อุเทนถวายได้ข้อสรุป วิทยาเขตใหม่ให้ตั้งที่ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ หลังคณะกรรมการฯ ตระเวณดูพื้นที่อื่นๆ ระบุในบริเวณใกล้เคียงมีสถาบันการศึกษาตั้งอยู่และเดินทางสะดวกไม่ไกลจากถนนมากนัก แต่อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงได้หากมีพื้นที่ที่เหมาะสมกว่า ส่วนการย้ายนักศึกษาจะทยอยย้ายหรือไปคราวเดียวเมื่อสถานที่ใหม่พร้อม
ดร.ระวัง เนตรโพธิ์แก้วที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย เปิดเผยถึงความคืบหน้าในการดำเนินการจัดหาพื้นที่เพื่อพัฒนาก่อสร้างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลภาคตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย แทนพื้นที่ปัจจุบันย่านปทุมวัน ภายหลังการประชุมคณะกรรมการฯ เมื่อวันที่ 26 เม.ย.ซึ่งประกอบด้วย ตัวแทนจากมหาวิทยาลัยเทคโลยีราชมงคล คณาจารย์วิทยาเขตอุเทนถวาย ตัวแทนศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบันว่า จากที่คณะกรรมการฯ ได้เดินทางไปดูพื้นที่ใน อ.บ่อทอง อ.บางละมุง จ.ชลบุรี และอ.บางพลี จ.สมุทรปราการ ที่ประชุมเห็นว่าพื้นที่ ต.บางปลา อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ จำนวน 400 ไร่ ซึ่งเป็นพื้นที่ของกรมการบินพลเรือนและเป็นที่ราชพัสดุ มีความเหมาะสมในการก่อสร้างวิทยาเขตอุเทนถวายแห่งใหม่ เนื่องจากบริเวณใกล้เคียงพื้นที่ดังกล่าว มีสถาบันการศึกษาตั้งอยู่หลายแห่งด้วยกัน โดยพื้นที่ตรงข้ามเป็นที่ตั้งมหาวิทยาลัยหัวเฉียว ส่วนพื้นที่ด้านที่ติดกับถนนบางนา-ตราด เป็นพื้นที่ก่อสร้างมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
นอกจากนี้ยังมีความสะดวกในเรื่องการเดินทาง โดยระยะทางจาก ถ.เทพารักษ์เข้าไปยังพื้นที่ดังกล่าวเพียง 7 กิโลเมตร และห่างจาก ถ.บางนา-ตราด เพียง 9 กิโลเมตร รวมถึงอยู่ห่างจากสนามบินสุวรรณภูมิเพียง 11 กิโลเมตรเท่านั้น ขณะที่พื้นที่ใน อ.บางละมุง จ.ชลบุรี จำนวน 160 ไร่ เป็นพื้นที่ค่อนข้างจำกัดไม่เพียงพอต่อการพัฒนาเป็นมหาวิทยาลัยภายในอนาคต ส่วนพื้นที่ อ.บ่อทอง จ.ชลบุรี จำนวน 666 ไร่ ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตรกรรม ไม่เหมาะสำหรับการจัดตั้งวิทยาเขตอุเทนถวาย ซึ่งจัดการเรียนการสอนด้านสถาปัตยกรรมและการวางผังเมือง
ดร.ระวัง กล่าวต่อไปอีกว่า คณะกรรมการฯ จะต้องทำแผนพัฒนามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออกฯ เสนอต่อ รัฐมนตรีว่าการและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อของบประมาณผูกพันในการดำเนินการเรื่องดังกล่าว ซึ่งในระหว่างการเสนอของบประมาณอยู่นั้น หากมีพื้นที่อื่นที่มีความเหมาะสมมากกว่า คณะกรรมการฯ ก็อาจจะเปลี่ยนแปลงไปใช้พื้นที่อื่นได้ เบื้องต้น ได้มีการประมาณการว่าจะใช้งบฯในการก่อสร้างวิทยาเขตฯ แห่งใหม่ประมาณ 4,300 ล้านบาท ในระยะเวลา 5 ปี ทั้งนี้ สำหรับปีการศึกษา 2549 วิทยาเขตอุเทนถวายยังคงเปิดรับนักศึกษาใหม่ตามแผนปกติ โดยให้เรียนอยู่ในพื้นที่เดิมก่อน
ด้านนายสุเมธ แย้มนุ่น รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา กล่าวว่า สำหรับการย้ายวิทยาเขตอุเทนถวายไปยังวิทยาเขตแห่งใหม่นั้น ต้องเป็นไปตามสภาพข้อเท็จจริง โดยขณะนี้ให้นักศึกษาเรียนอยู่ในที่เดิมก่อน จนกว่าสถานที่ใหม่จะมีความพร้อม ซึ่งอาจจะทยอยย้ายไปทีละส่วนหรือรอจนอาคารสถานที่พร้อมทั้งหมดแล้วย้ายไปในคราวเดียวเลยก็เป็นไปได้ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา(สกอ.) จะเร่งประสานกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพื่อขอผ่อนปรนให้อุเทนถวายใช้พื้นที่เดิมไปก่อนในระหว่างเตรียมการวิทยาเขตแห่งใหม่จนกว่าจะพร้อม
ดร.ระวัง เนตรโพธิ์แก้วที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย เปิดเผยถึงความคืบหน้าในการดำเนินการจัดหาพื้นที่เพื่อพัฒนาก่อสร้างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลภาคตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย แทนพื้นที่ปัจจุบันย่านปทุมวัน ภายหลังการประชุมคณะกรรมการฯ เมื่อวันที่ 26 เม.ย.ซึ่งประกอบด้วย ตัวแทนจากมหาวิทยาลัยเทคโลยีราชมงคล คณาจารย์วิทยาเขตอุเทนถวาย ตัวแทนศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบันว่า จากที่คณะกรรมการฯ ได้เดินทางไปดูพื้นที่ใน อ.บ่อทอง อ.บางละมุง จ.ชลบุรี และอ.บางพลี จ.สมุทรปราการ ที่ประชุมเห็นว่าพื้นที่ ต.บางปลา อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ จำนวน 400 ไร่ ซึ่งเป็นพื้นที่ของกรมการบินพลเรือนและเป็นที่ราชพัสดุ มีความเหมาะสมในการก่อสร้างวิทยาเขตอุเทนถวายแห่งใหม่ เนื่องจากบริเวณใกล้เคียงพื้นที่ดังกล่าว มีสถาบันการศึกษาตั้งอยู่หลายแห่งด้วยกัน โดยพื้นที่ตรงข้ามเป็นที่ตั้งมหาวิทยาลัยหัวเฉียว ส่วนพื้นที่ด้านที่ติดกับถนนบางนา-ตราด เป็นพื้นที่ก่อสร้างมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
นอกจากนี้ยังมีความสะดวกในเรื่องการเดินทาง โดยระยะทางจาก ถ.เทพารักษ์เข้าไปยังพื้นที่ดังกล่าวเพียง 7 กิโลเมตร และห่างจาก ถ.บางนา-ตราด เพียง 9 กิโลเมตร รวมถึงอยู่ห่างจากสนามบินสุวรรณภูมิเพียง 11 กิโลเมตรเท่านั้น ขณะที่พื้นที่ใน อ.บางละมุง จ.ชลบุรี จำนวน 160 ไร่ เป็นพื้นที่ค่อนข้างจำกัดไม่เพียงพอต่อการพัฒนาเป็นมหาวิทยาลัยภายในอนาคต ส่วนพื้นที่ อ.บ่อทอง จ.ชลบุรี จำนวน 666 ไร่ ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตรกรรม ไม่เหมาะสำหรับการจัดตั้งวิทยาเขตอุเทนถวาย ซึ่งจัดการเรียนการสอนด้านสถาปัตยกรรมและการวางผังเมือง
ดร.ระวัง กล่าวต่อไปอีกว่า คณะกรรมการฯ จะต้องทำแผนพัฒนามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออกฯ เสนอต่อ รัฐมนตรีว่าการและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อของบประมาณผูกพันในการดำเนินการเรื่องดังกล่าว ซึ่งในระหว่างการเสนอของบประมาณอยู่นั้น หากมีพื้นที่อื่นที่มีความเหมาะสมมากกว่า คณะกรรมการฯ ก็อาจจะเปลี่ยนแปลงไปใช้พื้นที่อื่นได้ เบื้องต้น ได้มีการประมาณการว่าจะใช้งบฯในการก่อสร้างวิทยาเขตฯ แห่งใหม่ประมาณ 4,300 ล้านบาท ในระยะเวลา 5 ปี ทั้งนี้ สำหรับปีการศึกษา 2549 วิทยาเขตอุเทนถวายยังคงเปิดรับนักศึกษาใหม่ตามแผนปกติ โดยให้เรียนอยู่ในพื้นที่เดิมก่อน
ด้านนายสุเมธ แย้มนุ่น รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา กล่าวว่า สำหรับการย้ายวิทยาเขตอุเทนถวายไปยังวิทยาเขตแห่งใหม่นั้น ต้องเป็นไปตามสภาพข้อเท็จจริง โดยขณะนี้ให้นักศึกษาเรียนอยู่ในที่เดิมก่อน จนกว่าสถานที่ใหม่จะมีความพร้อม ซึ่งอาจจะทยอยย้ายไปทีละส่วนหรือรอจนอาคารสถานที่พร้อมทั้งหมดแล้วย้ายไปในคราวเดียวเลยก็เป็นไปได้ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา(สกอ.) จะเร่งประสานกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพื่อขอผ่อนปรนให้อุเทนถวายใช้พื้นที่เดิมไปก่อนในระหว่างเตรียมการวิทยาเขตแห่งใหม่จนกว่าจะพร้อม