คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ประกาศผลรับตรงปีแรก 109 คน เผยผู้ได้ 5 อันดับแรกมาจาก “เตรียมอุดมฯ” ล้วนๆ เดินหน้าเตรียมรับรอบสองต่อไปอีกให้ครบตามจำนวน ขณะที่ทางมศว.เผยได้น.ร.ต่างจังหวัดเรียนแพทย์เพียบ ย้ำแม้จะไม่ได้เด็กเก่งที่สุดเข้าเรียน แต่ได้เด็กดีพร้อมทำงานในชนบท
วันนี้(10 ม.ค.) รศ.น.พ.อดิศร ภัทรดูลย์ รองคณบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา ผศ. พ.ญ.นันทนา ศิริทรัพย์ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ และ รศ.น.พ.อัมพล สูอำพัน ประธานคณะกรรมการคัดเลือก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกันแถลงผลการรับตรงนิสิตคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ปีการศึกษา 2548 ซึ่งเป็นปีแรกที่รับตรงทั้งหมดจำนวน 190 คน โดยไม่ผ่านกระบวนการของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) มีการดำเนินการรับสมัครมาตั้งแต่เดือนกันยายน และมีการประกาศรายชื่อผู้สอบได้รอบแรกวันที่ 28 ธ.ค.47 และรายงานตัวเมื่อวันที่ 4-7 ม.ค.48 มีผู้ที่สอบผ่านเกณฑ์ 114 คน จากผู้สมัครและสอบครบทุกวิชา 2,100 คน จากผู้สมัครรวม 2,181 คน และไม่มารายงานตัว 1 คน สละสิทธิ์ไปอีก 4 คน เหลือ 109 คน
สำหรับผู้ที่สอบได้คะแนนสูงสุด 5 อันดับแรก เป็นนักเรียนจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาทั้งหมดดังนี้ 1.นายวีรวัช เอนกจำนงค์พร ได้ 785.50 คะแนน 2.นายยลรวี ปิยะคมน์ 782.25 คะแนน 3.นายธนธรรศ บำเพ็ญบุญ 772 คะแนน 4.นายจิรภาส ปอแก้ว 762.25 คะแนน 5.นายธนณัฐ จิตะพันธ์กุล 762 คะแนน
ส่วนผู้สอบได้คะแนนสูงสุดของแต่ละภาค ภาคกลาง-กทม.คือนายวีรวัช ภาคเหนือ น.ส.ณัฎฐา ล้ำเลิศกุล ร.ร.มงฟอร์ตวิทยาลัย จ.เชียงใหม่ ได้ 750.50 คะแนน ภาคใต้ น.ส.วชิราภรณ์ คูณรังษีสมบูรณ์ ร.ร.หาดใหญ่วิทยาลัย จ.สงขลา ได้ 742.25 คะแนน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นายบัญชา ศักดิ์สิทธิโชค ร.ร.สกลราชวิทยานุกูล จ.สกลนคร ได้ 727 คะแนน ขณะที่ผู้สอบได้คะแนนสูงสุดวิชาเฉพาะจาก 300 คะแนน คือ น.ส.ดวงพร นรมัตถ์ ร.ร.มหิดลวิทยานุสรณ์ จ.นครปฐม ได้ 213.25 คะแนน
รศ.น.พ.อดิศร กล่าวว่า จากกระบวนการรับตรงที่คณะแพทยศาสตร์ทดลองในปีแรกนี้ จุฬาฯ มีความภาคภูมิใจมากที่ได้เด็กเก่งและมีความคิดดีจำนวนมากมาเรียน เพราะนอกจากจะได้เด็กเก่งแล้วยังได้เด็กที่มีความใฝ่รู้ รู้รอบ กอปรคุณธรรม นำสังคม เพราะมีการสอบวิชาเฉพาะที่ไม่เคยมีจากการรับจาก สกอ. โดยวิชาเฉพาะจะวัดคุณลักษณะที่ใช้ทดสอบความคิดและพฤติกรรมของผู้สมัครว่าเหมาะสมกับการศึกษาวิชาแพทยศาสตร์และการประกอบวิชาชีพเวชกรรมในอนาคต และทดสอบความคิดอย่างมีวิจารณญาณ การคิดแบบองค์รวม แนวความคิดทางจริยธรรม วุฒิภาวะทางสังคม ทางอารมณ์และทักษะในการติดต่อสื่อสาร บทบาทของแพทย์และการทำงานร่วมกับผู้อื่น ส่วนผลผลิตของนิสิตแพทย์ฯ ที่รับตรงรุ่นแรกจะออกมามีผลสัมฤทธิ์อย่างไรต้องรออีก 6 ปี
ขณะที่ ผศ.พ.ญ.นันทนา กล่าวว่า จะรับสมัครในรอบที่ 2 โดยจะประกาศรับสมัครวันที่ 17 ม.ค.ตามจำนวนที่นั่งที่ยังว่างอยู่จากยอดเต็ม 190 คน และจะต้องเป็นผู้ที่เข้าสอบวิชาเฉพาะมาก่อนแล้ว จากนั้นผู้สมัครสามารถไปทำคะแนน 7 รายวิชา กับ สกอ.เดือนมีนาคม และนำคะแนนที่ดีที่สุดมารวมกับคะแนนวิชาเฉพาะ ซึ่งการรับรอบสองนี้จะไม่เอาเกณฑ์ 700 คะแนนมาตั้ง แต่จะคิดจากคะแนนของผู้ที่ได้สูงสุดเรียงลำดับลงมาจนถึงจำนวนที่รับ ทั้งนี้ คณะแพทย์ฯ จะดำเนินการประกาศผลรอบสองให้เร็วที่สุดและก่อนที่ สกอ.จะรับสมัครเอนทรานซ์เพื่อไม่ให้ซ้ำซ้อน
“เด็กที่มาสอบกับเราครั้งนี้และสอบผ่านได้คะแนนรวม 7 รายวิชา จาก สกอ. 580.25 คะแนน และต่ำสุด 496.25 ซึ่งจากเกณฑ์ที่เราตั้งไว้ 550 คะแนน เป็นค่าเฉลี่ยของผู้ที่สอบเอนทรานซ์เข้าคณะแพทย์ฯ ย้อนหลังไป 6 ปี สำหรับเด็กที่สอบผ่านและสละสิทธิ์หรือไม่มารายงานตัว เนื่องจากได้ทุนเล่าเรียนหลวง เราก็คิดว่าเด็กเขาจะได้ไปในทางที่ดีกว่าก็ยินดีด้วย และกระบวนการรับตรงทำให้เราแน่ใจว่ามีข้อมูลเพียงพอที่จะรับตรงเต็มรูปแบบในปี 2549”
ด้าน นายวีรวัช เอนกจำนงค์พร โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ซึ่งเป็นผู้สอบได้คะแนนรวมสูงสุด กล่าวว่า การรับตรงเป็นการเปิดกว้างให้กับเด็ก และเด็กไม่มีพันธะผูกพันเนื่องจากสอบก่อนการสอบเอนทรานซ์ และสถานที่สอบอยู่ใน กทม.ทำให้มาสอบได้สะดวก ส่วนตัวตั้งใจจะเรียนแพทย์ เนื่องจากอยากช่วยเหลือผู้ที่มีความทุกข์ ช่วยเหลือสังคม ความต้องการอยากจะให้การสาธารณสุขในชนบทมีการพัฒนามากขึ้น จึงอยากปรับปรุงสาธารณสุขในต่างจังหวัดให้ดีขึ้น
ส่วน น.ส.วชิราภรณ์ กล่าวว่า การรับตรงเป็นประโยชน์กับเด็กที่เตรียมตัวมาตั้งแต่แรก ๆ ได้เอาความรู้ที่เรียนมาใช้สอบ แต่การรับตรงจะทำให้เด็กต่างจังหวัดเสียเวลามากเพราะต้องเดินทางบ่อย เนื่องจากปีการศึกษา 2548 นี้คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยใช้ระบบรับตรงจากเดิมที่คัดเลือกนักเรียนจากระบบเอนทรานซ์
นอกจากจุฬาฯ แล้ว ทางคณะแพทย์ศาสตร์ ม.ศรีนครินทรวิโรฒ(มศว) ก็ได้ประกาศผลรับตรงแล้วเช่นกัน โดยน.พ.อรุณวงศ์ เทพชาตรี คณบดีคณะแพทย์ศาสตร์ เปิดเผยว่า มศว.ประกาศผลเมื่อวันที่ 9 ม.ค.48 เป็นวันแรก แต่เนื่องจากเป็นวันหยุด นักเรียนจึงมาดูผลการสอบในวันที่ 10 ม.ค.48 เป็นจำนวนมาก ซึ่งคณะแพทย์ศาสตร์รับตรงจำนวน 100 คน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเด็กต่างจังหวัด ส่วนอีก 30 คนนั้นจะรับจากการสอบเอนทรานซ์
ทั้งนี้ การที่มศว เน้นรับตรงจากโควตาเด็กต่างจังหวัดเป็นส่วนใหญ่เพราะจากประสบการณ์พบว่า เด็กต่างจังหวัดที่สอบเข้าเรียนในคณะแพทย์ มศว นั้น จะไม่สละสิทธิ์ และเมื่อจบก็ไปเป็นแพทย์ในต่างหวัดซึ่งบางคนได้กลับไปรับใช้บ้านเกิดตัวเอง ส่วนใหญ่ไม่มีใครคิดลาออก และแม้ว่ามศว จะไม่ได้เด็กที่เก่งระดับชั้นแนวหน้าเหมือนในโรงเรียนแพทย์ๆ แต่ก็ได้เด็กดี และเมื่อเรียนไปแล้วก็พัฒนาตัวเองขึ้นเรื่อยๆ จนจบออกไปเป็นแพทย์ที่มีความมั่นคงทางจิตใจ หนักแน่นและไม่ยอมแพ้อุปสรรค
วันนี้(10 ม.ค.) รศ.น.พ.อดิศร ภัทรดูลย์ รองคณบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา ผศ. พ.ญ.นันทนา ศิริทรัพย์ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ และ รศ.น.พ.อัมพล สูอำพัน ประธานคณะกรรมการคัดเลือก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกันแถลงผลการรับตรงนิสิตคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ปีการศึกษา 2548 ซึ่งเป็นปีแรกที่รับตรงทั้งหมดจำนวน 190 คน โดยไม่ผ่านกระบวนการของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) มีการดำเนินการรับสมัครมาตั้งแต่เดือนกันยายน และมีการประกาศรายชื่อผู้สอบได้รอบแรกวันที่ 28 ธ.ค.47 และรายงานตัวเมื่อวันที่ 4-7 ม.ค.48 มีผู้ที่สอบผ่านเกณฑ์ 114 คน จากผู้สมัครและสอบครบทุกวิชา 2,100 คน จากผู้สมัครรวม 2,181 คน และไม่มารายงานตัว 1 คน สละสิทธิ์ไปอีก 4 คน เหลือ 109 คน
สำหรับผู้ที่สอบได้คะแนนสูงสุด 5 อันดับแรก เป็นนักเรียนจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาทั้งหมดดังนี้ 1.นายวีรวัช เอนกจำนงค์พร ได้ 785.50 คะแนน 2.นายยลรวี ปิยะคมน์ 782.25 คะแนน 3.นายธนธรรศ บำเพ็ญบุญ 772 คะแนน 4.นายจิรภาส ปอแก้ว 762.25 คะแนน 5.นายธนณัฐ จิตะพันธ์กุล 762 คะแนน
ส่วนผู้สอบได้คะแนนสูงสุดของแต่ละภาค ภาคกลาง-กทม.คือนายวีรวัช ภาคเหนือ น.ส.ณัฎฐา ล้ำเลิศกุล ร.ร.มงฟอร์ตวิทยาลัย จ.เชียงใหม่ ได้ 750.50 คะแนน ภาคใต้ น.ส.วชิราภรณ์ คูณรังษีสมบูรณ์ ร.ร.หาดใหญ่วิทยาลัย จ.สงขลา ได้ 742.25 คะแนน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นายบัญชา ศักดิ์สิทธิโชค ร.ร.สกลราชวิทยานุกูล จ.สกลนคร ได้ 727 คะแนน ขณะที่ผู้สอบได้คะแนนสูงสุดวิชาเฉพาะจาก 300 คะแนน คือ น.ส.ดวงพร นรมัตถ์ ร.ร.มหิดลวิทยานุสรณ์ จ.นครปฐม ได้ 213.25 คะแนน
รศ.น.พ.อดิศร กล่าวว่า จากกระบวนการรับตรงที่คณะแพทยศาสตร์ทดลองในปีแรกนี้ จุฬาฯ มีความภาคภูมิใจมากที่ได้เด็กเก่งและมีความคิดดีจำนวนมากมาเรียน เพราะนอกจากจะได้เด็กเก่งแล้วยังได้เด็กที่มีความใฝ่รู้ รู้รอบ กอปรคุณธรรม นำสังคม เพราะมีการสอบวิชาเฉพาะที่ไม่เคยมีจากการรับจาก สกอ. โดยวิชาเฉพาะจะวัดคุณลักษณะที่ใช้ทดสอบความคิดและพฤติกรรมของผู้สมัครว่าเหมาะสมกับการศึกษาวิชาแพทยศาสตร์และการประกอบวิชาชีพเวชกรรมในอนาคต และทดสอบความคิดอย่างมีวิจารณญาณ การคิดแบบองค์รวม แนวความคิดทางจริยธรรม วุฒิภาวะทางสังคม ทางอารมณ์และทักษะในการติดต่อสื่อสาร บทบาทของแพทย์และการทำงานร่วมกับผู้อื่น ส่วนผลผลิตของนิสิตแพทย์ฯ ที่รับตรงรุ่นแรกจะออกมามีผลสัมฤทธิ์อย่างไรต้องรออีก 6 ปี
ขณะที่ ผศ.พ.ญ.นันทนา กล่าวว่า จะรับสมัครในรอบที่ 2 โดยจะประกาศรับสมัครวันที่ 17 ม.ค.ตามจำนวนที่นั่งที่ยังว่างอยู่จากยอดเต็ม 190 คน และจะต้องเป็นผู้ที่เข้าสอบวิชาเฉพาะมาก่อนแล้ว จากนั้นผู้สมัครสามารถไปทำคะแนน 7 รายวิชา กับ สกอ.เดือนมีนาคม และนำคะแนนที่ดีที่สุดมารวมกับคะแนนวิชาเฉพาะ ซึ่งการรับรอบสองนี้จะไม่เอาเกณฑ์ 700 คะแนนมาตั้ง แต่จะคิดจากคะแนนของผู้ที่ได้สูงสุดเรียงลำดับลงมาจนถึงจำนวนที่รับ ทั้งนี้ คณะแพทย์ฯ จะดำเนินการประกาศผลรอบสองให้เร็วที่สุดและก่อนที่ สกอ.จะรับสมัครเอนทรานซ์เพื่อไม่ให้ซ้ำซ้อน
“เด็กที่มาสอบกับเราครั้งนี้และสอบผ่านได้คะแนนรวม 7 รายวิชา จาก สกอ. 580.25 คะแนน และต่ำสุด 496.25 ซึ่งจากเกณฑ์ที่เราตั้งไว้ 550 คะแนน เป็นค่าเฉลี่ยของผู้ที่สอบเอนทรานซ์เข้าคณะแพทย์ฯ ย้อนหลังไป 6 ปี สำหรับเด็กที่สอบผ่านและสละสิทธิ์หรือไม่มารายงานตัว เนื่องจากได้ทุนเล่าเรียนหลวง เราก็คิดว่าเด็กเขาจะได้ไปในทางที่ดีกว่าก็ยินดีด้วย และกระบวนการรับตรงทำให้เราแน่ใจว่ามีข้อมูลเพียงพอที่จะรับตรงเต็มรูปแบบในปี 2549”
ด้าน นายวีรวัช เอนกจำนงค์พร โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ซึ่งเป็นผู้สอบได้คะแนนรวมสูงสุด กล่าวว่า การรับตรงเป็นการเปิดกว้างให้กับเด็ก และเด็กไม่มีพันธะผูกพันเนื่องจากสอบก่อนการสอบเอนทรานซ์ และสถานที่สอบอยู่ใน กทม.ทำให้มาสอบได้สะดวก ส่วนตัวตั้งใจจะเรียนแพทย์ เนื่องจากอยากช่วยเหลือผู้ที่มีความทุกข์ ช่วยเหลือสังคม ความต้องการอยากจะให้การสาธารณสุขในชนบทมีการพัฒนามากขึ้น จึงอยากปรับปรุงสาธารณสุขในต่างจังหวัดให้ดีขึ้น
ส่วน น.ส.วชิราภรณ์ กล่าวว่า การรับตรงเป็นประโยชน์กับเด็กที่เตรียมตัวมาตั้งแต่แรก ๆ ได้เอาความรู้ที่เรียนมาใช้สอบ แต่การรับตรงจะทำให้เด็กต่างจังหวัดเสียเวลามากเพราะต้องเดินทางบ่อย เนื่องจากปีการศึกษา 2548 นี้คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยใช้ระบบรับตรงจากเดิมที่คัดเลือกนักเรียนจากระบบเอนทรานซ์
นอกจากจุฬาฯ แล้ว ทางคณะแพทย์ศาสตร์ ม.ศรีนครินทรวิโรฒ(มศว) ก็ได้ประกาศผลรับตรงแล้วเช่นกัน โดยน.พ.อรุณวงศ์ เทพชาตรี คณบดีคณะแพทย์ศาสตร์ เปิดเผยว่า มศว.ประกาศผลเมื่อวันที่ 9 ม.ค.48 เป็นวันแรก แต่เนื่องจากเป็นวันหยุด นักเรียนจึงมาดูผลการสอบในวันที่ 10 ม.ค.48 เป็นจำนวนมาก ซึ่งคณะแพทย์ศาสตร์รับตรงจำนวน 100 คน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเด็กต่างจังหวัด ส่วนอีก 30 คนนั้นจะรับจากการสอบเอนทรานซ์
ทั้งนี้ การที่มศว เน้นรับตรงจากโควตาเด็กต่างจังหวัดเป็นส่วนใหญ่เพราะจากประสบการณ์พบว่า เด็กต่างจังหวัดที่สอบเข้าเรียนในคณะแพทย์ มศว นั้น จะไม่สละสิทธิ์ และเมื่อจบก็ไปเป็นแพทย์ในต่างหวัดซึ่งบางคนได้กลับไปรับใช้บ้านเกิดตัวเอง ส่วนใหญ่ไม่มีใครคิดลาออก และแม้ว่ามศว จะไม่ได้เด็กที่เก่งระดับชั้นแนวหน้าเหมือนในโรงเรียนแพทย์ๆ แต่ก็ได้เด็กดี และเมื่อเรียนไปแล้วก็พัฒนาตัวเองขึ้นเรื่อยๆ จนจบออกไปเป็นแพทย์ที่มีความมั่นคงทางจิตใจ หนักแน่นและไม่ยอมแพ้อุปสรรค