หลังตั้งตระหง่านอวดความงามและดำรงตนเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์คู่กับพระนครมาเป็นเวลานาน ถึงวันนี้ “เสาชิงช้า” ก็ถึงเวลาที่จะต้องเปลี่ยนใหม่แล้ว เนื่องจากพบว่า มีความชำรุดและมีสภาพผุกร่อนเกินที่จะซ่อมแซมได้ ความน่าสนใจของเรื่องนี้มีอยู่ 2 ประเด็นด้วยกัน เรื่องแรกคือการจัดหาไม้สักหรือไม้ตะเคียนทองเพื่อนำมาใช้ทำเป็นเสาชิงช้า ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่จะง่าย และเรื่องที่ 2 ก็คือการที่นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครประกาศที่จะรื้อฟื้นพิธีโล้ชิงช้าขึ้นมาอีกครั้ง

-1-
แม้คนไทยทุกคนจะรู้จัก “เสาชิงช้า” กันเป็นอย่างดี แต่เชื่อเป็นอย่างยิ่งว่า จำนวนไม่น้อยคงจะไม่ทราบว่า โบราณสถานแห่งนี้มีความสำคัญและอยู่คู่กับกรุงเทพมหานครมาเป็นเวลานานแห่งนี้ มีประวัติและความเป็นมาอย่างไร
ย้อนกลับไปเมื่อครั้งที่สถาปนากรุงเทพฯ ขึ้นเป็นราชธานีของไทย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงโปรดฯ ให้สร้างเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2327 เนื่องมาจากมีพราหมณ์นาฬิวันชาวเมืองสุโขทัยผู้หนึ่ง นามว่า "พระครูสิทธิชัย(กระต่าย)" ได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลต่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชว่า ในการประกอบพิธีตรียัมปวายอันเป็นประเพณีของพรหมณ์ที่มีมาแต่โบราณนั้น จำเป็นต้องมี "การโล้ชิงช้า" รวมทั้งเพื่อเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงความเป็นศูนย์กลางของพระนคร ซึ่งกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานสำคัญของประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ.2492
สำหรับการซ่อมแซมเสาชิงช้าในครั้งนี้นั้น ปัญหาใหญ่ที่สุดของกทม.ก็คือ การจัดหาไม้เพื่อใช้ทำเสา เนื่องจากไม่ใช่สิ่งที่หาได้ง่าย ซึ่งไม้ที่มีคุณสมบัติในการทำเสาชิงช้าจะต้องมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 50 เซนติเมตร มีความยาวประมาณ 25 เมตร
“ไม้ที่ใช้ในการบูรณะเสาชิงช้าในครั้งนี้จะใช้ไม้ตะเคียนทอง หรือไม้สักเท่านั้น ซึ่งขณะนี้กำลังจัดหาอยู่ ส่วนการที่จะเปลี่ยนตัวเสาชิงช้าได้เมื่อไหร่นั้น ก็ขึ้นอยู่กับว่าสามารถจัดหาไม้ได้เร็วเพียงใด ดังนั้น หากประชาชนท่านใดมีก็ขอให้แจ้งมาได้ที่ สำนักผังเมือง กทม. โทร.0-2354-1289-99”พิชัย ไชยพจน์พานิช รองปลัดกรุงเทพมหานครแจกแจง
ด้าน เขมชาติ เทพชัย ผู้อำนวยการสำนักโบราณคดี กรมศิลปากร บอกว่า ทางสำนักได้ให้คำแนะนำเชิงวิชาการแก่ทางกทม.ตามที่ได้ขอคำปรึกษามา โดยแนะนำให้ใช้เสาชิงช้าเป็นเสาท่อนเดียว จากเดิมที่มีมีไม้ 3 ท่อนมาต่อกันเป็นเสาชิงช้า และเหตุที่แนะให้เปลี่ยนใหม่ก็เพราะเสาเดิมมีความเสียหายเป็นอย่างมากจากการที่ถูกปลวกและถูกทำลายจากสภาพแวดล้อมต่างๆ ซึ่งหากมองดูจากภายนอกก็จะไม่ทราบว่าภายในนั้นถูกปลวกกัดกินไปเยอะแล้ว ขณะที่ข้างนอกยังดูดีสวยงามและกระจังยอดเสาข้างบนก็ยังดูดีไม่ได้บ่งบอกว่าชำรุดแต่อย่างใด
ขณะเดียวกันก็เสนอให้ใช้ไม้เนื้อแข็งซึ่งอาจจะเป็นไม้สักหรือไม้ตะเคียนทองก็ได้ ซึ่งถ้าหากได้ไม้ตะเคียนทองก็จะดีเพราะมีความทนทานต่อสภาวะอากาศ ทนน้ำและความเค็มได้ดี ดังจะเห็นได้จากที่เรือส่วนมากมักใช้ไม้ตะเคียนทองในการทำเรือ
“ระหว่างที่รอไม้เนื้อแข็งมีความเหมาะสมมาเปลี่ยนแทนไม้อันเดิม จะมีการเสริมความมั่นคงให้เสาชิงช้าให้สามารถตั้งอยู่ได้ แต่ก็ไม่ทราบว่าจะได้ไม้มาเมื่อไหร่ อย่างไรก็ตาม ทั้งนี้ กรมศิลปากรมีความเห็นว่า หากมีการเปลี่ยนไม้แล้วกทม.ก็ควรจะจัดให้มีการอนุรักษ์เสาชิงช้าอย่างจริงจังต่อไป”เขมชาติอธิบาย
ส่วนพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ โฆษกกรุงเทพมหานคร(กทม.) ให้ข้อมูลว่าการจัดหาไม้เนื้อแข็งที่เหมาะกับการใช้งานและสภาพภูมิอากาศ นั้น กทม.จะประสานกับองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ กระทรวงเกษตร ป่าไม้จังหวัด หรือขอซื้อจากผู้ประกอบการป่าไม้ทั่วไป จากนั้นคาดว่าจะใช้เวลา 3 เดือน เพื่อให้ไม้ผ่านกรรมวิธีในการกลึง อบน้ำยา ตากแห้ง ให้พร้อมใช้งาน
อย่างไรก็ตาม การจะเลือกใช้เนื้อไม้ชนิดใดเพื่อซ่อมแซมนั้นให้อยู่ในการวินิจฉัยของคณะกรรมการอำนวยการจัดซ่อมและบูรณะเสาชิงช้า
นอกจากนั้น กทม.ได้มีมติให้แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการจัดซ่อมและบูรณะเสาชิงช้าภายในเดือนเมษายนนี้ โดยจะประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญให้ครอบคลุมด้านวิชาการขนบธรรมเนียมประเพณี พระราชพิธี และส่วนที่เกี่ยวข้อง มาร่วมเป็นกรรมการ อาทิ ผู้แทนจากสำนักพระราชวัง กระทรวงวัฒนธรรม กรมศิลปากร ผู้แทนพราหมณ์ เจ้าอาวาสวัดสุทัศน์ และผู้ทรงคุณวุฒิจากสถาบันการศึกษา เป็นต้น
ทั้งนี้ คาดว่าจะเริ่มบูรณะได้ตั้งแต่ต้นเดือนพฤษภาคมนี้ โดยก่อนที่จะมีการบูรณะจะต้องมีพิธีพราหมณ์บวงสรวงให้ถูกต้องตามขนบธรรมเนียมประเพณีด้วย
“ระหว่างที่รอการบูรณะเสาชิงช้า ทางผู้ว่าฯจึงได้มอบหมายให้ นายพิชัย ไชยพจน์พานิช รองปลัดกรุงเทพมหานคร ร่วมกับกรมศิลปากร ผู้แทนพราหมณ์ และที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ จัดประชุมภายในสัปดาห์นี้ เพื่อหารือในการดำเนินการซ่อมแซมเร่งด่วนเป็นชั่วคราวก่อนเพื่อให้เสาชิงช้าอยู่สภาพที่ปลอดภัย โดยการดามช่องรอยต่อเสาที่ผุโดยใช้คาร์บอนไฟเบอร์หุ้ม จำนวน 4 จุด เพื่อเป็นการเสริมความมั่นคงชั่วคราวระหว่างรอจัดหาไม้”พุทธิพงษ์แจกแจงแผนการดำเนินการ

-2-
นอกเหนือจากกรุงเทพมหานครและกรมศิลปากร ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการเปลี่ยนเสาชิงช้าแล้ว อีกองคาพยพหนึ่งที่มีความเกี่ยวข้องโดยตรงก็คือ “พราหมณ์”
พระราชครูวามเทพมุนี หัวหน้าพราหมณ์เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ บอกว่า ตามโบราณราชประเพณีนั้น เมื่อจะมีการเปลี่ยนเสาชิงช้าจะต้องตั้งเครื่องบูชาถวายเครื่องสักการะเทพ เทวา เพื่อขอพรขอให้เสาชิงช้าเป็นเสามงคลที่จะใช้ประกอบพิธีพระราชพิธีตรียัมปวายได้ ซึ่งต่างจากตอนซ่อมที่ช่างเพียงแต่อธิษฐาน ขอขมาและขอพรไปในตัวจากเหล่าเทพ เทวาที่คุ้มรักษา โดยไม่ต้องใช้พิธีกรรมทางพราหมณ์
ทั้งนี้ เมื่อจัดทำเสาชิงช้าใหม่เสร็จเรียบร้อย ก็ต้องจัดให้มีพิธีการสมโภชน์เสาชิงช้าใหม่ด้วยโดยการตั้งเครื่องสักการะบูชาเช่นเดียวกับตอนที่จะมีการเปลี่ยนเสาออกแล้วเอาใหม่เข้าไปใส่แทนที่ ซึ่งเครื่องสักการะทางพราหมณ์จะใช้ผลไม้ ขนมหวาน จะไม่มีการใช้อาหารคาวแต่อย่างใด
“มีบายศรีกี่ชั้นก็ได้ แต่เราจะนิยมใช้บายศรี 7 ชั้นด้วยกัน ส่วนเรื่องฤกษ์ก็จะพิจารณาว่าเหมาะสมที่จะเป็นช่วงส่วนมากก็จะเป็นช่วงเช้าหรือช่วงกลางวัน และดูตามความพร้อมอีกด้วย ส่วนพราหมณ์ใช้กี่คนก็ได้แล้วแต่จะมี แต่สำหรับครั้งนี้ก็ใช้พราหมณ์ 8 คนตามที่เทวสถานมี”
“การที่เสาชิงช้ามีสีแดงก็เพราะทางพราหมณ์ยึดถือตามสีของพระอาทิตย์ในยามที่ทอแสงตอนรุ่งอรุณหรือสีหม้อใหม่ที่กำลังสุกแดงซึ่งเป็นสีที่มีมงคลสว่าง เจริญรุ่งเรืองเป็นสีซึ่งเป็นธรรมชาติ เมื่อก่อนจะใช้สีชาดทาแต่ปัจจุบันก็ใช้สีทาบ้านทั่วไป”พระราชครูวามเทพมุนีอธิบายทิ้งท้าย

ที่มาแห่งพิธีโล้ชิงช้า
จากการตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับพิธีโล้ชิงช้าในหนังสือ “ของดีกรุงเทพฯ พบว่า พิธีนี้ถือเป็นพิธีกรรมวันปีใหม่แบบโบราณของพราหมณ์ในดินแดนชมพูทวีป โดยมีที่มาจากคัมภีร์เฉลิมไตรภพซึ่งบันทึกเอาไว้ว่า...
พระอุมาเทวีทรงมีความปริวิตกว่า โลกจะถึงกาลวิบัติ พระนางจึงทรงพนันกับพระอิศวรโดยให้พญานาคขึงตนระหว่าง “ต้นพุทรา” ที่แม่น้ำ แล้วให้พญานาคแกว่งไกวตัว โดยพระอิศวรทรงยืนขาเดียวในลักษณะไขว่ห้าง เมื่อพญานาคไกวตัว เท้าพระอิศวรนั้นไม่ตกลง แสดงว่า โลกที่ทรงสร้างนั้น มั่นคงแข็งแรง พระอิศวรจึงทรงชนะพนัน
ดังนั้น พิธีโล้ชิงช้าจึงเปรียบเสาชิงช้าเป็น “ต้นพุทรา” ช่วงระหว่างเสาคือ “แม่น้ำ” ส่วนนาลีวันผู้โล้ชิงช้าคือ “พญานาค” โดยมีพระยายืนชิงช้านั่งไขว่ห้างอยู่บนไม้เบญจมาศ
นอกจากนี้ ยังเชื่อกันว่าเป็นพิธีกรรมที่จัดขึ้นเพื่อเสริมความเป็นสิริมงคลให้กับชีวิต ตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ โดยเชื่อกันว่าพระอิศวรจะเสด็จลงมาเยี่ยมโลกมนุษย์ ปีละครั้งในเดือนยี่ ครั้งหนึ่งกำหนด 10 วัน คือจะลงมาในวันขึ้น 7 ค่ำ และวันแรม 1 ค่ำ เสด็จขึ้นกลับ คณะพราหมณ์จึงได้จัดพิธีต้อนรับขึ้นในระยะเวลาดังกล่าว เพื่อความเป็นสวัสดิมงคลแก่พระนคร
สำหรับการประกอบพิธีโล้ชิงช้านั้น ถือได้ว่าเป็นพิธีการที่สนุกสนานครึกครื้น เริ่มด้วยการตั้งโรงราชพิธี จากนั้นให้พราหมณ์อันเชิญพระอิศวร ครั้งได้ฤกษ์ดี ทางราชการจะให้ขุนนางที่มีบรรดาศักดิ์ชั้นพระยาพานทองแต่งตัวโอ่โถงสมมุติเป็นพระอิศวร เรียกว่า พระยายืนชิงช้า เสร็จแล้วให้มีกระบวนแห่ไปที่เสาชิงช้า
เมื่อพระยายืนฯ ไปถึงเสาชิงช้าก็เข้าไปนั่งในโรงราชพิธี จากนั้นให้ผู้ที่จะโล้ชิงช้าขึ้นชิงช้าทีละ 4 คน(โล้ 3 กระดาน รวมเป็น 12 คน) โดยมีเชือกที่ถือยึดไว้แน่นทั้งสี่ด้าน สองคนหันหน้าเข้าหากัน พนมมืออยู่กลางกระดาน มือสอดเชือกไว้ อีกสองคนอยู่หัวท้ายมีเชือกจับมั่นคง ถีบโล้ชิงช้าเพื่อฉวยเงินรางวัล 1 ตำลึง
ส่วนการที่จะฉวยเอาเงินรางวัลได้นั้น คนที่อยู่หัวกระดานเป็นคนฉวย โดยเงินนั้นผูกแขวนไว้กับฉัตรสูงที่ปักไว้แล้วมีคันทวยยื่นออกไประยะห่างพอที่จะโล้ชิงช้ามาถึงได้ คนดูที่อยู่ข้างล่างก็ "ตีปีก" เชียร์กันอย่างสนุกสนาน
การโล้ชิงช้านี้สำคัญอยู่ที่คนท้าย คือจะต้องเล่นตลก คือพอคนหน้าจะคาบถุงเงิน คนท้ายจะทำกระดานโล้ ให้เบี่ยงไปเสียบ้าง ทำกระดานโล้ให้เลยถุงเงินเสียบ้าง จึงจะเรียกเสียงฮา จากคนดูได้
สำหรับเรื่องเล่าปากต่อปากว่า ถ้าใครโล้ชิงช้าแล้วตกลงมาจะถูก "ฝัง" ไว้ที่ใต้ชิงช้านั้น เรื่องนี้ไม่เคยปรากฏว่ามีการตกหรือได้ฝังใครเลย และไม่มีตำราเล่มไหนบอกไว้ทั้งนั้น คงเป็นเรื่องเข้าใจผิดๆ ติดมาจากการฝังหลักเมืองมากกว่า
การโล้ชิงช้านี้ ได้มีติดต่อกันมาหลายรัชกาล จนกระทั่งถึงรัชกาลที่ 7 จึงได้ยกเลิกประเพณีการโล้ชิงช้าไปเสีย และพิธีนี้ก็ไม่ได้เกิดขึ้นอีกเลย ซึ่งล่าสุดเมื่อคราวเฉลิมฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 222 ปี ถึงได้รื้อฟื้นพิธีจำลองกลับขึ้นมาใหม่อีกครั้ง
ประวัติการซ่อมบูรณะเสาชิงช้าที่สำคัญ
พ.ศ.2327 รัชกาลที่1 ก่อสร้างเสาชิงช้า
พ.ศ.2361 รัชกาลที่2 เกิดฟ้าผ่าบนยอดเสา แต่ไม่เสียหายมากนัก
พ.ศ.2463 รัชกาลที่6 เสาชิงช้าผุทั้งหมดจึงมีการเปลี่ยนเสาไม้ บริจาคไม้โดย บริษัท หลุย ที เลียวโนเวนส์
พ.ศ.2478 ได้มีการซ่อมกระจังเดิมที่ผุหัก และได้ใช้มาจนทุกวันนี้
พ.ศ.2490 เกิดไฟไหม้ที่โคนเสาแต่ได้มีการซ่อมประทังไว้
พ.ศ.2513 เสาชิงช้าผุชำรุดมาก จนต้องเปลี่ยนเสาโครงสร้างทั้งหมด
-1-
แม้คนไทยทุกคนจะรู้จัก “เสาชิงช้า” กันเป็นอย่างดี แต่เชื่อเป็นอย่างยิ่งว่า จำนวนไม่น้อยคงจะไม่ทราบว่า โบราณสถานแห่งนี้มีความสำคัญและอยู่คู่กับกรุงเทพมหานครมาเป็นเวลานานแห่งนี้ มีประวัติและความเป็นมาอย่างไร
ย้อนกลับไปเมื่อครั้งที่สถาปนากรุงเทพฯ ขึ้นเป็นราชธานีของไทย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงโปรดฯ ให้สร้างเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2327 เนื่องมาจากมีพราหมณ์นาฬิวันชาวเมืองสุโขทัยผู้หนึ่ง นามว่า "พระครูสิทธิชัย(กระต่าย)" ได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลต่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชว่า ในการประกอบพิธีตรียัมปวายอันเป็นประเพณีของพรหมณ์ที่มีมาแต่โบราณนั้น จำเป็นต้องมี "การโล้ชิงช้า" รวมทั้งเพื่อเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงความเป็นศูนย์กลางของพระนคร ซึ่งกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานสำคัญของประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ.2492
สำหรับการซ่อมแซมเสาชิงช้าในครั้งนี้นั้น ปัญหาใหญ่ที่สุดของกทม.ก็คือ การจัดหาไม้เพื่อใช้ทำเสา เนื่องจากไม่ใช่สิ่งที่หาได้ง่าย ซึ่งไม้ที่มีคุณสมบัติในการทำเสาชิงช้าจะต้องมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 50 เซนติเมตร มีความยาวประมาณ 25 เมตร
“ไม้ที่ใช้ในการบูรณะเสาชิงช้าในครั้งนี้จะใช้ไม้ตะเคียนทอง หรือไม้สักเท่านั้น ซึ่งขณะนี้กำลังจัดหาอยู่ ส่วนการที่จะเปลี่ยนตัวเสาชิงช้าได้เมื่อไหร่นั้น ก็ขึ้นอยู่กับว่าสามารถจัดหาไม้ได้เร็วเพียงใด ดังนั้น หากประชาชนท่านใดมีก็ขอให้แจ้งมาได้ที่ สำนักผังเมือง กทม. โทร.0-2354-1289-99”พิชัย ไชยพจน์พานิช รองปลัดกรุงเทพมหานครแจกแจง
ด้าน เขมชาติ เทพชัย ผู้อำนวยการสำนักโบราณคดี กรมศิลปากร บอกว่า ทางสำนักได้ให้คำแนะนำเชิงวิชาการแก่ทางกทม.ตามที่ได้ขอคำปรึกษามา โดยแนะนำให้ใช้เสาชิงช้าเป็นเสาท่อนเดียว จากเดิมที่มีมีไม้ 3 ท่อนมาต่อกันเป็นเสาชิงช้า และเหตุที่แนะให้เปลี่ยนใหม่ก็เพราะเสาเดิมมีความเสียหายเป็นอย่างมากจากการที่ถูกปลวกและถูกทำลายจากสภาพแวดล้อมต่างๆ ซึ่งหากมองดูจากภายนอกก็จะไม่ทราบว่าภายในนั้นถูกปลวกกัดกินไปเยอะแล้ว ขณะที่ข้างนอกยังดูดีสวยงามและกระจังยอดเสาข้างบนก็ยังดูดีไม่ได้บ่งบอกว่าชำรุดแต่อย่างใด
ขณะเดียวกันก็เสนอให้ใช้ไม้เนื้อแข็งซึ่งอาจจะเป็นไม้สักหรือไม้ตะเคียนทองก็ได้ ซึ่งถ้าหากได้ไม้ตะเคียนทองก็จะดีเพราะมีความทนทานต่อสภาวะอากาศ ทนน้ำและความเค็มได้ดี ดังจะเห็นได้จากที่เรือส่วนมากมักใช้ไม้ตะเคียนทองในการทำเรือ
“ระหว่างที่รอไม้เนื้อแข็งมีความเหมาะสมมาเปลี่ยนแทนไม้อันเดิม จะมีการเสริมความมั่นคงให้เสาชิงช้าให้สามารถตั้งอยู่ได้ แต่ก็ไม่ทราบว่าจะได้ไม้มาเมื่อไหร่ อย่างไรก็ตาม ทั้งนี้ กรมศิลปากรมีความเห็นว่า หากมีการเปลี่ยนไม้แล้วกทม.ก็ควรจะจัดให้มีการอนุรักษ์เสาชิงช้าอย่างจริงจังต่อไป”เขมชาติอธิบาย
ส่วนพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ โฆษกกรุงเทพมหานคร(กทม.) ให้ข้อมูลว่าการจัดหาไม้เนื้อแข็งที่เหมาะกับการใช้งานและสภาพภูมิอากาศ นั้น กทม.จะประสานกับองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ กระทรวงเกษตร ป่าไม้จังหวัด หรือขอซื้อจากผู้ประกอบการป่าไม้ทั่วไป จากนั้นคาดว่าจะใช้เวลา 3 เดือน เพื่อให้ไม้ผ่านกรรมวิธีในการกลึง อบน้ำยา ตากแห้ง ให้พร้อมใช้งาน
อย่างไรก็ตาม การจะเลือกใช้เนื้อไม้ชนิดใดเพื่อซ่อมแซมนั้นให้อยู่ในการวินิจฉัยของคณะกรรมการอำนวยการจัดซ่อมและบูรณะเสาชิงช้า
นอกจากนั้น กทม.ได้มีมติให้แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการจัดซ่อมและบูรณะเสาชิงช้าภายในเดือนเมษายนนี้ โดยจะประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญให้ครอบคลุมด้านวิชาการขนบธรรมเนียมประเพณี พระราชพิธี และส่วนที่เกี่ยวข้อง มาร่วมเป็นกรรมการ อาทิ ผู้แทนจากสำนักพระราชวัง กระทรวงวัฒนธรรม กรมศิลปากร ผู้แทนพราหมณ์ เจ้าอาวาสวัดสุทัศน์ และผู้ทรงคุณวุฒิจากสถาบันการศึกษา เป็นต้น
ทั้งนี้ คาดว่าจะเริ่มบูรณะได้ตั้งแต่ต้นเดือนพฤษภาคมนี้ โดยก่อนที่จะมีการบูรณะจะต้องมีพิธีพราหมณ์บวงสรวงให้ถูกต้องตามขนบธรรมเนียมประเพณีด้วย
“ระหว่างที่รอการบูรณะเสาชิงช้า ทางผู้ว่าฯจึงได้มอบหมายให้ นายพิชัย ไชยพจน์พานิช รองปลัดกรุงเทพมหานคร ร่วมกับกรมศิลปากร ผู้แทนพราหมณ์ และที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ จัดประชุมภายในสัปดาห์นี้ เพื่อหารือในการดำเนินการซ่อมแซมเร่งด่วนเป็นชั่วคราวก่อนเพื่อให้เสาชิงช้าอยู่สภาพที่ปลอดภัย โดยการดามช่องรอยต่อเสาที่ผุโดยใช้คาร์บอนไฟเบอร์หุ้ม จำนวน 4 จุด เพื่อเป็นการเสริมความมั่นคงชั่วคราวระหว่างรอจัดหาไม้”พุทธิพงษ์แจกแจงแผนการดำเนินการ
-2-
นอกเหนือจากกรุงเทพมหานครและกรมศิลปากร ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการเปลี่ยนเสาชิงช้าแล้ว อีกองคาพยพหนึ่งที่มีความเกี่ยวข้องโดยตรงก็คือ “พราหมณ์”
พระราชครูวามเทพมุนี หัวหน้าพราหมณ์เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ บอกว่า ตามโบราณราชประเพณีนั้น เมื่อจะมีการเปลี่ยนเสาชิงช้าจะต้องตั้งเครื่องบูชาถวายเครื่องสักการะเทพ เทวา เพื่อขอพรขอให้เสาชิงช้าเป็นเสามงคลที่จะใช้ประกอบพิธีพระราชพิธีตรียัมปวายได้ ซึ่งต่างจากตอนซ่อมที่ช่างเพียงแต่อธิษฐาน ขอขมาและขอพรไปในตัวจากเหล่าเทพ เทวาที่คุ้มรักษา โดยไม่ต้องใช้พิธีกรรมทางพราหมณ์
ทั้งนี้ เมื่อจัดทำเสาชิงช้าใหม่เสร็จเรียบร้อย ก็ต้องจัดให้มีพิธีการสมโภชน์เสาชิงช้าใหม่ด้วยโดยการตั้งเครื่องสักการะบูชาเช่นเดียวกับตอนที่จะมีการเปลี่ยนเสาออกแล้วเอาใหม่เข้าไปใส่แทนที่ ซึ่งเครื่องสักการะทางพราหมณ์จะใช้ผลไม้ ขนมหวาน จะไม่มีการใช้อาหารคาวแต่อย่างใด
“มีบายศรีกี่ชั้นก็ได้ แต่เราจะนิยมใช้บายศรี 7 ชั้นด้วยกัน ส่วนเรื่องฤกษ์ก็จะพิจารณาว่าเหมาะสมที่จะเป็นช่วงส่วนมากก็จะเป็นช่วงเช้าหรือช่วงกลางวัน และดูตามความพร้อมอีกด้วย ส่วนพราหมณ์ใช้กี่คนก็ได้แล้วแต่จะมี แต่สำหรับครั้งนี้ก็ใช้พราหมณ์ 8 คนตามที่เทวสถานมี”
“การที่เสาชิงช้ามีสีแดงก็เพราะทางพราหมณ์ยึดถือตามสีของพระอาทิตย์ในยามที่ทอแสงตอนรุ่งอรุณหรือสีหม้อใหม่ที่กำลังสุกแดงซึ่งเป็นสีที่มีมงคลสว่าง เจริญรุ่งเรืองเป็นสีซึ่งเป็นธรรมชาติ เมื่อก่อนจะใช้สีชาดทาแต่ปัจจุบันก็ใช้สีทาบ้านทั่วไป”พระราชครูวามเทพมุนีอธิบายทิ้งท้าย
ที่มาแห่งพิธีโล้ชิงช้า
จากการตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับพิธีโล้ชิงช้าในหนังสือ “ของดีกรุงเทพฯ พบว่า พิธีนี้ถือเป็นพิธีกรรมวันปีใหม่แบบโบราณของพราหมณ์ในดินแดนชมพูทวีป โดยมีที่มาจากคัมภีร์เฉลิมไตรภพซึ่งบันทึกเอาไว้ว่า...
พระอุมาเทวีทรงมีความปริวิตกว่า โลกจะถึงกาลวิบัติ พระนางจึงทรงพนันกับพระอิศวรโดยให้พญานาคขึงตนระหว่าง “ต้นพุทรา” ที่แม่น้ำ แล้วให้พญานาคแกว่งไกวตัว โดยพระอิศวรทรงยืนขาเดียวในลักษณะไขว่ห้าง เมื่อพญานาคไกวตัว เท้าพระอิศวรนั้นไม่ตกลง แสดงว่า โลกที่ทรงสร้างนั้น มั่นคงแข็งแรง พระอิศวรจึงทรงชนะพนัน
ดังนั้น พิธีโล้ชิงช้าจึงเปรียบเสาชิงช้าเป็น “ต้นพุทรา” ช่วงระหว่างเสาคือ “แม่น้ำ” ส่วนนาลีวันผู้โล้ชิงช้าคือ “พญานาค” โดยมีพระยายืนชิงช้านั่งไขว่ห้างอยู่บนไม้เบญจมาศ
นอกจากนี้ ยังเชื่อกันว่าเป็นพิธีกรรมที่จัดขึ้นเพื่อเสริมความเป็นสิริมงคลให้กับชีวิต ตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ โดยเชื่อกันว่าพระอิศวรจะเสด็จลงมาเยี่ยมโลกมนุษย์ ปีละครั้งในเดือนยี่ ครั้งหนึ่งกำหนด 10 วัน คือจะลงมาในวันขึ้น 7 ค่ำ และวันแรม 1 ค่ำ เสด็จขึ้นกลับ คณะพราหมณ์จึงได้จัดพิธีต้อนรับขึ้นในระยะเวลาดังกล่าว เพื่อความเป็นสวัสดิมงคลแก่พระนคร
สำหรับการประกอบพิธีโล้ชิงช้านั้น ถือได้ว่าเป็นพิธีการที่สนุกสนานครึกครื้น เริ่มด้วยการตั้งโรงราชพิธี จากนั้นให้พราหมณ์อันเชิญพระอิศวร ครั้งได้ฤกษ์ดี ทางราชการจะให้ขุนนางที่มีบรรดาศักดิ์ชั้นพระยาพานทองแต่งตัวโอ่โถงสมมุติเป็นพระอิศวร เรียกว่า พระยายืนชิงช้า เสร็จแล้วให้มีกระบวนแห่ไปที่เสาชิงช้า
เมื่อพระยายืนฯ ไปถึงเสาชิงช้าก็เข้าไปนั่งในโรงราชพิธี จากนั้นให้ผู้ที่จะโล้ชิงช้าขึ้นชิงช้าทีละ 4 คน(โล้ 3 กระดาน รวมเป็น 12 คน) โดยมีเชือกที่ถือยึดไว้แน่นทั้งสี่ด้าน สองคนหันหน้าเข้าหากัน พนมมืออยู่กลางกระดาน มือสอดเชือกไว้ อีกสองคนอยู่หัวท้ายมีเชือกจับมั่นคง ถีบโล้ชิงช้าเพื่อฉวยเงินรางวัล 1 ตำลึง
ส่วนการที่จะฉวยเอาเงินรางวัลได้นั้น คนที่อยู่หัวกระดานเป็นคนฉวย โดยเงินนั้นผูกแขวนไว้กับฉัตรสูงที่ปักไว้แล้วมีคันทวยยื่นออกไประยะห่างพอที่จะโล้ชิงช้ามาถึงได้ คนดูที่อยู่ข้างล่างก็ "ตีปีก" เชียร์กันอย่างสนุกสนาน
การโล้ชิงช้านี้สำคัญอยู่ที่คนท้าย คือจะต้องเล่นตลก คือพอคนหน้าจะคาบถุงเงิน คนท้ายจะทำกระดานโล้ ให้เบี่ยงไปเสียบ้าง ทำกระดานโล้ให้เลยถุงเงินเสียบ้าง จึงจะเรียกเสียงฮา จากคนดูได้
สำหรับเรื่องเล่าปากต่อปากว่า ถ้าใครโล้ชิงช้าแล้วตกลงมาจะถูก "ฝัง" ไว้ที่ใต้ชิงช้านั้น เรื่องนี้ไม่เคยปรากฏว่ามีการตกหรือได้ฝังใครเลย และไม่มีตำราเล่มไหนบอกไว้ทั้งนั้น คงเป็นเรื่องเข้าใจผิดๆ ติดมาจากการฝังหลักเมืองมากกว่า
การโล้ชิงช้านี้ ได้มีติดต่อกันมาหลายรัชกาล จนกระทั่งถึงรัชกาลที่ 7 จึงได้ยกเลิกประเพณีการโล้ชิงช้าไปเสีย และพิธีนี้ก็ไม่ได้เกิดขึ้นอีกเลย ซึ่งล่าสุดเมื่อคราวเฉลิมฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 222 ปี ถึงได้รื้อฟื้นพิธีจำลองกลับขึ้นมาใหม่อีกครั้ง
ประวัติการซ่อมบูรณะเสาชิงช้าที่สำคัญ
พ.ศ.2327 รัชกาลที่1 ก่อสร้างเสาชิงช้า
พ.ศ.2361 รัชกาลที่2 เกิดฟ้าผ่าบนยอดเสา แต่ไม่เสียหายมากนัก
พ.ศ.2463 รัชกาลที่6 เสาชิงช้าผุทั้งหมดจึงมีการเปลี่ยนเสาไม้ บริจาคไม้โดย บริษัท หลุย ที เลียวโนเวนส์
พ.ศ.2478 ได้มีการซ่อมกระจังเดิมที่ผุหัก และได้ใช้มาจนทุกวันนี้
พ.ศ.2490 เกิดไฟไหม้ที่โคนเสาแต่ได้มีการซ่อมประทังไว้
พ.ศ.2513 เสาชิงช้าผุชำรุดมาก จนต้องเปลี่ยนเสาโครงสร้างทั้งหมด