวกันยังจัดประมูลของหลุดจำนำหมุนเวียนกันไปในแต่ละสาขา จากปกติจะจัดประมูลที่สำนักงานใหญ่บริเวณกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
ทั้งนี้ จากการดำเนินการมา 50 ปี นับตั้งแต่ปี 2498 รับเงินเริ่มต้นจากกระทรวงการคลัง 30.99 ล้านบาท หลังจากนั้นส่งเงินคืนคลังร้อยละ 35 ต่อปี เป็นเงินประมาณ 459.88 ล้านบาทแล้ว
นายกฤษฎา กล่าวต่อว่า สำหรับการใช้บริการของประชาชนในช่วงใกล้เปิดภาคเรียนนี้ เริ่มมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ เฉลี่ยต่อวันมีผู้ใช้บริการวงเงินประมาณ 10 ล้านบาททุกสาขา จากเงินสำรองที่เตรียมไว้ 400 ล้านบาท เนื่องจากปัจจุบันบางส่วนหันไปพึ่งสถาบันการเงินแบบด่วน สำหรับสิ่งของที่ประชาชนนำมาจำนำมากที่สุด คือ ทองคำ ถึงร้อยละ 95 โดยเฉพาะวันนี้บาทละประมาณ 8,550 บาท สามารถจำนำได้เป็นเงินประมาณ 6,600 บาท นอกจากนั้นเป็นของเบ็ดเตล็ด เช่น วิทยุ กีตาร์ นาฬิกา ที่มีน้อยที่สุด คือ ตู้เย็น ตลอดทั้งปีนี้มาจำนำเพียง 32 ตู้ เนื่องจากราคาได้ไม่มาก โดยกลุ่มผู้มาใช้บริการมากที่สุดร้อยละ 85 เป็นอาชีพรับจ้าง ตามด้วยแม่บ้าน ข้าราชการ และพนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 5-6
ส่วนในปี 2547 ที่ผ่านมามีผู้ใช้บริการตลอดทั้งปีรวมกว่า 800,000 คน มูลค่ากว่า 5,000 ล้านบาท และคาดว่าในปีนี้คนมาใช้บริการจะถึง 1 ล้านคน โดยขณะนี้ตัวเลขอยู่ที่ประมาณ 360,000 คน
“เดือนเมษายนปีที่แล้ว มีผู้ใช้บริการ 71,144 คน กว่า 605 ล้านบาท เดือนพฤษภาคม 72,383 คน 606 ล้านบาท และเดือนมิถุนายน 68,000 คน 570 ล้านบาท ของเราดูแลประชาชนได้มาก ที่สำคัญให้โอกาสเมื่อครบ 4 เดือน กับ 30 วันแล้วถ้าเกิดลืม และไม่มาถ่าย จะให้โอกาส ก่อนขายทอดตลาด สามารถมาเรียกซื้อคืนกลับไปได้ แต่ถ้าเป็นเอกชน 1 เดือนยึดเลย และของเราถ้าราคาทองคำถึง 8,550 บาท แต่ตอนจำนำราคาไม่ถึงนั้น เช่น 7,000 บาท ก็ยังขอเพิ่มได้ และดอกเบี้ยก็น้อยมาก วงเงินต่ำกว่า 3,000 บาท คิดอัตราดอกเบี้ย 75 สตางค์” นายกฤษฎา กล่าว