โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการตายอันดับ 1 ของประเทศไทย ที่คร่าชีวิตคนไทยถึงปีละ 45,000 คน และพบผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ปีละ 1 แสนราย เฉลี่ยวันละ 274 คน โดยสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากสารเคมีปนเปื้อนในอาหาร รวมทั้งพฤติกรรมดื่มเหล้า-สูบบุหรี่จัด เร่งรณรงค์ให้คนไทยทุกคนปรับพฤติกรรมป้องกันและหลีกเลี่ยงปัจจัยส่งเสริมการเกิดโรคมะเร็ง
วันนี้(8 ธันวาคม 2547)ศ.นพ.สุชัย เจริญรัตนกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเปิดงานสัปดาห์ต่อต้านโรคมะเร็งแห่งชาติ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 8-10 ธันวาคม 2547 ที่ศูนย์การค้าแฟชั่นไอส์แลนด์ กทม. โดยสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข โดยวันที่ 10 ธันวาคม ของทุกปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระราชทานให้เป็น“วันต่อต้านโรคมะเร็งแห่งชาติ”
สำหรับกิจกรรมการณรงค์ในปีนี้เน้นหนักการให้ความรู้ในเรื่องสารก่อมะเร็ง ภายใต้แนวคิด รู้ให้ทัน…สารก่อมะเร็ง
ศ.นพ.สุชัย กล่าวว่า โรคมะเร็งเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของทั่วโลก เป็นสาเหตุการตายของคนทั่วโลกปีละกว่า 6 ล้านคน หรือประมาณ 13 % ของการตายทั้งหมด องค์การอนามัยโลกได้คาดการณ์ปี พ.ศ.2558 จะมีผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่เพิ่มขึ้น จากปีละ 10 .1 ล้านคนเป็น 15.7 ล้านคน และมีคนตายเพิ่มขึ้นเป็น 10 ล้านคน สำหรับประเทศไทย โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการตายอันดับ 1 มีผู้เสียชีวิตปีละประมาณ 45,000 คน คิดเป็น 68.4 ต่อประชากรแสนคน นอกจากนี้แต่ละปีพบผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งรายใหม่ประมาณ 1 แสนคน หรือเฉลี่ยวันละ 274 คนและมีแนวโน้มพบมากขึ้นเรื่อยๆ โรคมะเร็งที่พบบ่อย 6 อันดับ ได้แก่ มะเร็งตับ มะเร็งปอด มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่ และมะเร็งในช่องปาก
ศ.นพ.สุชัย กล่าวต่อไปว่า โรคมะเร็งใช้เวลานานหลายปีในการก่อให้เกิดโรค โดย 5 % เกิดจากเชื้อไวรัส
ได้แก่มะเร็งปากมดลูก อีก 5 % เกิดจากสารกัมมันตภาพรังสี ได้แก่ มะเร็งผิวหนัง แต่สาเหตุใหญ่ที่สำคัญที่สุดที่ทำให้คนเป็นโรคมะเร็งกันมาก คือสารเคมีต่างๆ ที่เป็นสารก่อมะเร็ง ได้แก่ อาหารที่ปิ้งจนไหม้เกรียม อาหารหมักดอง สารอะฟลาทอกซินในถั่ว ข้าวโพด ข้าว กระเทียม พริกแห้ง มันสำปะหลัง ดินประสิว ที่ผสมในอาหาร ประเภทเนื้อเค็ม ปลาช่อนแห้ง แหนม หมูยอ กุนเชียง ปลาร้า และไส้กรอก สีผสมอาหารที่ผิดประเภท ยาฆ่าแมลง สารตะกั่ว เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมีพฤติกรรมหรือสุขนิสัยส่วนบุคคลเป็นปัจจัยเสริม เช่น การรับประทานอาหารสุกๆดิบๆ การสูบบุหรี่จัด การดื่มสุราจัด ภาวะเครียดจัดติดต่อกันเป็นเวลานาน รวมทั้งภาวะที่ภูมิต้านทานของร่างกายลดลง
การป้องกันโรคมะเร็งที่ดีที่สุดคือการหลีกเลี่ยงสารเคมีต่างๆ ดังนั้นกระทรวงสาธารณสุขจึงได้เร่งรณรงค์ทั้งในเรื่อง ความปลอดภัยอาหาร ไม่ให้มีสารปนเปื้อนที่จะก่อให้เกิดโรคมะเร็ง การรณรงค์ในเรื่องการลดการบริโภคสุรา และบุหรี่ รวมทั้งการให้ความรู้แก่ประชาชนเพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมนำไปสู่การป้องกันและหลีกเลี่ยงปัจจัยส่งเสริมการเกิดโรค เป็นต้น
นพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า โรคมะเร็งเกิดจากเซลล์ที่มีการเจริญเติบโตผิดปกติ มีโอกาสเกิดได้กับอวัยวะทุกส่วนของร่างกาย ยกเว้นผม ขน และเล็บ สามารถทำลายเนื้อเยื่อใกล้เคียงและกระจายไปยังอวัยวะอื่นๆได้ โดยผ่านไปตามต่อมน้ำเหลืองและกระแสเลือด หากตรวจพบในระยะเริ่มต้นสามารถรักษาให้หายขาดได้ผล 80-100 % การรักษามีทั้งการผ่าตัดบริเวณที่เป็นมะเร็งทิ้ง การใช้เคมีบำบัดเพื่อยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง
สำหรับอาการเบื้องต้นของการเป็นโรคมะเร็งที่สามารถสังเกตได้ด้วยตนเอง และควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย ได้แก่ เป็นตุ่มก้อนโตขึ้นเรื่อยๆภายในร่างกาย เช่น ผิวหนัง เต้านม ริมฝีปาก เป็นแผลเรื้อรังนานๆแล้วไม่หาย ตกขาวมากและมีเลือดออกทางช่องคลอดผิดปกติ เป็นหูด ไฝ ปาน ที่โตขึ้นผิดปกติ ท้องอืด เบื่ออาหาร น้ำหนักลดมาก ไอเรื้อรัง เสียงแหบแห้งอยู่เสมอ การขับถ่ายอุจจาระและปัสสาวะที่ผิดปกติเป็นเวลานาน หูอื้อ มีเลือดกำเดาไหล เป็นต้น
วันนี้(8 ธันวาคม 2547)ศ.นพ.สุชัย เจริญรัตนกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเปิดงานสัปดาห์ต่อต้านโรคมะเร็งแห่งชาติ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 8-10 ธันวาคม 2547 ที่ศูนย์การค้าแฟชั่นไอส์แลนด์ กทม. โดยสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข โดยวันที่ 10 ธันวาคม ของทุกปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระราชทานให้เป็น“วันต่อต้านโรคมะเร็งแห่งชาติ”
สำหรับกิจกรรมการณรงค์ในปีนี้เน้นหนักการให้ความรู้ในเรื่องสารก่อมะเร็ง ภายใต้แนวคิด รู้ให้ทัน…สารก่อมะเร็ง
ศ.นพ.สุชัย กล่าวว่า โรคมะเร็งเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของทั่วโลก เป็นสาเหตุการตายของคนทั่วโลกปีละกว่า 6 ล้านคน หรือประมาณ 13 % ของการตายทั้งหมด องค์การอนามัยโลกได้คาดการณ์ปี พ.ศ.2558 จะมีผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่เพิ่มขึ้น จากปีละ 10 .1 ล้านคนเป็น 15.7 ล้านคน และมีคนตายเพิ่มขึ้นเป็น 10 ล้านคน สำหรับประเทศไทย โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการตายอันดับ 1 มีผู้เสียชีวิตปีละประมาณ 45,000 คน คิดเป็น 68.4 ต่อประชากรแสนคน นอกจากนี้แต่ละปีพบผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งรายใหม่ประมาณ 1 แสนคน หรือเฉลี่ยวันละ 274 คนและมีแนวโน้มพบมากขึ้นเรื่อยๆ โรคมะเร็งที่พบบ่อย 6 อันดับ ได้แก่ มะเร็งตับ มะเร็งปอด มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่ และมะเร็งในช่องปาก
ศ.นพ.สุชัย กล่าวต่อไปว่า โรคมะเร็งใช้เวลานานหลายปีในการก่อให้เกิดโรค โดย 5 % เกิดจากเชื้อไวรัส
ได้แก่มะเร็งปากมดลูก อีก 5 % เกิดจากสารกัมมันตภาพรังสี ได้แก่ มะเร็งผิวหนัง แต่สาเหตุใหญ่ที่สำคัญที่สุดที่ทำให้คนเป็นโรคมะเร็งกันมาก คือสารเคมีต่างๆ ที่เป็นสารก่อมะเร็ง ได้แก่ อาหารที่ปิ้งจนไหม้เกรียม อาหารหมักดอง สารอะฟลาทอกซินในถั่ว ข้าวโพด ข้าว กระเทียม พริกแห้ง มันสำปะหลัง ดินประสิว ที่ผสมในอาหาร ประเภทเนื้อเค็ม ปลาช่อนแห้ง แหนม หมูยอ กุนเชียง ปลาร้า และไส้กรอก สีผสมอาหารที่ผิดประเภท ยาฆ่าแมลง สารตะกั่ว เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมีพฤติกรรมหรือสุขนิสัยส่วนบุคคลเป็นปัจจัยเสริม เช่น การรับประทานอาหารสุกๆดิบๆ การสูบบุหรี่จัด การดื่มสุราจัด ภาวะเครียดจัดติดต่อกันเป็นเวลานาน รวมทั้งภาวะที่ภูมิต้านทานของร่างกายลดลง
การป้องกันโรคมะเร็งที่ดีที่สุดคือการหลีกเลี่ยงสารเคมีต่างๆ ดังนั้นกระทรวงสาธารณสุขจึงได้เร่งรณรงค์ทั้งในเรื่อง ความปลอดภัยอาหาร ไม่ให้มีสารปนเปื้อนที่จะก่อให้เกิดโรคมะเร็ง การรณรงค์ในเรื่องการลดการบริโภคสุรา และบุหรี่ รวมทั้งการให้ความรู้แก่ประชาชนเพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมนำไปสู่การป้องกันและหลีกเลี่ยงปัจจัยส่งเสริมการเกิดโรค เป็นต้น
นพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า โรคมะเร็งเกิดจากเซลล์ที่มีการเจริญเติบโตผิดปกติ มีโอกาสเกิดได้กับอวัยวะทุกส่วนของร่างกาย ยกเว้นผม ขน และเล็บ สามารถทำลายเนื้อเยื่อใกล้เคียงและกระจายไปยังอวัยวะอื่นๆได้ โดยผ่านไปตามต่อมน้ำเหลืองและกระแสเลือด หากตรวจพบในระยะเริ่มต้นสามารถรักษาให้หายขาดได้ผล 80-100 % การรักษามีทั้งการผ่าตัดบริเวณที่เป็นมะเร็งทิ้ง การใช้เคมีบำบัดเพื่อยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง
สำหรับอาการเบื้องต้นของการเป็นโรคมะเร็งที่สามารถสังเกตได้ด้วยตนเอง และควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย ได้แก่ เป็นตุ่มก้อนโตขึ้นเรื่อยๆภายในร่างกาย เช่น ผิวหนัง เต้านม ริมฝีปาก เป็นแผลเรื้อรังนานๆแล้วไม่หาย ตกขาวมากและมีเลือดออกทางช่องคลอดผิดปกติ เป็นหูด ไฝ ปาน ที่โตขึ้นผิดปกติ ท้องอืด เบื่ออาหาร น้ำหนักลดมาก ไอเรื้อรัง เสียงแหบแห้งอยู่เสมอ การขับถ่ายอุจจาระและปัสสาวะที่ผิดปกติเป็นเวลานาน หูอื้อ มีเลือดกำเดาไหล เป็นต้น