โครงการวิจัยโรคอ้วนในเด็ก เครือข่ายวิจัยสุขภาพมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย ออกคำแนะนำเรื่องขนม อาหารว่าง สำหรับเด็กอายุ 2 ขวบขึ้นไป เตรียมติดไฟ 3 สี “แดง เหลือง และเขียว” ให้ขนม อาหารว่าง แยกแยะประเภทมีไขมัน น้ำตาล เกลือ สูงหรือต่ำ เพื่อความสะดวกในการเลือกขนมที่เหมาะสม มีคุณค่าทางโภชนาการ พร้อมแนะขนมไทย ๆ เป็นขนมอาหารว่างทางเลือก
รศ.ดร.ประไพศรี ศิริจักรวาล สถาบันวิจัยโภชนาการมหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวในการแถลงข่าวเรื่อง ขนม อาหารว่าง เด็กไทยควรบริโภคอย่างไร ว่าการวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการของขนมและของว่างสำหรับเด็กว่า มีไขมัน น้ำตาล และเกลือ เป็นปริมาณเท่าใด จากนั้นให้ป้ายไฟสีแดงในขนมและอาหารว่างนั้น ๆ กรณีมีไขมัน น้ำตาลและเกลือสูง ส่วนสีเหลืองแสดงว่าสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานแต่พออนุโลมให้รับประทานได้แต่ไม่ควรรับประทานบ่อย สีเขียวถือเป็นขนมและอาหารว่างที่ปลอดภัย มีไขมัน น้ำตาลและเกลือต่ำ ผู้ปกครองเลือกให้เด็กรับประทานได้
รศ.ดร.ประไพศรี กล่าวว่า แนวโน้มเด็กไทยบริโภคน้ำตาลเพิ่มขึ้นในปี 2544 คนไทยบริโภคน้ำตาลเฉลี่ย 13 กิโลกรัม เป็น 29 กิโลกรัมต่อคนต่อปีหรือเฉลี่ยวันละ 19-20 ช้อนชา ขณะที่ผลการศึกษาพฤติกรรมการบริโภคขนมและอาหารว่างของเด็กอายุ 3-15 ปี จำนวน 1,589 คนใน 6 จังหวัด เมื่อปี 2547 คือ กทม. สุพรรณบุรี ปทุมธานี แพร่ อุบลราชธานี และตรัง โดยกองทันตสาธารณสุขร่วมกับสถาบันวิจัยโภชนาการพบว่าเด็กอายุ 3-15 ปี บริโภคขนมและของว่างสูงถึงร้อยละ 27 เด็กโตอายุ 6-15 ปี ได้พลังงานจากส่วนนี้ร้อยละ 16-18 ของพลังงานที่ได้รับทั้งวัน โดยเฉลี่ยพลังงานจากขนมและเครื่องดื่มที่ได้รับ 300 กิโลแคลอรี่
ซึ่งเกณฑ์มาตรฐานระบุไว้ว่าเด็กควรได้รับพลังงานตรงนี้แค่ร้อยละ 20 เมื่อวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการ มีผลการวิจัยอีกชิ้นหนึ่งพบว่า ในกลุ่มเด็กนักเรียนที่อยู่ในเขตเมืองและเขตชนบทกึ่งเมือง ในการสำรวจภาวะโภชนาการของคนไทยตั้งแต่แรกเกิดถึงอายุ 19 ปี ในปี 2542 ของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พบว่านักเรียนอนุบาลร้อยละ 12.9 และชั้นประถมศึกษาร้อยละ 13.8 มีภาวะโภชนาการเกิน คิดเป็นอัตราเพิ่มขึ้นกว่า 1 เท่าตัว เทียบกับ10 ปีที่ผ่านมา
รศ.ดร.ประไพศรี กล่าวด้วยว่า เด็กเล็กมีพฤติกรรมการกินไม่ถูกต้อง มีการกินอาหารที่ไม่ใช่อาหารหลักมากกว่า 1 ใน 4 ของพลังงานที่ได้รับทั้งวัน ในเด็กโตมีความถี่ในการดื่มน้ำอัดลม น้ำหวานมากกว่าเด็กเล็ก ซึ่งเป็นส่วนที่ให้พลังงานว่างเปล่า เป็นสาเหตุของโรคฟันผุและโรคอ้วนได้ นอกจากนี้ ยังพบว่าเด็กกลุ่มอายุ 3-5 ปี และ 6-8 ปี มีอัตราโรคฟันผุร้อยละ 61.7 และ 70.6 และในช่วงที่มีฟันแท้ขึ้นแล้วคืออายุ 9-12 ปี และ 13-15 ปี มีอัตราการเกิดโรคฟันผุร้อยละ 55 และ 60.7 การมีฟันผุทำให้เกิดปัญหาต่อการเคี้ยวอาหาร ซึ่งจะส่งผลให้เด็กกินอาหารประเภทผัก ผลไม้น้อยลง
ส่วน โซเดียมหรือเกลือที่มีอยู่ในส่วนประกอบของเครื่องปรุงรสในอาหารกรุบกรอบ ขนมขบเคี้ยวหากบริโภคมากเป็นประจำจะเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดัน ขอเรียกร้องผู้บริโภคอ่านฉลากขนม ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ยังไม่ได้บังคับ จึงมีขนมแค่ร้อยละ 25 เท่านั้นที่มีฉลากโภชนาการ
รศ.ดร.ประไพศรี กล่าวว่า ผลการวิเคราะห์ขนมและอาหารว่างสำหรับเด็กที่มีไขมัน น้ำตาล และเกลือต่ำ ได้แก่ ซาลาเปาไส้หมู แซนวิชไส้ทูน่า ซาลาเปาไส้ถั่วดำ ขนมปังไส้หมูหยอง ส่วนขนมและอาหารว่างที่มีไขมัน น้ำตาลสูงและเกลือต่ำ เช่น โดนัทสอดไส้แยม ขณะที่พิซซ่ามีไขมัน เกลือสูง ส่วนน้ำตาลต่ำ สำหรับขนมทางเลือกที่มีไขมัน น้ำตาล และเกลือต่ำ ที่เป็นขนมไทย ได้แก่ ขนมตาล ถั่วแปบ ถั่วกวน ข้ามต้มมัด ข้าวเหนียวถั่วดำ ถั่วเขียวต้ม ขนมกล้วย ฟักทอง เล็บมือนาง ขณะที่ปลากริมไข่เต่า ลอดช่องน้ำกะทิ หม้อแกง จัดเป็นขนมที่มีไขมัน น้ำตาลสูง
รศ.ดร.ประไพศรี ศิริจักรวาล สถาบันวิจัยโภชนาการมหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวในการแถลงข่าวเรื่อง ขนม อาหารว่าง เด็กไทยควรบริโภคอย่างไร ว่าการวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการของขนมและของว่างสำหรับเด็กว่า มีไขมัน น้ำตาล และเกลือ เป็นปริมาณเท่าใด จากนั้นให้ป้ายไฟสีแดงในขนมและอาหารว่างนั้น ๆ กรณีมีไขมัน น้ำตาลและเกลือสูง ส่วนสีเหลืองแสดงว่าสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานแต่พออนุโลมให้รับประทานได้แต่ไม่ควรรับประทานบ่อย สีเขียวถือเป็นขนมและอาหารว่างที่ปลอดภัย มีไขมัน น้ำตาลและเกลือต่ำ ผู้ปกครองเลือกให้เด็กรับประทานได้
รศ.ดร.ประไพศรี กล่าวว่า แนวโน้มเด็กไทยบริโภคน้ำตาลเพิ่มขึ้นในปี 2544 คนไทยบริโภคน้ำตาลเฉลี่ย 13 กิโลกรัม เป็น 29 กิโลกรัมต่อคนต่อปีหรือเฉลี่ยวันละ 19-20 ช้อนชา ขณะที่ผลการศึกษาพฤติกรรมการบริโภคขนมและอาหารว่างของเด็กอายุ 3-15 ปี จำนวน 1,589 คนใน 6 จังหวัด เมื่อปี 2547 คือ กทม. สุพรรณบุรี ปทุมธานี แพร่ อุบลราชธานี และตรัง โดยกองทันตสาธารณสุขร่วมกับสถาบันวิจัยโภชนาการพบว่าเด็กอายุ 3-15 ปี บริโภคขนมและของว่างสูงถึงร้อยละ 27 เด็กโตอายุ 6-15 ปี ได้พลังงานจากส่วนนี้ร้อยละ 16-18 ของพลังงานที่ได้รับทั้งวัน โดยเฉลี่ยพลังงานจากขนมและเครื่องดื่มที่ได้รับ 300 กิโลแคลอรี่
ซึ่งเกณฑ์มาตรฐานระบุไว้ว่าเด็กควรได้รับพลังงานตรงนี้แค่ร้อยละ 20 เมื่อวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการ มีผลการวิจัยอีกชิ้นหนึ่งพบว่า ในกลุ่มเด็กนักเรียนที่อยู่ในเขตเมืองและเขตชนบทกึ่งเมือง ในการสำรวจภาวะโภชนาการของคนไทยตั้งแต่แรกเกิดถึงอายุ 19 ปี ในปี 2542 ของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พบว่านักเรียนอนุบาลร้อยละ 12.9 และชั้นประถมศึกษาร้อยละ 13.8 มีภาวะโภชนาการเกิน คิดเป็นอัตราเพิ่มขึ้นกว่า 1 เท่าตัว เทียบกับ10 ปีที่ผ่านมา
รศ.ดร.ประไพศรี กล่าวด้วยว่า เด็กเล็กมีพฤติกรรมการกินไม่ถูกต้อง มีการกินอาหารที่ไม่ใช่อาหารหลักมากกว่า 1 ใน 4 ของพลังงานที่ได้รับทั้งวัน ในเด็กโตมีความถี่ในการดื่มน้ำอัดลม น้ำหวานมากกว่าเด็กเล็ก ซึ่งเป็นส่วนที่ให้พลังงานว่างเปล่า เป็นสาเหตุของโรคฟันผุและโรคอ้วนได้ นอกจากนี้ ยังพบว่าเด็กกลุ่มอายุ 3-5 ปี และ 6-8 ปี มีอัตราโรคฟันผุร้อยละ 61.7 และ 70.6 และในช่วงที่มีฟันแท้ขึ้นแล้วคืออายุ 9-12 ปี และ 13-15 ปี มีอัตราการเกิดโรคฟันผุร้อยละ 55 และ 60.7 การมีฟันผุทำให้เกิดปัญหาต่อการเคี้ยวอาหาร ซึ่งจะส่งผลให้เด็กกินอาหารประเภทผัก ผลไม้น้อยลง
ส่วน โซเดียมหรือเกลือที่มีอยู่ในส่วนประกอบของเครื่องปรุงรสในอาหารกรุบกรอบ ขนมขบเคี้ยวหากบริโภคมากเป็นประจำจะเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดัน ขอเรียกร้องผู้บริโภคอ่านฉลากขนม ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ยังไม่ได้บังคับ จึงมีขนมแค่ร้อยละ 25 เท่านั้นที่มีฉลากโภชนาการ
รศ.ดร.ประไพศรี กล่าวว่า ผลการวิเคราะห์ขนมและอาหารว่างสำหรับเด็กที่มีไขมัน น้ำตาล และเกลือต่ำ ได้แก่ ซาลาเปาไส้หมู แซนวิชไส้ทูน่า ซาลาเปาไส้ถั่วดำ ขนมปังไส้หมูหยอง ส่วนขนมและอาหารว่างที่มีไขมัน น้ำตาลสูงและเกลือต่ำ เช่น โดนัทสอดไส้แยม ขณะที่พิซซ่ามีไขมัน เกลือสูง ส่วนน้ำตาลต่ำ สำหรับขนมทางเลือกที่มีไขมัน น้ำตาล และเกลือต่ำ ที่เป็นขนมไทย ได้แก่ ขนมตาล ถั่วแปบ ถั่วกวน ข้ามต้มมัด ข้าวเหนียวถั่วดำ ถั่วเขียวต้ม ขนมกล้วย ฟักทอง เล็บมือนาง ขณะที่ปลากริมไข่เต่า ลอดช่องน้ำกะทิ หม้อแกง จัดเป็นขนมที่มีไขมัน น้ำตาลสูง