“ โอ้...โอ...เจ้าผีเสื้อเอย ก่อนเคยถลาเล่นลม แทรกแซมแกมพันธุ์ไม้ชวนชม หนอลมพาเจ้าไปแห่งใด หนอลมพาเจ้าไปแห่งใดใครเล่าใจร้ายบึ้งตึง เด็ดดึงฉีกทิ้งปีกงาม เด็ดดึงฉีกทิ้งปีกงาม ข้าอยากจะถามใครนะทำเจ้าเอย ข้าอยากจะถามใครนะทำเจ้าเอย ...”
เสียงเพลงใสๆ จากเด็กตัวน้อยๆ ที่คลอไปกับเสียงกีตาร์หวานๆ ในชื่อเพลง "เจ้าผีเสื้อเอย” ของกลุ่มศิลปินสองวัย...แม้จะล่วงเลยมานานกว่า 20 ปี แต่หากเอ่ยถึงคราใด คนก็ยังคงจดจำและสามารถจินตนาการตามเนื้อเพลงถึงความสวยงามของเจ้าผีเสื้อได้เป็นอย่างดี
พูดถึงเรื่อง “ผีเสื้อ” ก็คงต้องบอกว่าเป็นข่าวดีของคนกรุงเทพฯ เพราะจะได้สัมผัสกันด้วยสองตาของตัวเอง ไม่ต้องรอจินตนาการตามเพลงของวงสองวัยอีกต่อไป พราะเวลานี้ กรุงเทพมหานคร(กทม.) ได้เปิดให้บริการอุทยานผีเสื้อและแมลง” ขึ้นที่สวนวชิรเบญจทัศ หรือสวนรถไฟแล้ว
กว่าจะมาเป็นอุทยานผีเสื้อ
ทวีศักดิ์ เดชเดโช ผู้อำนวยการสำนักสวัสดิการสังคม(สนส.) กทม. เล่าให้ฟังถึงแนวคิดการสร้างอุทยานผีเสื้อและแมลงว่า กรุงเทพฯในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมไปมาก จากเดิมที่เป็นเรือกสวนไร่นา กลายเป็นบ้านเรือน ศูนย์การค้า เมือง ดังนั้น สิ่งแวดล้อมต่างๆ ก็มีการปรับเปลี่ยนไปหมด จากอดีตซึ่งสามารถสัมผัสกับชีวิตความเป็นอยู่ของสัตว์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นนก ผีเสื้อ เป็นหิ่งห้อย แต่ปัจจุบันเมื่อเปลี่ยนเป็นเมือง สิ่งแวดล้อมก็เปลี่ยนตามไปด้วย และเมื่อสิ่งต่างเปลี่ยนไปผีเสื้อและแมลงเหล่านี้ก็อยู่ไม่ได้เพราะขาดพืชอาหาร สิ่งแวดล้อม อากาศที่ไม่เอื้ออำนวย เพราะฉะนั้น กทม.จึงคิดว่าทำอย่างไรเด็กรุ่นใหม่ที่อยู่ในเมืองและขาดโอกาสที่จะสัมผัสกับผีเสื้อ รู้จักกับแมลง ได้รู้จักกับสิ่งเหล่านี้มากยิ่งขึ้นไม่ใช่เห็นแต่เพียงในตำราเท่านั้น
“เรามีความคิดว่าถ้าเราเอากรงผีเสื้อมาอยู่ในสวนสาธารณะซึ่งมีธรรมชาติใกล้เคียง เอาผีเสื้อมาเลี้ยงภายในกรงและมีวงจรชีวิตต่างๆ ก็จะเป็นแหล่งที่ให้เด็กรุ่นใหม่หรือประชาชนใช้เป็นที่สำหรับการเรียนรู้นอกห้องเรียนเป็นการเรียนรู้จากแหล่งธรรมชาติว่า วงจรผีเสื้อมันเป็นยังไง ผีเสื้อมีประโยชน์ไหม ผีเสื้อกับระบบนิเวศมันเกี่ยวข้องกันอย่างไร ซึ่งเมื่อเด็กได้เกิดความรู้เห็นความสำคัญของผีเสื้อแล้วนั้นเด็กเหล่านี้ก็จะเกิดการอนุรักษ์ธรรมชาติตามมา ”
...และเมื่อเกิดความคิดแบบเป็นรูปธรรมแล้วทางสำนักสวัสดิการสังคมและมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จึงได้ไปดูงานที่ประเทศญี่ปุ่นเพื่อศึกษาว่าที่นั่นมีวิธีการทำกรงผีเสื้ออย่างไรญี่ปุ่น ซึ่งหลังจากที่ดูงานเสร็จทางสำนักฯได้กำหนดรูปแบบต่างๆโดยทางมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์คอยให้คำแนะนำต่อจากนั้นก็ดำเนินการก่อสร้างขึ้นเป็นแห่งแรกที่สวนวชิรเบญจทัศหรือสวนรถไฟ ด้วยงบประมาณกว่า 9 ล้านบาท
ด้านอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(กทม.) บอกว่าอุทยานดังกล่าวเป็น 1 ในโครงการอุทยานเรียนรู้จตุจักร ที่กทม.ได้มีการผลักดันให้มีพื้นที่การเรียนรู้ที่เชื่อมโยงสวนสาธารณะทั้ง 3 แห่งเข้าด้วยกัน คือสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ สวนจตุจักร และสวนวชิรเบญจทัศ และในอนาคตกทม.จะผลักดัน
สวนสาธารณะแห่งอื่นๆในกทม.ให้มีสถานที่ที่เด็กและเยาวชนในกรุงเทพฯ สามารถที่จะเข้ามาเรียนรู้ธรรมชาติให้มากยิ่งขึ้น
มีอะไรในอุทยานผีเสื้อ
สำหรับภายในอุทยานได้จัดแบ่งออกเป็น 4 ส่วนหลักด้วยกันคือ
1. ส่วนแนะนำเกี่ยวกับอุทยานผีเสื้อและแมลง กรุงเทพฯ ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ระบบสัมผัส 2. ห้องมินิเธียเตอร์จัดฉายวิดีทัศน์เรื่องแมลงกับระบบนิเวศ ก่อนนำเข้าสู่ส่วนจัดนิทรรศการ 3. โถงนิทรรศการภายในอาคารที่บอกเล่าเรื่องราวและวิวัฒนาการของผีเสื้อและแมลง อาทิ ประเภทต่างๆของผีเสื้อและแมลง แหล่งกำเนิด วงจรชีวิตและประโยชนที่ได้รับจากผีเสื้อ ห้องสาธิตการเพาะเลี้ยงตัวอ่อนของผีเสื้อและแมลงอย่างใกล้ชิด และ 4. กรงจัดแสดงผีเสื้อบนพื้นที่ขนาด 1,168 ตรม. ซึ่งจัดแสดงผีเสื้อกว่า 500 ตัวจาก 20 ชนิด โดยผู้ชมสามารถเดินเข้าชมได้โดยรอบ
และนอกจากจะเพลิดเพลินจากผีเสื้อแล้วยังจะอิ่มเอมกับความสวยงามของน้ำตก บ่อน้ำ ลำธารและพรรณไม้ต่างๆที่หายากและสวยงามรวมทั้งพืชที่เป็นอาหารของผีเสื้ออีกด้วย
ผอ.สนส.บอกให้ทราบอีกว่า ขณะนี้อุทยานผีเสื้อและแมลง กรุงเทพฯ จัดแสดงเฉพาะผีเสื้อพันธุ์พื้นเมืองของประเทศไทย ยังไม่มีการนำผีเสื้อจากต่างประเทศเข้ามาแสดง แต่ในอนาคตทางสำนักฯจะนำเข้ามาจัดแสดงเพื่อให้ที่นี่มีพันธุ์ผีเสื้ออย่าหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นพันธุ์พื้นเมืองของไทยหรือพันธุ์ที่นำมาจากต่างประเทศ นอกจากนั้น ยังตั้งเป้าจะเลี้ยงผีเสื้อให้ได้มากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งผีเสื้อพันธุ์พื้นเมืองของไทยซึ่งมีความสวยงามและหายาก โดยจะส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปเก็บพันธุ์มาเพาะเลี้ยงเพื่อให้ผู้ที่สนใจไม่ต้องเดินทางไปไกล มาที่นี่ก็จะเห็นผีเสื้อพื้นเมืองทั้งหมดที่มีอยู่กว่า 1 พันชนิด
ผอ.ทวีศักดิ์ บอกอีกว่า สำหรับแมลงยังไม่ได้มีการเลี้ยงอย่างจริงจัง มีเพียงให้ความรู้ผ่านทางนิทรรศการ แต่อย่างไรก็ตามในอนาคตจะขยายเรื่องแมลงให้มากขึ้น
โดยเฉพาะแมลงพื้นเมืองและแมลงที่หายากเป็นหลัก เช่น พวกด้วงต่างๆ และหิ่งห้อย
“อยากจะฝากไปยังเด็กๆ รวมทั้งพี่น้องประชาชนนะครับ ถ้าท่านมีเวลาควรจะมาเที่ยวชมอุทยานผีเสื้อและแมลงของกรุงเทพฯ ซึ่งข้างในเราจะมีพันธุ์ผีเสื้อหลากหลายมากมาย สีสันสวยงาม ที่เป็นแหล่งเรียนรู้และเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจด้วย นอกจากนี้ข้างในกรงผีเสื้อเรายังมีไม้ดอกที่สวยงามซึ่งเป็นแหล่งอาหารของผีเสื้อด้วย เพราะฉะนั้นมาที่นี่ก็จะได้ชมไม้ดอกที่สวยงาม ได้ชมผีเสื้อ แมลงต่างๆอันจะเป็นประโยชน์แก่เด็กและเยาวชน”
เด็กๆ ตื่นเต้นกับอุทยานการเรียนรู้แห่งใหม่
หลังเปิดให้บริการวันแรกไปเมื่อวันที่ 22 ม.ค.ที่ผ่านมา ปรากฏว่าบรรดาคุณพ่อคุณแม่ได้พาลูกหลานแวะเวียนเข้าไปเยี่ยมชมอุทยานผีเสื้อและแมลงแห่งนี้กันเป็นจำนวนมากทีเดียว
น้องหมิว หรือ ด.ญ.นุจนารถ เยาวขันธ์ นักเรียนชั้นป.1 โรงเรียนอำนวยวิทย์ จ.สมุทรปราการ บอกว่า ที่นี่มีผีเสื้อเยอะ ชอบมากๆ และอยากจะกลับมาอีกหากมีโอกาส
ขณะที่คุณแม่ของน้องหมิวบอกว่า ที่นี่มีความร่มรื่น สงบ ซึ่งต่างจากสิ่งที่อยู่ออกไปข้างนอกที่มีแต่ความจอแจ และถ้าเป็นไปได้อยากให้นำนกเข้ามาจัดแสดงด้วย
ด้านน้องต่าย น.ส.กิ่งแก้ว อร่ามเรือง นักเรียนโรงเรียนพาณิชยการรัตนโกสินทร์ บอกว่า เมื่อมาที่นี้จะรู้สึกสบายตา สบายใจ และโดยส่วนตัวเป็นคนที่ชอบผีเสื้ออยู่แล้ว เมื่อที่สวนรถไฟจัดแสดงผีเสื้ออย่างนี้จึงถูกใจมาก ทั้งยังไม่ต้องเดินทางไปไกลอีกด้วย แต่เสียอย่างเดียวที่ที่นี่มีวิทยากรแนะนำน้อยมากเพียง 3 คนเท่านั้น อยากให้มีมากกว่านี้ และถ้ามีโอกาสก็จะกลับมาอีกอย่างแน่นอน
ก่อนจากกันไป น้องต่ายยังฝากบอกทุกคนอีกด้วยว่า ธรรมชาติเป็นสิ่งที่สวยงามหากเราไม่อนุรักษ์เสียแต่วันนี้ วันหน้าก็คงจะไม่มีอย่างแน่นอน
สำหรับอุทยานผีเสื้อและแมลง กรุงเทพฯ เปิดให้เข้าชมทุกวันอังคาร – อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 08.30 น. – 16.30 น.ซึ่งการเข้าชมจะไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งนี้ ข้อแนะนำในการเข้าชม : หากนำกล้องไปถ่ายรูปให้ระวังระบบพ่นหมอกอัตโนมัติ และห้ามนำอาหารและเครื่องดื่มเข้าไปรับประทานภายในอุทยาน








เสียงเพลงใสๆ จากเด็กตัวน้อยๆ ที่คลอไปกับเสียงกีตาร์หวานๆ ในชื่อเพลง "เจ้าผีเสื้อเอย” ของกลุ่มศิลปินสองวัย...แม้จะล่วงเลยมานานกว่า 20 ปี แต่หากเอ่ยถึงคราใด คนก็ยังคงจดจำและสามารถจินตนาการตามเนื้อเพลงถึงความสวยงามของเจ้าผีเสื้อได้เป็นอย่างดี
พูดถึงเรื่อง “ผีเสื้อ” ก็คงต้องบอกว่าเป็นข่าวดีของคนกรุงเทพฯ เพราะจะได้สัมผัสกันด้วยสองตาของตัวเอง ไม่ต้องรอจินตนาการตามเพลงของวงสองวัยอีกต่อไป พราะเวลานี้ กรุงเทพมหานคร(กทม.) ได้เปิดให้บริการอุทยานผีเสื้อและแมลง” ขึ้นที่สวนวชิรเบญจทัศ หรือสวนรถไฟแล้ว
กว่าจะมาเป็นอุทยานผีเสื้อ
ทวีศักดิ์ เดชเดโช ผู้อำนวยการสำนักสวัสดิการสังคม(สนส.) กทม. เล่าให้ฟังถึงแนวคิดการสร้างอุทยานผีเสื้อและแมลงว่า กรุงเทพฯในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมไปมาก จากเดิมที่เป็นเรือกสวนไร่นา กลายเป็นบ้านเรือน ศูนย์การค้า เมือง ดังนั้น สิ่งแวดล้อมต่างๆ ก็มีการปรับเปลี่ยนไปหมด จากอดีตซึ่งสามารถสัมผัสกับชีวิตความเป็นอยู่ของสัตว์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นนก ผีเสื้อ เป็นหิ่งห้อย แต่ปัจจุบันเมื่อเปลี่ยนเป็นเมือง สิ่งแวดล้อมก็เปลี่ยนตามไปด้วย และเมื่อสิ่งต่างเปลี่ยนไปผีเสื้อและแมลงเหล่านี้ก็อยู่ไม่ได้เพราะขาดพืชอาหาร สิ่งแวดล้อม อากาศที่ไม่เอื้ออำนวย เพราะฉะนั้น กทม.จึงคิดว่าทำอย่างไรเด็กรุ่นใหม่ที่อยู่ในเมืองและขาดโอกาสที่จะสัมผัสกับผีเสื้อ รู้จักกับแมลง ได้รู้จักกับสิ่งเหล่านี้มากยิ่งขึ้นไม่ใช่เห็นแต่เพียงในตำราเท่านั้น
“เรามีความคิดว่าถ้าเราเอากรงผีเสื้อมาอยู่ในสวนสาธารณะซึ่งมีธรรมชาติใกล้เคียง เอาผีเสื้อมาเลี้ยงภายในกรงและมีวงจรชีวิตต่างๆ ก็จะเป็นแหล่งที่ให้เด็กรุ่นใหม่หรือประชาชนใช้เป็นที่สำหรับการเรียนรู้นอกห้องเรียนเป็นการเรียนรู้จากแหล่งธรรมชาติว่า วงจรผีเสื้อมันเป็นยังไง ผีเสื้อมีประโยชน์ไหม ผีเสื้อกับระบบนิเวศมันเกี่ยวข้องกันอย่างไร ซึ่งเมื่อเด็กได้เกิดความรู้เห็นความสำคัญของผีเสื้อแล้วนั้นเด็กเหล่านี้ก็จะเกิดการอนุรักษ์ธรรมชาติตามมา ”
...และเมื่อเกิดความคิดแบบเป็นรูปธรรมแล้วทางสำนักสวัสดิการสังคมและมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จึงได้ไปดูงานที่ประเทศญี่ปุ่นเพื่อศึกษาว่าที่นั่นมีวิธีการทำกรงผีเสื้ออย่างไรญี่ปุ่น ซึ่งหลังจากที่ดูงานเสร็จทางสำนักฯได้กำหนดรูปแบบต่างๆโดยทางมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์คอยให้คำแนะนำต่อจากนั้นก็ดำเนินการก่อสร้างขึ้นเป็นแห่งแรกที่สวนวชิรเบญจทัศหรือสวนรถไฟ ด้วยงบประมาณกว่า 9 ล้านบาท
ด้านอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(กทม.) บอกว่าอุทยานดังกล่าวเป็น 1 ในโครงการอุทยานเรียนรู้จตุจักร ที่กทม.ได้มีการผลักดันให้มีพื้นที่การเรียนรู้ที่เชื่อมโยงสวนสาธารณะทั้ง 3 แห่งเข้าด้วยกัน คือสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ สวนจตุจักร และสวนวชิรเบญจทัศ และในอนาคตกทม.จะผลักดัน
สวนสาธารณะแห่งอื่นๆในกทม.ให้มีสถานที่ที่เด็กและเยาวชนในกรุงเทพฯ สามารถที่จะเข้ามาเรียนรู้ธรรมชาติให้มากยิ่งขึ้น
มีอะไรในอุทยานผีเสื้อ
สำหรับภายในอุทยานได้จัดแบ่งออกเป็น 4 ส่วนหลักด้วยกันคือ
1. ส่วนแนะนำเกี่ยวกับอุทยานผีเสื้อและแมลง กรุงเทพฯ ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ระบบสัมผัส 2. ห้องมินิเธียเตอร์จัดฉายวิดีทัศน์เรื่องแมลงกับระบบนิเวศ ก่อนนำเข้าสู่ส่วนจัดนิทรรศการ 3. โถงนิทรรศการภายในอาคารที่บอกเล่าเรื่องราวและวิวัฒนาการของผีเสื้อและแมลง อาทิ ประเภทต่างๆของผีเสื้อและแมลง แหล่งกำเนิด วงจรชีวิตและประโยชนที่ได้รับจากผีเสื้อ ห้องสาธิตการเพาะเลี้ยงตัวอ่อนของผีเสื้อและแมลงอย่างใกล้ชิด และ 4. กรงจัดแสดงผีเสื้อบนพื้นที่ขนาด 1,168 ตรม. ซึ่งจัดแสดงผีเสื้อกว่า 500 ตัวจาก 20 ชนิด โดยผู้ชมสามารถเดินเข้าชมได้โดยรอบ
และนอกจากจะเพลิดเพลินจากผีเสื้อแล้วยังจะอิ่มเอมกับความสวยงามของน้ำตก บ่อน้ำ ลำธารและพรรณไม้ต่างๆที่หายากและสวยงามรวมทั้งพืชที่เป็นอาหารของผีเสื้ออีกด้วย
ผอ.สนส.บอกให้ทราบอีกว่า ขณะนี้อุทยานผีเสื้อและแมลง กรุงเทพฯ จัดแสดงเฉพาะผีเสื้อพันธุ์พื้นเมืองของประเทศไทย ยังไม่มีการนำผีเสื้อจากต่างประเทศเข้ามาแสดง แต่ในอนาคตทางสำนักฯจะนำเข้ามาจัดแสดงเพื่อให้ที่นี่มีพันธุ์ผีเสื้ออย่าหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นพันธุ์พื้นเมืองของไทยหรือพันธุ์ที่นำมาจากต่างประเทศ นอกจากนั้น ยังตั้งเป้าจะเลี้ยงผีเสื้อให้ได้มากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งผีเสื้อพันธุ์พื้นเมืองของไทยซึ่งมีความสวยงามและหายาก โดยจะส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปเก็บพันธุ์มาเพาะเลี้ยงเพื่อให้ผู้ที่สนใจไม่ต้องเดินทางไปไกล มาที่นี่ก็จะเห็นผีเสื้อพื้นเมืองทั้งหมดที่มีอยู่กว่า 1 พันชนิด
ผอ.ทวีศักดิ์ บอกอีกว่า สำหรับแมลงยังไม่ได้มีการเลี้ยงอย่างจริงจัง มีเพียงให้ความรู้ผ่านทางนิทรรศการ แต่อย่างไรก็ตามในอนาคตจะขยายเรื่องแมลงให้มากขึ้น
โดยเฉพาะแมลงพื้นเมืองและแมลงที่หายากเป็นหลัก เช่น พวกด้วงต่างๆ และหิ่งห้อย
“อยากจะฝากไปยังเด็กๆ รวมทั้งพี่น้องประชาชนนะครับ ถ้าท่านมีเวลาควรจะมาเที่ยวชมอุทยานผีเสื้อและแมลงของกรุงเทพฯ ซึ่งข้างในเราจะมีพันธุ์ผีเสื้อหลากหลายมากมาย สีสันสวยงาม ที่เป็นแหล่งเรียนรู้และเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจด้วย นอกจากนี้ข้างในกรงผีเสื้อเรายังมีไม้ดอกที่สวยงามซึ่งเป็นแหล่งอาหารของผีเสื้อด้วย เพราะฉะนั้นมาที่นี่ก็จะได้ชมไม้ดอกที่สวยงาม ได้ชมผีเสื้อ แมลงต่างๆอันจะเป็นประโยชน์แก่เด็กและเยาวชน”
เด็กๆ ตื่นเต้นกับอุทยานการเรียนรู้แห่งใหม่
หลังเปิดให้บริการวันแรกไปเมื่อวันที่ 22 ม.ค.ที่ผ่านมา ปรากฏว่าบรรดาคุณพ่อคุณแม่ได้พาลูกหลานแวะเวียนเข้าไปเยี่ยมชมอุทยานผีเสื้อและแมลงแห่งนี้กันเป็นจำนวนมากทีเดียว
น้องหมิว หรือ ด.ญ.นุจนารถ เยาวขันธ์ นักเรียนชั้นป.1 โรงเรียนอำนวยวิทย์ จ.สมุทรปราการ บอกว่า ที่นี่มีผีเสื้อเยอะ ชอบมากๆ และอยากจะกลับมาอีกหากมีโอกาส
ขณะที่คุณแม่ของน้องหมิวบอกว่า ที่นี่มีความร่มรื่น สงบ ซึ่งต่างจากสิ่งที่อยู่ออกไปข้างนอกที่มีแต่ความจอแจ และถ้าเป็นไปได้อยากให้นำนกเข้ามาจัดแสดงด้วย
ด้านน้องต่าย น.ส.กิ่งแก้ว อร่ามเรือง นักเรียนโรงเรียนพาณิชยการรัตนโกสินทร์ บอกว่า เมื่อมาที่นี้จะรู้สึกสบายตา สบายใจ และโดยส่วนตัวเป็นคนที่ชอบผีเสื้ออยู่แล้ว เมื่อที่สวนรถไฟจัดแสดงผีเสื้ออย่างนี้จึงถูกใจมาก ทั้งยังไม่ต้องเดินทางไปไกลอีกด้วย แต่เสียอย่างเดียวที่ที่นี่มีวิทยากรแนะนำน้อยมากเพียง 3 คนเท่านั้น อยากให้มีมากกว่านี้ และถ้ามีโอกาสก็จะกลับมาอีกอย่างแน่นอน
ก่อนจากกันไป น้องต่ายยังฝากบอกทุกคนอีกด้วยว่า ธรรมชาติเป็นสิ่งที่สวยงามหากเราไม่อนุรักษ์เสียแต่วันนี้ วันหน้าก็คงจะไม่มีอย่างแน่นอน
สำหรับอุทยานผีเสื้อและแมลง กรุงเทพฯ เปิดให้เข้าชมทุกวันอังคาร – อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 08.30 น. – 16.30 น.ซึ่งการเข้าชมจะไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งนี้ ข้อแนะนำในการเข้าชม : หากนำกล้องไปถ่ายรูปให้ระวังระบบพ่นหมอกอัตโนมัติ และห้ามนำอาหารและเครื่องดื่มเข้าไปรับประทานภายในอุทยาน