อธิบดีกรมสุขภาพจิต ย้ำ 1 ใน 3 ของคนคลั่งรักเป็นโรคจิต ห่วงจิตใจเหยื่อของความรักควรได้รับการฟื้นฟูดูแลสภาพจิตใจ ชี้นอกจากคนใกล้ชิด ครอบครัวต้องร่วมกันดูแลฟืนฟูสภาพจิตใจแล้ว อาจจะต้องอยู่ในความดูแลของจิตแพทย์ด้วย
นพ.ม.ล.สมชาย จักรพันธุ์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวถึงกรณีวิศวกรหนุ่มบุกอุ้มแพทย์หญิงโรงพยาบาลศิริราชจากบ้านพักกลางดึก เพื่อเจรจาเรื่องความรักหลังจากตามตื้อตั้งแต่สมัยเรียนชั้นมัธยมจนเรียนจบมาทำงานแต่ไม่สำเร็จ ว่าเป็นปัญหาด้านสุขภาพจิตอย่างหนึ่ง ซึ่งไม่จำเป็นว่าผู้กระทำจะต้องเป็นโรคจิต ซึ่งในรายงานนี้ต่างประเทศจะเรียกผู้กระทำการดังกล่าว ว่า สตอล์กเกอร์ (Stalker) หรือผู้ไล่ตาม มีเกิดขึ้นทุกแห่งทั่วโลก จากการวิจัยในสหรัฐ แคนาดา ออสเตรเลีย พบว่า มีทั้งผู้ชายเป็นฝ่ายไล่ตามผู้หญิง ผู้หญิงไล่ตามผู้ชาย หรือทั้งผู้ชายไล่ตามผู้ชาย หรือผู้หญิงไล่ตามผู้หญิง
อย่างไรก็ตามจะพบผู้ชายเป็นฝ่ายไล่ตามผู้หญิงมากที่สุด โดยมักจะเกิดในผู้ชายวัยกลางคนและมีการศึกษาดี ระดับความรุนแรงที่กระทำกับเหยื่อหรือผู้ถูกตามนั้น จะขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ ส่วนใหญ่พบว่ามีความสัมพันธ์ชอบพอกันมาก่อนและยิ่งกระทำการรุนแรงมากขึ้น หากเคยมีเพศสัมพันธ์กัน ลักษณะของความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้น แบ่งได้เป็น 3 ลักษณะ คือ เคยมีความสัมพันธ์กันมาก่อนในอดีตในลักษณะการชู้สาว คุ้นเคยแต่ไม่สนิทสนมกันมากนัก และเป็นคนแปลกหน้า แต่อาจรู้สึกชอบเมื่อได้เห็นหน้า เห็นได้ชัดจากกลุ่มผู้คลั่งไคล้ติดตามดาราศิลปินนักร้อง /บุคคลผู้มีชื่อเสียง
อธิบดีกรมสุขภาพจิต อธิบายว่า มีเพียง 1 ใน 3 ของบุคคลที่มีอาการเหล่านี้เท่านั้นที่พบว่าเป็นโรคจิต อย่างรายที่ตกเป็นข่าว พบว่า เกิดจากการมีความเชื่อส่วนตัวมีความรู้สึกร่วมกับเหยื่อหรือผู้ถูกตามเป็นอย่างมาก สำหรับปฏิกิริยาตอบกลับที่เกิดขึ้นในฐานะที่ตกเป็นเหยื่อหรือผู้ถูกตามในผู้หญิง พบว่า จะใช้วิธีการเพิกเฉย ซึ่งตรงข้ามกับฝ่ายชายที่จะใช้วิธีการเผชิญหน้าโดยตรง
นอกจากนี้ สิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม คือ การตระหนักถึงสภาพจิตใจของผู้ตกเป็นเหยื่อที่ต้องได้รับการดูแล ไม่มีใครต้องการให้เหตุการณ์นี้เกิดขึ้น เมื่อเกิดขึ้นแล้ว ผู้ที่รับบทหนักก็คือผู้ตกเป็นเหยื่อ ครอบครัวหรือญาติพี่น้องจึงเป็นบุคคลแรกที่จะช่วยฟื้นฟูสภาพจิตใจให้ดีขึ้นได้ หรืออีกทางหนึ่งคือ ให้อยู่ในความดูแลของจิตแพทย์ร่วมด้วย
นพ.ม.ล.สมชาย จักรพันธุ์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวถึงกรณีวิศวกรหนุ่มบุกอุ้มแพทย์หญิงโรงพยาบาลศิริราชจากบ้านพักกลางดึก เพื่อเจรจาเรื่องความรักหลังจากตามตื้อตั้งแต่สมัยเรียนชั้นมัธยมจนเรียนจบมาทำงานแต่ไม่สำเร็จ ว่าเป็นปัญหาด้านสุขภาพจิตอย่างหนึ่ง ซึ่งไม่จำเป็นว่าผู้กระทำจะต้องเป็นโรคจิต ซึ่งในรายงานนี้ต่างประเทศจะเรียกผู้กระทำการดังกล่าว ว่า สตอล์กเกอร์ (Stalker) หรือผู้ไล่ตาม มีเกิดขึ้นทุกแห่งทั่วโลก จากการวิจัยในสหรัฐ แคนาดา ออสเตรเลีย พบว่า มีทั้งผู้ชายเป็นฝ่ายไล่ตามผู้หญิง ผู้หญิงไล่ตามผู้ชาย หรือทั้งผู้ชายไล่ตามผู้ชาย หรือผู้หญิงไล่ตามผู้หญิง
อย่างไรก็ตามจะพบผู้ชายเป็นฝ่ายไล่ตามผู้หญิงมากที่สุด โดยมักจะเกิดในผู้ชายวัยกลางคนและมีการศึกษาดี ระดับความรุนแรงที่กระทำกับเหยื่อหรือผู้ถูกตามนั้น จะขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ ส่วนใหญ่พบว่ามีความสัมพันธ์ชอบพอกันมาก่อนและยิ่งกระทำการรุนแรงมากขึ้น หากเคยมีเพศสัมพันธ์กัน ลักษณะของความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้น แบ่งได้เป็น 3 ลักษณะ คือ เคยมีความสัมพันธ์กันมาก่อนในอดีตในลักษณะการชู้สาว คุ้นเคยแต่ไม่สนิทสนมกันมากนัก และเป็นคนแปลกหน้า แต่อาจรู้สึกชอบเมื่อได้เห็นหน้า เห็นได้ชัดจากกลุ่มผู้คลั่งไคล้ติดตามดาราศิลปินนักร้อง /บุคคลผู้มีชื่อเสียง
อธิบดีกรมสุขภาพจิต อธิบายว่า มีเพียง 1 ใน 3 ของบุคคลที่มีอาการเหล่านี้เท่านั้นที่พบว่าเป็นโรคจิต อย่างรายที่ตกเป็นข่าว พบว่า เกิดจากการมีความเชื่อส่วนตัวมีความรู้สึกร่วมกับเหยื่อหรือผู้ถูกตามเป็นอย่างมาก สำหรับปฏิกิริยาตอบกลับที่เกิดขึ้นในฐานะที่ตกเป็นเหยื่อหรือผู้ถูกตามในผู้หญิง พบว่า จะใช้วิธีการเพิกเฉย ซึ่งตรงข้ามกับฝ่ายชายที่จะใช้วิธีการเผชิญหน้าโดยตรง
นอกจากนี้ สิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม คือ การตระหนักถึงสภาพจิตใจของผู้ตกเป็นเหยื่อที่ต้องได้รับการดูแล ไม่มีใครต้องการให้เหตุการณ์นี้เกิดขึ้น เมื่อเกิดขึ้นแล้ว ผู้ที่รับบทหนักก็คือผู้ตกเป็นเหยื่อ ครอบครัวหรือญาติพี่น้องจึงเป็นบุคคลแรกที่จะช่วยฟื้นฟูสภาพจิตใจให้ดีขึ้นได้ หรืออีกทางหนึ่งคือ ให้อยู่ในความดูแลของจิตแพทย์ร่วมด้วย