พระอาจารย์วัลลภ-สนธิ สนทนาธรรม “กฎแห่งกรรม-ทำบุญอย่างไรจึงจะได้บุญ” เผย บุญทำได้ทุกที่ทุกเวลา ไม่ต้องทำกับพระ-วัดก็ได้บุญ ขอเพียงมีเจตนาเป็นกุศลก็เป็นบุญแล้ว ทำบุญอย่าหวังตอบแทน ให้เพื่อให้ก็เพียงพอแล้ว มูลค่าไม่ใช่เครื่องวัดใครได้บุญมากกว่า ชี้พิธีกรรมเป็นเรื่ององค์ประกอบเท่านั้น ขอเพียงทำด้วยใจบริสุทธิ์-สะอาดก็เป็นบุญ

วันที่ 24 เม.ย. โครงการผู้จัดการสุขภาพจัดงานอุทยานรักษ์สุขภาพครั้งที่ 10 ขึ้นที่บ้านเจ้าพระยา ถ.พระอาทิตย์ โดยภายในงานได้จัดให้มีเสวนาธรรมเรื่อง “กฎแห่งกรรม-ทำบุญอย่างไรจึงจะได้บุญ” โดยพระอาจารย์วัลลภ ชวนปัญโญ และคุณสนธิ ลิ้มทองกุลผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ
พระอาจารย์วัลลภ กล่าวว่า ได้อธิบายเรื่องรหัสกรรมให้ฟังไปแล้ว ในรหัสกรรมภาค 1 และ 2 ซึ่งสรุปความได้ว่า ชีวิตของทุกสรรพสิ่งนั้นล้วนขึ้นอยู่กับกฎแห่งกรรมทั้งสิ้น ใครทำอะไรก็ได้สิ่งนั้น ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ทำอะไรไว้ก็จะเป็นรหัสกรรม เรียกว่าเป็นกรรมบันดาล ดังนั้นการทำกรรมดีจึงเป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนควรถือปฏิบัติ ทำบุญทำกุศล แต่ยังมีหลายท่านที่ยังไม่เข้าใจถ่องแท้ในเรื่องของการทำบุญ ยังมีการทำบุญโดยหวังสิ่งตอบแทน ทำบุญที่ยึดติดกับพิธีกรรม รูปแบบต่างๆมากเกินไป ในที่นี้จึงจะขอพูดถึงเรื่อง ทำบุญอย่างไรจึงจะได้บุญ
พระอาจารย์วัลลภกล่าวว่า คนทั่วไปมักจะเข้าใจว่า ทำบุญต้องทำกับพระ ทำกับวัด แต่ความเป็นจริงแล้วทำประโยชน์ไม่ต้องทำกับพระกับวัดก็ได้ ที่สำคัญอย่าคิดว่าบุญจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับจำนวนเงินที่ทำลงไป การทำบุญสามารถทำได้ทุกที่ทุกเวลา แม้แต่น้ำล้างจานก็ทำบุญได้ เช่น เอาไปรดน้ำต้นไม้ ก็เป็นประโยชน์กับต้นไม้ สิ่งมีชีวิตชนิดอื่น เอาเศษอาหารที่เหลือไปให้สัตว์อื่นกินก็ถือเป็นการทำบุญ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่

“บางคนขับรถยนต์ส่วนตัว เจอรถเมล์ที่ไหนก็ให้รถเมล์ไปก่อน เพราะเขารู้ว่าคนบนรถเมล์เดือดร้อนมากกว่า ทุกข์มากกว่า ต้องเบียดเสียดกันอยู่บนรถเมล์ แต่เขาอยู่ในรถเปิดแอร์เย็นสบาย นี่ก็เป็นการทำบุญ ให้เพื่อให้ ไม่ได้มุ่งหวังผลตอบแทนใดๆ เขาเรียกว่าทำบุญอย่างมีโยนิโสมนสิการ คือ ต้องมีความฉลาดแยบคายในการทำ กิจวัตรประจำวันทั่วไป เราก็ทำให้มีบุญได้ ไม่ใช่แค่ไปวัด ตักบาตรอย่างเดียว”
พระอาจารย์วัลลภ อธิบายว่า การทำบุญนั้นอยู่ที่เจตนา อยู่ที่ใจ ใจคิดสะอาดก็เป็นบุญแล้ว จำนวนเงินไม่ใช่เรื่องสำคัญ ปัจจุบันนี้มีค่านิยมว่าคนจะประสบความสำเร็จในชีวิตได้ต้องมีเงิน เป็นมหาเศรษฐี แท้จริงแล้วไม่ใช่ เป็นการเพิ่มกิเลสความอยากไม่มีที่สิ้นสุดมากไปอีก ความมั่งมีร่ำรวยไม่ใช่สุดยอดของความเป็นมนุษย์ ขอเพียงแค่เราเลี้ยงตัวเองและครอบครัวได้ไม่เดือดร้อน อยู่อย่างพอเพียง ไม่เบียดเบียนใคร ทำประโยชน์ต่อตนเอง และต่อผู้อื่นก็เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์แบบแล้ว การทำบุญก็เช่นกัน อยู่ที่ใจ ไม่ใช่อยู่ที่มูลค่าของการทำบุญ ไม่ได้หมายความว่า ใครให้มากคนนั้นได้บุญมาก บางทีคนบริจาค 20 บาท แต่ให้เพื่อให้ มีใจสะอาดเป็นกุศล ไม่หวังผลตอบแทนได้บุญมากกว่าคนที่บริจาคเป็นล้านเพื่อหวังเกียรติยศ หน้าตา และความตอบแทนด้านอื่นๆเสียอีก
“เวลาที่จัดงานศพ เราจัดเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ตาย ให้เงินหมดเป็นหลักแสน แต่รู้หรือไม่ว่า ที่ถึงผู้รับจริงๆอยู่ที่อาหารที่ถวายพระเท่านั้นเอง ซึ่งใช้เงินไม่มาก ขณะที่พิธีกรรมอื่นๆเป็นการที่เราทำแล้วเสียเงินไปกับความสิ้นเปลืองของขยะวัฒนธรรม ประโยชน์ถึงผู้ตายไม่กี่บาท จริงๆน่าจะหมดยุคของการตำน้ำพริกละลายแม่น้ำได้แล้ว แทนที่จะเอาเงินเป็นแสนที่หมดไปกับขยะทางวัฒนธรรม น่าจะเอาเงินนั้นไปทำบุญซื้อเสื้อผ้าให้เด็กบนดอยสูง ที่ไม่มีเสื้อผ้าใส่จะดีกว่าอีก เอาไปทำบุญอย่างอื่นดีกว่า”

พระอาจารย์วัลลภกล่าวว่า การทำวิปัสสนา ทำจิตใจให้สะอาด รู้เท่าทันจิตใจตนเอง ก็เป็นบุญที่สูงสุดในโลกแล้ว เพราะจิตใจที่สะอาดก็คือการละลายกิเลส ไม่ถูกกิเลสครอบงำ ส่วนในเรื่องของการสวดมนต์นั้น จงจำไว้ว่า บุญได้ด้วยเจตนากุศล ไม่ได้ด้วยภาษา แท้จริงแล้วการสวดมนต์คือการทำสมาธิ เป็นอุบายในการทำสมาธิ
นายสนธิ ลิ้มทองกุล กล่าวว่า สรุปความได้ว่า การทำบุญนั้นอยู่ที่เจตนา อยู่ที่ใจ ถ้าไม่เข้าใจเรื่องของพิธีกรรม ก็อย่าไปกังวลเรื่องของพิธีกรรม จิตที่ต้องการจะทำดีก็เป็นกุศลในทันทีอยู่แล้ว เพราะการทำบุญสำคัญที่เจตนา ถ้าไม่รู้พิธีกรรมก็ให้ยึดเรื่องสัมมาคาราวะเป็นสำคัญ รู้อะไรควรไม่ควร ไม่ใช่ใส่สายเดี่ยวไปวัด อย่างนี้เป็นต้น เมื่อจิตมีสัมมาคาราวะ มุ่งมั่นทำบุญก็จะบรรลุถึงบุญนั้น ทำด้วยจิตที่บริสุทธิ์ ไม่ได้อยู่ที่ตัวสิ่งของ
วันที่ 24 เม.ย. โครงการผู้จัดการสุขภาพจัดงานอุทยานรักษ์สุขภาพครั้งที่ 10 ขึ้นที่บ้านเจ้าพระยา ถ.พระอาทิตย์ โดยภายในงานได้จัดให้มีเสวนาธรรมเรื่อง “กฎแห่งกรรม-ทำบุญอย่างไรจึงจะได้บุญ” โดยพระอาจารย์วัลลภ ชวนปัญโญ และคุณสนธิ ลิ้มทองกุลผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ
พระอาจารย์วัลลภ กล่าวว่า ได้อธิบายเรื่องรหัสกรรมให้ฟังไปแล้ว ในรหัสกรรมภาค 1 และ 2 ซึ่งสรุปความได้ว่า ชีวิตของทุกสรรพสิ่งนั้นล้วนขึ้นอยู่กับกฎแห่งกรรมทั้งสิ้น ใครทำอะไรก็ได้สิ่งนั้น ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ทำอะไรไว้ก็จะเป็นรหัสกรรม เรียกว่าเป็นกรรมบันดาล ดังนั้นการทำกรรมดีจึงเป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนควรถือปฏิบัติ ทำบุญทำกุศล แต่ยังมีหลายท่านที่ยังไม่เข้าใจถ่องแท้ในเรื่องของการทำบุญ ยังมีการทำบุญโดยหวังสิ่งตอบแทน ทำบุญที่ยึดติดกับพิธีกรรม รูปแบบต่างๆมากเกินไป ในที่นี้จึงจะขอพูดถึงเรื่อง ทำบุญอย่างไรจึงจะได้บุญ
พระอาจารย์วัลลภกล่าวว่า คนทั่วไปมักจะเข้าใจว่า ทำบุญต้องทำกับพระ ทำกับวัด แต่ความเป็นจริงแล้วทำประโยชน์ไม่ต้องทำกับพระกับวัดก็ได้ ที่สำคัญอย่าคิดว่าบุญจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับจำนวนเงินที่ทำลงไป การทำบุญสามารถทำได้ทุกที่ทุกเวลา แม้แต่น้ำล้างจานก็ทำบุญได้ เช่น เอาไปรดน้ำต้นไม้ ก็เป็นประโยชน์กับต้นไม้ สิ่งมีชีวิตชนิดอื่น เอาเศษอาหารที่เหลือไปให้สัตว์อื่นกินก็ถือเป็นการทำบุญ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
“บางคนขับรถยนต์ส่วนตัว เจอรถเมล์ที่ไหนก็ให้รถเมล์ไปก่อน เพราะเขารู้ว่าคนบนรถเมล์เดือดร้อนมากกว่า ทุกข์มากกว่า ต้องเบียดเสียดกันอยู่บนรถเมล์ แต่เขาอยู่ในรถเปิดแอร์เย็นสบาย นี่ก็เป็นการทำบุญ ให้เพื่อให้ ไม่ได้มุ่งหวังผลตอบแทนใดๆ เขาเรียกว่าทำบุญอย่างมีโยนิโสมนสิการ คือ ต้องมีความฉลาดแยบคายในการทำ กิจวัตรประจำวันทั่วไป เราก็ทำให้มีบุญได้ ไม่ใช่แค่ไปวัด ตักบาตรอย่างเดียว”
พระอาจารย์วัลลภ อธิบายว่า การทำบุญนั้นอยู่ที่เจตนา อยู่ที่ใจ ใจคิดสะอาดก็เป็นบุญแล้ว จำนวนเงินไม่ใช่เรื่องสำคัญ ปัจจุบันนี้มีค่านิยมว่าคนจะประสบความสำเร็จในชีวิตได้ต้องมีเงิน เป็นมหาเศรษฐี แท้จริงแล้วไม่ใช่ เป็นการเพิ่มกิเลสความอยากไม่มีที่สิ้นสุดมากไปอีก ความมั่งมีร่ำรวยไม่ใช่สุดยอดของความเป็นมนุษย์ ขอเพียงแค่เราเลี้ยงตัวเองและครอบครัวได้ไม่เดือดร้อน อยู่อย่างพอเพียง ไม่เบียดเบียนใคร ทำประโยชน์ต่อตนเอง และต่อผู้อื่นก็เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์แบบแล้ว การทำบุญก็เช่นกัน อยู่ที่ใจ ไม่ใช่อยู่ที่มูลค่าของการทำบุญ ไม่ได้หมายความว่า ใครให้มากคนนั้นได้บุญมาก บางทีคนบริจาค 20 บาท แต่ให้เพื่อให้ มีใจสะอาดเป็นกุศล ไม่หวังผลตอบแทนได้บุญมากกว่าคนที่บริจาคเป็นล้านเพื่อหวังเกียรติยศ หน้าตา และความตอบแทนด้านอื่นๆเสียอีก
“เวลาที่จัดงานศพ เราจัดเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ตาย ให้เงินหมดเป็นหลักแสน แต่รู้หรือไม่ว่า ที่ถึงผู้รับจริงๆอยู่ที่อาหารที่ถวายพระเท่านั้นเอง ซึ่งใช้เงินไม่มาก ขณะที่พิธีกรรมอื่นๆเป็นการที่เราทำแล้วเสียเงินไปกับความสิ้นเปลืองของขยะวัฒนธรรม ประโยชน์ถึงผู้ตายไม่กี่บาท จริงๆน่าจะหมดยุคของการตำน้ำพริกละลายแม่น้ำได้แล้ว แทนที่จะเอาเงินเป็นแสนที่หมดไปกับขยะทางวัฒนธรรม น่าจะเอาเงินนั้นไปทำบุญซื้อเสื้อผ้าให้เด็กบนดอยสูง ที่ไม่มีเสื้อผ้าใส่จะดีกว่าอีก เอาไปทำบุญอย่างอื่นดีกว่า”
พระอาจารย์วัลลภกล่าวว่า การทำวิปัสสนา ทำจิตใจให้สะอาด รู้เท่าทันจิตใจตนเอง ก็เป็นบุญที่สูงสุดในโลกแล้ว เพราะจิตใจที่สะอาดก็คือการละลายกิเลส ไม่ถูกกิเลสครอบงำ ส่วนในเรื่องของการสวดมนต์นั้น จงจำไว้ว่า บุญได้ด้วยเจตนากุศล ไม่ได้ด้วยภาษา แท้จริงแล้วการสวดมนต์คือการทำสมาธิ เป็นอุบายในการทำสมาธิ
นายสนธิ ลิ้มทองกุล กล่าวว่า สรุปความได้ว่า การทำบุญนั้นอยู่ที่เจตนา อยู่ที่ใจ ถ้าไม่เข้าใจเรื่องของพิธีกรรม ก็อย่าไปกังวลเรื่องของพิธีกรรม จิตที่ต้องการจะทำดีก็เป็นกุศลในทันทีอยู่แล้ว เพราะการทำบุญสำคัญที่เจตนา ถ้าไม่รู้พิธีกรรมก็ให้ยึดเรื่องสัมมาคาราวะเป็นสำคัญ รู้อะไรควรไม่ควร ไม่ใช่ใส่สายเดี่ยวไปวัด อย่างนี้เป็นต้น เมื่อจิตมีสัมมาคาราวะ มุ่งมั่นทำบุญก็จะบรรลุถึงบุญนั้น ทำด้วยจิตที่บริสุทธิ์ ไม่ได้อยู่ที่ตัวสิ่งของ