เครื่องมือไม่พร้อม กลัวเครื่องมือพัง ไม่มีแหล่งข้อมูล ไม่รู้จะถามใคร ชั่วโมงเรียนน้อย ครูวิทยาศาสตร์ไม่รู้จริง ล้วนเป็นสาเหตุที่ส่งผลให้วิทยาศาสตร์กลายเป็นยาขมสำหรับเด็กไทยสมัยก่อน ทว่า ปัจจุบันเด็กไทยหลายคนกลับมองวิทยาศาสตร์ไม่ต่างอะไรกับ “ขนมหวาน” เพราะพวกเขารู้สึกสนุก เอร็ดอร่อยกับการค้นพบ ค้นคว้า ทดลอง เรียนรู้สิ่งใหม่ผ่านสนามทดลองของตนเอง

เครื่องตรวจจับแผ่นดินไหวใต้ทะเล (Seismometer) จากฝีมือ มุ่งมั่น ค้นคว้า ทดลองของเด็กไทยระดับม.3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง ด.ญ. วราภรณ์ เกตุอุไร น่าจะเป็นบทพิสูจน์พัฒนาการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กไทยได้อย่างดี เพราะไม่เพียงแต่แสดงถึงความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ และตอบโจทย์ความสงสัยทางวิทยาศาสตร์ที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กับปัญหาที่มนุษย์ต้องเผชิญอยู่ในปัจจุบันเท่านั้น แต่ยังเป็นกระจกสะท้อนขีดความสามารถของเด็กไทยว่าไม่ด้อยไปกว่าชาติอื่นแต่อย่างใด
น้องวราภรณ์เผยแรงบันดาลใจในการสร้างเครื่องตรวจจับแผ่นดินไหวใต้ทะเล ที่ติดหนึ่ง ใน 23 ของการประกวดโครงงานของนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ และวิศวกรรมศาสตร์ของกระทรวงไอซีที ว่า สนใจเรื่องแผ่นดินไหวมาตั้งแต่ตอนเรียนชั้น ม.1 โดยเฉพาะที่เกิดขึ้นเป็นประจำในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งหลายครั้งเห็นว่าการเตือนภัยยังทำได้ล่าช้า จนเป็นเหตุให้มีความสูญเสียเกิดขึ้นจำนวนมาก จึงได้คิดและพยายามสร้างเครื่องตรวจจับแผ่นดินไหวที่สามารถตรวจจับได้เร็วขึ้น เพื่อที่จะได้เตือนภัยประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ประสบภัยได้เร็วขึ้น
อีกทั้งปัจจุบันการติดตั้งเครื่องตรวจจับแผ่นดินไหวยังจำกัดอยู่แค่บนบก บริเวณชายฝั่งทะเล และแนวภูเขาไฟบนบกเท่านั้น แต่ยังไม่เคยมีการติดตั้งใต้ท้องมหาสมุทร เช่น บริเวณรอยต่อทวีป (Plates) กลางทะเล ภูเขาไฟใต้ทะเล และเหวใต้ท้องมหาสมุทร ซึ่งบริเวณดังกล่าวเป็นเปลือกโลกส่วนล่างที่เป็นหินไซมา (Sima) ซึ่งบอบบางที่สุดในชั้นเปลือกโลกนั้น การติดตั้งเครื่องตรวจจับแผ่นดินไหวใต้ทะเลที่ชั้นหินนี้จึงน่าจะมีข้อมูลการเกิดแผ่นดินไหวในแนวใหม่ที่อาจมีผลต่อการพยากรณ์ในอนาคตได้ โดยเฉพาะถ้าจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวไม่ได้อยู่บนบก

น้องวราภรณ์อธิบายการทำงานของเครื่องตรวจจับแผ่นดินไหวที่สร้างขึ้นว่าจะใช้เครื่องมือเซ็นเซอร์ที่สามารถตรวจจับคลื่นความถี่ต่ำ หรืออินฟราโซนิค (Infrasonic) ที่เกิดจากการเคลื่อนที่ชนกันอย่างช้าๆของเปลือกโลกได้ดี โดยเบื้องต้นจะใช้การทำงานแบบคอนเดนเซอร์ไมค์ (Condenser Microphones) ที่สามารถรับเสียงได้ราบเรียบและสัญญาณความถี่ต่างๆได้กว้าง และใช้รัศมีรับสัญญาณแบบบช็อตกัน (Short Gun) ที่จะรับสัญญาณมุมแคบเฉพาะด้านหน้าเท่านั้น เพื่อจะได้รับสัญญาณความถี่ต่ำที่ถูกต้องจากในพื้นดินเท่านั้น รวมทั้งจะใช้พาราเมตริก อีควอไลเซอร์ (Parametric EQ) ที่จะกรองควมถี่ที่ไม่จำเป็นออก และเพิ่มสัญญาณเสียง (Hz) ของสัญญาณที่ต้องการ
นอกจากนั้น จะต้องออกแบบทุ่นลอย, Body ของตัวเซ็นเซอร์, อุปกรณ์ติดตั้ง, ระบบการทำงานพื้นฐานและฉุกเฉิน โดยการออกแบบตัวเซ็นเซอร์นั้นจะมีด้วยกัน 3 ตัว คือตัวตรวจจับคลื่นอินฟราโซนิค ตรวจจับก๊าซประเภทซัลเฟอรัส (Sulfurous) ที่ระหว่างเกิดแผ่นดินไหวจะมีก๊าซใต้พิภพประเภทนี้แทรกขึ้นมา และสุดท้ายตรวจจับไอออนที่เพิ่มขึ้นผิดปกติจากความกดดันมหาศาลภายในหินที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของเพลต (Plates) ที่ทำให้อำนาจประจุไฟฟ้าถูกปล่อยออกมาส่วนหนึ่งในลักษณะของไอออน ซึ่งจะเป็นประจุบวกหรือลบก็ได้ ทั้งนี้ ระบบการทำงานทั้งหมดจะใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งมีอย่างเหลือเฟือ
น้องวราภรณ์เล่าว่าใช้เวลาประดิษฐ์เครื่องตรวจจับแผ่นดินไหวนี้มาเรื่อยๆ ตั้งแต่ตอนเรียน ม.1 เมื่อเกิดข้อสงสัยก็จะใช้วิธีการค้นหาคำตอบจากอินเทอร์เน็ตบ้าง ปรึกษาครูวิทยาศาสตร์บ้าง หรือไม่ก็ถามพ่อที่เป็นวิศวกรบ้าง แม้บางครั้งจะทดลองอะไรผิดพลาดบ้าง ก็ไม่เป็นไร ไม่มีใครว่า เพราะวิทยาศาสตร์ก็คือการลองผิดลองถูก โดยจะนำบทเรียนจากความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในครั้งก่อนๆมาพัฒนาการทดลองครั้งต่อไปให้ดีขึ้น
“วิทยาศาสตร์ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอย่างที่หลายคนคิด เพราะเหตุการณ์ธรรมชาติหลายอย่างที่เกิดขึ้น เช่น แผ่นดินไหวนั้น สามารถใช้วิทยาศาสตร์อธิบายปรากฏการณ์นี้ได้ วิทยาศาสตร์จึงเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของมนุษย์ อีกทั้งวิทยาศาสตร์ยังสนุก น่าตื่นเต้น และมีความแปลกใหม่ท้าทายมาให้ลองเสมอ เครื่องตรวจจับแผ่นดินไหวฯที่สร้างขึ้นนี้ แม้จะเป็นเพียงแค่โมเดลจากฝีมือของเด็กตัวน้อยๆที่ยังต้องการการวิจัยปรับปรุงอีก แต่จะดีใจมากถ้าผู้ใหญ่นำไปพัฒนาจนใช้ได้จริง”

น้องวราภรณ์แนะว่าถ้าอยากเรียนวิทยาศาสตร์เก่ง ต้องเป็นคนช่างสังเกต กล้าคิดกล้าทำ และเวลาเรียนต้องรู้สึกสนุกกับมัน เพราะจะทำให้งานที่ออกมาดี และที่สำคัญต้องไม่กลัวว่าจะล้มเหลวหรือผิดพลาด เพราะวิทยาศาสตร์สามารถทดลอง แก้ไขใหม่ได้เสมอ เช่น โทมัส อัลวา เอดิสัน ยอดนักประดิษฐ์ของโลกก็ต้องผ่านความผิดพลาด ผิดหวังหลายครั้ง กว่าจะประดิษฐ์หลอดไฟสำเร็จ แม้อนาคตข้างหน้ายังไม่ได้คิดว่าจะเรียนอะไร แต่มั่นใจว่าจะทำงานด้านวิทยาศาสตร์ที่ตัวเองชื่นชอบแน่นอน
ด้านเชษฐ พ่อน้องวราภรณ์เผยว่าพยายามส่งเสริมลูกอย่างเต็มที่ในการทดลอง ประดิษฐ์สิ่งของต่างๆ เพราะเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ และส่งเสริมพัฒนาการทางปัญญาของเด็ก เมื่อเขาอยากได้อะไรเกี่ยวกับการประดิษฐ์ทดลอง ก็จะพยามยามจัดหาให้ แม้บางครั้งอุปกรณ์ประเภทนี้จะราคาแพงและหาซื้อยากก็ตาม อีกทั้งเมื่อเขามีปัญหา เราก็จะพากันไปถามคนอื่นที่รู้ หรือไม่ก็ช่วยกันค้นหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ต ดังนั้นความรักในการประดิษฐ์ ค้นคว้า ทดลองของลูกจึงเป็นดั่งสะพานเชื่อมโยงความสัมพันธ์ในครอบครัว
เช่นเดียวกับ อ.ทิพย์ หาสาสน์ศรี รองคณบดีฝ่ายโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง ที่เผยว่าทางโรงเรียนฯ ไม่ได้มุ่งหวังให้เด็กนักเรียนเก่งวิชาการเพียงอย่างเดียว แต่ต้องการให้พวกเขามีสังคม กิจกรรมด้านอื่นควบคู่ไปด้วย นอกเหนือจากการเรียน เช่น กีฬา ดนตรี ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำให้เขามีความสุขกับชีวิตโรงเรียน ไม่เครียดจากการแข่งขันกันทำคะแนนสูงๆมากเกินไป
อย่างไรก็ตาม สำหรับนักเรียนที่ฉายแววความสามารถ โดยเฉพาะด้านวิทยาศาสตร์นั้น ทางโรงเรียนจะสนับสนุนเต็มที่ โดยผ่านกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน ค่ายกิจกรรมต่างๆทั้งในและนอกโรงเรียน และร่วมแข่งขันประกวดด้านวิทยาศาสตร์ต่างๆ เช่น การประกวดโครงงานของนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ และวิศวกรรมศาสตร์
ทั้งนี้ เยาวชนที่ชนะเลิศในการประกวดโครงงานฯจะได้รับทุนการศึกษา 50,000 บาท และได้ไปร่วมแข่งขันในงาน Intel International Science and Engineering Fair (Intel ISEF) ที่ประเทศอเมริกาด้วย
..ผู้สนใจชมความสามารถด้านวิทยาศาสตร์ของทรัพยากรมนุษย์น้อยๆที่มีค่าของประเทศไทย จึงไม่ควรพลาดและเป็นกำลังใจให้พวกเขาในงานมหกรรมประกวดเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร (ICT) แห่งประเทศไทยครั้งที่ 4 (Thailand ICT Contest Festival) ระหว่างวันที่ 10-12 กุมภาพันธ์ 2548 ณ ศูนย์อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ใกล้กับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต เพราะจะได้ดื่มด่ำกับความสามารถของเด็กไทยที่ไม่มีเพียงเครื่องตรวจจับแผ่นดินไหวใต้ทะเลเท่านั้น แต่ยังมีหุ่นยนต์เช็ดต้นไม้ ลานจอดรถอัจฉริยะ และระบบจอดรถยนต์อัตโนมัติด้วย
เครื่องตรวจจับแผ่นดินไหวใต้ทะเล (Seismometer) จากฝีมือ มุ่งมั่น ค้นคว้า ทดลองของเด็กไทยระดับม.3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง ด.ญ. วราภรณ์ เกตุอุไร น่าจะเป็นบทพิสูจน์พัฒนาการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กไทยได้อย่างดี เพราะไม่เพียงแต่แสดงถึงความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ และตอบโจทย์ความสงสัยทางวิทยาศาสตร์ที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กับปัญหาที่มนุษย์ต้องเผชิญอยู่ในปัจจุบันเท่านั้น แต่ยังเป็นกระจกสะท้อนขีดความสามารถของเด็กไทยว่าไม่ด้อยไปกว่าชาติอื่นแต่อย่างใด
น้องวราภรณ์เผยแรงบันดาลใจในการสร้างเครื่องตรวจจับแผ่นดินไหวใต้ทะเล ที่ติดหนึ่ง ใน 23 ของการประกวดโครงงานของนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ และวิศวกรรมศาสตร์ของกระทรวงไอซีที ว่า สนใจเรื่องแผ่นดินไหวมาตั้งแต่ตอนเรียนชั้น ม.1 โดยเฉพาะที่เกิดขึ้นเป็นประจำในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งหลายครั้งเห็นว่าการเตือนภัยยังทำได้ล่าช้า จนเป็นเหตุให้มีความสูญเสียเกิดขึ้นจำนวนมาก จึงได้คิดและพยายามสร้างเครื่องตรวจจับแผ่นดินไหวที่สามารถตรวจจับได้เร็วขึ้น เพื่อที่จะได้เตือนภัยประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ประสบภัยได้เร็วขึ้น
อีกทั้งปัจจุบันการติดตั้งเครื่องตรวจจับแผ่นดินไหวยังจำกัดอยู่แค่บนบก บริเวณชายฝั่งทะเล และแนวภูเขาไฟบนบกเท่านั้น แต่ยังไม่เคยมีการติดตั้งใต้ท้องมหาสมุทร เช่น บริเวณรอยต่อทวีป (Plates) กลางทะเล ภูเขาไฟใต้ทะเล และเหวใต้ท้องมหาสมุทร ซึ่งบริเวณดังกล่าวเป็นเปลือกโลกส่วนล่างที่เป็นหินไซมา (Sima) ซึ่งบอบบางที่สุดในชั้นเปลือกโลกนั้น การติดตั้งเครื่องตรวจจับแผ่นดินไหวใต้ทะเลที่ชั้นหินนี้จึงน่าจะมีข้อมูลการเกิดแผ่นดินไหวในแนวใหม่ที่อาจมีผลต่อการพยากรณ์ในอนาคตได้ โดยเฉพาะถ้าจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวไม่ได้อยู่บนบก
น้องวราภรณ์อธิบายการทำงานของเครื่องตรวจจับแผ่นดินไหวที่สร้างขึ้นว่าจะใช้เครื่องมือเซ็นเซอร์ที่สามารถตรวจจับคลื่นความถี่ต่ำ หรืออินฟราโซนิค (Infrasonic) ที่เกิดจากการเคลื่อนที่ชนกันอย่างช้าๆของเปลือกโลกได้ดี โดยเบื้องต้นจะใช้การทำงานแบบคอนเดนเซอร์ไมค์ (Condenser Microphones) ที่สามารถรับเสียงได้ราบเรียบและสัญญาณความถี่ต่างๆได้กว้าง และใช้รัศมีรับสัญญาณแบบบช็อตกัน (Short Gun) ที่จะรับสัญญาณมุมแคบเฉพาะด้านหน้าเท่านั้น เพื่อจะได้รับสัญญาณความถี่ต่ำที่ถูกต้องจากในพื้นดินเท่านั้น รวมทั้งจะใช้พาราเมตริก อีควอไลเซอร์ (Parametric EQ) ที่จะกรองควมถี่ที่ไม่จำเป็นออก และเพิ่มสัญญาณเสียง (Hz) ของสัญญาณที่ต้องการ
นอกจากนั้น จะต้องออกแบบทุ่นลอย, Body ของตัวเซ็นเซอร์, อุปกรณ์ติดตั้ง, ระบบการทำงานพื้นฐานและฉุกเฉิน โดยการออกแบบตัวเซ็นเซอร์นั้นจะมีด้วยกัน 3 ตัว คือตัวตรวจจับคลื่นอินฟราโซนิค ตรวจจับก๊าซประเภทซัลเฟอรัส (Sulfurous) ที่ระหว่างเกิดแผ่นดินไหวจะมีก๊าซใต้พิภพประเภทนี้แทรกขึ้นมา และสุดท้ายตรวจจับไอออนที่เพิ่มขึ้นผิดปกติจากความกดดันมหาศาลภายในหินที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของเพลต (Plates) ที่ทำให้อำนาจประจุไฟฟ้าถูกปล่อยออกมาส่วนหนึ่งในลักษณะของไอออน ซึ่งจะเป็นประจุบวกหรือลบก็ได้ ทั้งนี้ ระบบการทำงานทั้งหมดจะใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งมีอย่างเหลือเฟือ
น้องวราภรณ์เล่าว่าใช้เวลาประดิษฐ์เครื่องตรวจจับแผ่นดินไหวนี้มาเรื่อยๆ ตั้งแต่ตอนเรียน ม.1 เมื่อเกิดข้อสงสัยก็จะใช้วิธีการค้นหาคำตอบจากอินเทอร์เน็ตบ้าง ปรึกษาครูวิทยาศาสตร์บ้าง หรือไม่ก็ถามพ่อที่เป็นวิศวกรบ้าง แม้บางครั้งจะทดลองอะไรผิดพลาดบ้าง ก็ไม่เป็นไร ไม่มีใครว่า เพราะวิทยาศาสตร์ก็คือการลองผิดลองถูก โดยจะนำบทเรียนจากความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในครั้งก่อนๆมาพัฒนาการทดลองครั้งต่อไปให้ดีขึ้น
“วิทยาศาสตร์ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอย่างที่หลายคนคิด เพราะเหตุการณ์ธรรมชาติหลายอย่างที่เกิดขึ้น เช่น แผ่นดินไหวนั้น สามารถใช้วิทยาศาสตร์อธิบายปรากฏการณ์นี้ได้ วิทยาศาสตร์จึงเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของมนุษย์ อีกทั้งวิทยาศาสตร์ยังสนุก น่าตื่นเต้น และมีความแปลกใหม่ท้าทายมาให้ลองเสมอ เครื่องตรวจจับแผ่นดินไหวฯที่สร้างขึ้นนี้ แม้จะเป็นเพียงแค่โมเดลจากฝีมือของเด็กตัวน้อยๆที่ยังต้องการการวิจัยปรับปรุงอีก แต่จะดีใจมากถ้าผู้ใหญ่นำไปพัฒนาจนใช้ได้จริง”
น้องวราภรณ์แนะว่าถ้าอยากเรียนวิทยาศาสตร์เก่ง ต้องเป็นคนช่างสังเกต กล้าคิดกล้าทำ และเวลาเรียนต้องรู้สึกสนุกกับมัน เพราะจะทำให้งานที่ออกมาดี และที่สำคัญต้องไม่กลัวว่าจะล้มเหลวหรือผิดพลาด เพราะวิทยาศาสตร์สามารถทดลอง แก้ไขใหม่ได้เสมอ เช่น โทมัส อัลวา เอดิสัน ยอดนักประดิษฐ์ของโลกก็ต้องผ่านความผิดพลาด ผิดหวังหลายครั้ง กว่าจะประดิษฐ์หลอดไฟสำเร็จ แม้อนาคตข้างหน้ายังไม่ได้คิดว่าจะเรียนอะไร แต่มั่นใจว่าจะทำงานด้านวิทยาศาสตร์ที่ตัวเองชื่นชอบแน่นอน
ด้านเชษฐ พ่อน้องวราภรณ์เผยว่าพยายามส่งเสริมลูกอย่างเต็มที่ในการทดลอง ประดิษฐ์สิ่งของต่างๆ เพราะเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ และส่งเสริมพัฒนาการทางปัญญาของเด็ก เมื่อเขาอยากได้อะไรเกี่ยวกับการประดิษฐ์ทดลอง ก็จะพยามยามจัดหาให้ แม้บางครั้งอุปกรณ์ประเภทนี้จะราคาแพงและหาซื้อยากก็ตาม อีกทั้งเมื่อเขามีปัญหา เราก็จะพากันไปถามคนอื่นที่รู้ หรือไม่ก็ช่วยกันค้นหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ต ดังนั้นความรักในการประดิษฐ์ ค้นคว้า ทดลองของลูกจึงเป็นดั่งสะพานเชื่อมโยงความสัมพันธ์ในครอบครัว
เช่นเดียวกับ อ.ทิพย์ หาสาสน์ศรี รองคณบดีฝ่ายโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง ที่เผยว่าทางโรงเรียนฯ ไม่ได้มุ่งหวังให้เด็กนักเรียนเก่งวิชาการเพียงอย่างเดียว แต่ต้องการให้พวกเขามีสังคม กิจกรรมด้านอื่นควบคู่ไปด้วย นอกเหนือจากการเรียน เช่น กีฬา ดนตรี ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำให้เขามีความสุขกับชีวิตโรงเรียน ไม่เครียดจากการแข่งขันกันทำคะแนนสูงๆมากเกินไป
อย่างไรก็ตาม สำหรับนักเรียนที่ฉายแววความสามารถ โดยเฉพาะด้านวิทยาศาสตร์นั้น ทางโรงเรียนจะสนับสนุนเต็มที่ โดยผ่านกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน ค่ายกิจกรรมต่างๆทั้งในและนอกโรงเรียน และร่วมแข่งขันประกวดด้านวิทยาศาสตร์ต่างๆ เช่น การประกวดโครงงานของนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ และวิศวกรรมศาสตร์
ทั้งนี้ เยาวชนที่ชนะเลิศในการประกวดโครงงานฯจะได้รับทุนการศึกษา 50,000 บาท และได้ไปร่วมแข่งขันในงาน Intel International Science and Engineering Fair (Intel ISEF) ที่ประเทศอเมริกาด้วย
..ผู้สนใจชมความสามารถด้านวิทยาศาสตร์ของทรัพยากรมนุษย์น้อยๆที่มีค่าของประเทศไทย จึงไม่ควรพลาดและเป็นกำลังใจให้พวกเขาในงานมหกรรมประกวดเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร (ICT) แห่งประเทศไทยครั้งที่ 4 (Thailand ICT Contest Festival) ระหว่างวันที่ 10-12 กุมภาพันธ์ 2548 ณ ศูนย์อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ใกล้กับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต เพราะจะได้ดื่มด่ำกับความสามารถของเด็กไทยที่ไม่มีเพียงเครื่องตรวจจับแผ่นดินไหวใต้ทะเลเท่านั้น แต่ยังมีหุ่นยนต์เช็ดต้นไม้ ลานจอดรถอัจฉริยะ และระบบจอดรถยนต์อัตโนมัติด้วย