อย. เรียกเก็บนมผง 3 ยี่ห้อดัง เมจิ เอฟเอ็ม-ที ยี่ห้อแนน 1 และยี่ห้อซิมิแลค ดีเอชเอ+เออาร์ ในบางรุ่น หลังพบตัวอย่างเชื้อจุลินทรีย์ เอนเทอโรแบคเตอร์ ซากาซากิที่เป็นอันตรายต่อทารกแรกเกิดถึง 1 ปี โดยเฉพาะทารกที่คลอดก่อน-กำหนด และทารกที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เหตุก่อให้เกิดเยื่อหุ้มสมองและไขสันหลังอักเสบ และอาจทำให้ถึงแก่ชีวิตได้

ศ.ดร.ภักดี โพธิศิริ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยต่อว่า ตามที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) โดยกองงานด่านอาหารและยา มีโครงการศึกษาความเสี่ยงของเชื้อเอนเทอโร-แบคเตอร์ ซากาซากิ (Enterobacter sakazakii) ในนมผงดัดแปลงสำหรับทารก เพื่อคุ้มครองสุขภาพอนามัยให้ประชาชนในประเทศได้บริโภคอาหารที่ปลอดภัย ซึ่งตัวอย่างนมผงดัดแปลงสำหรับทารกที่ อย. ตรวจ จำนวน 62 ตัวอย่าง พบว่ามีการปนเปื้อนเชื้อเอนเทอโรแบคเตอร์ ซากาซากิ จำนวน 3 ตัวอย่าง คือ ยี่ห้อ เมจิ เอฟ-เอ็ม-ที ของบริษัท เมจิ-เอ็มจีซี เดรี่ ออสเตรเลีย จำกัด เลขทะเบียนตำรับอาหารที่ สนท.9/2543 วันที่ผลิต 05/05/2003 วันที่หมดอายุ 05/05/2006 ยี่ห้อ แนน 1 ของบริษัท เนสท์เล่ นีเดอร์แลนด์ เบ.เว.เนเธอร์แลนด์ จำกัด รหัส EMIBV-22:11 เลขสารบบ 10-3-10937-1-0096 วันที่ผลิต 09/09/2004 วันที่หมดอายุ 09/09/2006 และยี่ห้อซิมิแลค ดีเอชเอ+เออาร์เอ ของบริษัท แอ๊บบอต ลาบอแรตอรีส์ เอส.เอ แกรนาดา สเปน จำกัด รหัส 22167QU เลขสารบบ 10-3-14623-1-0042 วันที่ผลิต 10/2004 วันที่หมดอายุ 04/2006
ซึ่งเชื้อดังกล่าวเป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อทารกแรกเกิด ถึง 1 ปี โดยเฉพาะทารกที่คลอดก่อนกำหนด ทารกที่มีภูมิคุ้มกัน-ต่ำ และทารกแรกเกิดที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ แต่ก็มีรายงานการติดเชื้อในเด็กและผู้ใหญ่ด้วย โดยทำให้เกิดเยื่อหุ้มสมองและไขสันหลังอักเสบ โลหิตเป็นพิษ สำไส้และกระเพาะอักเสบ อาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
ดร.ภักดี กล่าวต่อไปว่า เชื้อเอนเทอโรแบคเตอร์ ซากาซากิ เป็นเชื้อที่อยู่ตามธรรมชาติ พบได้ในสิ่งแวดล้อม น้ำ ดิน พืชและผัก อุจจาระของคนและสัตว์ ทั้งนี้ อาจเป็นไปได้ที่จะเกิดการปนเปื้อนในระหว่างกระบวนการผลิต แต่ยังไม่แน่ชัดว่าการปนเปื้อนเกิดในขั้นตอนใดของการผลิต ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค อย. จึงให้ผู้นำเข้าเรียกเก็บคืนนมผงรุ่นที่มีปัญหาอย่างเร่งด่วน เพื่อทำลายและแจ้งผลดำเนินการให้ อย. ทราบด้วย
นอกจากนี้ยังดำเนินการตามกฎหมายกับผู้นำเข้าทันที ฐานนำเข้าเพื่อจำหน่ายอาหารไม่บริสุทธิ์ มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับและแจ้งข้อหานำเข้าอาหารผิดมาตรฐาน มีโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท อีกด้วย

ทั้งนี้ อย. ได้สั่งให้ด่านอาหารและยาทุกด่าน เข้มงวดกับผลิตภัณฑ์อาหารนำเข้า โดยเฉพาะ นมผงดัดแปลงสำหรับทารก ควบคู่ไปกับมาตรการกักกันผลิตภัณฑ์นำเข้า คือ หากมีการนำเข้าอาหารชนิดเดียวกันกับที่เคยตรวจพบตกมาตรฐาน เจ้าหน้าที่ด่านอาหารและยาจะอายัดไว้ที่สถานที่นำเข้าก่อนและเก็บตัวอย่างส่งตรวจวิเคราะห์ หากปลอดภัยจะพิจารณาถอนอายัด หากพบไม่ได้มาตรฐานก็จะดำเนินการทางกฎหมาย ซึ่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจะออกจากระบบกักกันได้เมื่อผลวิเคราะห์ตรวจผ่านมาตรฐานครบ 3 ครั้งติดต่อกัน และหากพบว่าผู้นำเข้ายังคงกระทำผิดซ้ำ ๆ ต่อไป ก็จะถูกพิจารณาเพิกถอนใบอนุญาต
เลขาธิการฯ กล่าวต่อว่า จากการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ยี่ห้อดังกล่าวในรุ่นเดียวกันจะพบการปนเปื้อนเป็นบางผลิตภัณฑ์เท่านั้น ซึ่ง อย. ก็ได้สั่งการให้เรียกคืนผลิตภัณฑ์นมผงรุ่นดังกล่าวคืนจากท้องตลาดแล้ว ขอให้มารดาที่อยู่ระหว่างการให้นมบุตรและประชาชนทั่วไปอย่าได้หวั่นวิตก สำหรับผู้บริโภคท่านใดที่สงสัยหรือพบปัญหาในการบริโภคนมผงดังกล่าว ซึ่งเกรงว่าบุตรหลานจะได้รับอันตราย หรือยังคงพบผลิตภัณฑ์รุ่นดังกล่าวในท้องตลาด โปรดแจ้งร้องเรียนมาที่ อย. ทันที ผ่านสายด่วน อย. 1556 หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ
อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงจากการได้รับอันตรายจากเชื้อเอนเทอโรแบคเตอร์ ซากาซากิ ผู้ปกครองควรชงนมเฉพาะปริมาณที่พอดีกับสำหรับการเลี้ยงทารกในแต่ละครั้ง และชงก่อนการบริโภคเท่านั้น อีกทั้งไม่ควรชงนมแล้วตั้งทิ้งไว้ หรือนำไปแช่ตู้เย็นนาน แล้วนำมาบริโภค เพราะเชื้อโรคจะเจริญเติบโตและแพร่ขยาย ทำให้ทารกได้รับเชื้อในปริมาณมาก เกิดอันตรายร้ายแรงได้ในที่สุด
ศ.ดร.ภักดี โพธิศิริ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยต่อว่า ตามที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) โดยกองงานด่านอาหารและยา มีโครงการศึกษาความเสี่ยงของเชื้อเอนเทอโร-แบคเตอร์ ซากาซากิ (Enterobacter sakazakii) ในนมผงดัดแปลงสำหรับทารก เพื่อคุ้มครองสุขภาพอนามัยให้ประชาชนในประเทศได้บริโภคอาหารที่ปลอดภัย ซึ่งตัวอย่างนมผงดัดแปลงสำหรับทารกที่ อย. ตรวจ จำนวน 62 ตัวอย่าง พบว่ามีการปนเปื้อนเชื้อเอนเทอโรแบคเตอร์ ซากาซากิ จำนวน 3 ตัวอย่าง คือ ยี่ห้อ เมจิ เอฟ-เอ็ม-ที ของบริษัท เมจิ-เอ็มจีซี เดรี่ ออสเตรเลีย จำกัด เลขทะเบียนตำรับอาหารที่ สนท.9/2543 วันที่ผลิต 05/05/2003 วันที่หมดอายุ 05/05/2006 ยี่ห้อ แนน 1 ของบริษัท เนสท์เล่ นีเดอร์แลนด์ เบ.เว.เนเธอร์แลนด์ จำกัด รหัส EMIBV-22:11 เลขสารบบ 10-3-10937-1-0096 วันที่ผลิต 09/09/2004 วันที่หมดอายุ 09/09/2006 และยี่ห้อซิมิแลค ดีเอชเอ+เออาร์เอ ของบริษัท แอ๊บบอต ลาบอแรตอรีส์ เอส.เอ แกรนาดา สเปน จำกัด รหัส 22167QU เลขสารบบ 10-3-14623-1-0042 วันที่ผลิต 10/2004 วันที่หมดอายุ 04/2006
ซึ่งเชื้อดังกล่าวเป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อทารกแรกเกิด ถึง 1 ปี โดยเฉพาะทารกที่คลอดก่อนกำหนด ทารกที่มีภูมิคุ้มกัน-ต่ำ และทารกแรกเกิดที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ แต่ก็มีรายงานการติดเชื้อในเด็กและผู้ใหญ่ด้วย โดยทำให้เกิดเยื่อหุ้มสมองและไขสันหลังอักเสบ โลหิตเป็นพิษ สำไส้และกระเพาะอักเสบ อาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
ดร.ภักดี กล่าวต่อไปว่า เชื้อเอนเทอโรแบคเตอร์ ซากาซากิ เป็นเชื้อที่อยู่ตามธรรมชาติ พบได้ในสิ่งแวดล้อม น้ำ ดิน พืชและผัก อุจจาระของคนและสัตว์ ทั้งนี้ อาจเป็นไปได้ที่จะเกิดการปนเปื้อนในระหว่างกระบวนการผลิต แต่ยังไม่แน่ชัดว่าการปนเปื้อนเกิดในขั้นตอนใดของการผลิต ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค อย. จึงให้ผู้นำเข้าเรียกเก็บคืนนมผงรุ่นที่มีปัญหาอย่างเร่งด่วน เพื่อทำลายและแจ้งผลดำเนินการให้ อย. ทราบด้วย
นอกจากนี้ยังดำเนินการตามกฎหมายกับผู้นำเข้าทันที ฐานนำเข้าเพื่อจำหน่ายอาหารไม่บริสุทธิ์ มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับและแจ้งข้อหานำเข้าอาหารผิดมาตรฐาน มีโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท อีกด้วย
ทั้งนี้ อย. ได้สั่งให้ด่านอาหารและยาทุกด่าน เข้มงวดกับผลิตภัณฑ์อาหารนำเข้า โดยเฉพาะ นมผงดัดแปลงสำหรับทารก ควบคู่ไปกับมาตรการกักกันผลิตภัณฑ์นำเข้า คือ หากมีการนำเข้าอาหารชนิดเดียวกันกับที่เคยตรวจพบตกมาตรฐาน เจ้าหน้าที่ด่านอาหารและยาจะอายัดไว้ที่สถานที่นำเข้าก่อนและเก็บตัวอย่างส่งตรวจวิเคราะห์ หากปลอดภัยจะพิจารณาถอนอายัด หากพบไม่ได้มาตรฐานก็จะดำเนินการทางกฎหมาย ซึ่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจะออกจากระบบกักกันได้เมื่อผลวิเคราะห์ตรวจผ่านมาตรฐานครบ 3 ครั้งติดต่อกัน และหากพบว่าผู้นำเข้ายังคงกระทำผิดซ้ำ ๆ ต่อไป ก็จะถูกพิจารณาเพิกถอนใบอนุญาต
เลขาธิการฯ กล่าวต่อว่า จากการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ยี่ห้อดังกล่าวในรุ่นเดียวกันจะพบการปนเปื้อนเป็นบางผลิตภัณฑ์เท่านั้น ซึ่ง อย. ก็ได้สั่งการให้เรียกคืนผลิตภัณฑ์นมผงรุ่นดังกล่าวคืนจากท้องตลาดแล้ว ขอให้มารดาที่อยู่ระหว่างการให้นมบุตรและประชาชนทั่วไปอย่าได้หวั่นวิตก สำหรับผู้บริโภคท่านใดที่สงสัยหรือพบปัญหาในการบริโภคนมผงดังกล่าว ซึ่งเกรงว่าบุตรหลานจะได้รับอันตราย หรือยังคงพบผลิตภัณฑ์รุ่นดังกล่าวในท้องตลาด โปรดแจ้งร้องเรียนมาที่ อย. ทันที ผ่านสายด่วน อย. 1556 หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ
อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงจากการได้รับอันตรายจากเชื้อเอนเทอโรแบคเตอร์ ซากาซากิ ผู้ปกครองควรชงนมเฉพาะปริมาณที่พอดีกับสำหรับการเลี้ยงทารกในแต่ละครั้ง และชงก่อนการบริโภคเท่านั้น อีกทั้งไม่ควรชงนมแล้วตั้งทิ้งไว้ หรือนำไปแช่ตู้เย็นนาน แล้วนำมาบริโภค เพราะเชื้อโรคจะเจริญเติบโตและแพร่ขยาย ทำให้ทารกได้รับเชื้อในปริมาณมาก เกิดอันตรายร้ายแรงได้ในที่สุด