หากจะกล่าวว่าเด็กรุ่นใหม่เติบโตมากับคอมพิวเตอร์ก็คงไม่ผิดนัก ทุกวันนี้ไม่ว่าจะเป็นวัยไหนๆ ก็ต่างใช้คอมพิวเตอร์ได้อย่างคล่องแคล่ว ไม่เว้นแม้กระทั่งเด็กอนุบาลที่ยังไม่รู้ประสีประสาก็ยังสามารถ กดๆจิ้มๆเล่นเกมจากจอสี่เหลี่ยมนี้ได้
และเมื่อได้ใช้บ่อยจนก่อให้เกิดความเคยชินขึ้นนี้เอง จึงทำให้สื่ออื่นๆ ที่ให้ความรู้เหมือนกัน ต่างตกอยู่ในสภาวะนอกสายตาของเด็กๆไปโดยปริยาย ไม่ว่าจะเป็น หนังสือ วิดีโอเรื่องราวต่างๆ หรือแม้แต่รายการทีวีเพื่อเด็กที่เคยฮิตครองใจช้านาน เป็นต้น

จากจุดนี้เองจึงทำให้เหล่าคณาจารย์ของโรงเรียนสาธิต มศว ประสานมิตร(ฝ่ายประถม) ลุกขึ้นมาปรับผังการเรียนการสอนเพื่อให้สอดคล้องกับความสนใจของบรรดาลูกศิษย์ตัวน้อยกันยกใหญ่ โดยใช้โขนซึ่งผูกเรื่องรามเกียรติ์ในตอนต่างๆเป็นแก่นสาร
ไตรรัตน์ พิพัฒโภคผล อาจารย์ประจำผู้เชี่ยวชาญด้านการแสดงโขน บอกเล่าว่า นักเรียนของที่นี่จะต้องเรียนโขนกันทุกคนอยู่แล้ว แต่เดิมจะแทรกอยู่ในวิชานาฏศิลป์ซึ่งผลตอบรับจากเด็กๆ ค่อนข้างดีมาก และเวลากว่า 25 ปีที่ผ่านมานอกเหนือจากการปลูกฝังให้นักเรียนกล้าแสดงออกในทางที่ดีแล้ว การเรียนโขนยังให้ประโยชน์ในเรื่องของระเบียบวินัย และฝึกให้เป็นคนช่างคิดช่างจินตนาการ ประกอบกับในระยะหลังเห็นนักเรียนสนใจคอมพิวเตอร์มากกว่าการอ่านหนังสือ จึงคิดว่าถ้าทำทั้งสองอย่างให้ควบคู่กันได้ น่าจะเป็นผลดีกับตัวนักเรียนเอง
“ เด็กยุคนี้ยอมรับว่าเก่ง มีความสามารถในการเรียนรู้สื่อสมัยใหม่ได้ง่าย แต่บางครั้งก็ต้องยอมรับว่าคอมพิวเตอร์ยังมีเนื้อหาสาระที่เป็นประโยชน์ต่อเด็กประถมค่อนข้างน้อย ที่มีเกลื่อนทั่วไปก็จะเป็นพวกเกม พวกนี้นานๆเล่นทีแก้เครียดได้ แต่ถ้าเล่นทุกวันจะสร้างนิสัยการเอาชนะอย่างไม่มีเหตุมีผลให้เขา และที่สำคัญเกมเหล่านี้มักไม่ค่อยต่อยอดความคิด รูปแบบจะซ้ำไปซ้ำมา”

ด้วยเหตุนี้ เราจึงได้ปรับจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยกำหนดให้ ครู ผู้สอน ได้ร่วมกันบูรณาการสรรพวิชาที่สอนๆ กันอยู่เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพความเป็นจริงในการดำเนินชีวิตประจำวัน ที่ต้องใช้ความรู้และทักษะหลาย ๆ ด้านในการแก้ปัญหาตัดสินใจ อย่างถูกต้องให้เกิดประโยชน์ มีคุณค่า มีความหมายกับนักเรียนให้มากที่สุด ซึ่งเรียกว่า แนวการจัดการเรียนรู้บูรณาการข้ามสาระหรือหน่วยการเรียนแบบหัวเรื่อง (Trans disciplinary) หรือ (Thematic Unit)
อ.ไตรรัตน์ได้ยกตัวอย่าง หน่วย“ รามเกียรติ์” ซึ่งอีกหนึ่งกิจกรรมการเรียนการสอนในอีกลักษณะหนึ่งที่จะช่วยส่งเสริมให้นักเรียนเกิดความรู้ความเข้าใจในลักษณะองค์รวม เกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมายและอย่างมีความสุข อีกทั้งยังช่วยให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะการเรียนรู้ ทักษะชีวิต
ตัวอย่างผังการบูรณาการเนื้อหาวิชาต่าง ๆ ของหน่วยการเรียนแบบหัวเรื่อง ในหน่วยรามเกียรติ์ มีดังนี้ วิชาภาษาไทย จะแทรกสาระ การอ่าน เขียน ฟัง พูด สังเกต หลักการใช้ภาษา วรรณคดี และวรรณกรรม, วิชาสุขศึกษา จะแทรกสาระ ความปลอดภัยในชีวิต,วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี จะแทรกสาระ การดำรงชีวิตและครอบครัว เทคโนโลยีสารสนเทศ,วิชาภาษาต่างประเทศ จะแทรกสาระ เรื่องภาษาและวัฒนธรรม ภาษากับความสัมพันธ์กับกลุ่ม และสาระการเรียนรู้อื่น หรือแม้แต่วิชาวิทยาศาสตร์ก็ยังสามารถแทรกสาระได้ โดยครูผู้สอนจะเอาเรื่องชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ดาราศาสตร์และอวกาศมาสอนและให้นักเรียนคิดแก้โจทย์
ผศ.อัจฉรา จ่ายเจริญ อาจารย์สอนวิชาวิทยาศาสตร์ เล่าว่าได้ลองยกตัวอย่างเรื่องของมลพิษจากตอนพลลิงและพลยักษ์ยกทัพมาสู้กันจนฝุ่นควันตลบอบอวล มองอะไรไม่เห็น ถ้าเรื่องอย่างนี้เกิดขึ้นในปัจจุบันนักเรียนจะทำอย่างไร และจะมีผลกระทบอะไรต่อโลกเราบ้าง ซึ่งคำตอบที่ได้รับ ทำเอาอาจารย์แอบปลื้มในความช่างคิดของลูกศิษย์ตัวจ้อยไปเลยทีเดียว
“เด็กๆ บอกครูมาหลายวิธีมาก เช่น จะไปเจรจาให้ทั้งสองฝ่ายพูดกันดีๆ อย่าทะเลาะกันไม่อย่างนั้นคนที่อยู่ใกล้ๆจะอยู่ไม่ได้เพราะอากาศไม่ดี หรือไม่ก็บอกว่า ถ้าทะเลาะกันจนมืดไปหมดต้นไม้จะสังเคราะห์อาหารไม่ได้ ต้นไม้จะไม่โต ถ้ามันไม่โต เราจะไม่มีอากาศดีๆสูดดม แล้ววงจร วัฏจักรชีวิต ห่วงโซ่อาหารจะพัง ซึ่งคำตอบเหล่านี้มันสะท้อนให้เห็นว่าเขามีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาวิชาแล้วและมีจินตนาการที่ดี ถ้าได้รับการสนับสนุนเขาจะไปได้ไกล”
ผศ.อัจฉรา กล่าวเสริมว่า เสน่ห์อีกส่วนหนึ่งที่ทำให้การเรียนการสอนแบบนี้ดำเนินไปได้ด้วยดีก็เพราะ เนื้อหาในเรื่องรามเกียรติ์ มีแง่มุมของอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์อยู่ด้วย ซึ่งเด็กวัยนี้ให้ความสนใจอย่างมาก หากครูผู้สอนสามารถแยกให้เห็นอย่างมีเหตุมีผลได้ เขาจะมีเหตุผลและคิดอย่างวิทยาศาสตร์
พร้อมกันนั้นก็สามารถมีอารมณ์สุนทรีละเมียดละไมกับความงามในภาษาวรรณคดี ซึ่งจะช่วยให้ทักษะและพัฒนาการด้านอารมณ์ดีตามไปด้วย นอกจากนี้ยังรวมถึงความสนุกที่ได้ขยับแข้งขาตามจังหวะเพื่อเรียนรู้การเล่นโขนในวิชานาฏศิลป์ซึ่งแต่เดิมเคยมีแค่รำวงมาตรฐาน รำแม่บท ซึ่งพอเด็กฝึกจนเป็นแล้ว ก็เบื่อไม่อยากที่จะทำต่อ
ทั้งนี้เนื้อหาที่ครูสอนและความรู้ที่นักเรียนได้ร่วมต่อยอด จะถูกบันทึกไว้ในหลักสูตรออนไลน์ของโรงเรียนทาง http://prathom.swu.ac.th/index.asp เพื่อให้ชั่วโมงเรียนคอมพิวเตอร์นักเรียนจะได้มีทางเลือกในการเข้าชมเว็บไซต์เพิ่มมากขึ้น ส่วนผู้ปกครองก็จะได้ติดตามและมีส่วนรวมกับทางโรงเรียนด้วย หรือหากนักเรียนต้องการที่จะทบทวนบทเรียนก็สามารถทำได้เองที่บ้านตลอดเวลา
ด.ช.นิธิพงศ์ บุณยะลีพรรณ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เล่าว่า ชอบการเรียนการสอนแบบนี้มาก โดยเฉพาะในชั่วโมงคอมพิวเตอร์ เขาชอบที่จะได้ฝึกอ่านและตอบคำถามที่เป็นภาษาอังกฤษเกี่ยวกับเรื่องรามเกียรติ์ในโปรแกรมที่ทางโรงเรียนทำขึ้นมาเฉพาะ ซึ่งช่วยให้เขาอ่านเขียนภาษาอังกฤษได้ดีขึ้น และคิดว่าหากโตขึ้นถ้าพื้นฐานทางภาษาดีก็จะทำให้เขาได้ก้าวไปไกลกว่าเพื่อนรุ่นเดียวกัน เช่น เรียนต่อได้ง่ายขึ้น หางานง่าย เป็นตัวเลือกที่ดีที่สังคมต้องการ
ท่านใดสนใจที่จะชมการแสดงโขนของนักเรียนตัวน้อย ได้ในวันที่ 23 มกราคม ตอน“ต้นเรื่องรามเกียรติ์” สำรองที่นั่ง โทร.0-2662-3180-7 โดยจะแสดง 2 รอบคือเวลา 10.30 น. และ 15.00 น. ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
และเมื่อได้ใช้บ่อยจนก่อให้เกิดความเคยชินขึ้นนี้เอง จึงทำให้สื่ออื่นๆ ที่ให้ความรู้เหมือนกัน ต่างตกอยู่ในสภาวะนอกสายตาของเด็กๆไปโดยปริยาย ไม่ว่าจะเป็น หนังสือ วิดีโอเรื่องราวต่างๆ หรือแม้แต่รายการทีวีเพื่อเด็กที่เคยฮิตครองใจช้านาน เป็นต้น
จากจุดนี้เองจึงทำให้เหล่าคณาจารย์ของโรงเรียนสาธิต มศว ประสานมิตร(ฝ่ายประถม) ลุกขึ้นมาปรับผังการเรียนการสอนเพื่อให้สอดคล้องกับความสนใจของบรรดาลูกศิษย์ตัวน้อยกันยกใหญ่ โดยใช้โขนซึ่งผูกเรื่องรามเกียรติ์ในตอนต่างๆเป็นแก่นสาร
ไตรรัตน์ พิพัฒโภคผล อาจารย์ประจำผู้เชี่ยวชาญด้านการแสดงโขน บอกเล่าว่า นักเรียนของที่นี่จะต้องเรียนโขนกันทุกคนอยู่แล้ว แต่เดิมจะแทรกอยู่ในวิชานาฏศิลป์ซึ่งผลตอบรับจากเด็กๆ ค่อนข้างดีมาก และเวลากว่า 25 ปีที่ผ่านมานอกเหนือจากการปลูกฝังให้นักเรียนกล้าแสดงออกในทางที่ดีแล้ว การเรียนโขนยังให้ประโยชน์ในเรื่องของระเบียบวินัย และฝึกให้เป็นคนช่างคิดช่างจินตนาการ ประกอบกับในระยะหลังเห็นนักเรียนสนใจคอมพิวเตอร์มากกว่าการอ่านหนังสือ จึงคิดว่าถ้าทำทั้งสองอย่างให้ควบคู่กันได้ น่าจะเป็นผลดีกับตัวนักเรียนเอง
“ เด็กยุคนี้ยอมรับว่าเก่ง มีความสามารถในการเรียนรู้สื่อสมัยใหม่ได้ง่าย แต่บางครั้งก็ต้องยอมรับว่าคอมพิวเตอร์ยังมีเนื้อหาสาระที่เป็นประโยชน์ต่อเด็กประถมค่อนข้างน้อย ที่มีเกลื่อนทั่วไปก็จะเป็นพวกเกม พวกนี้นานๆเล่นทีแก้เครียดได้ แต่ถ้าเล่นทุกวันจะสร้างนิสัยการเอาชนะอย่างไม่มีเหตุมีผลให้เขา และที่สำคัญเกมเหล่านี้มักไม่ค่อยต่อยอดความคิด รูปแบบจะซ้ำไปซ้ำมา”
ด้วยเหตุนี้ เราจึงได้ปรับจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยกำหนดให้ ครู ผู้สอน ได้ร่วมกันบูรณาการสรรพวิชาที่สอนๆ กันอยู่เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพความเป็นจริงในการดำเนินชีวิตประจำวัน ที่ต้องใช้ความรู้และทักษะหลาย ๆ ด้านในการแก้ปัญหาตัดสินใจ อย่างถูกต้องให้เกิดประโยชน์ มีคุณค่า มีความหมายกับนักเรียนให้มากที่สุด ซึ่งเรียกว่า แนวการจัดการเรียนรู้บูรณาการข้ามสาระหรือหน่วยการเรียนแบบหัวเรื่อง (Trans disciplinary) หรือ (Thematic Unit)
อ.ไตรรัตน์ได้ยกตัวอย่าง หน่วย“ รามเกียรติ์” ซึ่งอีกหนึ่งกิจกรรมการเรียนการสอนในอีกลักษณะหนึ่งที่จะช่วยส่งเสริมให้นักเรียนเกิดความรู้ความเข้าใจในลักษณะองค์รวม เกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมายและอย่างมีความสุข อีกทั้งยังช่วยให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะการเรียนรู้ ทักษะชีวิต
ตัวอย่างผังการบูรณาการเนื้อหาวิชาต่าง ๆ ของหน่วยการเรียนแบบหัวเรื่อง ในหน่วยรามเกียรติ์ มีดังนี้ วิชาภาษาไทย จะแทรกสาระ การอ่าน เขียน ฟัง พูด สังเกต หลักการใช้ภาษา วรรณคดี และวรรณกรรม, วิชาสุขศึกษา จะแทรกสาระ ความปลอดภัยในชีวิต,วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี จะแทรกสาระ การดำรงชีวิตและครอบครัว เทคโนโลยีสารสนเทศ,วิชาภาษาต่างประเทศ จะแทรกสาระ เรื่องภาษาและวัฒนธรรม ภาษากับความสัมพันธ์กับกลุ่ม และสาระการเรียนรู้อื่น หรือแม้แต่วิชาวิทยาศาสตร์ก็ยังสามารถแทรกสาระได้ โดยครูผู้สอนจะเอาเรื่องชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ดาราศาสตร์และอวกาศมาสอนและให้นักเรียนคิดแก้โจทย์
ผศ.อัจฉรา จ่ายเจริญ อาจารย์สอนวิชาวิทยาศาสตร์ เล่าว่าได้ลองยกตัวอย่างเรื่องของมลพิษจากตอนพลลิงและพลยักษ์ยกทัพมาสู้กันจนฝุ่นควันตลบอบอวล มองอะไรไม่เห็น ถ้าเรื่องอย่างนี้เกิดขึ้นในปัจจุบันนักเรียนจะทำอย่างไร และจะมีผลกระทบอะไรต่อโลกเราบ้าง ซึ่งคำตอบที่ได้รับ ทำเอาอาจารย์แอบปลื้มในความช่างคิดของลูกศิษย์ตัวจ้อยไปเลยทีเดียว
“เด็กๆ บอกครูมาหลายวิธีมาก เช่น จะไปเจรจาให้ทั้งสองฝ่ายพูดกันดีๆ อย่าทะเลาะกันไม่อย่างนั้นคนที่อยู่ใกล้ๆจะอยู่ไม่ได้เพราะอากาศไม่ดี หรือไม่ก็บอกว่า ถ้าทะเลาะกันจนมืดไปหมดต้นไม้จะสังเคราะห์อาหารไม่ได้ ต้นไม้จะไม่โต ถ้ามันไม่โต เราจะไม่มีอากาศดีๆสูดดม แล้ววงจร วัฏจักรชีวิต ห่วงโซ่อาหารจะพัง ซึ่งคำตอบเหล่านี้มันสะท้อนให้เห็นว่าเขามีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาวิชาแล้วและมีจินตนาการที่ดี ถ้าได้รับการสนับสนุนเขาจะไปได้ไกล”
ผศ.อัจฉรา กล่าวเสริมว่า เสน่ห์อีกส่วนหนึ่งที่ทำให้การเรียนการสอนแบบนี้ดำเนินไปได้ด้วยดีก็เพราะ เนื้อหาในเรื่องรามเกียรติ์ มีแง่มุมของอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์อยู่ด้วย ซึ่งเด็กวัยนี้ให้ความสนใจอย่างมาก หากครูผู้สอนสามารถแยกให้เห็นอย่างมีเหตุมีผลได้ เขาจะมีเหตุผลและคิดอย่างวิทยาศาสตร์
พร้อมกันนั้นก็สามารถมีอารมณ์สุนทรีละเมียดละไมกับความงามในภาษาวรรณคดี ซึ่งจะช่วยให้ทักษะและพัฒนาการด้านอารมณ์ดีตามไปด้วย นอกจากนี้ยังรวมถึงความสนุกที่ได้ขยับแข้งขาตามจังหวะเพื่อเรียนรู้การเล่นโขนในวิชานาฏศิลป์ซึ่งแต่เดิมเคยมีแค่รำวงมาตรฐาน รำแม่บท ซึ่งพอเด็กฝึกจนเป็นแล้ว ก็เบื่อไม่อยากที่จะทำต่อ
ทั้งนี้เนื้อหาที่ครูสอนและความรู้ที่นักเรียนได้ร่วมต่อยอด จะถูกบันทึกไว้ในหลักสูตรออนไลน์ของโรงเรียนทาง http://prathom.swu.ac.th/index.asp เพื่อให้ชั่วโมงเรียนคอมพิวเตอร์นักเรียนจะได้มีทางเลือกในการเข้าชมเว็บไซต์เพิ่มมากขึ้น ส่วนผู้ปกครองก็จะได้ติดตามและมีส่วนรวมกับทางโรงเรียนด้วย หรือหากนักเรียนต้องการที่จะทบทวนบทเรียนก็สามารถทำได้เองที่บ้านตลอดเวลา
ด.ช.นิธิพงศ์ บุณยะลีพรรณ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เล่าว่า ชอบการเรียนการสอนแบบนี้มาก โดยเฉพาะในชั่วโมงคอมพิวเตอร์ เขาชอบที่จะได้ฝึกอ่านและตอบคำถามที่เป็นภาษาอังกฤษเกี่ยวกับเรื่องรามเกียรติ์ในโปรแกรมที่ทางโรงเรียนทำขึ้นมาเฉพาะ ซึ่งช่วยให้เขาอ่านเขียนภาษาอังกฤษได้ดีขึ้น และคิดว่าหากโตขึ้นถ้าพื้นฐานทางภาษาดีก็จะทำให้เขาได้ก้าวไปไกลกว่าเพื่อนรุ่นเดียวกัน เช่น เรียนต่อได้ง่ายขึ้น หางานง่าย เป็นตัวเลือกที่ดีที่สังคมต้องการ
ท่านใดสนใจที่จะชมการแสดงโขนของนักเรียนตัวน้อย ได้ในวันที่ 23 มกราคม ตอน“ต้นเรื่องรามเกียรติ์” สำรองที่นั่ง โทร.0-2662-3180-7 โดยจะแสดง 2 รอบคือเวลา 10.30 น. และ 15.00 น. ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย