xs
xsm
sm
md
lg

มูลนิธิผู้บริโภคจวกผู้ประกอบการรถยนต์ขายของห่วยคุณภาพต่ำ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

มูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภคฉะ ผู้ประกอบการจ้องเอาเปรียบผู้บริโภค ชี้คุณภาพสินค้า การบริการยังต่ำ ระบุส่วนมากผู้บริโภคถูกแหกตาขายของสินค้าคุณภาพต่ำกว่าที่โฆษณา และได้สินค้าชำรุด ยอมรับขณะนี้ไม่มีมาตรการการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ

นางสาวสารี อ๋องสมหวัง ผู้จัดการมูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภค เปิดเผยข้อมูลของมูลนิธิฯ ว่า ปัญหาการการร้องเรียนของผู้บริโภค ในหมวดสินค้าและบริการ ตั้งแต่ช่วงปี 2542-2546 พบว่า มีผู้เข้าร้องเรียน ในปี 2542 มีผู้เสียหาย12 ราย ปี 2543 จำนวน 6 ราย ปี 2544 จำนวน 30 ราย ปี 2545 จำนวน 23 ราย และ ปี 2546 จำนวน 23 ราย
ทั้งนี้ ตัวเลขที่ปรากฏ ไม่ใช่จำนวนผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนทั้งหมด เนื่องจากนับเป็นนี่เป็นเพียงบางส่วนเท่านั้นที่มาร้องเรียนกับมูลนิธิฯ ซึ่งแท้จริงแล้วมีผู้เดือนร้อนจากรถยนต์และจักรยานเป็นจำนวนมาก อีกทั้งมูลนิธิยังใช้การนำเป็นกรณีๆ ไป ซึ่งกรณีหนึ่งอาจมีผู้เดือนร้องเรื่องเดียวกันเป็น 10 ราย
อย่างเช่น เมื่อปี 2546 กรณีรถฮอนด้า ซีอาร์-วี รุ่นสแตนดาร์ด กับซีอาร์-วี รุ่นฟูล ออฟชั่น ที่ จ. นครสวรรค์ ซึ่งผู้บริโภคกว่า 100 คน ร้องเรียนเนื่องจากซื้อรุ่นฟูล ออฟชั่นกลับได้รุ่นสแตนดาร์ด ไปใช้ซึ่งมีส่วนต่างของราคาและคุณภาพอยู่ จนกระทั่งขณะนี้ปัญหาการฟ้องร้องก็ยังไม่ยุติ เนื่องจากบริษัทฯชดเชยให้เป็นบางรายเท่านั้น
สำหรับปัญหาที่ส่วนใหญ่ผู้เข้ามาร้องเรียนคือ การโฆษณาหลอกขายสินค้าที่ต่ำกว่าที่ระบุไว้ และการขายสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน ชำรุด บกพร่อง โดยไม่ได้รับการช่วยเหลือใดๆ

นางสารีกล่าวต่อว่า ในกรณีของน.ส.เดือนเพ็ญ ศิลาเกษ เจ้าของรถ ฮอนด้า ซีอาร์-วี นั้น ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ผู้เดือนร้อนเรียกร้องจากบริษัท ซึ่งเห็นว่าเป็นเรื่องที่ผู้บริโภคควรกระทำเมื่อเกิดปัญหาขึ้น เพื่อกระตุ้นให้ผู้ประกอบการเข้ามาแก้ไขปัญหา ลดการละเมิดสิทธิผู้บริโภคให้น้อยลง เข้าใจสิทธิ์เรื่องการร้องเรียน ผู้ประกอบการน่าจะมองว่า การร้องเรียนเป็นการพัฒนาสินค้า ซึ่งในภาพรวมแล้วมาตรฐานการจัดการเรายังไม่มี ผู้ประกอบการมักเกี่ยงงอนไม่เอาใจใส่ในการแก้ปัญหา จนกว่าเรื่องจะถึงที่สุด

“ส่วนใหญ่มีปัญหาแทบทุกยี่ห้อ ผู้ประกอบการต้องรอให้ผู้บริโภคร้องเรียนหรือมีปัญหาก่อนทุกครั้ง ซึ่งการร้องเรียนเป็นเรื่องที่ถูกต้องแล้ว ผู้บริโภคจะพยายามหาทุกช่องทางในการต่อสู้เรียกร้องความเป็นธรรม กว่าผู้ประกอบการจะหันมาสนใจเข้าไปแก้ไขปัญหา ซึ่งหากเป็นคดีความฟ้องร้องก็จะกินเวลาหลายปี ซึ่งจุดนี้ผู้ประกอบการในบ้านเรายังมีความรับผิดชอบค่อนข้างน้อย บางทีเป็นการผิดพลาดด้านการผลิตซึ่งผู้บริโภคจะพบปัญหาคล้ายๆ กัน แต่มันไม่ได้เป็นกรณีศึกษาแก้ให้คนเดียวจบก็จบ"
"เราไม่ได้เชื่อมโยงกับการผลิตทั้งระบบไม่มีการเชื่อมโยงกับการแก้ไขปัญหาการผลิตซึ่งเป็นต้นตอปัญหา ตัวอย่างที่เห็นในประเทศไทย เช่น กรณีเมื่อผู้บริโภคซื้อจาน ชามในห้างสรรพสินค้า ปรากฎว่า เมื่อใส่อาหารสีติดชามขึ้นมา เมื่อเอาสินค้าไปคืนก็ได้รับเงินชดเชย แต่ปรากฏว่า เมื่อไปห้างสรรพสินค้าจุดเดิมอีก สินค้าที่มีปัญหากับยังวางขายอยู่”

นางสาวสารีว่า ยกตัวอย่างอีกว่า ในต่างประเทศแค่เป็นเรื่องการผิดปกติของการทำงานของเกจ์วัดไมล์ซึ่งส่งผลต่อราคารถยนต์ก็สามารถเรียกร้องค่าเสียหาย เมื่อบริษัทตรวจสอบพบว่ามีปัญหาจริงก็ต้องจ่ายค่าชดเชยให้ หากเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศไทยคุณภาพการบริการและมาตรฐานสินค้าของเรายังต่ำกว่าประเทศอื่นๆ อยู่มาก รวมทั้งมาตรฐานการจัดการปัญหา จรรยาบรรณยังไม่ดีนัก ในส่วนของผู้ประกอบการในโลกของการแข่งขันเช่นนี้ หากยังปล่อยให้มาตรฐานคุณภาพสินค้าต่ำลง ไม่เกิดการปรับปรุง ในอนาคตผู้บริโภคก็จะไม่อยู่ด้วย

ข่าวเกี่ยวข้อง
ทุบทิ้ง "ซีอาร์วีป้ายแดง" ประจาน! (27/01/2548; 13:38 น.)
"ฮอนด้า" ย้ำ!! ไม่มีเปลี่ยนรถ พร้อมแถลงข่าวกรณีCR-Vเย็นนี้ (27/01/2548; 16:25 น.)
ย้อนรอย "ซีอาร์-วี" ปัญหาคาใจที่ผู้บริโภคต้องรับกรรม (27/01/2548; 16:43 น.)
ทนายฯ ชี้"ทุบรถประจาน"ดีกว่าฟ้องร้องเพราะกม.มีช่องว่าง (27/01/2548; 17:39 น.)
สคบ.นัดคู่กรณีซีอาร์วี ไกล่เกลี่ยจ่ายค่าชดเชย 7 ก.พ.นี้ (27/01/2548; 18:00 น.)
มูลนิธิผู้บริโภคจวกผู้ประกอบการรถยนต์ขายของห่วยคุณภาพต่ำ (27/01/2548; 19:01 น.)
ฮอนด้าแจงกรณีทุบ "ซีอาร์-วี" (27/01/2548; 20:01 น.)
คำต่อคำ! กับสาวใจเด็ดทุบรถหรูสังเวยความชุ่ย (28/01/2548; 06:50 น.)
เหยื่อฮอนด้านัดเคลียร์วันนี้ ลั่นขอเปลี่ยนรถและขอค่าเสียเวลา (28/01/2548; 06:48 น.)

ชมภาพวิดีโอ ทุบซีอาร์วีประจาน!!!
กำลังโหลดความคิดเห็น