“กลุ่มแรงงานสตรี” จับมือ 28 องค์กรร้องรัฐ ใช้โอกาสวันสตรีสากล เรียกร้องรัฐแก้ปัญหาเร่งด่วน 7 ข้อ จัดตั้งสถาบันคุ้มครองสุขภาพ สนับสนุนงบจัดตั้งศูนย์เลี้ยงเด็ก แก้กม.ประกันสังคม หยุดขายแปรรูปรัฐวิสาหกิจ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลาประมาณ 10.00 น.กลุ่มบูรณาการแรงงานสตรีร่วมกับองค์กรพันธมิตร 28 องค์กร นำโดยนางศุกานต์ตา สุขไผ่ตา ประธานคณะทำงานรณรงค์วันสตรีสากล นำแรงงานสตรีกว่า 200 คนมายื่นหนังสือร้องเรียนต่อนายกรัฐมนตรี โดยนางอุไรวรรณ เทียนทอง รมว.แรงงานได้ออกมารับหนังสือร้องเรียนดังกล่าวด้วยตัวเองโดยข้อร้องเรียนต่อรัฐบาลนั้นเนื่องในโอกาสวันสตรีสากล (8มี.ค.)
ข้อเรียกร้องมีดังนี้ 1.ให้รัฐบาลเร่งออกพ.ร.บ.จัดตั้งสถาบันคุ้มครองสุขภาพความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมในสถานประกอบการที่เป็นองค์กรอิสระของรัฐ มีการบริหารจัดการแบบเบญจภาคีและโอนเงินกองทุนทดแทนมาอยู่ในสถาบันนี้เพราะสิบปีที่ผ่านมารัฐบาลไม่เคยตอบรับข้อเรียกร้องดังกล่าวจนแรงงานชายและหญิงต้องประสบอุบัติเหตุและโรคจากการทำงานปีละหลายหมื่นคน
2.ให้รัฐบาลมีนโยบายและออกกฎหมายสนับสนุนรวมทั้งจัดสรรงบประมาณในการจักตั้งศูนย์เลี้ยงเด็กปฐมวัยในย่านอุตสาหกรรมและชุมชน โดยให้องค์กรแรงงานและชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการเพราะเป็นปัญหาสังคมที่รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ
3. ให้รัฐบาลและสำนักงานประกันสังคมเร่งแก้กฎหมายมาตรา 39 โดยให้ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบเพียงหนึ่งส่วนเท่านั้นและขยายการคุ้มครองไปยังแรงงานนอกระบบและให้รัฐบาลมีมาตรฐานในการคุ้มครองคนงานที่ติดเชื้อเอชไอวีโดยไม่มีเงื่อนไข
4.ให้รัฐบาลยกเลิกการจ้างเหมาช่วงงานและเหมาแรงงานในสถานประกอบการและขยายการบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองแรงงานอย่างเคร่งครัด เพราะระบบการจ้างงานเหมาช่วงและเหมาแรงงานในสถานประกอบการเป็นการจ้างงานที่กดขี่และทำลายศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เป็นการทำนาบนหลังคนด้วยการกินหัวคิวโดยผ่านบริษัทรับเหมาช่วงทำให้คนงานได้รับค่าจ้างสวัสดิการที่ต่ำกว่างานประจำ
5.ให้รัฐบาลหยุดขายและแปรรูปรัฐวิสาหกิจทุกรูปแบบ หลังเกิดวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 จนรัฐบาลต้องไปกู้เงินไอเอ็มเอฟ จนรัฐบาลต้องมีนโยบายแปรรูปรัฐวิสาหกิจเพื่อนำเงินไปใช้หนี้ แม้รัฐบาลชุดนี้จะใช้หนี้หมดแล้วจึงไม่จำเป็นต้องขายรัฐวิสาหกิจหรือนำเข้าตลาดหุ้นตามที่รัฐบาลอ้างแต่อย่างใดฉะนั้นรัฐบาลต้องหยุดแนวคิดแปรรูปรัฐวิสาหกิจ
6. ให้รัฐบาลมีนโยบายที่ชัดเจนในการส่งเสริมและพัฒนาแรงงานหญิงให้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจเชิงนโยบายทุกระดับรวมทั้งมีโอกาสไปทำงานในระดับการตัดสินใจของชาติทุกๆเรื่องด้วย
7.ให้รัฐบาลปรับค่าแรงงานขั้นต่ำโดยยึดหลักมาตรฐานขององค์กรแรงงานระหว่างประเทศ โดยขั้นต่ำต้องไม่น้อยกว่าข้าราชการคือเจ็ดพันบาทต่อเดือนเพื่อคุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่เท่ากัน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลาประมาณ 10.00 น.กลุ่มบูรณาการแรงงานสตรีร่วมกับองค์กรพันธมิตร 28 องค์กร นำโดยนางศุกานต์ตา สุขไผ่ตา ประธานคณะทำงานรณรงค์วันสตรีสากล นำแรงงานสตรีกว่า 200 คนมายื่นหนังสือร้องเรียนต่อนายกรัฐมนตรี โดยนางอุไรวรรณ เทียนทอง รมว.แรงงานได้ออกมารับหนังสือร้องเรียนดังกล่าวด้วยตัวเองโดยข้อร้องเรียนต่อรัฐบาลนั้นเนื่องในโอกาสวันสตรีสากล (8มี.ค.)
ข้อเรียกร้องมีดังนี้ 1.ให้รัฐบาลเร่งออกพ.ร.บ.จัดตั้งสถาบันคุ้มครองสุขภาพความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมในสถานประกอบการที่เป็นองค์กรอิสระของรัฐ มีการบริหารจัดการแบบเบญจภาคีและโอนเงินกองทุนทดแทนมาอยู่ในสถาบันนี้เพราะสิบปีที่ผ่านมารัฐบาลไม่เคยตอบรับข้อเรียกร้องดังกล่าวจนแรงงานชายและหญิงต้องประสบอุบัติเหตุและโรคจากการทำงานปีละหลายหมื่นคน
2.ให้รัฐบาลมีนโยบายและออกกฎหมายสนับสนุนรวมทั้งจัดสรรงบประมาณในการจักตั้งศูนย์เลี้ยงเด็กปฐมวัยในย่านอุตสาหกรรมและชุมชน โดยให้องค์กรแรงงานและชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการเพราะเป็นปัญหาสังคมที่รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ
3. ให้รัฐบาลและสำนักงานประกันสังคมเร่งแก้กฎหมายมาตรา 39 โดยให้ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบเพียงหนึ่งส่วนเท่านั้นและขยายการคุ้มครองไปยังแรงงานนอกระบบและให้รัฐบาลมีมาตรฐานในการคุ้มครองคนงานที่ติดเชื้อเอชไอวีโดยไม่มีเงื่อนไข
4.ให้รัฐบาลยกเลิกการจ้างเหมาช่วงงานและเหมาแรงงานในสถานประกอบการและขยายการบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองแรงงานอย่างเคร่งครัด เพราะระบบการจ้างงานเหมาช่วงและเหมาแรงงานในสถานประกอบการเป็นการจ้างงานที่กดขี่และทำลายศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เป็นการทำนาบนหลังคนด้วยการกินหัวคิวโดยผ่านบริษัทรับเหมาช่วงทำให้คนงานได้รับค่าจ้างสวัสดิการที่ต่ำกว่างานประจำ
5.ให้รัฐบาลหยุดขายและแปรรูปรัฐวิสาหกิจทุกรูปแบบ หลังเกิดวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 จนรัฐบาลต้องไปกู้เงินไอเอ็มเอฟ จนรัฐบาลต้องมีนโยบายแปรรูปรัฐวิสาหกิจเพื่อนำเงินไปใช้หนี้ แม้รัฐบาลชุดนี้จะใช้หนี้หมดแล้วจึงไม่จำเป็นต้องขายรัฐวิสาหกิจหรือนำเข้าตลาดหุ้นตามที่รัฐบาลอ้างแต่อย่างใดฉะนั้นรัฐบาลต้องหยุดแนวคิดแปรรูปรัฐวิสาหกิจ
6. ให้รัฐบาลมีนโยบายที่ชัดเจนในการส่งเสริมและพัฒนาแรงงานหญิงให้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจเชิงนโยบายทุกระดับรวมทั้งมีโอกาสไปทำงานในระดับการตัดสินใจของชาติทุกๆเรื่องด้วย
7.ให้รัฐบาลปรับค่าแรงงานขั้นต่ำโดยยึดหลักมาตรฐานขององค์กรแรงงานระหว่างประเทศ โดยขั้นต่ำต้องไม่น้อยกว่าข้าราชการคือเจ็ดพันบาทต่อเดือนเพื่อคุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่เท่ากัน