ที่ผ่านมามีผู้ใช้ภาษาไทยหลายคนเกิดความสับสนเรื่องการใช้คำ “มุกตลก” และ “มุขตลก” ว่าที่ถูกต้องควรสะกดด้วย “ก” หรือ “ข” นั้นทางราชบัณฑิตยสถาน ในฐานะหน่วยงานที่ดำเนินงานเกี่ยวกับการ ค้นคว้า วิจัย บำรุง สรรพวิชา โดยจัดทำพจนานุกรม สารานุกรม อักขรานุกรม อนุกรมวิธาน ศัพท์บัญญัติในสาขาวิชาต่าง ๆ รวมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ทางภาษา จึงได้ชี้แจงพร้อมทั้งส่งจดหมายมาอธิบายถึงเหตุผลที่เก็บคำ “มุกตลก” ที่สะกดด้วย “ก” ไว้ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ทั้งนี้ได้อนุรักษ์ความเป็นไทยโดยการใช้เลขไทยมาในจดหมายด้วย ซึ่งทางทีมงานเห็นว่าเป็นการสมควรจึงขอไม่เปลี่ยนแปลงตัวเลขดังกล่าวเป็นอารบิกเหมือนที่เคยใช้ในข่าวอื่นๆ
สำหรับเนื้อความในจดหมายมีดังนี้
๑. คณะกรรมการชำระปทานุกรม ได้มีมติเก็บคำ มุกตลก เพิ่มไว้ในรายงานการประชุมครั้งที่ ๔๖๖๙/๕๔ เมื่อวันศุกร์ที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ คณะกรรมการชำระปทานุกรมเข้าร่วมประชุมในวันนั้น คือ นายกำชัย ทองหล่อ นายวงศ์ เชาวนะกวี ศ. ดร. คุณบรรจบ พันธุเมธา ศ. ดร. วิเชียร จีรวงส์ ศ. ดร.ประเสริฐ ณ นคร นายทวี ทวีวรรธนะ นายจุลทัศน์ พยาฆรานนท์ ศ. ดร.กาญจนา นาคสกุล โดยมีนายเกษม บุญศรี ทำหน้าที่ประธานกรรมการ นางสาววัฒนา อินทรเกษตร เป็นกรรมการและเลขานุการ และนางสาวอุทัย สร้างสาม เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ ในการประชุมวันนั้น มีการเก็บคำและให้บทนิยามของคำต่าง ๆ ไว้รวม ๑๙ คำด้วยกัน คือ มีดกรีดกล้วย มีดกรีดยาง มีดเจียนหนัง มีดต้องสู้ มีดตัดกระดาษ มีดหัวเสียม มีดเหน็บ มีดเหลียน มือต้น มือปลาย มุกตลก มุขกระสัน มุขเด็จ มุขโถง มุขลด มุขบาฐ มุขปาฐะ มุขยประโยค มุโขโลกนะ ที่คำว่า “มุกตลก” ใช้ ก สะกด คณะกรรมการชำระปทานุกรมได้ให้บทนิยามไว้ว่า “น. วิธีทำให้ขบขัน” ซึ่งก็มิได้มีความหมายเกี่ยวกับ “หน้า” เลย
การประชุมคณะกรรมการชำระปทานุกรมครั้งต่อมา ครั้งที่ ๔๖๗๐/๕๕ เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ คณะกรรมการชำระปทานุกรมที่เข้าร่วมประชุมในวันนั้น คือ นายเกษม บุญศรี ทำหน้าที่ประธานกรรมการ นายกำชัย ทองหล่อ นายวงศ์ เชาวนะกวี ศ. ดร.คุณบรรจบ พันธุเมธา ศ. ดร.วิเชียร จีรวงส์ ศ. ดร.ประเสริฐ ณ นคร นายทวี ทวีวรรธนะ ศ.พิเศษจำนงค์ ทองประเสริฐ ศ. ดร.กาญจนา นาคสกุล เป็นกรรมการ นางสาววัฒนา อินทรเกษตร เป็นกรรมการและเลขานุการ และนางสาวอุทัย สร้างสาม เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ มีมติพิจารณารับรองรายงานการประชุมครั้งที่ ๔๖๖๙/๕๔ และไม่มีมติแก้ไขใด ๆ เกี่ยวกับคำ “มุกตลก” ที่เก็บไว้
๒. เมื่อราชบัณฑิตยสถานดำเนินงานจัดทำต้นฉบับพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน โดยการชำระพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ (พิมพ์ครั้งล่าสุด พ.ศ. ๒๕๓๙) ให้เป็นพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ เหตุที่เลือก พ.ศ. ๒๕๔๒ เป็นส่วนหนึ่งของชื่อพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เพราะ พ.ศ. ๒๕๔๒ เป็นปีมหามงคล เนื่องในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๖ รอบ ราชบัณฑิตยสถานจึงจัดทำขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติในโอกาสดังกล่าวและเพื่อเป็นการเผยแพร่พระเกียรติคุณและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่านที่ทรงมีความห่วงใยการใช้ภาษาไทยของคนไทยในปัจจุบัน
การจัดทำต้นฉบับพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๙ - ๒๕๔๕ และพิมพ์เผยแพร่ได้ใน พ.ศ. ๒๕๔๖ ในการจัดทำได้นำคำศัพท์ต่าง ๆ ทั้งที่เก็บเพิ่มไว้ และพิจารณาแก้ไขไว้แล้ว แต่ยังมิได้มีโอกาสเพิ่มเติมเข้าให้สมบูรณ์ มาเพิ่มเติมในการจัดทำต้นฉบับครั้งนี้คำ “มุกตลก” จึงปรากฏอยู่ในต้นฉบับดังกล่าว ช่วง พ.ศ. ๒๕๔๔-๒๕๔๕ ได้ดำเนินการจัดพิมพ์และตรวจพิสูจน์อักษรจนแล้วเสร็จในเดือนสิงหาคม ๒๕๔๖ จนกระทั่ง พ.ศ. ๒๕๔๗ ผู้ใช้ภาษามีความสับสนว่าควรใช้คำ “มุกตลก” หรือ “มุขตลก” คณะกรรมการชำระพจนานุกรมจึงได้พิจารณาทบทวนคำ “มุกตลก” รวม๔ ครั้ง คือ ในการประชุมครั้งที่ ๖๑๒๔-๑๘/๒๕๔๗ เมื่อวันจันทร์ที่ ๑๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ ครั้งที่ ๖๑๒๕-๑๙/๒๕๔๗ เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ ครั้งที่ ๖๑๓๙-๓๓/๒๕๔๗ เมื่อวันจันทร์ที่ ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ และ ครั้งที่ ๖๑๔๐-๓๔/๒๕๔๗ เมื่อวันจันทร์ที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ มีมติยืนยันว่า “มุกตลก” สะกดด้วย ก เนื่องจากมีเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการใช้คำว่า “มุก” ดังนี้
- กลอนไดเอรีซึมทราบกับตามเสด็จไทรโยค พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่-หัวทรงพระราชนิพนธ์ ซึ่งสมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสามาตุจฉาเจ้า โปรดให้พิมพ์ประทานช่วยพระเจ้าพี่นางเธอ พระองค์เจ้าหญิงผ่อง ในงานทรงบำเพ็ญพระกุศลฉลองพระชันษาครบ ๖๐ ปีบริบูรณ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๐ มีความตอนหนึ่งว่า
แถมโลกย, ฤๅแถม เปล่าเขาก็ใช้ ลางทีโลกย, เปล่าก็ได้ ไม่รู้เรื่อง
ลางทีเหลือแต่ โลโก โอ๊น่าเคือง อีกอย่างเยื้อง ไปเปนหยอด, ก็ยังมี
บางครั้งว่า หยอดตาลงขลุ้กขลุ้ก จะเล่นกันมุกใดไฉนนี่
หฤๅว่าเราสูบกันชาเปนราคี ก็ใช่ที่ไม่มีเค้าเราไม่รับ
- ละครชุดเบิกโรง เรื่องรามเกียรติ์ ตอนอภิเษกสมรส พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว องค์การค้าของคุรุสภาจัดพิมพ์ครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. ๒๕๐๔ มีความตอนหนึ่งว่า
(ศรทะนง : พระรามและพระลักษมัณแผลงศร, มารีจตกจากรถแล้วเซหายเข้าโรงไป สุวาหุตกจากรถ ตายกลางโรง, และพวกพลยักษ์ตายโดยมาก เชิด :สองกษัตริย์เข้าโรง, พวกยักษ์ที่รอดตายวิ่งหนี,และพวกพราหมณ์ไล่ตามตีด้วยพลอง และขว้างด้วยก้อนหิน, เล่นกวนมุกพอสมควร,แล้วหายเข้าโรงหมด)
- ใน “ไวพจน์ประพันธ์” ของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)
มุก
เรือใครใช้บันทุก เปลือกหอยมุกเอามาขาย
ช่างมุกประดับลาย ตลุ้มมุกสุกแวววาม
พวงสร้อยย้อยระยับ ล้วนประดับไข่มุกงาม
ในสวนของขุนราม กล้วยหักมุกสุกคาหวี
มุก กอ สกดใช้ มุกคำไทยใช้พาที
ฝ่ายมุขคำบาฬี สกด ขอ ข้อสำคัญ
มุขะแลมุขา แปลว่าหน้าทุกสิ่งสรรพ์
ใช้ทั่วทุกสิ่งอัน อวิญญาณสวิญญาณ
หนึ่งมุขแปลว่าปาก อีกคำหลากว่าประธาน
มคธบทพิจารณ์ คำปาโมกษ์ประมุขมี
มุขที่แปลว่าหน้า เหมือนคำว่ามุขมนตรี
หัวหน้าหมู่เสนี คือเสนาธิปะไตย
บ่ายมุขะมณฑล คือว่าคนบ่ายหน้าไป
มุขลดคล้ายพาไล ลดเป็นหลั่นชั้นหลังคา
น่ามุขคือสฐาน ที่เป็นด้านยื่นออกมา
ดังมุขแห่งพลับพลา ที่ประทับเจ้าภูวดล
ตรีมุขว่าสามน่า เช่นศาลาสามมุขยล
เป็นอย่างอ้างยุบล แบบตรีมุขทุกสฐาน
น่ามุขทั้งสี่ทิศ งามไพจิตรเพียงวิมาน
สยามนามขนาน จัตุระมุขสีน่าบัน
คำเรียกแก้วมุกดา ใช้กันมามากครามครัน
มคธบทสำคัญ นั้นท่านว่ามุตตาตรง
คำแผลงสังสกฤษฎ์ ตัว ตอ บิดผันผ่อนลง
เป็น กอ สกดคง คำใช้ชุกเป็นมุกดา
เช่นคำว่าสัตติ เป็นศักดิโดยภาษา
กด กับ กก วาจา เปลี่ยนกันได้ในวิถี
มุขเขมรใช้เจรจา แปลว่าหน้าเหมือนบาลี
ชรอยแต่เดิมที มคธใช้ได้ติดมา
รวมมุกที่รำพัน หมดด้วยกันสิบวาจา
นักเรียนเพียรศึกษา ได้ปัญญาใหญ่กว้างขวาง
๓. การสอบถามข้อมูลจากบุคคล เช่น ศ. ดร.ประเสริฐ ณ นคร ศ.วิสุทธ์ บุษยกุล ศ.เรืองอุไร กุศลาสัย ดร.สวนิต ยมาภัย สรุปได้ความว่า คำ “มุก” เป็นคำที่ใช้กันมานานแล้ว เป็นคำไทย สะกดแบบไทย ทั้งนี้ ดร.สวนิต ยมาภัย ให้ข้อมูลว่า ประมาณ พ.ศ. ๒๔๘๕ มีคำว่า มุก มุกกิ๊ก และโม้กิ๊ก ใช้ในภาษาพูด เป็นคำภาษาปากหรือคำคะนอง แปลว่า ปด หลอกให้คนมีอารมณ์ขัน คำว่า กิ๊ก เป็นคำที่ตัดมาจาก กิ๊กหน้าวุ๊ย ซึ่งเป็นคำผวน มาจาก กุ๊ยหน้าวิก
๔. เมื่อพิจารณาตามหลักทางภาษาศาสตร์ เรื่องการกลมกลืนเสียง (assimilation) จากคำ
มุกกิ๊ก ที่มีใช้กันมาเกิดการกลมกลืนเสียง ก “มุก” ก็ควรสะกดด้วย ก หรือพิจารณาตามหลักนิรุกติศาสตร์ คำ โม้กิ๊ก กลายเสียงเป็น มกกิ๊ก แล้วเป็น มุกกิ๊ก ในที่สุด ซึ่งการกลมกลืนเสียงลักษณะเช่นนี้ พบในคำไทยหลายคำ เช่น โท่ง เป็น ทุ่ง อ่อนไท้ เป็น อรไท
๕. ในพจนานุกรมภาษาบาลีสันสกฤต ให้ความหมายคำ “มุข” ไว้ว่า หน้า ปาก ประธาน พจนานุกรมภาษาเขมร ให้ความหมาย “มุข” ไว้ว่า หน้า ปาก ประธาน ที่ หน้าที่ แผนก แบบอย่าง ทางสาธารณะไม่พบความหมายของ มุข ที่หมายถึง เจรจาหรือพูด
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว คำใดที่พอจะอนุโลมเข้ากับคำบาลี หรือสันสกฤตได้ ท่านก็มักจะ “จับบวช” หรือ “ลากเข้าวัด” เช่นคำว่า “เข้าสาน” ก็กลายเป็น “ข้าวสาร” คำว่า “สานหลวง” ก็กลายเป็น “ศาลหลวง” คำว่า “ปากใต้” ก็กลายเป็น “ปักษ์ใต้” ฯลฯ พระราชวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ (น.ม.ส.) ได้ทรงเขียนไว้ในคำนำหนังสือ “ปกีรณำพจนาดถ์” ของ พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ตอนหนึ่งว่า นักปราชญ์ในสมัยก่อนท่านจะบัญญัติคำอะไรขึ้นมา ท่านมิได้บัญญัติจาก “ความไม่รู้”
ด้วยเหตุผลดังที่กล่าวมาข้างต้น คณะกรรมการชำระพจนานุกรมได้พิจารณาด้วยความรอบคอบแล้วจากทั้งเอกสาร บุคคล และการวิเคราะห์ตามหลักภาษา มีมติยืนยันว่า ในคำว่า “มุกตลก” นั้น คำ “มุก” ต้องสะกดด้วย ก ไม่ใช่ “ข”
สำหรับเนื้อความในจดหมายมีดังนี้
๑. คณะกรรมการชำระปทานุกรม ได้มีมติเก็บคำ มุกตลก เพิ่มไว้ในรายงานการประชุมครั้งที่ ๔๖๖๙/๕๔ เมื่อวันศุกร์ที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ คณะกรรมการชำระปทานุกรมเข้าร่วมประชุมในวันนั้น คือ นายกำชัย ทองหล่อ นายวงศ์ เชาวนะกวี ศ. ดร. คุณบรรจบ พันธุเมธา ศ. ดร. วิเชียร จีรวงส์ ศ. ดร.ประเสริฐ ณ นคร นายทวี ทวีวรรธนะ นายจุลทัศน์ พยาฆรานนท์ ศ. ดร.กาญจนา นาคสกุล โดยมีนายเกษม บุญศรี ทำหน้าที่ประธานกรรมการ นางสาววัฒนา อินทรเกษตร เป็นกรรมการและเลขานุการ และนางสาวอุทัย สร้างสาม เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ ในการประชุมวันนั้น มีการเก็บคำและให้บทนิยามของคำต่าง ๆ ไว้รวม ๑๙ คำด้วยกัน คือ มีดกรีดกล้วย มีดกรีดยาง มีดเจียนหนัง มีดต้องสู้ มีดตัดกระดาษ มีดหัวเสียม มีดเหน็บ มีดเหลียน มือต้น มือปลาย มุกตลก มุขกระสัน มุขเด็จ มุขโถง มุขลด มุขบาฐ มุขปาฐะ มุขยประโยค มุโขโลกนะ ที่คำว่า “มุกตลก” ใช้ ก สะกด คณะกรรมการชำระปทานุกรมได้ให้บทนิยามไว้ว่า “น. วิธีทำให้ขบขัน” ซึ่งก็มิได้มีความหมายเกี่ยวกับ “หน้า” เลย
การประชุมคณะกรรมการชำระปทานุกรมครั้งต่อมา ครั้งที่ ๔๖๗๐/๕๕ เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ คณะกรรมการชำระปทานุกรมที่เข้าร่วมประชุมในวันนั้น คือ นายเกษม บุญศรี ทำหน้าที่ประธานกรรมการ นายกำชัย ทองหล่อ นายวงศ์ เชาวนะกวี ศ. ดร.คุณบรรจบ พันธุเมธา ศ. ดร.วิเชียร จีรวงส์ ศ. ดร.ประเสริฐ ณ นคร นายทวี ทวีวรรธนะ ศ.พิเศษจำนงค์ ทองประเสริฐ ศ. ดร.กาญจนา นาคสกุล เป็นกรรมการ นางสาววัฒนา อินทรเกษตร เป็นกรรมการและเลขานุการ และนางสาวอุทัย สร้างสาม เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ มีมติพิจารณารับรองรายงานการประชุมครั้งที่ ๔๖๖๙/๕๔ และไม่มีมติแก้ไขใด ๆ เกี่ยวกับคำ “มุกตลก” ที่เก็บไว้
๒. เมื่อราชบัณฑิตยสถานดำเนินงานจัดทำต้นฉบับพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน โดยการชำระพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ (พิมพ์ครั้งล่าสุด พ.ศ. ๒๕๓๙) ให้เป็นพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ เหตุที่เลือก พ.ศ. ๒๕๔๒ เป็นส่วนหนึ่งของชื่อพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เพราะ พ.ศ. ๒๕๔๒ เป็นปีมหามงคล เนื่องในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๖ รอบ ราชบัณฑิตยสถานจึงจัดทำขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติในโอกาสดังกล่าวและเพื่อเป็นการเผยแพร่พระเกียรติคุณและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่านที่ทรงมีความห่วงใยการใช้ภาษาไทยของคนไทยในปัจจุบัน
การจัดทำต้นฉบับพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๙ - ๒๕๔๕ และพิมพ์เผยแพร่ได้ใน พ.ศ. ๒๕๔๖ ในการจัดทำได้นำคำศัพท์ต่าง ๆ ทั้งที่เก็บเพิ่มไว้ และพิจารณาแก้ไขไว้แล้ว แต่ยังมิได้มีโอกาสเพิ่มเติมเข้าให้สมบูรณ์ มาเพิ่มเติมในการจัดทำต้นฉบับครั้งนี้คำ “มุกตลก” จึงปรากฏอยู่ในต้นฉบับดังกล่าว ช่วง พ.ศ. ๒๕๔๔-๒๕๔๕ ได้ดำเนินการจัดพิมพ์และตรวจพิสูจน์อักษรจนแล้วเสร็จในเดือนสิงหาคม ๒๕๔๖ จนกระทั่ง พ.ศ. ๒๕๔๗ ผู้ใช้ภาษามีความสับสนว่าควรใช้คำ “มุกตลก” หรือ “มุขตลก” คณะกรรมการชำระพจนานุกรมจึงได้พิจารณาทบทวนคำ “มุกตลก” รวม๔ ครั้ง คือ ในการประชุมครั้งที่ ๖๑๒๔-๑๘/๒๕๔๗ เมื่อวันจันทร์ที่ ๑๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ ครั้งที่ ๖๑๒๕-๑๙/๒๕๔๗ เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ ครั้งที่ ๖๑๓๙-๓๓/๒๕๔๗ เมื่อวันจันทร์ที่ ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ และ ครั้งที่ ๖๑๔๐-๓๔/๒๕๔๗ เมื่อวันจันทร์ที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ มีมติยืนยันว่า “มุกตลก” สะกดด้วย ก เนื่องจากมีเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการใช้คำว่า “มุก” ดังนี้
- กลอนไดเอรีซึมทราบกับตามเสด็จไทรโยค พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่-หัวทรงพระราชนิพนธ์ ซึ่งสมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสามาตุจฉาเจ้า โปรดให้พิมพ์ประทานช่วยพระเจ้าพี่นางเธอ พระองค์เจ้าหญิงผ่อง ในงานทรงบำเพ็ญพระกุศลฉลองพระชันษาครบ ๖๐ ปีบริบูรณ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๐ มีความตอนหนึ่งว่า
แถมโลกย, ฤๅแถม เปล่าเขาก็ใช้ ลางทีโลกย, เปล่าก็ได้ ไม่รู้เรื่อง
ลางทีเหลือแต่ โลโก โอ๊น่าเคือง อีกอย่างเยื้อง ไปเปนหยอด, ก็ยังมี
บางครั้งว่า หยอดตาลงขลุ้กขลุ้ก จะเล่นกันมุกใดไฉนนี่
หฤๅว่าเราสูบกันชาเปนราคี ก็ใช่ที่ไม่มีเค้าเราไม่รับ
- ละครชุดเบิกโรง เรื่องรามเกียรติ์ ตอนอภิเษกสมรส พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว องค์การค้าของคุรุสภาจัดพิมพ์ครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. ๒๕๐๔ มีความตอนหนึ่งว่า
(ศรทะนง : พระรามและพระลักษมัณแผลงศร, มารีจตกจากรถแล้วเซหายเข้าโรงไป สุวาหุตกจากรถ ตายกลางโรง, และพวกพลยักษ์ตายโดยมาก เชิด :สองกษัตริย์เข้าโรง, พวกยักษ์ที่รอดตายวิ่งหนี,และพวกพราหมณ์ไล่ตามตีด้วยพลอง และขว้างด้วยก้อนหิน, เล่นกวนมุกพอสมควร,แล้วหายเข้าโรงหมด)
- ใน “ไวพจน์ประพันธ์” ของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)
มุก
เรือใครใช้บันทุก เปลือกหอยมุกเอามาขาย
ช่างมุกประดับลาย ตลุ้มมุกสุกแวววาม
พวงสร้อยย้อยระยับ ล้วนประดับไข่มุกงาม
ในสวนของขุนราม กล้วยหักมุกสุกคาหวี
มุก กอ สกดใช้ มุกคำไทยใช้พาที
ฝ่ายมุขคำบาฬี สกด ขอ ข้อสำคัญ
มุขะแลมุขา แปลว่าหน้าทุกสิ่งสรรพ์
ใช้ทั่วทุกสิ่งอัน อวิญญาณสวิญญาณ
หนึ่งมุขแปลว่าปาก อีกคำหลากว่าประธาน
มคธบทพิจารณ์ คำปาโมกษ์ประมุขมี
มุขที่แปลว่าหน้า เหมือนคำว่ามุขมนตรี
หัวหน้าหมู่เสนี คือเสนาธิปะไตย
บ่ายมุขะมณฑล คือว่าคนบ่ายหน้าไป
มุขลดคล้ายพาไล ลดเป็นหลั่นชั้นหลังคา
น่ามุขคือสฐาน ที่เป็นด้านยื่นออกมา
ดังมุขแห่งพลับพลา ที่ประทับเจ้าภูวดล
ตรีมุขว่าสามน่า เช่นศาลาสามมุขยล
เป็นอย่างอ้างยุบล แบบตรีมุขทุกสฐาน
น่ามุขทั้งสี่ทิศ งามไพจิตรเพียงวิมาน
สยามนามขนาน จัตุระมุขสีน่าบัน
คำเรียกแก้วมุกดา ใช้กันมามากครามครัน
มคธบทสำคัญ นั้นท่านว่ามุตตาตรง
คำแผลงสังสกฤษฎ์ ตัว ตอ บิดผันผ่อนลง
เป็น กอ สกดคง คำใช้ชุกเป็นมุกดา
เช่นคำว่าสัตติ เป็นศักดิโดยภาษา
กด กับ กก วาจา เปลี่ยนกันได้ในวิถี
มุขเขมรใช้เจรจา แปลว่าหน้าเหมือนบาลี
ชรอยแต่เดิมที มคธใช้ได้ติดมา
รวมมุกที่รำพัน หมดด้วยกันสิบวาจา
นักเรียนเพียรศึกษา ได้ปัญญาใหญ่กว้างขวาง
๓. การสอบถามข้อมูลจากบุคคล เช่น ศ. ดร.ประเสริฐ ณ นคร ศ.วิสุทธ์ บุษยกุล ศ.เรืองอุไร กุศลาสัย ดร.สวนิต ยมาภัย สรุปได้ความว่า คำ “มุก” เป็นคำที่ใช้กันมานานแล้ว เป็นคำไทย สะกดแบบไทย ทั้งนี้ ดร.สวนิต ยมาภัย ให้ข้อมูลว่า ประมาณ พ.ศ. ๒๔๘๕ มีคำว่า มุก มุกกิ๊ก และโม้กิ๊ก ใช้ในภาษาพูด เป็นคำภาษาปากหรือคำคะนอง แปลว่า ปด หลอกให้คนมีอารมณ์ขัน คำว่า กิ๊ก เป็นคำที่ตัดมาจาก กิ๊กหน้าวุ๊ย ซึ่งเป็นคำผวน มาจาก กุ๊ยหน้าวิก
๔. เมื่อพิจารณาตามหลักทางภาษาศาสตร์ เรื่องการกลมกลืนเสียง (assimilation) จากคำ
มุกกิ๊ก ที่มีใช้กันมาเกิดการกลมกลืนเสียง ก “มุก” ก็ควรสะกดด้วย ก หรือพิจารณาตามหลักนิรุกติศาสตร์ คำ โม้กิ๊ก กลายเสียงเป็น มกกิ๊ก แล้วเป็น มุกกิ๊ก ในที่สุด ซึ่งการกลมกลืนเสียงลักษณะเช่นนี้ พบในคำไทยหลายคำ เช่น โท่ง เป็น ทุ่ง อ่อนไท้ เป็น อรไท
๕. ในพจนานุกรมภาษาบาลีสันสกฤต ให้ความหมายคำ “มุข” ไว้ว่า หน้า ปาก ประธาน พจนานุกรมภาษาเขมร ให้ความหมาย “มุข” ไว้ว่า หน้า ปาก ประธาน ที่ หน้าที่ แผนก แบบอย่าง ทางสาธารณะไม่พบความหมายของ มุข ที่หมายถึง เจรจาหรือพูด
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว คำใดที่พอจะอนุโลมเข้ากับคำบาลี หรือสันสกฤตได้ ท่านก็มักจะ “จับบวช” หรือ “ลากเข้าวัด” เช่นคำว่า “เข้าสาน” ก็กลายเป็น “ข้าวสาร” คำว่า “สานหลวง” ก็กลายเป็น “ศาลหลวง” คำว่า “ปากใต้” ก็กลายเป็น “ปักษ์ใต้” ฯลฯ พระราชวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ (น.ม.ส.) ได้ทรงเขียนไว้ในคำนำหนังสือ “ปกีรณำพจนาดถ์” ของ พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ตอนหนึ่งว่า นักปราชญ์ในสมัยก่อนท่านจะบัญญัติคำอะไรขึ้นมา ท่านมิได้บัญญัติจาก “ความไม่รู้”
ด้วยเหตุผลดังที่กล่าวมาข้างต้น คณะกรรมการชำระพจนานุกรมได้พิจารณาด้วยความรอบคอบแล้วจากทั้งเอกสาร บุคคล และการวิเคราะห์ตามหลักภาษา มีมติยืนยันว่า ในคำว่า “มุกตลก” นั้น คำ “มุก” ต้องสะกดด้วย ก ไม่ใช่ “ข”