“อธิบดีกรมสุขภาพจิต” ระบุ ไม่ควรเสนอพฤติกรรมเด็กลักขนมร้านเจ๊เล้งซ้ำซาก เพราะตอกย้ำว่าเป็นเด็กขึ้ขโมย ส่งผลเมื่อเด็กโตเป็นผู้ใหญ่ ชี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต้องเข้าดูแลเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ส่วนพ่อแม่ต้องดูแลอย่างใกล้ชิดมากขึ้น พร้อมระบุ เรื่องนี้ไม่น่าทำเกินเหตุ เพราะอาจเป็นแค่พฤติกรรมนึกสนุก ด้านพม.ออกโรงส่งนักสังคมสงเคราะห์คุยกับพ่อแม่โรงเรียนน้องปอสอบถามพฤติกรรม ยันเป็นเด็กดี พร้อมเร่งประสานตำรวจกำหนดมาตรฐานดูแลเด็กกระทำผิด
นายแพทย์ ม.ล.สมชาย จักรพันธ์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวถึงพฤติกรรมการลักขโมยของเด็ก จากกรณีเด็กชาย วัย 10 ขวบ ขโมยลูกกวาดในร้านเจ๊เล้ง ว่า ต้องพิจารณาว่า พฤติกรรมการลักขโมยเกิดจากเด็กถูกผู้ใหญ่บังคับและชักจูงหรือไม่
หากเป็นเช่นนั้นจะต้องแก้ไขที่ผู้ใหญ่ เพราะเด็กอาจไม่มีนิสัยลักขโมย แต่หากเกิดจากการกระทำด้วยตนเอง จะต้องแก้ไขด้วยการพัฒนาทางด้านจิตใจ ซึ่งสาเหตุอาจเกิดจากเด็กคนนั้นไม่ได้รับสิ่งของที่ต้องการ ของเล่น หรือขนมที่อยากได้ โดยจะส่งผลต่อพฤติกรรมเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ และสาเหตุพฤติกรรมอีกประการหนึ่ง อาจเกิดจากความต้องการแก้แค้นผู้ใหญ่ ทำให้คนสูญเสียรู้สึกเจ็บปวด ดังนั้นต้องสอนให้เด็กรู้จักว่า เมื่อสูญเสียสิ่งของรู้สึกอย่างไรบ้าง เพื่อที่จะได้ทราบความรู้สึกผู้อื่น โดยทั้งหมดนี้จะต้องได้รับการดูแลจากผู้ปกครอบอย่างใกล้ชิด
นายแพทย์ ม.ล.สมชาย กล่าวว่า ส่วนกรณีที่เด็กให้เหตุผลในการลักขโมยในร้านเจ๊เล้ง ว่า ต้องการได้รับการยอมรับเข้าร่วมแก๊งนั้น ก็อาจเกิดขึ้นได้เช่นกัน แต่ปกติโดยทั่วไปแล้วเด็ก 10 ขวบจะยังไม่มีพฤติกรรมการเข้าร่วมแก๊ง ซึ่งจะเป็นพฤติกรรมของเด็กโตหรือวัยรุ่นมากกว่า และกรณีนี้เชื่อว่า น่าจะเกิดจากเด็กเป็นผู้ลักขโมยเอง แต่ทางร้านไม่น่าเอาเรื่องที่สุด ควรใช้วิธีการอื่นได้ แม้ว่าจะมีหลายคนเห็นใจในฐานะแม่ค้าด้วยกัน แต่ก็น่ามีวิธีการป้องกันการขโมยวิธีอื่น เพราะไม่ใช่ว่า เมื่อเอาเรื่องกับเด็กคนนี้แล้ว พฤติกรรมการลักขโมยในเด็กรายอื่น ๆ จะไม่เกิดขึ้น
แต่ในส่วนของการนำเด็กเข้ากักขังในตารางนั้น รู้สึกเห็นใจเจ้าหน้าที่ตำรวจเช่นกัน เพราะอาจมีข้อจำกัดในเรื่องพื้นที่ แต่เมื่อเป็นเช่นนั้นควรที่ห้องสารวัตรหรือห้องใดห้องหนึ่งก่อน จนกว่าผู้ปกครองจะมารับ
“การดูแลจิตใจเด็กต่อจากนี้ อย่าไปตอกย้ำถึงเรื่องที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีก เพราะไม่อยากนั้น จะเป็นการย้ำว่า เป็นเด็กขึ้ขโมย ซึ่งจะทำให้เด็กรู้สึกผิดมากขึ้น และคิดมาก มองว่าทำไม่สังคมจึงขาดความเห็นใจ ทั้งนี้หากพิจารณา บางครั้งเด็กเพียงแต่ขโมยเพราะนึกสนุกเท่านั้น ซึ่งในอดีตจะเห็นเด็กเที่ยวขโมยเด็ดต้นมะม่วงตามบ้าน ตามสวน แต่ปัจจุบันบ้านเมืองเปลี่ยนไป กลายเป็นพฤติกรรมการขโมยขนมตามร้านแทน ซึ่งพ่อแม่จะต้องดูแลอย่างใกล้ชิด ให้ความสำคัญต่อความสัมพันธ์ต่อจากนี้ แต่หากเด็กขโมยของจำพวกนาฬิกา วิทยุ เครื่องไฟฟ้า หรือของมีค่าอื่น ๆ ก็คงไม่ใช่เด็กอีกต่อไป”
นายแพทย์ ม.ล.สมชาย กล่าวยอมรับว่า เด็กรายนี้ถือว่าได้รับความบอบช้ำด้านจิตใจแล้ว ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดูแลเด็ก จะต้องเข้าให้ความช่วยเหลือ และควรให้นักจิตวิทยาเข้าดูแล ซึ่งหากไม่ใช่พื้นฐานนิสัยของการลักขโมยจะสามารถปรับเปลี่ยนได้ อย่างไรก็ตาม สำหรับในเด็กทั่วไปหากพบว่าพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ 1.การลักขโมย 2.โกหก 3.ชอบจุดไฟ และ 4.ทำร้ายหรือทรมานสัตว์ มีแนวโน้มว่า จะส่งผลต่อพฤติกรรมเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ในอนาคตที่จะเป็นภัยต่อสังคมได้ ซึ่งหากผู้ปกครองพบพฤติกรรมดังกล่าวในบุตรหลานควรที่จะให้ความใกล้ชิดดูแลมากยิ่งขึ้น เพื่อพัฒนาและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดังกล่าว
ขณะที่นายวัลลภ พลอยทับทิม ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กล่าวถึงกรณีของน้องปอว่าตนได้ส่งนักสังคมสงเคราะห์ไปพูดคุยกับเด็ก พ่อแม่เด็ก และครูแล้ว เพื่อดูพฤติกรรมเด็กที่ผ่านมาว่าเคยลักขโมยหรือมีพฤติกรรมเสียหายหรือไม่ ซึ่งพ่อแม่และโรงเรียนยืนยันว่าเด็กมีความประพฤติดี ไม่เคยมีพฤติกรรมดังกล่าว ขณะเดียวกันเด็กก็ปฏิเสธว่าที่ทำไปเนื่องจากความสนุกคึกคะนอง และมีการพนันกันในกลุ่มเพื่อน
ส่วนเจ๊เล้งซึ่งเป็นเจ้าทุกข์ก็ยืนยันว่าไม่ได้เอาเรื่องรุนแรง แต่ที่ดูว่าเกินกว่าเหตุเพราะอาจจะเห็นว่าเด็กถูกขังรวมไว้กับผู้ใหญ่ ซึ่งกฎหมายห้าม แต่ให้รีบส่งสถานพินิจฯ ภายใน 24 ชั่วโมง ดังนั้น น่าจะมีการกำหนดสถานที่ในการดูแลเด็กให้เหมาะสมกว่านี้ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าตามกฎหมายระบุว่าเด็กอายุ 7 ปี แต่ไม่เกิน 14 ปี กระทำผิดแม้ศาลจะสั่งไม่ให้รับโทษแต่ศาลก็มีเงื่อนไขให้พ่อแม่ต้องเลี้ยงดูเด็กให้เหมาะสมจะปล่อยให้ไปกระทำผิดไม่ได้
นายวัลลภ กล่าวอีกว่า ขณะนี้เป็นห่วงว่าในช่วงปิดเทอมจะมีปัญหาเด็กในลักษณะนี้อีกมากจึงจะประสานกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติในการกำหนดมาตรฐานการดูแลเด็กกระทำผิด โดยในการประชุมคณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติครั้งต่อไปจะนำประเด็นนี้เข้าหารือ ทั้งเรื่องการหาสถานที่รองรับเด็กกระทำผิด เพราะขาดวุฒิภาวะ สามารถปรับตัวได้และการป้องกันให้ปัญหาทุเลาลง ไม่ให้เกิดการซ้ำเติมเด็ก แต่อยากฝากถึงพ่อแม่ผู้ปกครองให้ระมัดระวังลูกหลานช่วงปิดเทอมมากขึ้น
นายแพทย์ ม.ล.สมชาย จักรพันธ์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวถึงพฤติกรรมการลักขโมยของเด็ก จากกรณีเด็กชาย วัย 10 ขวบ ขโมยลูกกวาดในร้านเจ๊เล้ง ว่า ต้องพิจารณาว่า พฤติกรรมการลักขโมยเกิดจากเด็กถูกผู้ใหญ่บังคับและชักจูงหรือไม่
หากเป็นเช่นนั้นจะต้องแก้ไขที่ผู้ใหญ่ เพราะเด็กอาจไม่มีนิสัยลักขโมย แต่หากเกิดจากการกระทำด้วยตนเอง จะต้องแก้ไขด้วยการพัฒนาทางด้านจิตใจ ซึ่งสาเหตุอาจเกิดจากเด็กคนนั้นไม่ได้รับสิ่งของที่ต้องการ ของเล่น หรือขนมที่อยากได้ โดยจะส่งผลต่อพฤติกรรมเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ และสาเหตุพฤติกรรมอีกประการหนึ่ง อาจเกิดจากความต้องการแก้แค้นผู้ใหญ่ ทำให้คนสูญเสียรู้สึกเจ็บปวด ดังนั้นต้องสอนให้เด็กรู้จักว่า เมื่อสูญเสียสิ่งของรู้สึกอย่างไรบ้าง เพื่อที่จะได้ทราบความรู้สึกผู้อื่น โดยทั้งหมดนี้จะต้องได้รับการดูแลจากผู้ปกครอบอย่างใกล้ชิด
นายแพทย์ ม.ล.สมชาย กล่าวว่า ส่วนกรณีที่เด็กให้เหตุผลในการลักขโมยในร้านเจ๊เล้ง ว่า ต้องการได้รับการยอมรับเข้าร่วมแก๊งนั้น ก็อาจเกิดขึ้นได้เช่นกัน แต่ปกติโดยทั่วไปแล้วเด็ก 10 ขวบจะยังไม่มีพฤติกรรมการเข้าร่วมแก๊ง ซึ่งจะเป็นพฤติกรรมของเด็กโตหรือวัยรุ่นมากกว่า และกรณีนี้เชื่อว่า น่าจะเกิดจากเด็กเป็นผู้ลักขโมยเอง แต่ทางร้านไม่น่าเอาเรื่องที่สุด ควรใช้วิธีการอื่นได้ แม้ว่าจะมีหลายคนเห็นใจในฐานะแม่ค้าด้วยกัน แต่ก็น่ามีวิธีการป้องกันการขโมยวิธีอื่น เพราะไม่ใช่ว่า เมื่อเอาเรื่องกับเด็กคนนี้แล้ว พฤติกรรมการลักขโมยในเด็กรายอื่น ๆ จะไม่เกิดขึ้น
แต่ในส่วนของการนำเด็กเข้ากักขังในตารางนั้น รู้สึกเห็นใจเจ้าหน้าที่ตำรวจเช่นกัน เพราะอาจมีข้อจำกัดในเรื่องพื้นที่ แต่เมื่อเป็นเช่นนั้นควรที่ห้องสารวัตรหรือห้องใดห้องหนึ่งก่อน จนกว่าผู้ปกครองจะมารับ
“การดูแลจิตใจเด็กต่อจากนี้ อย่าไปตอกย้ำถึงเรื่องที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีก เพราะไม่อยากนั้น จะเป็นการย้ำว่า เป็นเด็กขึ้ขโมย ซึ่งจะทำให้เด็กรู้สึกผิดมากขึ้น และคิดมาก มองว่าทำไม่สังคมจึงขาดความเห็นใจ ทั้งนี้หากพิจารณา บางครั้งเด็กเพียงแต่ขโมยเพราะนึกสนุกเท่านั้น ซึ่งในอดีตจะเห็นเด็กเที่ยวขโมยเด็ดต้นมะม่วงตามบ้าน ตามสวน แต่ปัจจุบันบ้านเมืองเปลี่ยนไป กลายเป็นพฤติกรรมการขโมยขนมตามร้านแทน ซึ่งพ่อแม่จะต้องดูแลอย่างใกล้ชิด ให้ความสำคัญต่อความสัมพันธ์ต่อจากนี้ แต่หากเด็กขโมยของจำพวกนาฬิกา วิทยุ เครื่องไฟฟ้า หรือของมีค่าอื่น ๆ ก็คงไม่ใช่เด็กอีกต่อไป”
นายแพทย์ ม.ล.สมชาย กล่าวยอมรับว่า เด็กรายนี้ถือว่าได้รับความบอบช้ำด้านจิตใจแล้ว ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดูแลเด็ก จะต้องเข้าให้ความช่วยเหลือ และควรให้นักจิตวิทยาเข้าดูแล ซึ่งหากไม่ใช่พื้นฐานนิสัยของการลักขโมยจะสามารถปรับเปลี่ยนได้ อย่างไรก็ตาม สำหรับในเด็กทั่วไปหากพบว่าพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ 1.การลักขโมย 2.โกหก 3.ชอบจุดไฟ และ 4.ทำร้ายหรือทรมานสัตว์ มีแนวโน้มว่า จะส่งผลต่อพฤติกรรมเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ในอนาคตที่จะเป็นภัยต่อสังคมได้ ซึ่งหากผู้ปกครองพบพฤติกรรมดังกล่าวในบุตรหลานควรที่จะให้ความใกล้ชิดดูแลมากยิ่งขึ้น เพื่อพัฒนาและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดังกล่าว
ขณะที่นายวัลลภ พลอยทับทิม ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กล่าวถึงกรณีของน้องปอว่าตนได้ส่งนักสังคมสงเคราะห์ไปพูดคุยกับเด็ก พ่อแม่เด็ก และครูแล้ว เพื่อดูพฤติกรรมเด็กที่ผ่านมาว่าเคยลักขโมยหรือมีพฤติกรรมเสียหายหรือไม่ ซึ่งพ่อแม่และโรงเรียนยืนยันว่าเด็กมีความประพฤติดี ไม่เคยมีพฤติกรรมดังกล่าว ขณะเดียวกันเด็กก็ปฏิเสธว่าที่ทำไปเนื่องจากความสนุกคึกคะนอง และมีการพนันกันในกลุ่มเพื่อน
ส่วนเจ๊เล้งซึ่งเป็นเจ้าทุกข์ก็ยืนยันว่าไม่ได้เอาเรื่องรุนแรง แต่ที่ดูว่าเกินกว่าเหตุเพราะอาจจะเห็นว่าเด็กถูกขังรวมไว้กับผู้ใหญ่ ซึ่งกฎหมายห้าม แต่ให้รีบส่งสถานพินิจฯ ภายใน 24 ชั่วโมง ดังนั้น น่าจะมีการกำหนดสถานที่ในการดูแลเด็กให้เหมาะสมกว่านี้ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าตามกฎหมายระบุว่าเด็กอายุ 7 ปี แต่ไม่เกิน 14 ปี กระทำผิดแม้ศาลจะสั่งไม่ให้รับโทษแต่ศาลก็มีเงื่อนไขให้พ่อแม่ต้องเลี้ยงดูเด็กให้เหมาะสมจะปล่อยให้ไปกระทำผิดไม่ได้
นายวัลลภ กล่าวอีกว่า ขณะนี้เป็นห่วงว่าในช่วงปิดเทอมจะมีปัญหาเด็กในลักษณะนี้อีกมากจึงจะประสานกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติในการกำหนดมาตรฐานการดูแลเด็กกระทำผิด โดยในการประชุมคณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติครั้งต่อไปจะนำประเด็นนี้เข้าหารือ ทั้งเรื่องการหาสถานที่รองรับเด็กกระทำผิด เพราะขาดวุฒิภาวะ สามารถปรับตัวได้และการป้องกันให้ปัญหาทุเลาลง ไม่ให้เกิดการซ้ำเติมเด็ก แต่อยากฝากถึงพ่อแม่ผู้ปกครองให้ระมัดระวังลูกหลานช่วงปิดเทอมมากขึ้น