14 ก.พ. เป็นวันที่คู่รักหลายคู่ตัดสินใจใช้ชีวิตร่วมกัน ขณะที่บางคู่ก็ตัดสินใจมีทายาทในเดือนนี้เพื่อเติมเต็มชีวิตให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตาม กล่าวเฉพาะประเด็นเรื่องการผลิตทายาทนั้น ต้องบอกว่า คงต้องมีการเตรียมตัวให้พร้อมเพื่อให้ลูกน้อยที่อยู่ในท้องพัฒนาอย่างมีคุณภาพ ส่วนจะทำอย่างไร แบบไหน ลองมาฟังผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กที่มีความสามารถพิเศษเสนอแนะพร้อมให้แนวทางกัน
ผศ.ดร.อุษณีย์ อนุรุทธ์วงศ์ รองประธานสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้ที่มีความสามารถพิเศษ ม.ศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) ให้ข้อมูลว่า การเตรียมลูกให้เป็นคนที่มีความคิด ความรู้สึก กาย ใจและสติปัญญาที่ดีได้นั้น พ่อแม่ต้องเตรียมตัวตั้งแต่ตัดสินใจที่จะใช้ชีวิตร่วมกัน และคิดว่าจะมีบุตรก็ต้องวางแผนเตรียมตัวเองตั้งแต่ร่างกาย จิตใจให้พร้อม

ทั้งนี้ ถ้าหากพ่อแม่มีภาวะเครียดและมีปัญหาในช่วงที่คิดมีบุตร ทุกสิ่งทุกอย่างจะถ่ายทอดไปยังเด็ก โดยเฉพาะในช่วงอายุครรภ์ 6 เดือน เนื่องจากเด็กจะมีอวัยวะต่างๆ ครบสมบูรณ์ รับรู้ความรู้สึกทุกอย่าง ถ้าแม่ร้องไห้ลูกก็จะร้องไห้อยู่ในท้อง แม่หัวเราะมีความสุขลูกก็จะมีความสุข ทุกอย่างที่แม่คิด แม่รู้สึกลูกจะรับรู้และถูกถ่ายทอดไปที่ลูก
“เรามักคิดว่าเด็กไม่รู้เรื่อง แต่ในความเป็นจริงแล้ว ทารกที่อยู่ในท้องเขาก็มีภาษาจิต ในวงการการสะกดจิตเพื่อรักษาโรคและบำบัดโรคนั้น ทำให้เรารู้ว่าเด็กที่แม่อยู่ในภาวะเครียดขณะตั้งท้อง และแม่ร้องไห้ตลอดเวลา เด็กจะเสียใจและมีผลต่อบุคลิกภาพเขาจะเป็นคนขี้ขลาด กลัว ไม่มั่นใจ เก็บกด บางรายแม่ไม่ต้องการหรือบางรายแม่พยายามทำแท้งและไม่สำเร็จ เด็กจะรู้ตัวว่าเขาไม่ได้เป็นที่ต้องการ บุคลิกภาพเมื่อเขาคลอดและเติบโต เขาจะไม่ไว้วางใจใคร หวาดระแวง เด็กบางคนมีอาการทางประสาท”
“ในกรณีที่พลาดพลั้งไปและตั้งครรภ์ อยากให้รู้ว่าขณะนี้เรามีมนุษย์อยู่ในร่างกายเราอีก 1 คน เขารับรู้ทุกอย่างที่เราคิดและรู้สึก ถ้าคุณกำลังมีความคิดว่าไม่ต้องการเขา ขอร้องอย่าคิดและรู้สึกอย่างนั้น เพราะลูกจะเป็นคนที่มีปัญหาและสร้างปัญหาต่อไปอีกในอนาคต ส่วนเรื่องความเครียด เราสามารถฝึกได้ ไม่ว่าจะฟังดนตรี อ่านหนังสือ ปฏิบัติธรรม หรือหางานอดิเรกที่ชอบทำ ถ้าวันหนึ่งไม่ได้ยิ้ม ไม่ได้หัวเราะจะมีสารแห่งความเครียดหลั่งออกมาแล้ว คนเราถ้าไม่ได้ยิ้ม ไม่ได้หัวเราะติดกัน 7 วันหรือเศร้าซึม 7 วัน มีสิทธิ์ฆ่าตัวตายได้เพราะสารที่ทำให้เกิดอารมณ์หดหู่สะสมในร่างกายมากเกินไป เราต้องรู้จักผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ออกกำลังกาย ทำสมาธิ หรือหากิจกรรมทำเพื่อให้รู้สึกผ่อนคลายจริงๆ”
ผศ.ดร.อุษณีย์ให้คำแนะนำอีกว่า บางคนชอบทำงานก็ต้องหางานที่หลากหลายทำบ้าง เช่นงานบ้านมีซักผ้า รีดผ้า ตัดต้นไม้ ถูบ้าน ขัดห้องน้ำ ทำสวน ไม่ใช่ทำงานอยู่หน้าคอมพิวเตอร์หรือทำงานลักษณะเดียวในเวลานานๆ ก็ทำให้เกิดความเครียดได้
การทำงานที่หลากหลายส่งผลให้เกิดความเคลื่อนไหวของร่างกาย สมองทุกส่วนจะได้ใช้ เนื่องจากสมองของมนุษย์ไม่ได้มีแค่ 3 ท่อนและ 2 ซีก ในร่างกายทุกส่วนมีความทรงจำ สมองทำงานร่วมกับร่างกายทุกส่วน ดังนั้น ต้องดูแลไม่ให้เกิดความเครียด และจงรู้ว่าไม่ว่าจะทำอะไร เราใช้ทั้งร่างกายทุกส่วน ไม่ใช่ใช้เพียงแค่ส่วนใดส่วนหนึ่งเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม กล่าวเฉพาะประเด็นเรื่องการผลิตทายาทนั้น ต้องบอกว่า คงต้องมีการเตรียมตัวให้พร้อมเพื่อให้ลูกน้อยที่อยู่ในท้องพัฒนาอย่างมีคุณภาพ ส่วนจะทำอย่างไร แบบไหน ลองมาฟังผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กที่มีความสามารถพิเศษเสนอแนะพร้อมให้แนวทางกัน
ผศ.ดร.อุษณีย์ อนุรุทธ์วงศ์ รองประธานสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้ที่มีความสามารถพิเศษ ม.ศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) ให้ข้อมูลว่า การเตรียมลูกให้เป็นคนที่มีความคิด ความรู้สึก กาย ใจและสติปัญญาที่ดีได้นั้น พ่อแม่ต้องเตรียมตัวตั้งแต่ตัดสินใจที่จะใช้ชีวิตร่วมกัน และคิดว่าจะมีบุตรก็ต้องวางแผนเตรียมตัวเองตั้งแต่ร่างกาย จิตใจให้พร้อม
ทั้งนี้ ถ้าหากพ่อแม่มีภาวะเครียดและมีปัญหาในช่วงที่คิดมีบุตร ทุกสิ่งทุกอย่างจะถ่ายทอดไปยังเด็ก โดยเฉพาะในช่วงอายุครรภ์ 6 เดือน เนื่องจากเด็กจะมีอวัยวะต่างๆ ครบสมบูรณ์ รับรู้ความรู้สึกทุกอย่าง ถ้าแม่ร้องไห้ลูกก็จะร้องไห้อยู่ในท้อง แม่หัวเราะมีความสุขลูกก็จะมีความสุข ทุกอย่างที่แม่คิด แม่รู้สึกลูกจะรับรู้และถูกถ่ายทอดไปที่ลูก
“เรามักคิดว่าเด็กไม่รู้เรื่อง แต่ในความเป็นจริงแล้ว ทารกที่อยู่ในท้องเขาก็มีภาษาจิต ในวงการการสะกดจิตเพื่อรักษาโรคและบำบัดโรคนั้น ทำให้เรารู้ว่าเด็กที่แม่อยู่ในภาวะเครียดขณะตั้งท้อง และแม่ร้องไห้ตลอดเวลา เด็กจะเสียใจและมีผลต่อบุคลิกภาพเขาจะเป็นคนขี้ขลาด กลัว ไม่มั่นใจ เก็บกด บางรายแม่ไม่ต้องการหรือบางรายแม่พยายามทำแท้งและไม่สำเร็จ เด็กจะรู้ตัวว่าเขาไม่ได้เป็นที่ต้องการ บุคลิกภาพเมื่อเขาคลอดและเติบโต เขาจะไม่ไว้วางใจใคร หวาดระแวง เด็กบางคนมีอาการทางประสาท”
“ในกรณีที่พลาดพลั้งไปและตั้งครรภ์ อยากให้รู้ว่าขณะนี้เรามีมนุษย์อยู่ในร่างกายเราอีก 1 คน เขารับรู้ทุกอย่างที่เราคิดและรู้สึก ถ้าคุณกำลังมีความคิดว่าไม่ต้องการเขา ขอร้องอย่าคิดและรู้สึกอย่างนั้น เพราะลูกจะเป็นคนที่มีปัญหาและสร้างปัญหาต่อไปอีกในอนาคต ส่วนเรื่องความเครียด เราสามารถฝึกได้ ไม่ว่าจะฟังดนตรี อ่านหนังสือ ปฏิบัติธรรม หรือหางานอดิเรกที่ชอบทำ ถ้าวันหนึ่งไม่ได้ยิ้ม ไม่ได้หัวเราะจะมีสารแห่งความเครียดหลั่งออกมาแล้ว คนเราถ้าไม่ได้ยิ้ม ไม่ได้หัวเราะติดกัน 7 วันหรือเศร้าซึม 7 วัน มีสิทธิ์ฆ่าตัวตายได้เพราะสารที่ทำให้เกิดอารมณ์หดหู่สะสมในร่างกายมากเกินไป เราต้องรู้จักผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ออกกำลังกาย ทำสมาธิ หรือหากิจกรรมทำเพื่อให้รู้สึกผ่อนคลายจริงๆ”
ผศ.ดร.อุษณีย์ให้คำแนะนำอีกว่า บางคนชอบทำงานก็ต้องหางานที่หลากหลายทำบ้าง เช่นงานบ้านมีซักผ้า รีดผ้า ตัดต้นไม้ ถูบ้าน ขัดห้องน้ำ ทำสวน ไม่ใช่ทำงานอยู่หน้าคอมพิวเตอร์หรือทำงานลักษณะเดียวในเวลานานๆ ก็ทำให้เกิดความเครียดได้
การทำงานที่หลากหลายส่งผลให้เกิดความเคลื่อนไหวของร่างกาย สมองทุกส่วนจะได้ใช้ เนื่องจากสมองของมนุษย์ไม่ได้มีแค่ 3 ท่อนและ 2 ซีก ในร่างกายทุกส่วนมีความทรงจำ สมองทำงานร่วมกับร่างกายทุกส่วน ดังนั้น ต้องดูแลไม่ให้เกิดความเครียด และจงรู้ว่าไม่ว่าจะทำอะไร เราใช้ทั้งร่างกายทุกส่วน ไม่ใช่ใช้เพียงแค่ส่วนใดส่วนหนึ่งเท่านั้น