“สงกรานต์” เป็นประเพณีที่ให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนมนุษย์ในสังคม และสะท้อนให้เห็นถึงลักษณะของความเป็นไทยได้อย่างชัดเจน เช่น ความกตัญญู ความโอบอ้อมอารี ความเอื้ออาทรต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมโดยใช้น้ำเป็นสื่อในการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างกัน เป็นประเพณีหนึ่งที่เก่าแก่ของไทยที่ได้ยึดถือปฏิบัติมาแต่โบราณ
คำว่า “สงกรานต์” เป็นภาษาสันสฤต แปลว่า ก้าวขึ้น ย่างขึ้นหรือเคลื่อนที่ หมายถึง ช่วงเวลาที่ดวงอาทิตย์เคลื่อนจากราศีหนึ่งไปสู่อีกราศีหนึ่ง ซึ่งเมื่อดวงอาทิตย์เคลื่อนจากราศีมีนสู่ราศีเมษ ถือว่าเป็นสงกรานต์ปี จะเรียกพิเศษว่า “มหาสงกรานต์” อันเป็นวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งเป็นการนับทางสุริยคติ มักจะตกอยู่ในระหว่างวันที่ ๑๓ ๑๔ และ ๑๕ เมษายน โดยแต่ละวันจะมีชื่อเรียกเฉพาะ ดังนี้
วันที่ ๑๓ เมษายน เรียกว่า "วันมหาสงกรานต์" หมายถึง วันที่พระอาทิตย์ก้าวขึ้นสู่ราศีเมษอีกครั้งหนึ่ง หลังจากผ่านเข้าสู่ราศีอื่นๆมาแล้ว ๑๒ เดือน ซึ่งวันที่ ๑๓ เมษายนนี้ ทางการยังกำหนดให้เป็น“วันผู้สูงอายุแห่งชาติ” ด้วย เพื่อให้ลูกหลานได้เห็นความสำคัญของผู้สูงอายุ ซึ่งมักเป็นบุพการีหรือผู้อาวุโสที่เคยทำคุณประโยชน์แก่ชุนชน บ้านเมืองหรือสังคมนั้นๆมาแล้ว
วันที่ ๑๔ เมษายน เรียกว่า "วันเนา" แปลว่า วันอยู่ หมายถึง วันที่ดวงอาทิตย์เคลื่อนเข้าสู่ราศีเมษเรียบร้อยแล้ว วันนี้รัฐบาลได้กำหนดให้เป็น “วันครอบครัว” ด้วย
ส่วนวันที่ ๑๕ เมษายน เรียกว่า วันเถลิงศก หรือวันพญาวัน คือวันเริ่มเปลี่ยนจุลศักราชใหม่ หรือวันเริ่มปีใหม่
ทั้งสามวันนี้ หากคำนวณตามโหราศาสตร์จริงๆ อาจจะมีการคลาดเคลื่อนไม่ตรงกันบ้าง เช่น วันมหาสงกรานต์ อาจจะเป็นวันที่ ๑๔ เมษายน แทนที่จะเป็นวันที่ ๑๓ เมษายน แต่เพื่อให้จดจำได้ง่าย จึงกำหนดเรียกตามที่กล่าวข้างต้น
จากการที่สงกรานต์เป็นประเพณีวันขึ้นปีใหม่ของไทย ที่ได้ยึดถือปฏิบัติมาช้านาน และมีธรรมเนียมปฏิบัติที่ชัดเจนสืบทอดต่อมาจนกลายเป็นวัฒนธรรมประจำชาติที่งดงาม มีความมุ่งหมายที่จะก่อให้เกิดความสงบสุขแก่จิตใจ ครอบครัวและสังคมเป็นสำคัญ เทศกาลนี้จึงมีกิจกรรมอันหลากหลายและมีเหตุผลในการกระทำทั้งสิ้น
โดยก่อนวันสงกรานต์ มักจะเป็นการเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆเพื่อความเป็นสิริมงคลในการต้อนรับชีวิตใหม่ที่จะเริ่มต้นขึ้นในวันปีใหม่ คือ การทำความสะอาดบ้านเรือนที่อยู่อาศัย รวมถึงข้าวของเครื่องใช้ บางคนก็ไปช่วยทำความสะอาดที่สาธารณะต่างๆ เช่น วัด โรงเรียน ชุมชน เป็นต้น รวมทั้งมีการจัดเตรียมอาหารคาวหวานเพื่อไปทำบุญ หลายๆคนก็มีการจัดเตรียมเสื้อผ้า เครื่องประดับที่จะใส่ไปทำบุญ ตลอดจนมีการจัดผ้าที่จะนำไปไหว้ผู้ใหญ่ที่จะไปรดน้ำขอพรจากท่านด้วย
การเตรียมตัวในเรื่องต่างๆก่อนวันสงกรานต์ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการทำความสะอาด การจัดทำอาหารไปทำบุญ ฯลฯ จะทำให้เรารู้สึกสดชื่น มีความหวัง และรอคอยด้วยความสุข การได้ทำความสะอาดบ้านก็เหมือนการได้ฝึกชำระจิตใจล่วงหน้าไปในตัว วันสงกรานต์ เมื่อวันสงกรานต์มาถึง ก็จะเป็นเวลาที่ทุกคนยิ้มแย้มแจ่มใส จิตใจเบิกบานซึ่งกิจกรรมในวันนี้ก็มักจะเป็นการทำบุญตักบาตรตอนเช้า หรือนำอาหารไปถวายพระที่วัด ทำบุญอัฐิ โดยอาจจะนิมนต์พระไปยังสถานที่เก็บหรือบรรจุอัฐิ หากไม่มีก็เขียนเพียงชื่อในกระดาษก็ได้ เมื่อบังสุกุลเสร็จแล้วก็เผากระดาษนั้นเสีย การสรงน้ำพระ จะมี ๒ แบบคือ สรงน้ำพระภิกษุสามเณร และการสรงน้ำพระพุทธรูป
นอกจากนี้ยังมี การก่อเจดีย์ทราย โดยนำทรายมาก่อเป็นเจดีย์ต่างๆในวัด จุดประสงค์ก็คือให้วัดได้ประโยชน์ในการก่อสร้างหรือใช้ถมพื้นต่อไป เพราะสมัยก่อนคนมักเข้าวัดทำกิจกรรมต่างๆ เขาก็ถือว่าทรายอาจติดเท้าออกไป ดังนั้น เมื่อถึงปีก็ควรจะขนทรายไปใช้คืน การปล่อยนกปล่อยปลา ซึ่งช่วงเทศกาลสงกรานต์มักจะเป็นหน้าแล้ง น้ำแห้งขอดอาจจะทำให้ปลาตาย จึงมักมีการปล่อยนกปล่อยปลาที่ติดบ่วงติดน้ำตื้นให้เป็นอิสระ หรือบางแห่งก็มีการปล่อยพันธุ์ปลาลงสู่แหล่งน้ำ เพื่อช่วยสร้างสมดุลธรรมชาติ
นอกเหนือไปจากการทำบุญข้างต้นแล้ว ก็ยังมีการรดน้ำขอพรผู้อาวุโสหรือผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือในครอบครัว ชุมชนหรือที่ทำงาน การรดอาจจะรดทั้งตัวหรือเฉพาะที่ฝ่ามือก็ได้ และควรจัดเตรียมผ้านุ่งหรือของไปเคารพท่านด้วยสำหรับการเล่นรื่นเริง จะมีหลายอย่าง เช่น เข้าทรงแม่ศรี การเข้าผีลิงลม การเล่นสะบ้า เล่นลูกช่วง เล่นเพลงพิษฐาน(อธิษฐาน) รวมไปถึงมหรสพและการแสดงต่างๆ เป็นต้น ขึ้นความนิยมของคนในพื้นที่นั้นๆ กิจกรรมอีกอย่างที่อาจกล่าวได้ว่าเป็นที่นิยมและได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของสงกรานต์ไปแล้วก็คือ การเล่นรดน้ำระหว่างเด็กๆ และหนุ่มสาว ซึ่งแต่เดิมนั้นมักเล่นกันเฉพาะในหมู่ญาติมิตรเพื่อนฝูงเพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างกัน โดยจะใช้น้ำสะอาดผสมน้ำอบ หรือน้ำหอม และเล่นสาดกันด้วยความสุภาพ มีไมตรีต่อกัน
กิจกรรมที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ อาจจะมีความแตกต่างกันออกไปบ้างแล้วแต่ท้องถิ่น ทั้งนี้ขึ้นกับความเหมาะสมและความต้องการของชุมชนนั้นๆเป็นสำคัญ แต่เราจะเห็นได้ว่ากิจกรรมในเทศกาลนี้ล้วนทำให้สงกรานต์เป็นประเพณีที่งดงาม อ่อนโยน เต็มไปด้วยความเอื้ออาทร ความกตัญญูและความเคารพซึ่งกันและกัน
อย่างไรก็ดี จากยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วเช่นปัจจุบัน ได้ทำให้ความหมาย คุณค่าและสาระของสงกรานต์ได้แปรเปลี่ยนไปด้วย จนทำให้คนยุคนี้ โดยเฉพาะเยาวชนได้เห็นแต่เพียงความสนุกสนานจากการเล่นสาดน้ำ ที่ได้กลายพันธุ์จนเป็น “สงครามน้ำ”ไปแล้วอย่างน่าเสียดาย
ดังนั้น คงจะยังไม่สายเกินไปที่เราจะได้เรียนรู้ และรู้จักเลือกประพฤติปฏิบัติกิจกรรมที่เป็นแก่นแท้หรือสาระของสงกรานต์อย่างแท้จริง กิจกรรมใดที่หลงเหลือแต่เพียงรูปแบบแต่ขาดความหมาย เช่น การก่อพระเจดีย์ทราย ซึ่งสมัยนี้มิได้มีวัตถุประสงค์ให้พระภิกษุนำไปใช้ประโยชน์เช่นกาลก่อน หรือการปล่อยนกปล่อยปลาที่ได้กลายมาเป็นธุรกิจเพื่อการซื้อการขาย ก็อาจจะยกเลิกหรือปรับเปลี่ยนรูปแบบใหม่ให้เหมาะกับยุคสมัยหากจำเป็น
ส่วนกิจกรรมที่ยังสมควรปฏิบัติ เพื่อสืบทอดความดีงามและคุณค่าของประเพณีนี้เอาไว้ก็ยังมีอยู่ เช่น การทำบุญตักบาตร นำอาหารไปถวายพระ ถือเป็นการสืบทอดและทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา เป็นการกล่อมจิตใจให้รู้จักการให้และเสียสละ การทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้บรรพบุรุษ ก็เป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณผู้ล่วงลับไปแล้ว การสรงน้ำพระ ทั้งพระภิกษุและพระสงฆ์ ก็เพื่อความเป็นสิริมงคล และเป็นการแสดงความเคารพต่อปูชนียบุคคลผู้สืบทอดพระศาสนา การรดน้ำขอพรผู้ใหญ่ เป็นการแสดงความเคารพและความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ เป็นการแสดงความอ่อนน้อมถ่อมตนทำให้ท่านเมตตาเอ็นดู และการที่ท่านให้พร ก็เป็นการเตือนสติให้เราเริ่มต้นชีวิตด้วยความไม่ประมาท
ส่วนการรดน้ำหรือสาดน้ำเล่นกัน ก็ควรจะอยู่ในขอบเขตความเหมาะสม ไม่เล่นรุนแรง หรือใช้น้ำสกปรก เพราะเป็นสร้างสัมพันธไมตรีที่ดีต่อกัน มิใช่การไล่ล่าศัตรู การละเล่นรื่นเริงต่างๆ ก็จะช่วยให้เกิดความสมัครสมานสามัคคีในชุมชน
คำว่า “สงกรานต์” เป็นภาษาสันสฤต แปลว่า ก้าวขึ้น ย่างขึ้นหรือเคลื่อนที่ หมายถึง ช่วงเวลาที่ดวงอาทิตย์เคลื่อนจากราศีหนึ่งไปสู่อีกราศีหนึ่ง ซึ่งเมื่อดวงอาทิตย์เคลื่อนจากราศีมีนสู่ราศีเมษ ถือว่าเป็นสงกรานต์ปี จะเรียกพิเศษว่า “มหาสงกรานต์” อันเป็นวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งเป็นการนับทางสุริยคติ มักจะตกอยู่ในระหว่างวันที่ ๑๓ ๑๔ และ ๑๕ เมษายน โดยแต่ละวันจะมีชื่อเรียกเฉพาะ ดังนี้
วันที่ ๑๓ เมษายน เรียกว่า "วันมหาสงกรานต์" หมายถึง วันที่พระอาทิตย์ก้าวขึ้นสู่ราศีเมษอีกครั้งหนึ่ง หลังจากผ่านเข้าสู่ราศีอื่นๆมาแล้ว ๑๒ เดือน ซึ่งวันที่ ๑๓ เมษายนนี้ ทางการยังกำหนดให้เป็น“วันผู้สูงอายุแห่งชาติ” ด้วย เพื่อให้ลูกหลานได้เห็นความสำคัญของผู้สูงอายุ ซึ่งมักเป็นบุพการีหรือผู้อาวุโสที่เคยทำคุณประโยชน์แก่ชุนชน บ้านเมืองหรือสังคมนั้นๆมาแล้ว
วันที่ ๑๔ เมษายน เรียกว่า "วันเนา" แปลว่า วันอยู่ หมายถึง วันที่ดวงอาทิตย์เคลื่อนเข้าสู่ราศีเมษเรียบร้อยแล้ว วันนี้รัฐบาลได้กำหนดให้เป็น “วันครอบครัว” ด้วย
ส่วนวันที่ ๑๕ เมษายน เรียกว่า วันเถลิงศก หรือวันพญาวัน คือวันเริ่มเปลี่ยนจุลศักราชใหม่ หรือวันเริ่มปีใหม่
ทั้งสามวันนี้ หากคำนวณตามโหราศาสตร์จริงๆ อาจจะมีการคลาดเคลื่อนไม่ตรงกันบ้าง เช่น วันมหาสงกรานต์ อาจจะเป็นวันที่ ๑๔ เมษายน แทนที่จะเป็นวันที่ ๑๓ เมษายน แต่เพื่อให้จดจำได้ง่าย จึงกำหนดเรียกตามที่กล่าวข้างต้น
จากการที่สงกรานต์เป็นประเพณีวันขึ้นปีใหม่ของไทย ที่ได้ยึดถือปฏิบัติมาช้านาน และมีธรรมเนียมปฏิบัติที่ชัดเจนสืบทอดต่อมาจนกลายเป็นวัฒนธรรมประจำชาติที่งดงาม มีความมุ่งหมายที่จะก่อให้เกิดความสงบสุขแก่จิตใจ ครอบครัวและสังคมเป็นสำคัญ เทศกาลนี้จึงมีกิจกรรมอันหลากหลายและมีเหตุผลในการกระทำทั้งสิ้น
โดยก่อนวันสงกรานต์ มักจะเป็นการเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆเพื่อความเป็นสิริมงคลในการต้อนรับชีวิตใหม่ที่จะเริ่มต้นขึ้นในวันปีใหม่ คือ การทำความสะอาดบ้านเรือนที่อยู่อาศัย รวมถึงข้าวของเครื่องใช้ บางคนก็ไปช่วยทำความสะอาดที่สาธารณะต่างๆ เช่น วัด โรงเรียน ชุมชน เป็นต้น รวมทั้งมีการจัดเตรียมอาหารคาวหวานเพื่อไปทำบุญ หลายๆคนก็มีการจัดเตรียมเสื้อผ้า เครื่องประดับที่จะใส่ไปทำบุญ ตลอดจนมีการจัดผ้าที่จะนำไปไหว้ผู้ใหญ่ที่จะไปรดน้ำขอพรจากท่านด้วย
การเตรียมตัวในเรื่องต่างๆก่อนวันสงกรานต์ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการทำความสะอาด การจัดทำอาหารไปทำบุญ ฯลฯ จะทำให้เรารู้สึกสดชื่น มีความหวัง และรอคอยด้วยความสุข การได้ทำความสะอาดบ้านก็เหมือนการได้ฝึกชำระจิตใจล่วงหน้าไปในตัว วันสงกรานต์ เมื่อวันสงกรานต์มาถึง ก็จะเป็นเวลาที่ทุกคนยิ้มแย้มแจ่มใส จิตใจเบิกบานซึ่งกิจกรรมในวันนี้ก็มักจะเป็นการทำบุญตักบาตรตอนเช้า หรือนำอาหารไปถวายพระที่วัด ทำบุญอัฐิ โดยอาจจะนิมนต์พระไปยังสถานที่เก็บหรือบรรจุอัฐิ หากไม่มีก็เขียนเพียงชื่อในกระดาษก็ได้ เมื่อบังสุกุลเสร็จแล้วก็เผากระดาษนั้นเสีย การสรงน้ำพระ จะมี ๒ แบบคือ สรงน้ำพระภิกษุสามเณร และการสรงน้ำพระพุทธรูป
นอกจากนี้ยังมี การก่อเจดีย์ทราย โดยนำทรายมาก่อเป็นเจดีย์ต่างๆในวัด จุดประสงค์ก็คือให้วัดได้ประโยชน์ในการก่อสร้างหรือใช้ถมพื้นต่อไป เพราะสมัยก่อนคนมักเข้าวัดทำกิจกรรมต่างๆ เขาก็ถือว่าทรายอาจติดเท้าออกไป ดังนั้น เมื่อถึงปีก็ควรจะขนทรายไปใช้คืน การปล่อยนกปล่อยปลา ซึ่งช่วงเทศกาลสงกรานต์มักจะเป็นหน้าแล้ง น้ำแห้งขอดอาจจะทำให้ปลาตาย จึงมักมีการปล่อยนกปล่อยปลาที่ติดบ่วงติดน้ำตื้นให้เป็นอิสระ หรือบางแห่งก็มีการปล่อยพันธุ์ปลาลงสู่แหล่งน้ำ เพื่อช่วยสร้างสมดุลธรรมชาติ
นอกเหนือไปจากการทำบุญข้างต้นแล้ว ก็ยังมีการรดน้ำขอพรผู้อาวุโสหรือผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือในครอบครัว ชุมชนหรือที่ทำงาน การรดอาจจะรดทั้งตัวหรือเฉพาะที่ฝ่ามือก็ได้ และควรจัดเตรียมผ้านุ่งหรือของไปเคารพท่านด้วยสำหรับการเล่นรื่นเริง จะมีหลายอย่าง เช่น เข้าทรงแม่ศรี การเข้าผีลิงลม การเล่นสะบ้า เล่นลูกช่วง เล่นเพลงพิษฐาน(อธิษฐาน) รวมไปถึงมหรสพและการแสดงต่างๆ เป็นต้น ขึ้นความนิยมของคนในพื้นที่นั้นๆ กิจกรรมอีกอย่างที่อาจกล่าวได้ว่าเป็นที่นิยมและได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของสงกรานต์ไปแล้วก็คือ การเล่นรดน้ำระหว่างเด็กๆ และหนุ่มสาว ซึ่งแต่เดิมนั้นมักเล่นกันเฉพาะในหมู่ญาติมิตรเพื่อนฝูงเพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างกัน โดยจะใช้น้ำสะอาดผสมน้ำอบ หรือน้ำหอม และเล่นสาดกันด้วยความสุภาพ มีไมตรีต่อกัน
กิจกรรมที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ อาจจะมีความแตกต่างกันออกไปบ้างแล้วแต่ท้องถิ่น ทั้งนี้ขึ้นกับความเหมาะสมและความต้องการของชุมชนนั้นๆเป็นสำคัญ แต่เราจะเห็นได้ว่ากิจกรรมในเทศกาลนี้ล้วนทำให้สงกรานต์เป็นประเพณีที่งดงาม อ่อนโยน เต็มไปด้วยความเอื้ออาทร ความกตัญญูและความเคารพซึ่งกันและกัน
อย่างไรก็ดี จากยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วเช่นปัจจุบัน ได้ทำให้ความหมาย คุณค่าและสาระของสงกรานต์ได้แปรเปลี่ยนไปด้วย จนทำให้คนยุคนี้ โดยเฉพาะเยาวชนได้เห็นแต่เพียงความสนุกสนานจากการเล่นสาดน้ำ ที่ได้กลายพันธุ์จนเป็น “สงครามน้ำ”ไปแล้วอย่างน่าเสียดาย
ดังนั้น คงจะยังไม่สายเกินไปที่เราจะได้เรียนรู้ และรู้จักเลือกประพฤติปฏิบัติกิจกรรมที่เป็นแก่นแท้หรือสาระของสงกรานต์อย่างแท้จริง กิจกรรมใดที่หลงเหลือแต่เพียงรูปแบบแต่ขาดความหมาย เช่น การก่อพระเจดีย์ทราย ซึ่งสมัยนี้มิได้มีวัตถุประสงค์ให้พระภิกษุนำไปใช้ประโยชน์เช่นกาลก่อน หรือการปล่อยนกปล่อยปลาที่ได้กลายมาเป็นธุรกิจเพื่อการซื้อการขาย ก็อาจจะยกเลิกหรือปรับเปลี่ยนรูปแบบใหม่ให้เหมาะกับยุคสมัยหากจำเป็น
ส่วนกิจกรรมที่ยังสมควรปฏิบัติ เพื่อสืบทอดความดีงามและคุณค่าของประเพณีนี้เอาไว้ก็ยังมีอยู่ เช่น การทำบุญตักบาตร นำอาหารไปถวายพระ ถือเป็นการสืบทอดและทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา เป็นการกล่อมจิตใจให้รู้จักการให้และเสียสละ การทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้บรรพบุรุษ ก็เป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณผู้ล่วงลับไปแล้ว การสรงน้ำพระ ทั้งพระภิกษุและพระสงฆ์ ก็เพื่อความเป็นสิริมงคล และเป็นการแสดงความเคารพต่อปูชนียบุคคลผู้สืบทอดพระศาสนา การรดน้ำขอพรผู้ใหญ่ เป็นการแสดงความเคารพและความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ เป็นการแสดงความอ่อนน้อมถ่อมตนทำให้ท่านเมตตาเอ็นดู และการที่ท่านให้พร ก็เป็นการเตือนสติให้เราเริ่มต้นชีวิตด้วยความไม่ประมาท
ส่วนการรดน้ำหรือสาดน้ำเล่นกัน ก็ควรจะอยู่ในขอบเขตความเหมาะสม ไม่เล่นรุนแรง หรือใช้น้ำสกปรก เพราะเป็นสร้างสัมพันธไมตรีที่ดีต่อกัน มิใช่การไล่ล่าศัตรู การละเล่นรื่นเริงต่างๆ ก็จะช่วยให้เกิดความสมัครสมานสามัคคีในชุมชน