เด็กไทยปัจจุบันจ่ายค่าขนมสูงกว่าหนึ่งแสนล้านบาทต่อปี หรือเท่ากับงบประมาณของ 6 กระทรวง โดยร้อยละ 65 ของค่าขนมดังกล่าวหมดไปกับขนมกรุบกรอบ ของขบเคี้ยวที่ไม่เป็นประโยชน์ เสี่ยงต่อสุขภาพและพัฒนาการการเจริญเติบโตของเด็ก หลายภาคส่วนที่ตระหนักถึงปัญหานี้จึงระดมพลังเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค โดยเฉพาะเด็ก ที่อาจตกเป็นเหยื่อของการโฆษณาที่ฝังหัวให้เด็กติดกับตราสินค้า และหลงติดกับรสชาติที่อร่อย หวาน มัน เค็มมากขึ้น

น.พ.สุริยเดว ทรีปาตี กุมารแพทย์ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ได้หยิบยกกรณีศึกษาบางส่วนที่น่าสนใจเกี่ยวกับเด็กที่พ่อแม่พามาปรึกษาปัญหาสุขภาพและพบว่าเป็นโรคอ้วนและขาดสารอาหารเนื่องจากบริโภคไม่ได้สัดส่วน และเป็นข้อมูลที่น.พ.สุริยเดวก็รับรองว่าหากใครได้ฟังต้องตกใจ โดยเฉพาะคนเป็นพ่อแม่
เริ่มจากรณีแรก...
“มีเด็กคนหนึ่งแม่พามาหาผม อายุ 8 ปี เป็นโรคอ้วนระยะอันตราย เด็กกินทุกอย่างที่ขวางหน้า เพราะเป็นลูกคนเดียวพ่อแม่โอ๋มาก อยากกินอะไรก็ได้กิน กินไข่เจียวใส่น้ำตาล 2 ช้อนโต๊ะ ดื่มนมเปรี้ยววันละ 11 กล่อง พ่อแม่ซื้อน้ำอัดลมยกลังมาไว้ที่บ้านเด็กสามารถหยิบได้ตลอดเวลา ดื่มน้ำเปล่าไม่เป็น และกินขนมประมาณ 4 ถุงต่อวัน”
กรณีที่สอง...
“เด็กเป็นโรคขาดสารอาหารเนื่องจากการกินขนมที่มากเกินไป เด็กมีอายุ 4 ขวบ 7 เดือน พ่อแม่ทำงานจึงฝากพี่เลี้ยงดูแล เด็กกินขนม 4-5 ถุงต่อวัน น้ำอัดลม 1 ขวดรวมทั้งช็อกโกแลต ลูกอมกินได้ตลอดเวลา ไม่ยอมกินข้าว ไม่เคี้ยวข้าว ถ้าอาหารเป็นชิ้นจะบ้วนทิ้งนอกจากแม่จะนำอาหารเข้าเครื่องบดหรือเคี้ยวแล้ววางในจานให้ ในที่สุดเด็กคนนี้ก็อยู่ในภาวะผอมตกเกณฑ์”
กรณีที่สาม....
“แม่พาลูกมาด้วยโรคฟันผุอักเสบ เด็กมีภาวะซีด น้ำหนักเพียง 8 กิโลกรัม (ซึ่งเป็นน้ำหนักของเด็กอายุต่ำกว่า 1 ขวบ) อมลูกอมได้เรื่อยๆ กินขนมถุงวันละ 2-3 ถุงต่อวัน ไม่กินข้าวและผัก กินนมหวานขวดละ 5 ออนซ์วันละ 2 ขวด ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยที่พบว่าอายุที่น้อยที่สุดของเด็กในปัจจุบันที่มีอาการฟันผุ คือ 9 เดือน สาเหตุหลักคือนมผงที่ใช้เลี้ยงทารกส่วนมากเติมน้ำตาล เรียกได้ว่าพอฟันเริ่มโผล่ก็ผุเลยทีเดียว”
น.พ.สุริยเดว เรียกสภาวะเหล่านี้ว่า “อ้วน ผอม ฟันผุ จนเตี้ย” เพราะการไม่ได้รับสารอาหารที่เหมาะสมจะทำให้เด็กเกิดโรค ที่สำคัญคือในเด็กผอมมีผลต่อพัฒนาการเจริญเติบโตทั้งทางร่างกายและการเรียนรู้ ส่วนในเด็กอ้วนมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคไขมันในเลือดสูง ฟันผุ เบาหวาน โรคหัวใจ โรคระบบทางเดินหายใจเด็กบางคนอ้วนมากจนหายใจไม่ออกต้องใช้เครื่องช่วยหายใจและนอนไม่ได้ต้องนั่งหลับ โรคกระดูกเสื่อมที่ส่งผลให้มีแนวโน้มว่าจะเป็นเด็กเตี้ยในอนาคต การรับโซเดียมจากเกลือและผงชูรสในขนมมากๆ และเป็นเวลานานส่งผลให้เป็นโรคความดันโลหิตสูง
นอกจากจะเป็นโรคทางกายแล้วยังเป็นโรคทางจิตใจด้วยคือเด็กขาดวินัยในการกิน เรียนรู้ช้า และมีปมด้อย
ขณะที่ดำรง พุฒตาล ประธานคณะอนุกรรมาธิการศึกษาและติดตามการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา ให้ข้อมูลว่า ในช่วงเวลา 7.00 น.-10.30 น. มีการโฆษณาขนมเด็ก 100 ครั้งเป็นอย่างน้อย ซึ่งในประเทศสวีเดนขณะนี้ห้ามโฆษณาขายอาหารและขนมเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี ส่วนในกรุงริโอ เดอ จานิโร ประเทศบราซิลก็ห้ามจำหน่ายอาหารที่เรียกว่า อาหารขยะ ภายในโรงเรียน และส่งเสริมให้จำหน่ายอาหารที่ประกอบด้วยถั่ว และผักแทน
“คนไทยชอบพูดว่าอะไรๆ ก็เลียนแบบต่างประเทศ แต่กรณีนี้ผมเห็นว่าน่าเลียนแบบเป็นอย่างยิ่ง ผมไม่เห็นด้วยกับป้ายโฆษณาของไทยที่รณรงค์โดยใช้ถ้อยคำสวยๆ ต่างประเทศเขานำเสนอความสูญเสียและความรุนแรงที่จะเกิดขึ้นเหมือนการเขียนข้างซองบุหรี่ ผมเห็นด้วยที่จะให้ซองขนมมีข้อมูลผลเสียจากการบริโภคมากเกินไป ให้คุณตาคุณยายที่จะซื้อขนมให้ลูกหลานกินเห็นรูปเด็กอ้าปากแล้วฟันหลอหมดปากเลยมากกว่า”
นอกจากปัญหาด้านสุขภาพยังมีปัญหาด้านอื่นที่รอการแก้ไข เช่น ปัจจุบันยังไม่มีรายการที่ให้ความรู้ด้านโภชนาการเด็กอย่างจริงจัง ไม่มีคณะกรรมการที่มีอำนาจตรวจจับร้านค้าที่ขายขนมที่ไร้คุณภาพโดยเฉพาะบริเวณโรงเรียน การดูแลโภชนาการของเด็กทุกกลุ่ม แบ่งเป็น 6 กลุ่มหลักคือผู้ใช้แรงงาน ผู้ถูกคุมขัง พระ ชาวเขา นักเรียน และเด็กในชุมชนยังไม่ทั่วถึง
ทั้งนี้ สารี อ๋องสมหวัง กรรมการผู้จัดการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เรียกร้องให้นำเงินจากธุรกิจโฆษณาที่ส่งเสริมให้ผู้บริโภคบริโภคมากเกินในปัจจุบันมาสนับสนุนการคุ้มครองผู้บริโภค จากเดิมที่ใช้เงินภาษีมูลค่าเพิ่มซึ่งผู้บริโภคเป็นผู้จ่าย ให้จำกัดเวลาในการเสนอโฆษณาขนมให้เหมือนเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ให้จัดทำฉลากผลิตภัณฑ์ขนมเด็กที่ชัดเจนมากขึ้น โดยใช้สีเขียว แดง และเหลืองเป็นสัญลักษณ์บอกเหมือนสัญญาณไฟจราจรซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ผู้บริโภคมีสิทธิทราบ ทั้งเรื่องโฆษณาและฉลากต้องรีบดำเนินการ นอกจากคุ้มครองเด็กแล้วยังช่วยลดความทุกข์ของพ่อแม่ที่จัดการกับเรื่องขาดวินัยในการกินของลูกไม่ได้
เช่นเดียวกับ รศ.ดร.ประไพศรี ศิริจักรวาล นักวิจัยโภชนาการ สถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดลเปิดเผยว่าข้อมูลด้านโภชนาการที่ระบุไว้บนบรรจุภัณฑ์ขนมมีไม่ถึงร้อยละ 30 ที่วางขายตามท้องตลาด องค์การอาหารและยาต้องออกมาตรการให้เพิ่มข้อมูลส่วนนี้ และต้องออกมาให้ความรู้แก่เด็กและผู้ปกครองรู้จักตัดสินใจซื้อหรือไม่ซื้อจากข้อมูลดังกล่าวได้
ส่วนผศ.ดร.วิทยา กุลสมบูรณ์ อนุกรรมาธิการศึกษาและติดตามการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภากล่าวว่ากลไกด้านดูแลผู้บริโภคของไทยบกพร่องและเสนอให้เร่งแก้ไข “คนไทย เมืองไทยคงแข็งแรงไม่ได้ถ้าเด็กไทยไม่แข็งแรง รัฐบาลสั่งลดค่าทางด่วน ลดค่าเช่าที่ดิน ของขวัญวันเด็กไทยปีนี้ก็ควรลดการโฆษณาขนมเด็กด้วย”
นอกจากนี้ ยังมีการเสนอให้คณะกรรมการอาหารและยาพิจารณาให้เครื่องหมาย อย. โดยดูคุณค่าทางโภชนาการด้วยไม่ใช่ดูแค่ความสะอาดปลอดภัย ให้ส่งเสริมงานวิจัยทุกระดับที่จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาด้านคุณภาพขนมเด็ก
ด้านการจัดตั้งองค์การอิสระผู้บริโภคตามรัฐธรรมนูญมาตรา 57 นายสง่า ดามาพงษ์ นักวิชาการสาธารณสุข 9 กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขสนับสนุนให้จัดตั้งองค์การนี้โดยเร็ว กำหนดขอบข่ายหน้าที่เป็นองค์การศูนย์กลางประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ความคุ้มครองผู้บริโภคโดยแก้ที่ต้นเหตุ
“เราต้องสร้างภูมิคุ้มกันทางปัญญาให้เด็กเลือกซื้อขนมอย่างมีประสิทธิภาพ ผมเห็นว่าการลดโฆษณานั้นแก้ที่ปลายเหตุ เด็กกับขนมเป็นของคู่กัน เราห้ามเด็กกินขนมไม่ได้ ดังนั้นต้องผลิตขนมที่มีคุณภาพให้เด็กกิน เอาศัตรูมาเป็นมิตร ดึงกลุ่มผู้ผลิตขนมมาเป็นแนวร่วม ที่สำคัญอย่าทอดทิ้งขนมไทย พัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้ทันสมัยทำให้เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของขนมเด็ก”
...ขนมเด็กมองจากภายนอกก็เป็นขนมถุงเล็กๆ ดูไร้พิษภัย แต่มือน้อยๆ ที่กำลังแกะห่อขนมนั้นหารู้ไม่ว่ากำลังบรรจุโรคภัยร้ายเข้าสู่ร่างกายโดยไม่รู้ตัว ปีนี้ทุกภาคส่วนต่างจับตาดูว่ารัฐบาลชุดใหม่จะสนองตอบต่อข้อเสนอเพื่อประโยชน์ของอนาคตของชาติอย่างไร อย่างน้อยภายในวันที่ 30 เมษายนนี้ ซึ่งเป็นวันคุ้มครองผู้บริโภคน่าจะมีความคืบหน้าให้ชื่นใจบ้าง และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าบุคคลที่มีบทบาทสำคัญคือผู้ผลิตขนมทั้งหลายจะมีจิตสำนึกให้ความร่วมมือเปลี่ยนมาผลิตขนมที่ทั้งอร่อยและอุดมไปด้วยสารอาหาร หากบ้านเมืองยังเต็มไปด้วยขนมอันตรายไร้คุณค่าประเทศไทยจะพัฒนาได้อย่างไรถ้าเด็กไทย ตัวโตแต่สมองลีบ
น.พ.สุริยเดว ทรีปาตี กุมารแพทย์ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ได้หยิบยกกรณีศึกษาบางส่วนที่น่าสนใจเกี่ยวกับเด็กที่พ่อแม่พามาปรึกษาปัญหาสุขภาพและพบว่าเป็นโรคอ้วนและขาดสารอาหารเนื่องจากบริโภคไม่ได้สัดส่วน และเป็นข้อมูลที่น.พ.สุริยเดวก็รับรองว่าหากใครได้ฟังต้องตกใจ โดยเฉพาะคนเป็นพ่อแม่
เริ่มจากรณีแรก...
“มีเด็กคนหนึ่งแม่พามาหาผม อายุ 8 ปี เป็นโรคอ้วนระยะอันตราย เด็กกินทุกอย่างที่ขวางหน้า เพราะเป็นลูกคนเดียวพ่อแม่โอ๋มาก อยากกินอะไรก็ได้กิน กินไข่เจียวใส่น้ำตาล 2 ช้อนโต๊ะ ดื่มนมเปรี้ยววันละ 11 กล่อง พ่อแม่ซื้อน้ำอัดลมยกลังมาไว้ที่บ้านเด็กสามารถหยิบได้ตลอดเวลา ดื่มน้ำเปล่าไม่เป็น และกินขนมประมาณ 4 ถุงต่อวัน”
กรณีที่สอง...
“เด็กเป็นโรคขาดสารอาหารเนื่องจากการกินขนมที่มากเกินไป เด็กมีอายุ 4 ขวบ 7 เดือน พ่อแม่ทำงานจึงฝากพี่เลี้ยงดูแล เด็กกินขนม 4-5 ถุงต่อวัน น้ำอัดลม 1 ขวดรวมทั้งช็อกโกแลต ลูกอมกินได้ตลอดเวลา ไม่ยอมกินข้าว ไม่เคี้ยวข้าว ถ้าอาหารเป็นชิ้นจะบ้วนทิ้งนอกจากแม่จะนำอาหารเข้าเครื่องบดหรือเคี้ยวแล้ววางในจานให้ ในที่สุดเด็กคนนี้ก็อยู่ในภาวะผอมตกเกณฑ์”
กรณีที่สาม....
“แม่พาลูกมาด้วยโรคฟันผุอักเสบ เด็กมีภาวะซีด น้ำหนักเพียง 8 กิโลกรัม (ซึ่งเป็นน้ำหนักของเด็กอายุต่ำกว่า 1 ขวบ) อมลูกอมได้เรื่อยๆ กินขนมถุงวันละ 2-3 ถุงต่อวัน ไม่กินข้าวและผัก กินนมหวานขวดละ 5 ออนซ์วันละ 2 ขวด ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยที่พบว่าอายุที่น้อยที่สุดของเด็กในปัจจุบันที่มีอาการฟันผุ คือ 9 เดือน สาเหตุหลักคือนมผงที่ใช้เลี้ยงทารกส่วนมากเติมน้ำตาล เรียกได้ว่าพอฟันเริ่มโผล่ก็ผุเลยทีเดียว”
น.พ.สุริยเดว เรียกสภาวะเหล่านี้ว่า “อ้วน ผอม ฟันผุ จนเตี้ย” เพราะการไม่ได้รับสารอาหารที่เหมาะสมจะทำให้เด็กเกิดโรค ที่สำคัญคือในเด็กผอมมีผลต่อพัฒนาการเจริญเติบโตทั้งทางร่างกายและการเรียนรู้ ส่วนในเด็กอ้วนมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคไขมันในเลือดสูง ฟันผุ เบาหวาน โรคหัวใจ โรคระบบทางเดินหายใจเด็กบางคนอ้วนมากจนหายใจไม่ออกต้องใช้เครื่องช่วยหายใจและนอนไม่ได้ต้องนั่งหลับ โรคกระดูกเสื่อมที่ส่งผลให้มีแนวโน้มว่าจะเป็นเด็กเตี้ยในอนาคต การรับโซเดียมจากเกลือและผงชูรสในขนมมากๆ และเป็นเวลานานส่งผลให้เป็นโรคความดันโลหิตสูง
นอกจากจะเป็นโรคทางกายแล้วยังเป็นโรคทางจิตใจด้วยคือเด็กขาดวินัยในการกิน เรียนรู้ช้า และมีปมด้อย
ขณะที่ดำรง พุฒตาล ประธานคณะอนุกรรมาธิการศึกษาและติดตามการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา ให้ข้อมูลว่า ในช่วงเวลา 7.00 น.-10.30 น. มีการโฆษณาขนมเด็ก 100 ครั้งเป็นอย่างน้อย ซึ่งในประเทศสวีเดนขณะนี้ห้ามโฆษณาขายอาหารและขนมเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี ส่วนในกรุงริโอ เดอ จานิโร ประเทศบราซิลก็ห้ามจำหน่ายอาหารที่เรียกว่า อาหารขยะ ภายในโรงเรียน และส่งเสริมให้จำหน่ายอาหารที่ประกอบด้วยถั่ว และผักแทน
“คนไทยชอบพูดว่าอะไรๆ ก็เลียนแบบต่างประเทศ แต่กรณีนี้ผมเห็นว่าน่าเลียนแบบเป็นอย่างยิ่ง ผมไม่เห็นด้วยกับป้ายโฆษณาของไทยที่รณรงค์โดยใช้ถ้อยคำสวยๆ ต่างประเทศเขานำเสนอความสูญเสียและความรุนแรงที่จะเกิดขึ้นเหมือนการเขียนข้างซองบุหรี่ ผมเห็นด้วยที่จะให้ซองขนมมีข้อมูลผลเสียจากการบริโภคมากเกินไป ให้คุณตาคุณยายที่จะซื้อขนมให้ลูกหลานกินเห็นรูปเด็กอ้าปากแล้วฟันหลอหมดปากเลยมากกว่า”
นอกจากปัญหาด้านสุขภาพยังมีปัญหาด้านอื่นที่รอการแก้ไข เช่น ปัจจุบันยังไม่มีรายการที่ให้ความรู้ด้านโภชนาการเด็กอย่างจริงจัง ไม่มีคณะกรรมการที่มีอำนาจตรวจจับร้านค้าที่ขายขนมที่ไร้คุณภาพโดยเฉพาะบริเวณโรงเรียน การดูแลโภชนาการของเด็กทุกกลุ่ม แบ่งเป็น 6 กลุ่มหลักคือผู้ใช้แรงงาน ผู้ถูกคุมขัง พระ ชาวเขา นักเรียน และเด็กในชุมชนยังไม่ทั่วถึง
ทั้งนี้ สารี อ๋องสมหวัง กรรมการผู้จัดการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เรียกร้องให้นำเงินจากธุรกิจโฆษณาที่ส่งเสริมให้ผู้บริโภคบริโภคมากเกินในปัจจุบันมาสนับสนุนการคุ้มครองผู้บริโภค จากเดิมที่ใช้เงินภาษีมูลค่าเพิ่มซึ่งผู้บริโภคเป็นผู้จ่าย ให้จำกัดเวลาในการเสนอโฆษณาขนมให้เหมือนเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ให้จัดทำฉลากผลิตภัณฑ์ขนมเด็กที่ชัดเจนมากขึ้น โดยใช้สีเขียว แดง และเหลืองเป็นสัญลักษณ์บอกเหมือนสัญญาณไฟจราจรซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ผู้บริโภคมีสิทธิทราบ ทั้งเรื่องโฆษณาและฉลากต้องรีบดำเนินการ นอกจากคุ้มครองเด็กแล้วยังช่วยลดความทุกข์ของพ่อแม่ที่จัดการกับเรื่องขาดวินัยในการกินของลูกไม่ได้
เช่นเดียวกับ รศ.ดร.ประไพศรี ศิริจักรวาล นักวิจัยโภชนาการ สถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดลเปิดเผยว่าข้อมูลด้านโภชนาการที่ระบุไว้บนบรรจุภัณฑ์ขนมมีไม่ถึงร้อยละ 30 ที่วางขายตามท้องตลาด องค์การอาหารและยาต้องออกมาตรการให้เพิ่มข้อมูลส่วนนี้ และต้องออกมาให้ความรู้แก่เด็กและผู้ปกครองรู้จักตัดสินใจซื้อหรือไม่ซื้อจากข้อมูลดังกล่าวได้
ส่วนผศ.ดร.วิทยา กุลสมบูรณ์ อนุกรรมาธิการศึกษาและติดตามการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภากล่าวว่ากลไกด้านดูแลผู้บริโภคของไทยบกพร่องและเสนอให้เร่งแก้ไข “คนไทย เมืองไทยคงแข็งแรงไม่ได้ถ้าเด็กไทยไม่แข็งแรง รัฐบาลสั่งลดค่าทางด่วน ลดค่าเช่าที่ดิน ของขวัญวันเด็กไทยปีนี้ก็ควรลดการโฆษณาขนมเด็กด้วย”
นอกจากนี้ ยังมีการเสนอให้คณะกรรมการอาหารและยาพิจารณาให้เครื่องหมาย อย. โดยดูคุณค่าทางโภชนาการด้วยไม่ใช่ดูแค่ความสะอาดปลอดภัย ให้ส่งเสริมงานวิจัยทุกระดับที่จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาด้านคุณภาพขนมเด็ก
ด้านการจัดตั้งองค์การอิสระผู้บริโภคตามรัฐธรรมนูญมาตรา 57 นายสง่า ดามาพงษ์ นักวิชาการสาธารณสุข 9 กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขสนับสนุนให้จัดตั้งองค์การนี้โดยเร็ว กำหนดขอบข่ายหน้าที่เป็นองค์การศูนย์กลางประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ความคุ้มครองผู้บริโภคโดยแก้ที่ต้นเหตุ
“เราต้องสร้างภูมิคุ้มกันทางปัญญาให้เด็กเลือกซื้อขนมอย่างมีประสิทธิภาพ ผมเห็นว่าการลดโฆษณานั้นแก้ที่ปลายเหตุ เด็กกับขนมเป็นของคู่กัน เราห้ามเด็กกินขนมไม่ได้ ดังนั้นต้องผลิตขนมที่มีคุณภาพให้เด็กกิน เอาศัตรูมาเป็นมิตร ดึงกลุ่มผู้ผลิตขนมมาเป็นแนวร่วม ที่สำคัญอย่าทอดทิ้งขนมไทย พัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้ทันสมัยทำให้เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของขนมเด็ก”
...ขนมเด็กมองจากภายนอกก็เป็นขนมถุงเล็กๆ ดูไร้พิษภัย แต่มือน้อยๆ ที่กำลังแกะห่อขนมนั้นหารู้ไม่ว่ากำลังบรรจุโรคภัยร้ายเข้าสู่ร่างกายโดยไม่รู้ตัว ปีนี้ทุกภาคส่วนต่างจับตาดูว่ารัฐบาลชุดใหม่จะสนองตอบต่อข้อเสนอเพื่อประโยชน์ของอนาคตของชาติอย่างไร อย่างน้อยภายในวันที่ 30 เมษายนนี้ ซึ่งเป็นวันคุ้มครองผู้บริโภคน่าจะมีความคืบหน้าให้ชื่นใจบ้าง และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าบุคคลที่มีบทบาทสำคัญคือผู้ผลิตขนมทั้งหลายจะมีจิตสำนึกให้ความร่วมมือเปลี่ยนมาผลิตขนมที่ทั้งอร่อยและอุดมไปด้วยสารอาหาร หากบ้านเมืองยังเต็มไปด้วยขนมอันตรายไร้คุณค่าประเทศไทยจะพัฒนาได้อย่างไรถ้าเด็กไทย ตัวโตแต่สมองลีบ