สุขภาพน่ารู้สู่ประชาชน/ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย
ประเทศไทยเคยได้ยินคำว่า”สึนามิ”เมื่อ5ปีก่อน โดยอดีตอธิบดีกรมอุตุวิทยาซึ่งท่านได้พยากรณ์ถึงโอกาสที่จะเกิดสึนามิในฝั่งอันดามัน คำว่า”สึนามิ(Tsunami)” เป็นคำในภาษาญี่ปุ่น Tsu แปลว่าท่าเรือ ส่วน Nami นั้นแปลว่าคลื่น อย่างไรก็ตามสึนามิจะถูกนำไปใช้ในความหมายว่า”คลื่นยักษ์”หรือ”คลื่นเพชรฆาต”ที่ส่งผลทำลายชีวิตและทรัพย์สินที่อยู่ริมฝั่งทะเล มหาสมุทร
มีน้อยคนที่รู้ว่าเมื่อ 121 ปีก่อนนี้ได้เกิดคลื่นสึนามิที่เกาะสุมาตรามาแล้ว เพียงแต่ครั้งนั้นสึนามิมีสาเหตุมาจากภูเขาไฟระเบิด ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตไปราว 36,000คน แต่แล้วในยามเช้าของวันที่ 26ธันวาคม พ.ศ.2547 สึนามิก็แสดงอนุภาพในการทำลายให้ชาวไทยและชาวโลกประจักษ์อีกครั้งหนึ่งจากการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกใกล้ตอนเหนือของเกาะสุมาตรา ยังผลให้มีผู้เสียชีวิตกว่าแสนคน

ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นภัยจากอุบัติเหตุ สงคราม ตลอดจนภัยธรรมชาติ ต่างก็เป็นเหตุที่ก่อให้เกิดอุบัติภัยหมู่(Mass casualty) ซึ่งนำไปสู่การบาดเจ็บ พิการทุพพลภาพจนกระทั่งถึงแก่ชีวิต ภัยจากสึนามิก็เป็นหนึ่งในนั้นเพราะคลื่นสึนามิจะมาเป็นระลอกคลื่นเคลื่อนที่ข้ามมหาสมุทรด้วยความเร็วกว่า 800กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยเมื่อคลื่นเข้าสู่ชายฝั่ง ความสูงของคลื่นจะเพิ่มขึ้นเป็นกำแพงคลื่นจากไม่กี่เซนติเมตรไปจนถึง 50เมตร
ขณะที่ความเร็วคลื่นจะลดต่ำลง ก่อให้เกิดการกระแทกอย่างรุนแรงซึ่งทำให้ผู้ประสบภัยได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากแรงผลักร่วมกับการกระทบกับวัตถุต่างๆที่เป็นของแข็ง นอกจากนี้ระลอกคลื่นที่สะท้อนออกจากฝั่งยังสามารถดูดกลืนร่างผู้ประสบภัยออกสู่ทะเลนำไปสู่การจมน้ำและเสียชีวิตได้อีกด้วย
บทบาทของแพทย์แบ่งได้เป็น 4ขั้นตอนคือ
1. การคัดแยกและการปฐมพยาบาลผู้ประสบภัย ณ ที่เกิดเหตุ โดยมีแพทย์ผู้ชำนาญด้านเวชศาสตร์ฉุกเฉินร่วมกับหน่วยกู้ภัย ขั้นตอนนี้ผู้ปฏิบัติงานจะเป็นทีมแพทย์และทีมกู้ภัยจากท้องถิ่นนั้น โดยผู้ประสบภัยจะถูกจำแนกเป็น 4กลุ่มคือ บาดเจ็บน้อย บาดเจ็บปานกลาง บาดเจ็บสาหัส และเสียชีวิต
การปฐมพยาบาลจะเริ่มที่ผู้บาดเจ็บสาหัสก่อนเสมอทำให้ผู้ปฏิบัติขั้นตอนนี้ต้องทำงานแข่งกับเวลาเพื่อพลิกสถานการณ์ช่วยผู้ประสบภัยให้รอดชีวิต องค์ประกอบในความสำเร็จของขั้นตอนนี้อยู่ที่การสื่อสารและประสานงานที่ดี เพราะจะทำให้ทีมงานสามารถสรรพกำลังจากหน่วยใกล้เคียงและส่วนกลางได้สูง ทำให้ผู้ปฏิบัติงานไม่ล้าเกินไป
เนื่องจากเหตุการณ์ครั้งนี้มีผู้ประสบภัยที่เป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติชาวยุโรปมาก ล่ามอาสาสมัครมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะเป็นตัวกลางในการประสานงานระหว่างผู้ประสบภัย เจ้าหน้าที่ตลอดจนญาติของผู้ประสบภัย โดยเฉพาะภาษาสวีเดนและภาษาเยอรมัน
ในทะเลทีมกู้ภัยอาจใช้เรือขนาดใหญ่เป็นที่สำหรับคัดแยก ใช้เรือเร็วเป็นพาหนะในการค้นหาและเคลื่อนย้ายซึ่งต้องประสานกับอากาศยานที่ลาดตระเวนเหนือผิวน้ำในบริเวณนั้น
2. การเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัยที่รอดชีวิตไปยังสถานพยาบาลที่พร้อมจะรองรับการรักษาที่อยู่ใกล้ที่สุด ขั้นตอนนี้ต้องใช้ความคล่องตัวในการเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บสาหัส ได้แก่ คนจมน้ำ ภาวะช็อกหมดสติ ภาวะหยุดหายใจก่อนเป็นอันดับแรกทั้งทางบก ทางเรือและทางอากาศ
อุปสรรคของการเคลื่อนย้ายอยู่ตรงที่ผู้บาดเจ็บสาหัสที่อยู่ตามเกาะแก่งหรือตามเลนซึ่งพาหนะเดินทางไปมาไม่สะดวก การนำสัตว์ต่าง เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย มาเป็นพาหนะในการเคลื่อนย้ายชั่วคราวเป็นสิ่งที่เหมาะต่อสถานการณ์เป็นอย่างยิ่ง
ทั้งนี้สถานพยาบาลที่รองรับแต่ละแห่งจะต้องร่วมกันระดมกำลังเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครไว้เต็มอัตรา หากสถานพยาบาลนั้นอยู่ไกลจากที่เกิดเหตุอาจต้องแก้ปัญหาด้วยการตั้งโรงพยาบาลสนามทดแทนใกล้ที่เกิดเหตุชั่วคราว
ในทะเลอาจใช้เรือขนาดใหญ่เป็นโรงพยาบาลก็ได้ โดยมีทีมแพทย์เฉพาะทาง อาทิเช่น ศัลยแพทย์ อายุรแพทย์ กุมารแพทย์ นอกจากนี้สถานพยาบาลยังต้องเตรียมส่งชุดและอุปกรณ์การปฐมพยาบาลไปสนับสนุนที่เกิดเหตุเมื่อได้รับการร้องขออีกด้วย
ความสำคัญของขั้นตอนนี้อยู่ที่การบันทึกเวชระเบียนซึ่งจะช่วยให้การรักษาเป็นไปได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพสูง
3. การฟื้นฟูร่างกายและจิตใจของผู้ประสบภัยที่รอดชีวิต ณ สถานพยาบาลและที่เกิดเหตุซึ่งต้องใช้แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู นักกายภาพบำบัดร่วมกับจิตแพทย์ นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ นักกฎหมาย ซึ่งผู้ปฏิบัติขั้นตอนนี้จัดเป็นผู้ที่ปิดทองหลังพระเพราะต้องรับการระบายความทุกข์จากผู้ประสบภัยที่รอดชีวิตและญาติของผู้เสียชีวิต จึงเป็นขั้นตอนที่ต้องใช้เวลามากและจุกจิก
ผู้ประสบภัยที่รอดชีวิตมักจะมีความรู้สึกหวาดผวา อยู่ในอารมณ์ที่เสียใจท่ามกลางความสูญเสียคนในครอบครัว หมู่ญาติ เพื่อนฝูง เด็กบางคนกำพร้าพ่อแม่ บางรายเป็นผู้นำครอบครัวต้องมาสูญเสียอวัยวะซึ่งนำไปสู่ความพิการทุพพลภาพ ตลอดจนสูญเสียทรัพย์สินและปัจจัยสี่ ซึ่งมักจะมีผู้ฉวยโอกาสลักทรัพย์ซ้ำเติมหลังสึนามิตามที่เป็นข่าว
4. การชันสูตรพลิกศพผู้เสียชีวิตโดยนิติเวชหรือพยาธิแพทย์ ณ ที่เกิดเหตุ ขั้นตอนนี้สามารถทยอยทำควบคู่ไปกับขั้นตอนแรก โดยเน้นการจำแนกตัวบุคคลแล้วแจ้งญาติและผู้เกี่ยวข้อง หากมีจำนวนผู้เสียชีวิตสูงดังเช่นครั้งนี้ ก็ยิ่งต้องการผู้ชันสูตรมากยิ่งขึ้น
ความยากในการจำแนกตัวบุคคลอยู่ตรงที่ร่างผู้เสียชีวิตถูกรื้อหลักฐานส่วนบุคคลจากผู้ฉวยโอกาสลักทรัพย์ หรือร่างผู้เสียชีวิตที่พบช้าซึ่งมักจะขึ้นอืดเปลี่ยนสภาพเป็นเน่าเปื่อย โดยเฉพาะศพที่เกิดจากการจมน้ำและศพที่ถูกซากปรักหักพังทับซึ่งยากต่อการรื้อ ทำให้ยุ่งยากในการจำแนกมากขึ้น
ผู้ปฏิบัติงานต้องอดทนต่อสภาพที่น่ารังเกียจและกลิ่นอันไม่พึงประสงค์เป็นอย่างมาก หนึ่งในอุปกรณ์ที่ช่วยในการจำแนกร่างผู้เสียชีวิตคงหนีไม่พ้นกล้องถ่ายภาพ
การป้องกันผลกระทบของสึนามิต่อชีวิต
ในปัจจุบันทั่วโลกมีระบบเครือข่ายเตือนภัยอันประกอบด้วยสมาชิกจาก 26ประเทศที่มักจะประสบภัยจากสึนามิ เครือข่ายเตือนภัยนี้จะมีสถานีสังเกตการณ์เพื่อคอยตรวจจับปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยาไม่ว่าจะเป็นแผ่นดินไหว แผ่นดินถล่ม หรือภูเขาไฟระเบิด ซึ่งมีโอกาสที่จะก่อให้เกิดสึนามิ เมื่อสถานีใดตรวจจับเหตุดังกล่าวได้ก็จะแจ้งเตือนภัยไปตามเครือข่ายและสู่ท้องถิ่นที่อาจตกเป็นเหยื่อของสึนามิ เพื่อเตือนภัยกับพื้นที่เสี่ยงต่อไป
วิธีที่ดีที่สุดคือการป้องกันด้วยตนเอง ถ้าอยู่ที่ชายทะเลแล้วรับรู้สึกหรือรับข่าวสารถึงการเกิดแผ่นดินไหว ควรตัดสินใจหนีขึ้นไปอยู่บนที่สูงให้เร็วที่สุด ยิ่งถ้าหลังแผ่นดินไหวมีระดับน้ำทะเลที่ชายหาดลดแห้งขอดต่ำกว่าระดับน้ำลงปกติ นั่นคือสิ่งบอกเหตุว่าสึนามิจะปรากฏภายในไม่กี่นาที ต้องรีบหนีเอาชีวิตรอดทันทีอย่าห่วงแต่ทรัพย์สินซึ่งเป็นสมบัตินอกกาย เพราะหากสึนามิเข้ามาประชิดฝั่งคงยากที่จะหนีพ้น
และแม้ชายฝั่งจะถูกสึนามิถล่มผ่านไปแล้ว หากยังมีชีวิตรอดอยู่ก็อย่าเพิ่งเดินกลับไปที่ชายหาดเพราะสึนามิอาจตามมาถล่มซ้ำอีกหลายระลอกก็เป็นได้เพราะสึนามิมีระยะห่างระหว่างคลื่นแต่ละลูกได้ 80-200กิโลเมตรเลยทีเดียว ควรรอฟังข่าวหรือรอจนกว่าเจ้าหน้าที่กู้ภัยประกาศยืนยันความปลอดภัย
สำหรับผู้ที่อยู่บนเรือในทะเล หากได้รับแจ้งเตือนว่าสึนามิกำลังเกิดในบริเวณที่ท่านอยู่ อย่าเพิ่งกลับเข้าฝั่ง เพราะเท่ากับเป็นการนำเรือกลับเข้าไปรับแรงกระแทกของสึนามิพอดี ควรเบนหัวเรือมุ่งสู่น้ำลึกจะมีโอกาสปลอดภัยมากกว่าเพราะในน้ำลึกสึนามิจะเดินทางใต้พื้นน้ำแทน ไม่ส่งผลกระทบผิวน้ำมากนัก
เรื่องโดย พท.นพ.มงคล หงษ์ศิรินิรชร
ประเทศไทยเคยได้ยินคำว่า”สึนามิ”เมื่อ5ปีก่อน โดยอดีตอธิบดีกรมอุตุวิทยาซึ่งท่านได้พยากรณ์ถึงโอกาสที่จะเกิดสึนามิในฝั่งอันดามัน คำว่า”สึนามิ(Tsunami)” เป็นคำในภาษาญี่ปุ่น Tsu แปลว่าท่าเรือ ส่วน Nami นั้นแปลว่าคลื่น อย่างไรก็ตามสึนามิจะถูกนำไปใช้ในความหมายว่า”คลื่นยักษ์”หรือ”คลื่นเพชรฆาต”ที่ส่งผลทำลายชีวิตและทรัพย์สินที่อยู่ริมฝั่งทะเล มหาสมุทร
มีน้อยคนที่รู้ว่าเมื่อ 121 ปีก่อนนี้ได้เกิดคลื่นสึนามิที่เกาะสุมาตรามาแล้ว เพียงแต่ครั้งนั้นสึนามิมีสาเหตุมาจากภูเขาไฟระเบิด ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตไปราว 36,000คน แต่แล้วในยามเช้าของวันที่ 26ธันวาคม พ.ศ.2547 สึนามิก็แสดงอนุภาพในการทำลายให้ชาวไทยและชาวโลกประจักษ์อีกครั้งหนึ่งจากการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกใกล้ตอนเหนือของเกาะสุมาตรา ยังผลให้มีผู้เสียชีวิตกว่าแสนคน
ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นภัยจากอุบัติเหตุ สงคราม ตลอดจนภัยธรรมชาติ ต่างก็เป็นเหตุที่ก่อให้เกิดอุบัติภัยหมู่(Mass casualty) ซึ่งนำไปสู่การบาดเจ็บ พิการทุพพลภาพจนกระทั่งถึงแก่ชีวิต ภัยจากสึนามิก็เป็นหนึ่งในนั้นเพราะคลื่นสึนามิจะมาเป็นระลอกคลื่นเคลื่อนที่ข้ามมหาสมุทรด้วยความเร็วกว่า 800กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยเมื่อคลื่นเข้าสู่ชายฝั่ง ความสูงของคลื่นจะเพิ่มขึ้นเป็นกำแพงคลื่นจากไม่กี่เซนติเมตรไปจนถึง 50เมตร
ขณะที่ความเร็วคลื่นจะลดต่ำลง ก่อให้เกิดการกระแทกอย่างรุนแรงซึ่งทำให้ผู้ประสบภัยได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากแรงผลักร่วมกับการกระทบกับวัตถุต่างๆที่เป็นของแข็ง นอกจากนี้ระลอกคลื่นที่สะท้อนออกจากฝั่งยังสามารถดูดกลืนร่างผู้ประสบภัยออกสู่ทะเลนำไปสู่การจมน้ำและเสียชีวิตได้อีกด้วย
บทบาทของแพทย์แบ่งได้เป็น 4ขั้นตอนคือ
1. การคัดแยกและการปฐมพยาบาลผู้ประสบภัย ณ ที่เกิดเหตุ โดยมีแพทย์ผู้ชำนาญด้านเวชศาสตร์ฉุกเฉินร่วมกับหน่วยกู้ภัย ขั้นตอนนี้ผู้ปฏิบัติงานจะเป็นทีมแพทย์และทีมกู้ภัยจากท้องถิ่นนั้น โดยผู้ประสบภัยจะถูกจำแนกเป็น 4กลุ่มคือ บาดเจ็บน้อย บาดเจ็บปานกลาง บาดเจ็บสาหัส และเสียชีวิต
การปฐมพยาบาลจะเริ่มที่ผู้บาดเจ็บสาหัสก่อนเสมอทำให้ผู้ปฏิบัติขั้นตอนนี้ต้องทำงานแข่งกับเวลาเพื่อพลิกสถานการณ์ช่วยผู้ประสบภัยให้รอดชีวิต องค์ประกอบในความสำเร็จของขั้นตอนนี้อยู่ที่การสื่อสารและประสานงานที่ดี เพราะจะทำให้ทีมงานสามารถสรรพกำลังจากหน่วยใกล้เคียงและส่วนกลางได้สูง ทำให้ผู้ปฏิบัติงานไม่ล้าเกินไป
เนื่องจากเหตุการณ์ครั้งนี้มีผู้ประสบภัยที่เป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติชาวยุโรปมาก ล่ามอาสาสมัครมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะเป็นตัวกลางในการประสานงานระหว่างผู้ประสบภัย เจ้าหน้าที่ตลอดจนญาติของผู้ประสบภัย โดยเฉพาะภาษาสวีเดนและภาษาเยอรมัน
ในทะเลทีมกู้ภัยอาจใช้เรือขนาดใหญ่เป็นที่สำหรับคัดแยก ใช้เรือเร็วเป็นพาหนะในการค้นหาและเคลื่อนย้ายซึ่งต้องประสานกับอากาศยานที่ลาดตระเวนเหนือผิวน้ำในบริเวณนั้น
2. การเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัยที่รอดชีวิตไปยังสถานพยาบาลที่พร้อมจะรองรับการรักษาที่อยู่ใกล้ที่สุด ขั้นตอนนี้ต้องใช้ความคล่องตัวในการเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บสาหัส ได้แก่ คนจมน้ำ ภาวะช็อกหมดสติ ภาวะหยุดหายใจก่อนเป็นอันดับแรกทั้งทางบก ทางเรือและทางอากาศ
อุปสรรคของการเคลื่อนย้ายอยู่ตรงที่ผู้บาดเจ็บสาหัสที่อยู่ตามเกาะแก่งหรือตามเลนซึ่งพาหนะเดินทางไปมาไม่สะดวก การนำสัตว์ต่าง เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย มาเป็นพาหนะในการเคลื่อนย้ายชั่วคราวเป็นสิ่งที่เหมาะต่อสถานการณ์เป็นอย่างยิ่ง
ทั้งนี้สถานพยาบาลที่รองรับแต่ละแห่งจะต้องร่วมกันระดมกำลังเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครไว้เต็มอัตรา หากสถานพยาบาลนั้นอยู่ไกลจากที่เกิดเหตุอาจต้องแก้ปัญหาด้วยการตั้งโรงพยาบาลสนามทดแทนใกล้ที่เกิดเหตุชั่วคราว
ในทะเลอาจใช้เรือขนาดใหญ่เป็นโรงพยาบาลก็ได้ โดยมีทีมแพทย์เฉพาะทาง อาทิเช่น ศัลยแพทย์ อายุรแพทย์ กุมารแพทย์ นอกจากนี้สถานพยาบาลยังต้องเตรียมส่งชุดและอุปกรณ์การปฐมพยาบาลไปสนับสนุนที่เกิดเหตุเมื่อได้รับการร้องขออีกด้วย
ความสำคัญของขั้นตอนนี้อยู่ที่การบันทึกเวชระเบียนซึ่งจะช่วยให้การรักษาเป็นไปได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพสูง
3. การฟื้นฟูร่างกายและจิตใจของผู้ประสบภัยที่รอดชีวิต ณ สถานพยาบาลและที่เกิดเหตุซึ่งต้องใช้แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู นักกายภาพบำบัดร่วมกับจิตแพทย์ นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ นักกฎหมาย ซึ่งผู้ปฏิบัติขั้นตอนนี้จัดเป็นผู้ที่ปิดทองหลังพระเพราะต้องรับการระบายความทุกข์จากผู้ประสบภัยที่รอดชีวิตและญาติของผู้เสียชีวิต จึงเป็นขั้นตอนที่ต้องใช้เวลามากและจุกจิก
ผู้ประสบภัยที่รอดชีวิตมักจะมีความรู้สึกหวาดผวา อยู่ในอารมณ์ที่เสียใจท่ามกลางความสูญเสียคนในครอบครัว หมู่ญาติ เพื่อนฝูง เด็กบางคนกำพร้าพ่อแม่ บางรายเป็นผู้นำครอบครัวต้องมาสูญเสียอวัยวะซึ่งนำไปสู่ความพิการทุพพลภาพ ตลอดจนสูญเสียทรัพย์สินและปัจจัยสี่ ซึ่งมักจะมีผู้ฉวยโอกาสลักทรัพย์ซ้ำเติมหลังสึนามิตามที่เป็นข่าว
4. การชันสูตรพลิกศพผู้เสียชีวิตโดยนิติเวชหรือพยาธิแพทย์ ณ ที่เกิดเหตุ ขั้นตอนนี้สามารถทยอยทำควบคู่ไปกับขั้นตอนแรก โดยเน้นการจำแนกตัวบุคคลแล้วแจ้งญาติและผู้เกี่ยวข้อง หากมีจำนวนผู้เสียชีวิตสูงดังเช่นครั้งนี้ ก็ยิ่งต้องการผู้ชันสูตรมากยิ่งขึ้น
ความยากในการจำแนกตัวบุคคลอยู่ตรงที่ร่างผู้เสียชีวิตถูกรื้อหลักฐานส่วนบุคคลจากผู้ฉวยโอกาสลักทรัพย์ หรือร่างผู้เสียชีวิตที่พบช้าซึ่งมักจะขึ้นอืดเปลี่ยนสภาพเป็นเน่าเปื่อย โดยเฉพาะศพที่เกิดจากการจมน้ำและศพที่ถูกซากปรักหักพังทับซึ่งยากต่อการรื้อ ทำให้ยุ่งยากในการจำแนกมากขึ้น
ผู้ปฏิบัติงานต้องอดทนต่อสภาพที่น่ารังเกียจและกลิ่นอันไม่พึงประสงค์เป็นอย่างมาก หนึ่งในอุปกรณ์ที่ช่วยในการจำแนกร่างผู้เสียชีวิตคงหนีไม่พ้นกล้องถ่ายภาพ
การป้องกันผลกระทบของสึนามิต่อชีวิต
ในปัจจุบันทั่วโลกมีระบบเครือข่ายเตือนภัยอันประกอบด้วยสมาชิกจาก 26ประเทศที่มักจะประสบภัยจากสึนามิ เครือข่ายเตือนภัยนี้จะมีสถานีสังเกตการณ์เพื่อคอยตรวจจับปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยาไม่ว่าจะเป็นแผ่นดินไหว แผ่นดินถล่ม หรือภูเขาไฟระเบิด ซึ่งมีโอกาสที่จะก่อให้เกิดสึนามิ เมื่อสถานีใดตรวจจับเหตุดังกล่าวได้ก็จะแจ้งเตือนภัยไปตามเครือข่ายและสู่ท้องถิ่นที่อาจตกเป็นเหยื่อของสึนามิ เพื่อเตือนภัยกับพื้นที่เสี่ยงต่อไป
วิธีที่ดีที่สุดคือการป้องกันด้วยตนเอง ถ้าอยู่ที่ชายทะเลแล้วรับรู้สึกหรือรับข่าวสารถึงการเกิดแผ่นดินไหว ควรตัดสินใจหนีขึ้นไปอยู่บนที่สูงให้เร็วที่สุด ยิ่งถ้าหลังแผ่นดินไหวมีระดับน้ำทะเลที่ชายหาดลดแห้งขอดต่ำกว่าระดับน้ำลงปกติ นั่นคือสิ่งบอกเหตุว่าสึนามิจะปรากฏภายในไม่กี่นาที ต้องรีบหนีเอาชีวิตรอดทันทีอย่าห่วงแต่ทรัพย์สินซึ่งเป็นสมบัตินอกกาย เพราะหากสึนามิเข้ามาประชิดฝั่งคงยากที่จะหนีพ้น
และแม้ชายฝั่งจะถูกสึนามิถล่มผ่านไปแล้ว หากยังมีชีวิตรอดอยู่ก็อย่าเพิ่งเดินกลับไปที่ชายหาดเพราะสึนามิอาจตามมาถล่มซ้ำอีกหลายระลอกก็เป็นได้เพราะสึนามิมีระยะห่างระหว่างคลื่นแต่ละลูกได้ 80-200กิโลเมตรเลยทีเดียว ควรรอฟังข่าวหรือรอจนกว่าเจ้าหน้าที่กู้ภัยประกาศยืนยันความปลอดภัย
สำหรับผู้ที่อยู่บนเรือในทะเล หากได้รับแจ้งเตือนว่าสึนามิกำลังเกิดในบริเวณที่ท่านอยู่ อย่าเพิ่งกลับเข้าฝั่ง เพราะเท่ากับเป็นการนำเรือกลับเข้าไปรับแรงกระแทกของสึนามิพอดี ควรเบนหัวเรือมุ่งสู่น้ำลึกจะมีโอกาสปลอดภัยมากกว่าเพราะในน้ำลึกสึนามิจะเดินทางใต้พื้นน้ำแทน ไม่ส่งผลกระทบผิวน้ำมากนัก
เรื่องโดย พท.นพ.มงคล หงษ์ศิรินิรชร