“บินหลา บินมา บินเรื่อยมาเล่นลม ชื่นชมธรรมชาติ อันที่งามสะอาดตา ต้นยางยืนทะนง อวดทรวดทรงไม่ยอมให้ข่ม”
ภาพเด็กชายหญิงวัยเรียน ซึ่งส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามจำนวนมาก ที่เข้าร่วมโครงการ “รินน้ำใจ ใส่สมอง น้องชาวใต้” ทำให้นึกถึงบทเพลงนี้ขึ้นมา เพราะทุกคนที่มาร่วมโครงการล้วนมาด้วยใบหน้ายิ้มแย้ม และมีความมุ่งมั่นในแววตาสำหรับการเตรียมตัวสอบเอนทรานซ์เพื่อคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา แม้ว่าสถานการณ์ในพื้นที่ยังมีความรุนแรงอยู่ก็ตามที

สำหรับโครงการ “รินน้ำใจ ใส่สมอง น้องชาวใต้” นั้น ดำเนินการไปเมื่อวันที่ 4-6 มี.ค.48 โดยเป็นโครงการของกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) ที่นำคณะครู อาจารย์จากโรงเรียนชื่อดังในกรุงเทพฯ เหินฟ้าลงสู่ดินแดนด้ามขวานของไทย รินน้ำใจจัดติวเข้มเพื่อเตรียมตัวเอนทรานซ์ให้กับเด็กนักเรียนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้และ 5 อำเภอใน จ.สงขลา
โครงการดังกล่าวเกิดขึ้นเนื่องจากเหตุการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทำให้ทั้งครูและนักเรียนต่างขาดขวัญกำลังใจไปตามๆ กัน นอกจากนี้ยังเป็นสาเหตุให้การปฏิบัติการเรียนการสอนไม่เต็มที่ บางครั้งต้องหยุดเรียน ส่งผลกระทบกับคุณภาพการศึกษา โดยเฉพาะนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่กำลังจะเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา
คณะครู อาจารย์กว่า 100 คน จาก 14 โรงเรียน ได้แก่ ร.ร.วัดบวรนิเวศ ร.ร.สามเสนวิทยาลัย ร.ร.ทวีธาภิเษก ร.ร.โพธิสารพิทยากร ร.ร.เตรียมอุดมศึกษา ร.ร.หอวัง ร.ร.สตรีนนทบุรี ภปร.ราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ ร.ร.ราชสีมาวิทยาลัย จ.นครราชสีมา ร.ร.โยธินบูรณะ ร.ร.ศรีอยุธยา และ ร.ร.เตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ร.ร.ราชวินิตมัธยม ร่วมกับโรงเรียนในพื้นที่ 2 แห่ง คือ ร.ร.เดชะปัตตนยานุกูล และ ร.ร.เบญจมราชูทิศ จ.ปัตตานี โดยใช้พื้นที่โรงเรียนทั้ง 2 แห่งนี้เป็นสนามติววิชาหลักทั้งสายวิทย์และสายศิลป์ ซึ่งมีนักเรียนเข้าร่วมโครงการฯ เกือบ 2,000 คน

“ลุกมัน มะยิ” นักเรียนชั้น ม.6 จาก ร.ร.นราธิวาส จ.นราธิวาส ซึ่งเข้าร่วมโครงการนี้ โดยมีคณะมนุษยศาสตร์ภาษาอังกฤษ เป็นคณะในฝันที่อยากจะเข้าไปศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา เปิดเผยว่า นับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ไม่สงบในพื้นที่ภาคใต้ ต้องยอมรับว่าส่งผลกระทบต่อการศึกษาอย่างแน่นอน โดยทางโรงเรียนต้องให้เด็กเข้าเรียนเร็วกว่าปกติและเลิกเรียนเร็วขึ้น โดยเฉพาะหลังเลิกเรียนจะไม่ให้เด็กอยู่ในโรงเรียนเลย ทำให้ต้องยกเลิกการเรียนพิเศษไปด้วย ขณะเดียวกันการเรียนในห้องเรียน แม้ว่าจะเรียนได้ทันตามหลักสูตรที่กำหนด แต่ก็ไม่เต็มรูปแบบเหมือนที่เคยเรียนมา แม้ว่าอาจารย์จะพยายามสอนอย่างเต็มที่ก็ตาม
“กิจกรรมการเข้าค่ายลูกเสือหรือเข้าค่ายสิ่งแวดล้อมที่เคยมีปีละ1-2 ครั้งนั้น เดี๋ยวนี้แทบไม่มีเลย หรือกีฬาฟุตบอลประเพณีก็ต้องเปลี่ยนไปเล่นตอนกลางวันแทน นอกจากนี้แต่ก่อนในช่วงใกล้สอบเอนทรานซ์ นักเรียนจะรวมตัวกันเพื่อติวข้อสอบด้วยกัน แต่พอเกิดเหตุการณ์ขึ้นก็ไม่สามารถทำได้ เด็กคนไหนครอบครัวมีเงินก็จะเดินทางไปกวดวิชาที่ อ.หาดใหญ่ ซึ่งมีสถาบันกวดวิชาตั้งยู่จำนวนมาก แต่ก็ต้องใช้เงินเยอะถึงหลักหมื่น คนไหนที่ไม่มีโอกาสไปติวก็จะอ่านหนังสือที่บ้านแล้วเอากลับมาถามอาจารย์ที่โรงเรียนแทน”ลุกมัน เล่าถึงสถานการณ์ที่ประสบอยู่ในปัจจุบัน
ลุกมัน บอกเล่าความรู้สึกให้ฟังอีกว่า รู้สึกดีใจมากที่ ศธ.จัดโครงการนี้ขึ้น เพราะทุกปีที่ผ่านมาไม่เคยมีโครงการแบบนี้ เป็นการเสริมสร้างขวัญกำลังใจ และเป็นการให้โอกาสกับเด็กในพื้นที่ที่ไม่มีเงินไปกวดวิชา ซึ่งอาจารย์ที่มาสอนติวให้นั้น ก็ได้นำเอาเทคนิคต่างๆ มาถ่ายทอดให้นักเรียน ซึ่งเป็นประโยชน์กับพวกตนมาก และเชื่อว่าหากเหตุการณ์ความไม่สงบยุติลง เด็กๆ จะเรียนหนังสือได้เต็มที่อย่างแน่นอน

“วรนุช แซ่ก๊ก” หรือ น้องโบว์ นักเรียนชั้น ม.6 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ซึ่งแอบกระซิบว่าคะแนนเอนทรานซ์ที่ออกมาครั้งแรกนั้น มั่นใจได้ว่าเอนท์ติดแน่นอน แต่จะเป็นคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ตามที่ตั้งใจหรือไม่นั้นต้องรอลุ้นคะแนนรอบสอง กล่าวว่า ได้ประโยชน์จากการมาร่วมติวครั้งนี้เป็นอย่างมาก เพราะอาจารย์ที่มาสอนมีเอกลักษณ์ของแต่ละคน เพราะบางทีเรียนในห้องเรียน อาจจะคุยกับเพื่อนบ้าง แต่อาจารย์ที่มาติวจะสนใจเด็กและมีแนวการสอนที่แตกต่างกว่าในห้องเรียน เป็นลักษณะเดียวกับการติวของสถาบันกวดวิชา
“โครงการนี้ดีมาก นักเรียนไม่ต้องเดินทางไปติวในจังหวัดที่ห่างไกลและเด็กส่วนใหญ่ต้องเสียเงินกวดวิชาถึงหลักหมื่นบางคนเป็นแสน แต่โครงการนี้ทำให้ได้เรียนฟรีโดยไม่ต้องเสียเงิน เทคนิคที่อาจารย์นำมาสอนก็ทำให้จดจำได้ง่ายขึ้น ซึ่งเชื่อว่าจะช่วยเรื่องเอนทรานซ์ได้มากขึ้น และเพื่อนๆ ทุกคนต่างรู้สึกสนุกเฮฮาและไม่เบื่อหน่าย”

ด้าน “ต่วนอุสมาน เด่นอุดม” นักเรียนชั้น ม.6 ร.ร.เดชะปัตตนยานุกูล จ.ปัตตานี ซึ่งเอนทรานซ์ติดคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์แน่นอนแล้ว เปิดเผยถึงความรู้สึกที่ได้รับจากโครงการนี้ว่า ภาคใต้เป็นภาคที่มีความหวาดกลัว เด็กหลายโรงเรียนขาดโอกาสด้านการศึกษาหรือการติววิชาต่างๆ ซึ่งในพื้นที่ 3 จังหวัดไม่มีแหล่งกวดวิชามากนัก โครงการนี้ จึงเป็นการช่วยเพิ่มศักยภาพความรู้ให้กับเด็กในพื้นที่
“แต่ที่ได้มากที่สุดคือความอบอุ่นจากคนภาคอื่นๆ อยากให้มีการขยายเวลาให้มากขึ้น อาจเป็น 5 วันหรือ 1 สัปดาห์ เพื่อให้เด็กเข้ามาติวได้อย่างทั่วถึง ผมรู้สึกอบอุ่นมาก เพราะจากเหตุการณ์ความไม่สงบทำให้มีหน่วยงานต่างๆ เข้ามาดูแลในโรงเรียนมากมาย ทั้งเรื่องวิชาการ ประเพณี วัฒนธรรม รวมถึงเรื่องอื่นๆ ด้วย มีคนเอาใจใส่เรามากขึ้น ไม่เฉพาะคนในภาคใต้เท่านั้น”ต่วนเปิดเผยพร้อมรอยยิ้มบนใบหน้า

ขณะที่ “อาจารย์หนึ่ง” “เทพฤทธิ์ ยอดใส” อาจารย์จาก ร.ร.หอวัง ที่ตั้งใจเดินทางมาช่วยติวเอนทรานซ์วิชาคณิตศาสตร์ให้กับเด็กใน 3 จังหวัด เปิดเผยว่า ตั้งใจมาทำบุญด้วยความรู้ให้กับเด็กๆ อยู่แล้ว เมื่อทราบข่าวว่า ศธ.มีโครงการนี้ก็ยินดีเข้าร่วมด้วยทันที ซึ่งเด็กๆ ที่มาเรียนค่อนข้างเก่ง โดยตนสอนเสริมเรื่องเทคนิคการจำ หรือการท่องสูตรต่างๆ ให้เพราะคณิตศาสตร์เป็นเรื่องที่ต้องจำประกอบกับความเข้าใจ เชื่อว่าจะช่วยให้เด็กได้ประโยชน์มากพอสมควร เพราะอย่างน้อยจะได้เทคนิคแปลกใหม่ในการทำข้อสอบ ซึ่งอาจารย์ที่มาสอนแต่ละคนจะนำประสบการณ์ที่พบจากตัวเองมาสอน ว่าทำอย่างไรจะคิดออกมาได้เร็ว และอยากให้มีโครงการแบบนี้ขึ้นอีก เพราะเด็กจะได้รับเทคนิคการเรียนรู้เพิ่มเติม ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นในช่วงเอนทรานซ์หรือช่วงที่มีสถานการณ์ตึงเครียดเท่านั้น แต่หากจัดได้อย่างสม่ำเสมอก็จะเป็นเรื่องดี
ส่วน “สุวัฒน์ อ้นใจกล้า” ผู้อำนวยการ ภปร.ราชวิทยาลัย ซึ่งนำคณะครูในโรงเรียนเดินทางมาร่วมโครงการด้วย 11 คน กล่าวว่า กิจกรรมนี้ถือว่าเป็นกิจกรรมเพื่อสังคม โดยครูของ ภปร.จะเน้นสอนเรื่องวิทยาศาสตร์เป็นพิเศษ นอกจากนี้ได้ส่งครูแนะแนวลงมาด้วย เพื่อให้เด็กรู้จักการเลือกคณะในการศึกษาต่อ เพราะหากเด็กไม่รู้เทคนิคในการเลือกแล้ว ก็อาจจะทำให้เด็กพลาดโอกาสและเอนทรานซ์ไม่ได้ และเท่าที่ดูเด็กที่มาร่วมโครงการนั้น เด็กค่อนข้างมีความขยัน มุ่งมั่นที่จะเรียนต่อ แม้ว่าจะต้องเดินทางไกลมาร่วมติวก็ตาม
“ครูที่มาทุกคนต่างก็เต็มใจเพราะอย่างน้อยเด็กทุกคนคือลูกหลานของพวกเรา ที่เมื่อโตขึ้นก็ต้องมามีส่วนในการพัฒนาประเทศ ยิ่งครูเห็นเด็กๆ ตั้งใจเรียนยิ่งมีกำลังใจสอน บางคนสอน 6 ชั่วโมง ก็ไม่ท้อถอย ยังสอนให้อย่างเต็มที่ ที่สำคัญครูในพื้นที่กับครูจาก กทม.ยังได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์การสอนร่วมกันด้วย เพราะครูในพื้นที่จะสอนนักเรียนประกบกับครูที่มาติวให้ด้วย เนื่องจากเป็นช่วงระหว่างรอยต่อ ในบางเรื่องครูในพื้นที่ต้องไปสอนร่วมด้วย เพื่อเชื่อมต่อให้เด็กเข้าใจ ที่สำคัญคือ เรื่องกำลังใจ 3 วันที่จัดโครงการฯ อาจจะไม่ได้อะไรมาก แต่เด็กเขามีกำลังใจรู้สึกว่าไม่ได้ถูกทอดทิ้ง”
สามวันที่มีกิจกรรมนับว่าได้ผลเกินคาดเพราะมีเสียงเรียกร้องอยากให้โครงการนี้ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องทุกปี ซึ่ง คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา ปลัด ศธ.ก็ออกมาบอกแล้วว่า “มีโอกาสเป็นไปได้”
ภาพเด็กชายหญิงวัยเรียน ซึ่งส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามจำนวนมาก ที่เข้าร่วมโครงการ “รินน้ำใจ ใส่สมอง น้องชาวใต้” ทำให้นึกถึงบทเพลงนี้ขึ้นมา เพราะทุกคนที่มาร่วมโครงการล้วนมาด้วยใบหน้ายิ้มแย้ม และมีความมุ่งมั่นในแววตาสำหรับการเตรียมตัวสอบเอนทรานซ์เพื่อคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา แม้ว่าสถานการณ์ในพื้นที่ยังมีความรุนแรงอยู่ก็ตามที
สำหรับโครงการ “รินน้ำใจ ใส่สมอง น้องชาวใต้” นั้น ดำเนินการไปเมื่อวันที่ 4-6 มี.ค.48 โดยเป็นโครงการของกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) ที่นำคณะครู อาจารย์จากโรงเรียนชื่อดังในกรุงเทพฯ เหินฟ้าลงสู่ดินแดนด้ามขวานของไทย รินน้ำใจจัดติวเข้มเพื่อเตรียมตัวเอนทรานซ์ให้กับเด็กนักเรียนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้และ 5 อำเภอใน จ.สงขลา
โครงการดังกล่าวเกิดขึ้นเนื่องจากเหตุการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทำให้ทั้งครูและนักเรียนต่างขาดขวัญกำลังใจไปตามๆ กัน นอกจากนี้ยังเป็นสาเหตุให้การปฏิบัติการเรียนการสอนไม่เต็มที่ บางครั้งต้องหยุดเรียน ส่งผลกระทบกับคุณภาพการศึกษา โดยเฉพาะนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่กำลังจะเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา
คณะครู อาจารย์กว่า 100 คน จาก 14 โรงเรียน ได้แก่ ร.ร.วัดบวรนิเวศ ร.ร.สามเสนวิทยาลัย ร.ร.ทวีธาภิเษก ร.ร.โพธิสารพิทยากร ร.ร.เตรียมอุดมศึกษา ร.ร.หอวัง ร.ร.สตรีนนทบุรี ภปร.ราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ ร.ร.ราชสีมาวิทยาลัย จ.นครราชสีมา ร.ร.โยธินบูรณะ ร.ร.ศรีอยุธยา และ ร.ร.เตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ร.ร.ราชวินิตมัธยม ร่วมกับโรงเรียนในพื้นที่ 2 แห่ง คือ ร.ร.เดชะปัตตนยานุกูล และ ร.ร.เบญจมราชูทิศ จ.ปัตตานี โดยใช้พื้นที่โรงเรียนทั้ง 2 แห่งนี้เป็นสนามติววิชาหลักทั้งสายวิทย์และสายศิลป์ ซึ่งมีนักเรียนเข้าร่วมโครงการฯ เกือบ 2,000 คน
“ลุกมัน มะยิ” นักเรียนชั้น ม.6 จาก ร.ร.นราธิวาส จ.นราธิวาส ซึ่งเข้าร่วมโครงการนี้ โดยมีคณะมนุษยศาสตร์ภาษาอังกฤษ เป็นคณะในฝันที่อยากจะเข้าไปศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา เปิดเผยว่า นับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ไม่สงบในพื้นที่ภาคใต้ ต้องยอมรับว่าส่งผลกระทบต่อการศึกษาอย่างแน่นอน โดยทางโรงเรียนต้องให้เด็กเข้าเรียนเร็วกว่าปกติและเลิกเรียนเร็วขึ้น โดยเฉพาะหลังเลิกเรียนจะไม่ให้เด็กอยู่ในโรงเรียนเลย ทำให้ต้องยกเลิกการเรียนพิเศษไปด้วย ขณะเดียวกันการเรียนในห้องเรียน แม้ว่าจะเรียนได้ทันตามหลักสูตรที่กำหนด แต่ก็ไม่เต็มรูปแบบเหมือนที่เคยเรียนมา แม้ว่าอาจารย์จะพยายามสอนอย่างเต็มที่ก็ตาม
“กิจกรรมการเข้าค่ายลูกเสือหรือเข้าค่ายสิ่งแวดล้อมที่เคยมีปีละ1-2 ครั้งนั้น เดี๋ยวนี้แทบไม่มีเลย หรือกีฬาฟุตบอลประเพณีก็ต้องเปลี่ยนไปเล่นตอนกลางวันแทน นอกจากนี้แต่ก่อนในช่วงใกล้สอบเอนทรานซ์ นักเรียนจะรวมตัวกันเพื่อติวข้อสอบด้วยกัน แต่พอเกิดเหตุการณ์ขึ้นก็ไม่สามารถทำได้ เด็กคนไหนครอบครัวมีเงินก็จะเดินทางไปกวดวิชาที่ อ.หาดใหญ่ ซึ่งมีสถาบันกวดวิชาตั้งยู่จำนวนมาก แต่ก็ต้องใช้เงินเยอะถึงหลักหมื่น คนไหนที่ไม่มีโอกาสไปติวก็จะอ่านหนังสือที่บ้านแล้วเอากลับมาถามอาจารย์ที่โรงเรียนแทน”ลุกมัน เล่าถึงสถานการณ์ที่ประสบอยู่ในปัจจุบัน
ลุกมัน บอกเล่าความรู้สึกให้ฟังอีกว่า รู้สึกดีใจมากที่ ศธ.จัดโครงการนี้ขึ้น เพราะทุกปีที่ผ่านมาไม่เคยมีโครงการแบบนี้ เป็นการเสริมสร้างขวัญกำลังใจ และเป็นการให้โอกาสกับเด็กในพื้นที่ที่ไม่มีเงินไปกวดวิชา ซึ่งอาจารย์ที่มาสอนติวให้นั้น ก็ได้นำเอาเทคนิคต่างๆ มาถ่ายทอดให้นักเรียน ซึ่งเป็นประโยชน์กับพวกตนมาก และเชื่อว่าหากเหตุการณ์ความไม่สงบยุติลง เด็กๆ จะเรียนหนังสือได้เต็มที่อย่างแน่นอน
“วรนุช แซ่ก๊ก” หรือ น้องโบว์ นักเรียนชั้น ม.6 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ซึ่งแอบกระซิบว่าคะแนนเอนทรานซ์ที่ออกมาครั้งแรกนั้น มั่นใจได้ว่าเอนท์ติดแน่นอน แต่จะเป็นคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ตามที่ตั้งใจหรือไม่นั้นต้องรอลุ้นคะแนนรอบสอง กล่าวว่า ได้ประโยชน์จากการมาร่วมติวครั้งนี้เป็นอย่างมาก เพราะอาจารย์ที่มาสอนมีเอกลักษณ์ของแต่ละคน เพราะบางทีเรียนในห้องเรียน อาจจะคุยกับเพื่อนบ้าง แต่อาจารย์ที่มาติวจะสนใจเด็กและมีแนวการสอนที่แตกต่างกว่าในห้องเรียน เป็นลักษณะเดียวกับการติวของสถาบันกวดวิชา
“โครงการนี้ดีมาก นักเรียนไม่ต้องเดินทางไปติวในจังหวัดที่ห่างไกลและเด็กส่วนใหญ่ต้องเสียเงินกวดวิชาถึงหลักหมื่นบางคนเป็นแสน แต่โครงการนี้ทำให้ได้เรียนฟรีโดยไม่ต้องเสียเงิน เทคนิคที่อาจารย์นำมาสอนก็ทำให้จดจำได้ง่ายขึ้น ซึ่งเชื่อว่าจะช่วยเรื่องเอนทรานซ์ได้มากขึ้น และเพื่อนๆ ทุกคนต่างรู้สึกสนุกเฮฮาและไม่เบื่อหน่าย”
ด้าน “ต่วนอุสมาน เด่นอุดม” นักเรียนชั้น ม.6 ร.ร.เดชะปัตตนยานุกูล จ.ปัตตานี ซึ่งเอนทรานซ์ติดคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์แน่นอนแล้ว เปิดเผยถึงความรู้สึกที่ได้รับจากโครงการนี้ว่า ภาคใต้เป็นภาคที่มีความหวาดกลัว เด็กหลายโรงเรียนขาดโอกาสด้านการศึกษาหรือการติววิชาต่างๆ ซึ่งในพื้นที่ 3 จังหวัดไม่มีแหล่งกวดวิชามากนัก โครงการนี้ จึงเป็นการช่วยเพิ่มศักยภาพความรู้ให้กับเด็กในพื้นที่
“แต่ที่ได้มากที่สุดคือความอบอุ่นจากคนภาคอื่นๆ อยากให้มีการขยายเวลาให้มากขึ้น อาจเป็น 5 วันหรือ 1 สัปดาห์ เพื่อให้เด็กเข้ามาติวได้อย่างทั่วถึง ผมรู้สึกอบอุ่นมาก เพราะจากเหตุการณ์ความไม่สงบทำให้มีหน่วยงานต่างๆ เข้ามาดูแลในโรงเรียนมากมาย ทั้งเรื่องวิชาการ ประเพณี วัฒนธรรม รวมถึงเรื่องอื่นๆ ด้วย มีคนเอาใจใส่เรามากขึ้น ไม่เฉพาะคนในภาคใต้เท่านั้น”ต่วนเปิดเผยพร้อมรอยยิ้มบนใบหน้า
ขณะที่ “อาจารย์หนึ่ง” “เทพฤทธิ์ ยอดใส” อาจารย์จาก ร.ร.หอวัง ที่ตั้งใจเดินทางมาช่วยติวเอนทรานซ์วิชาคณิตศาสตร์ให้กับเด็กใน 3 จังหวัด เปิดเผยว่า ตั้งใจมาทำบุญด้วยความรู้ให้กับเด็กๆ อยู่แล้ว เมื่อทราบข่าวว่า ศธ.มีโครงการนี้ก็ยินดีเข้าร่วมด้วยทันที ซึ่งเด็กๆ ที่มาเรียนค่อนข้างเก่ง โดยตนสอนเสริมเรื่องเทคนิคการจำ หรือการท่องสูตรต่างๆ ให้เพราะคณิตศาสตร์เป็นเรื่องที่ต้องจำประกอบกับความเข้าใจ เชื่อว่าจะช่วยให้เด็กได้ประโยชน์มากพอสมควร เพราะอย่างน้อยจะได้เทคนิคแปลกใหม่ในการทำข้อสอบ ซึ่งอาจารย์ที่มาสอนแต่ละคนจะนำประสบการณ์ที่พบจากตัวเองมาสอน ว่าทำอย่างไรจะคิดออกมาได้เร็ว และอยากให้มีโครงการแบบนี้ขึ้นอีก เพราะเด็กจะได้รับเทคนิคการเรียนรู้เพิ่มเติม ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นในช่วงเอนทรานซ์หรือช่วงที่มีสถานการณ์ตึงเครียดเท่านั้น แต่หากจัดได้อย่างสม่ำเสมอก็จะเป็นเรื่องดี
ส่วน “สุวัฒน์ อ้นใจกล้า” ผู้อำนวยการ ภปร.ราชวิทยาลัย ซึ่งนำคณะครูในโรงเรียนเดินทางมาร่วมโครงการด้วย 11 คน กล่าวว่า กิจกรรมนี้ถือว่าเป็นกิจกรรมเพื่อสังคม โดยครูของ ภปร.จะเน้นสอนเรื่องวิทยาศาสตร์เป็นพิเศษ นอกจากนี้ได้ส่งครูแนะแนวลงมาด้วย เพื่อให้เด็กรู้จักการเลือกคณะในการศึกษาต่อ เพราะหากเด็กไม่รู้เทคนิคในการเลือกแล้ว ก็อาจจะทำให้เด็กพลาดโอกาสและเอนทรานซ์ไม่ได้ และเท่าที่ดูเด็กที่มาร่วมโครงการนั้น เด็กค่อนข้างมีความขยัน มุ่งมั่นที่จะเรียนต่อ แม้ว่าจะต้องเดินทางไกลมาร่วมติวก็ตาม
“ครูที่มาทุกคนต่างก็เต็มใจเพราะอย่างน้อยเด็กทุกคนคือลูกหลานของพวกเรา ที่เมื่อโตขึ้นก็ต้องมามีส่วนในการพัฒนาประเทศ ยิ่งครูเห็นเด็กๆ ตั้งใจเรียนยิ่งมีกำลังใจสอน บางคนสอน 6 ชั่วโมง ก็ไม่ท้อถอย ยังสอนให้อย่างเต็มที่ ที่สำคัญครูในพื้นที่กับครูจาก กทม.ยังได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์การสอนร่วมกันด้วย เพราะครูในพื้นที่จะสอนนักเรียนประกบกับครูที่มาติวให้ด้วย เนื่องจากเป็นช่วงระหว่างรอยต่อ ในบางเรื่องครูในพื้นที่ต้องไปสอนร่วมด้วย เพื่อเชื่อมต่อให้เด็กเข้าใจ ที่สำคัญคือ เรื่องกำลังใจ 3 วันที่จัดโครงการฯ อาจจะไม่ได้อะไรมาก แต่เด็กเขามีกำลังใจรู้สึกว่าไม่ได้ถูกทอดทิ้ง”
สามวันที่มีกิจกรรมนับว่าได้ผลเกินคาดเพราะมีเสียงเรียกร้องอยากให้โครงการนี้ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องทุกปี ซึ่ง คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา ปลัด ศธ.ก็ออกมาบอกแล้วว่า “มีโอกาสเป็นไปได้”