ปัจจุบัน คนไทยประสบปัญหาและป่วยด้วยโรคเกี่ยวกับ “กระดูก” เป็นจำนวนมาก เบาหน่อยก็ปวดคอ ปวดหลัง ปวดเอว หนักหน่อยก็กลายเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต ง่อยเปลี้ยเสียขาไป
ดังนั้น ศาสตร์การแพทย์แขนงหนึ่งที่อยากแนะนำให้เป็นทางเลือกสำหรับผู้ประสบปัญหานี้ก็คือ “การจัดโครงสร้างร่างกายเพื่อปรับสมดุล” หรือเรียกง่ายๆ สั้นๆ ว่า “การจัดกระดูก” โดยมี “อ.ชาญณรงค์ ธนภิญโญกุล” ที่เรียนรู้และสั่งสมประสบการณ์มายาวนานเป็นผู้ถ่ายทอดหัวใจแห่งวิชาจัดกระดูก
อ.ชาญณรงค์อธิบายให้ฟังว่า ศาสตร์ของการจัดกระดูกนั้น จริงๆ แล้วเป็นเรื่องของการปรับความสมดุลของร่างกายให้ถูกต้อง ซึ่งกระดูกโดยเฉพาะกระดูกสันหลังนั้นมีความสำคัญที่สุด เนื่องจากเป็นแหล่งผลิตเลือดที่ใหญ่ที่สุดและเวลาที่สมองจะสั่งงานก็จะสั่งผ่านไขสันหลัง
ด้วยเหตุนี้ ถ้าปรับกระดูกให้มีความสมดุล การทำงานของอวัยวะส่วนต่างๆ ก็จะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ทั้งนี้ สาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาสืบเนื่องมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันที่ไม่ถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอาหารการกิน การพักผ่อน การทำงาน ฯลฯ อาทิ การที่เราชอบนอนบนที่นอนหนาๆ นุ่มๆ จะทำให้น้ำหนักตัวจมลงบนที่นอน ทำให้กระดูกสันหลังไม่อยู่ในท่าทางที่เหมาะสม หรือคนที่ชอบนอนหมอนสูงก็จะทำให้กระดูกสันหลังข้อคอจะโก่งขึ้นไป เลือดที่จะไปเลี้ยงสมองก็จะน้อยลง ดังนั้น จึงมักเกิดอาการปวดหลังปวดคอขึ้น ซึ่งถ้าต้องการยืดกระดูกสันหลังให้นอนที่นอนบางๆ และเปลี่ยนมานอนหมอนต่ำๆ แทน
อย่างไรก็ตาม ไม่แนะนำให้นอนกับพื้นเพราะกล้ามเนื้อหลังของเราเป็นตัวคุมกระดูกเพื่อให้เหยียดตรงเป็นธรรมชาติและทำให้กระดูกทรงตัวได้ ถ้าเรานอนที่นอนแข็งเกินไปกล้ามเนื้อจะถูกร่างกายกดทับ เลือดก็จะไหลเวียนไม่ได้ กล้ามเนื้อก็จะแข็ง กระดูกสันหลังผลิตเลือดเลี้ยงอวัยวะภายในไม่ได้
หรือคนที่ชอบนั่งบนเบาะที่นุ่มมากเกินไป เวลานั่งกระดูกจะทิ่มลงไปในเบาะเพราะกระดูกของคนเรานั้นแข็ง แต่เนื้อของเราไม่ได้แข็ง เนื้อก็จะถูกดันขึ้นมา เส้นประสาทต่างๆ ที่อยู่ตามหมอนรองกระดูกก็จะถูกดึงขึ้นมาโดยไม่รู้ตัว และพอนานเข้ากระดูกที่ถูกกดทับก็จะผลิตเลือดไปเลี้ยงร่างกายไม่ได้ หมอนรองกระดูกก็จะอ่อนกำลังลง เป็นต้น
สำหรับวิธีการสังเกตผู้ป่วยว่ามีปัญหาอะไรมานั้น สังเกตได้จากความสมดุลของร่างกาย เช่น ถ้าคนคนนั้นเดินมาแล้วลงปลายเท้าก่อน แสดงว่าเดินหนักมีปัญหาที่ต้นคอ แต่ถ้าเดินเอาส้นเท้าลงมากแสดงว่าคนนั้นมีอาการปวดหลัง เพราะน้ำหนักจะทิ้งไปข้างหลังไปทับกระดูกไขสันหลังลงล่าง ปัญหาที่ตามมาคือระบบขับถ่ายจะแย่ ระบบสืบพันธุ์ก็จะไม่ดี
แต่ถ้าเดินแบะฝ่าเท้าข้างใดข้างหนึ่งทำให้รู้ว่าตับของคนนั้นทำงานหนักมาก ถ้าแบะข้างซ้ายลงหัวใจจะทำงานหนัก สูบฉีดเลือดขึ้นมาเลี้ยงร่างกายได้ไม่เต็มที่ เพราะหน้ากว้างของฝ่าเท้าถูกตัดออกไปเหลือแต่หน้าแคบ หัวใจจึงทำงานหนักและไตก็จะทำงานหนักตามไปด้วย เพราะถ้าหัวใจสูบฉีดเลือดขึ้นมาเลี้ยงร่างกายและอวัยวะภายในต่างๆ ได้ไม่เต็มที่ ส่งผลให้ไตที่ทำหน้าที่ในการกรองของเสียต่างๆ ทำงานหนักมากขึ้น และถ้าเดินโดยที่คอล้ำหน้ามาก่อนก็รู้ได้เลยว่าคนนั้นปวดเอ็นต้นคอ
จุดเกิดแห่งวิชาจัดกระดูก
ส่วนที่มาของการเรียนศาสตร์แขนงนี้นั้น อาจารย์ชาญณรงค์เล่าให้ฟังว่า มีที่มาจากตัวเองเป็นสำคัญ กล่าวคือ ป่วยเป็นสารพัดโรค ทั้งไตอักเสบเรื้อรัง หัวใจโต เส้นเลือดที่หัวใจตีบ 2 เส้นทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ ระบบขับถ่ายควบคุมไม่ได้ ซึ่งขณะนั้นก็ไปรักษาด้วยการแพทย์แผนปัจจุบันสารพัดแต่ก็ไม่หาย
เรียกว่าหมดความหวังในชีวิตไปแล้ว เพราะต้องทานยามากถึงวันละ 78 เม็ด แถมหมอยังบอกด้วยว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ต้องทานยาตลอดชีวิต
แต่แล้วอยู่มาวันหนึ่งก็บังเอิญได้มารู้จักกับ ศ.นพ. คุนิฮิโระ อิโตะ ชาวญี่ปุ่นที่เข้ามาสอนวิชาจัดกระดูกในเมืองไทย โดยรักษาคนที่เป็นอัมพฤกษ์นอนนิ่งอยู่บนเตียง 12 ปี และใช้เวลาเพียงแค่ 3 ชั่วโมงในการยืดโครงสร้างกระดูก ทำให้ไขประสาทที่ตึงตัวให้ยืดออกมาได้ ซึ่งเมื่อรักษาเสร็จ คนคนนั้นสามารถลุกขึ้นมานั่งเองได้ จึงเกิดความสนใจและตัดสินใจที่จะศึกษาวิชานี้นับจากนั้นเป็นต้นมา
“ผมเริ่มจากการรักษาตัวเองก่อน และมองเห็นความเป็นไปได้ในการนำศาสตร์นี้ไปรักษาผู้ป่วยคนอื่นๆ ก็เลยศึกษาอย่างจริงจังและต่อเนื่อง และตัวผมได้ศึกษาทางการแพทย์จีนด้วย ไปเรียนกดจุดและฝึกวิชาลมปราณ เรียนนวดแผนไทยที่วัดโพธิ์ จึงนำศาสตร์หลายๆ อย่างมารวมกันในลักษณะของการแพทย์แบบองค์รวม”
“ในการดัดกระดูกต่างๆ ส่วนใหญ่จะให้ผู้ป่วยดัดเอง คือผมจะกดข้อและเอ็นต่างๆ ให้ยืด แล้วดูว่ามันยืดออกไปตรงไหนแล้วไปค้ำกระดูกตรงไหนที่มีปัญหาอยู่ ถึงจะเริ่มลงมือรักษาจากจุดนั้น แต่จุดสำคัญคือเมื่อรักษาแล้ว ผู้ป่วยต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิตตามคำแนะนำ ไม่ใช่ยังทำตัวเหมือนเดิม”
ส่วนท่าทางที่ อ.ชัยณรงค์แนะนำสำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต นำไปปฏิบัติหลังจากที่ไปรักษากลับมาแล้วคือ ฝึกให้ผู้ป่วยนั่งเอนพิงข้างฝา กดกระดูกที่ต้นคอลงไป แล้วให้คนช่วยยกแขนขึ้น เมื่อยกแขนขึ้นไหปลาร้าก็จะกระดกขึ้น ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างคอ หมอนรองกระดูกก็จะยื่นออกมา เส้นเลือดที่ทำให้เกิดอัมพฤกษ์ อัมพาตคือเส้นเลือดที่ก้านสมองเกิดอาการตีบ ทำให้เลือดขึ้นไปเลี้ยงสมองไม่พอ
ผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจก็เช่นเดียวกัน ผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้จะเหนื่อยง่าย ต้องพยายามให้ผู้ป่วยยืนหรือเดินในที่สูง เช่น การขึ้นบันได เพื่อให้เลือดหมุนเวียนได้เร็วขึ้น หัวใจก็จะปั๊มเลือดได้ดีขึ้น
“คนสมัยนี้นิยมกินอาหารในตอนกลางคืน อาหารที่กินในตอนกลางคืนมันเป็นพิษ เพราะกินเข้าไปแล้วไปใช้ประโยชน์ไม่ได้ กินเข้าไปก็สะสม ทำให้เกิดโรคนิ่วในถุงน้ำดีใ นกระเพาะปัสสาวะ ในไต”อ.ชาญณรงค์ให้คำแนะนำทิ้งท้าย
สำหรับผู้ที่สนใจจะเข้ารับการปรับสมดุล โครงการผู้จัดการสุขภาพจะเชิญอ.ชาญณรงค์มาที่อาคารอนุรักษ์บ้านเจ้าพระยา ถ.พระอาทิตย์ เขตพระนคร ในวันที่ 5 เม.ย. 7 เม.ย.และ 8 เม.ย.ซึ่งสามารถโทรศัพท์สอบถามและจองเวลากันได้ที่ โทร.0-2629-2211 ต่อ 1118 เริ่มเปิดรับจองคิวทางโทรศัพท์ วันที่ 1 เม.ย. เวลา 09.00-17.00 น.
ดังนั้น ศาสตร์การแพทย์แขนงหนึ่งที่อยากแนะนำให้เป็นทางเลือกสำหรับผู้ประสบปัญหานี้ก็คือ “การจัดโครงสร้างร่างกายเพื่อปรับสมดุล” หรือเรียกง่ายๆ สั้นๆ ว่า “การจัดกระดูก” โดยมี “อ.ชาญณรงค์ ธนภิญโญกุล” ที่เรียนรู้และสั่งสมประสบการณ์มายาวนานเป็นผู้ถ่ายทอดหัวใจแห่งวิชาจัดกระดูก
อ.ชาญณรงค์อธิบายให้ฟังว่า ศาสตร์ของการจัดกระดูกนั้น จริงๆ แล้วเป็นเรื่องของการปรับความสมดุลของร่างกายให้ถูกต้อง ซึ่งกระดูกโดยเฉพาะกระดูกสันหลังนั้นมีความสำคัญที่สุด เนื่องจากเป็นแหล่งผลิตเลือดที่ใหญ่ที่สุดและเวลาที่สมองจะสั่งงานก็จะสั่งผ่านไขสันหลัง
ด้วยเหตุนี้ ถ้าปรับกระดูกให้มีความสมดุล การทำงานของอวัยวะส่วนต่างๆ ก็จะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ทั้งนี้ สาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาสืบเนื่องมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันที่ไม่ถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอาหารการกิน การพักผ่อน การทำงาน ฯลฯ อาทิ การที่เราชอบนอนบนที่นอนหนาๆ นุ่มๆ จะทำให้น้ำหนักตัวจมลงบนที่นอน ทำให้กระดูกสันหลังไม่อยู่ในท่าทางที่เหมาะสม หรือคนที่ชอบนอนหมอนสูงก็จะทำให้กระดูกสันหลังข้อคอจะโก่งขึ้นไป เลือดที่จะไปเลี้ยงสมองก็จะน้อยลง ดังนั้น จึงมักเกิดอาการปวดหลังปวดคอขึ้น ซึ่งถ้าต้องการยืดกระดูกสันหลังให้นอนที่นอนบางๆ และเปลี่ยนมานอนหมอนต่ำๆ แทน
อย่างไรก็ตาม ไม่แนะนำให้นอนกับพื้นเพราะกล้ามเนื้อหลังของเราเป็นตัวคุมกระดูกเพื่อให้เหยียดตรงเป็นธรรมชาติและทำให้กระดูกทรงตัวได้ ถ้าเรานอนที่นอนแข็งเกินไปกล้ามเนื้อจะถูกร่างกายกดทับ เลือดก็จะไหลเวียนไม่ได้ กล้ามเนื้อก็จะแข็ง กระดูกสันหลังผลิตเลือดเลี้ยงอวัยวะภายในไม่ได้
หรือคนที่ชอบนั่งบนเบาะที่นุ่มมากเกินไป เวลานั่งกระดูกจะทิ่มลงไปในเบาะเพราะกระดูกของคนเรานั้นแข็ง แต่เนื้อของเราไม่ได้แข็ง เนื้อก็จะถูกดันขึ้นมา เส้นประสาทต่างๆ ที่อยู่ตามหมอนรองกระดูกก็จะถูกดึงขึ้นมาโดยไม่รู้ตัว และพอนานเข้ากระดูกที่ถูกกดทับก็จะผลิตเลือดไปเลี้ยงร่างกายไม่ได้ หมอนรองกระดูกก็จะอ่อนกำลังลง เป็นต้น
สำหรับวิธีการสังเกตผู้ป่วยว่ามีปัญหาอะไรมานั้น สังเกตได้จากความสมดุลของร่างกาย เช่น ถ้าคนคนนั้นเดินมาแล้วลงปลายเท้าก่อน แสดงว่าเดินหนักมีปัญหาที่ต้นคอ แต่ถ้าเดินเอาส้นเท้าลงมากแสดงว่าคนนั้นมีอาการปวดหลัง เพราะน้ำหนักจะทิ้งไปข้างหลังไปทับกระดูกไขสันหลังลงล่าง ปัญหาที่ตามมาคือระบบขับถ่ายจะแย่ ระบบสืบพันธุ์ก็จะไม่ดี
แต่ถ้าเดินแบะฝ่าเท้าข้างใดข้างหนึ่งทำให้รู้ว่าตับของคนนั้นทำงานหนักมาก ถ้าแบะข้างซ้ายลงหัวใจจะทำงานหนัก สูบฉีดเลือดขึ้นมาเลี้ยงร่างกายได้ไม่เต็มที่ เพราะหน้ากว้างของฝ่าเท้าถูกตัดออกไปเหลือแต่หน้าแคบ หัวใจจึงทำงานหนักและไตก็จะทำงานหนักตามไปด้วย เพราะถ้าหัวใจสูบฉีดเลือดขึ้นมาเลี้ยงร่างกายและอวัยวะภายในต่างๆ ได้ไม่เต็มที่ ส่งผลให้ไตที่ทำหน้าที่ในการกรองของเสียต่างๆ ทำงานหนักมากขึ้น และถ้าเดินโดยที่คอล้ำหน้ามาก่อนก็รู้ได้เลยว่าคนนั้นปวดเอ็นต้นคอ
จุดเกิดแห่งวิชาจัดกระดูก
ส่วนที่มาของการเรียนศาสตร์แขนงนี้นั้น อาจารย์ชาญณรงค์เล่าให้ฟังว่า มีที่มาจากตัวเองเป็นสำคัญ กล่าวคือ ป่วยเป็นสารพัดโรค ทั้งไตอักเสบเรื้อรัง หัวใจโต เส้นเลือดที่หัวใจตีบ 2 เส้นทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ ระบบขับถ่ายควบคุมไม่ได้ ซึ่งขณะนั้นก็ไปรักษาด้วยการแพทย์แผนปัจจุบันสารพัดแต่ก็ไม่หาย
เรียกว่าหมดความหวังในชีวิตไปแล้ว เพราะต้องทานยามากถึงวันละ 78 เม็ด แถมหมอยังบอกด้วยว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ต้องทานยาตลอดชีวิต
แต่แล้วอยู่มาวันหนึ่งก็บังเอิญได้มารู้จักกับ ศ.นพ. คุนิฮิโระ อิโตะ ชาวญี่ปุ่นที่เข้ามาสอนวิชาจัดกระดูกในเมืองไทย โดยรักษาคนที่เป็นอัมพฤกษ์นอนนิ่งอยู่บนเตียง 12 ปี และใช้เวลาเพียงแค่ 3 ชั่วโมงในการยืดโครงสร้างกระดูก ทำให้ไขประสาทที่ตึงตัวให้ยืดออกมาได้ ซึ่งเมื่อรักษาเสร็จ คนคนนั้นสามารถลุกขึ้นมานั่งเองได้ จึงเกิดความสนใจและตัดสินใจที่จะศึกษาวิชานี้นับจากนั้นเป็นต้นมา
“ผมเริ่มจากการรักษาตัวเองก่อน และมองเห็นความเป็นไปได้ในการนำศาสตร์นี้ไปรักษาผู้ป่วยคนอื่นๆ ก็เลยศึกษาอย่างจริงจังและต่อเนื่อง และตัวผมได้ศึกษาทางการแพทย์จีนด้วย ไปเรียนกดจุดและฝึกวิชาลมปราณ เรียนนวดแผนไทยที่วัดโพธิ์ จึงนำศาสตร์หลายๆ อย่างมารวมกันในลักษณะของการแพทย์แบบองค์รวม”
“ในการดัดกระดูกต่างๆ ส่วนใหญ่จะให้ผู้ป่วยดัดเอง คือผมจะกดข้อและเอ็นต่างๆ ให้ยืด แล้วดูว่ามันยืดออกไปตรงไหนแล้วไปค้ำกระดูกตรงไหนที่มีปัญหาอยู่ ถึงจะเริ่มลงมือรักษาจากจุดนั้น แต่จุดสำคัญคือเมื่อรักษาแล้ว ผู้ป่วยต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิตตามคำแนะนำ ไม่ใช่ยังทำตัวเหมือนเดิม”
ส่วนท่าทางที่ อ.ชัยณรงค์แนะนำสำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต นำไปปฏิบัติหลังจากที่ไปรักษากลับมาแล้วคือ ฝึกให้ผู้ป่วยนั่งเอนพิงข้างฝา กดกระดูกที่ต้นคอลงไป แล้วให้คนช่วยยกแขนขึ้น เมื่อยกแขนขึ้นไหปลาร้าก็จะกระดกขึ้น ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างคอ หมอนรองกระดูกก็จะยื่นออกมา เส้นเลือดที่ทำให้เกิดอัมพฤกษ์ อัมพาตคือเส้นเลือดที่ก้านสมองเกิดอาการตีบ ทำให้เลือดขึ้นไปเลี้ยงสมองไม่พอ
ผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจก็เช่นเดียวกัน ผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้จะเหนื่อยง่าย ต้องพยายามให้ผู้ป่วยยืนหรือเดินในที่สูง เช่น การขึ้นบันได เพื่อให้เลือดหมุนเวียนได้เร็วขึ้น หัวใจก็จะปั๊มเลือดได้ดีขึ้น
“คนสมัยนี้นิยมกินอาหารในตอนกลางคืน อาหารที่กินในตอนกลางคืนมันเป็นพิษ เพราะกินเข้าไปแล้วไปใช้ประโยชน์ไม่ได้ กินเข้าไปก็สะสม ทำให้เกิดโรคนิ่วในถุงน้ำดีใ นกระเพาะปัสสาวะ ในไต”อ.ชาญณรงค์ให้คำแนะนำทิ้งท้าย
สำหรับผู้ที่สนใจจะเข้ารับการปรับสมดุล โครงการผู้จัดการสุขภาพจะเชิญอ.ชาญณรงค์มาที่อาคารอนุรักษ์บ้านเจ้าพระยา ถ.พระอาทิตย์ เขตพระนคร ในวันที่ 5 เม.ย. 7 เม.ย.และ 8 เม.ย.ซึ่งสามารถโทรศัพท์สอบถามและจองเวลากันได้ที่ โทร.0-2629-2211 ต่อ 1118 เริ่มเปิดรับจองคิวทางโทรศัพท์ วันที่ 1 เม.ย. เวลา 09.00-17.00 น.