ใครคิดว่า ถ้าวัยรุ่นหญิงแต่งกายเรียบร้อยแล้วจะช่วยลดการข่มขืนได้ ...ยกมือขึ้น?
ใครคิดว่า โรงเรียนไม่ควรรับคนที่เป็นเกย์ ตุ๊ด ทอม ดี้ เข้ามาเป็นครูบาอาจารย์บ้าง ...ยกมือขึ้น?
ใครคิดว่าเป็นเรื่องธรรมดา หากลูกสาวแต่งงานและออกไปทำงานนอกบ้าน ในขณะที่สามีกลับอยู่บ้านเลี้ยงลูกเฉยๆ...?
ใครคิดว่า.........
คำถามเหล่านี้ถูกใช้เกริ่นนำให้กับบรรดาครูอาจารย์ที่ได้เข้าร่วมเสวนาในหัวข้อ “อคติเรื่องบทบาทหญิงชายในเพศศึกษา” ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 26 ต.ค.ที่โรงแรมแอมบาสซาเตอร์

จากคำถามแรกที่มีผู้ร่วมยกมือเห็นด้วยกว่าครึ่งห้อง กลับค่อยๆ ลดลงในคำถามถัดๆ ไป พร้อมฉายแววตาของความฉงนและครุ่นคิดว่า ตนควรจะยกมือขึ้นดีหรือไม่ ด้วยเหตุผลความเชื่อเช่นไร และโดยหารู้ตัวไม่ หลังจากการเสวนาจบ พวกเขาจะรู้ว่าคำตอบหรือการตัดสินใจจะตอบในคำถามเหล่านี้ ล้วนยากยิ่งกว่าเวลานี้อีกเป็นเท่าทวีคูณ รวมถึงอคติความเชื่อเก่าๆ ซึ่งกำลังจะถูกท้าทายอย่างคาดไม่ถึง
-1-
โตมร ศุขปรีชา นักเขียนและคอลัมนิสต์ชื่อดัง กล่าวว่า ในการที่จะอธิบายเรื่องราวเหล่านี้ คำสำคัญคงอยู่ที่คำว่า “อคติ” เพราะเมื่อไรก็ตามที่เป็นอคติ เมื่อนั้นก็จะมองไม่เห็นมัน เพราะเรากำลังเชื่อว่าสิ่งที่กำลังกระทำหรือตัดสินใจเป็นเรื่องที่ถูกต้อง ในแง่นี้แล้วก็คงไม่ต่างจาก “ปลาที่อยู่ในน้ำ ย่อมมองไม่เห็นน้ำ”
ฉันใดฉันนั้น อคติก็เป็นสิ่งที่เราไม่อาจรู้ ถ้ามันยังคงอยู่กับเรา
“สิ่งที่ผมเห็นในสังคมตอนนี้ก็คือ ผมเห็นความพยายามในการครอบงำและควบคุมเด็ก ภายใต้อคติที่ว่า เด็กต้องโง่กว่าผู้ใหญ่เสมอ เพราะฉะนั้น ถ้าพ่อ-แม่ ผู้ปกครองคนใดสามารถควบคุมเด็กไปถึงเตียงนอนได้มากเท่าไร พวกเขาก็จะยิ่งรู้สึกปลอดภัยมากเท่านั้น ถ้าตอนนี้ใครคิดเครื่องเซ็นเซอร์ที่ติดจู๋-จิ๋มขึ้นมา ก็คงจะขายได้ดีมาก เพราะผู้ปกครองจะได้รู้ว่าเด็กของตนไปทำอะไรที่ไหนบ้าง เวลาที่พวกเขาบอกว่า ออกไปข้างนอกหรือออกไปหาเพื่อน” โตมรเกริ่นนำอย่างตรงประเด็น ก่อนจะเจาะลึกถึงอคติในเรื่องราวการสอนเพศศึกษาของสังคมไทย

โตมร เห็นว่า เราต่างมีฐานการสอนเพศศึกษาในการที่ควบคุมเรื่องเพศอย่างชัดเจน โดยไม่เปิดพื้นที่ทางสังคมให้กับคนที่เป็นเพศอื่นๆ (นอกจากชาย-หญิง) หรือยอมรับในความนิยมทางเพศที่ต่างไปจากตัวเอง เช่น พวกซาดิสต์-มาโซคิสต์ พวกชอบโชว์-ถ้ำมอง ที่สังคมมองในแง่ลบตลอดเวลา
แต่ถ้าเปิดและยอมรับให้คนเหล่านี้เจอกัน และบอกว่าเมื่อเป็นมาโซคิสต์จะไปหาพวกที่เป็นซาดิสต์ได้จากไหน หรือถ้าเป็นพวกชอบโชว์ จะสามารถเจอกับพวกถ้ำมองได้ที่ไหน ซึ่งถ้าเป็นเช่นนี้แล้ว โตมรเองก็ไม่คิดว่าปัญหาจะอยู่ที่ไหนได้
“ในการเรียนการสอนทางเพศศึกษา เรามักจะจำกัดเสรีภาพในการกระทำต่างๆ ในเรื่องเพศ ซึ่งส่วนหนึ่งผมก็เห็นด้วย แต่สิ่งที่ยังขาดก็คือ เสรีภาพทางเพศในการเลือก (Freedom of sexul choice) เพราะมันไม่เปิดทางเลือกที่หลากหลายให้กับสังคมและวัยรุ่น มันมีแต่จะตีกรอบและปิดขังความเชื่อทางเรื่องเพศแบบใดแบบหนึ่งเท่านั้น ดังนั้น จึงต้องพยายามตั้งคำถามกับสิ่งที่มันกดทับเราอยู่ให้ได้ เพราะไม่เช่นนั้น ก็ไม่มีวันที่จะเข้าใจว่า สิ่งที่มันเป็นคติของเรา แท้จริงมันคืออคติ”
เช่นเดียวกับ ดร.ชลิดาภรณ์ ส่งสัมพันธ์ คณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ก็ดูจะเห็นคล้องกับโตมรที่ว่า โดยหลักการแล้ว เพศศึกษาควรจะท้าทายหรือทำลายรากฐานความเชื่อชุดหนึ่งๆ แต่สิ่งที่กำลังทำอยู่ตอนนี้กลับเป็น การรักษาอคติที่สร้างปัญหาหลายๆ อย่างเอาไว้
ยกตัวอย่างเช่น มีความเชื่อว่า ในวัยรุ่นชายจะมีฮอร์โมนที่พลุ่งพล่าน เกิดความรู้สึกต้องการทางเพศ(sex desire) แต่เวลาคิดภาพเช่นนั้น กลับกำลังคิดถึงแต่เพศชาย ลืมคิดถึงเพศหญิงว่าก็มีความต้องการเช่นกัน เพราะคิดว่าเขาไม่มี และ(หรือ)ไม่มีความต้องการ

-2-
ดร.ชลิดาภรณ์ อธิบายต่อว่า ในสหรัฐฯ มีวัยรุ่นหญิงเข้าไปหาครูแนะแนว หรือครูทางสุขศึกษา แล้วบอกว่า “ครูคะ หนูมีความต้องการทางเพศ หนูผิดปกติใช่ไหมคะ”
แต่ปรากฏการณ์เหล่านี้เป็นเรื่องน่าแปลกในสังคมไทย เพราะไม่เคยให้ความรู้กับวัยรุ่นหญิงอย่างจริงจัง สอนแต่รักนวลสงวนตัว และผลักภาระเรื่องเซ็กซ์ไปให้วัยรุ่นหญิงมากทีเดียว
“เราบอกเขาว่าอย่าใส่สายเดี่ยว เพราะจะไปกระตุ้นอารมณ์เพศชาย คำถามก็คือ คุณสามารถรับผิดชอบอารมณ์คนอื่นได้หรือ และในสังคมแบบนี้ คุณให้อะไรกับเด็กผู้หญิงบ้าง เราอาจต้องย้อนกลับมาคิดว่า เรากำลังพูดอะไรอยู่ในเรื่องหญิงชาย เพราะท้ายที่สุด ระบบการศึกษาไทยกำลังหล่อเลี้ยงอคติเรื่องความอ่อนแอของผู้หญิง ผู้หญิงอย่าพูด(เรื่องเพศ)ให้มาก อย่าแสดงออกมาก(ต้องรักนวลสงวนตัว) ซึ่งทั้งหมดก็นำมาสู่ปัญหาเรื่องเพศ การบังคับร่วมเพศ ความรุนแรงที่ผู้หญิงเป็นฝ่ายถูกกระทำ ซึ่งก็เพราะผู้หญิงปฏิเสธไม่เป็น” ดร.ชลิดาภรณ์ กล่าว และย้ำว่า ทำไมไม่กล้าที่จะตั้งคำถามให้ผู้หญิงสามารถพูดเรื่องเพศได้
-3-
เมื่อพูดถึงตรงนี้แล้ว ปัญหาสำคัญประการต่อมาที่ถูกยกขึ้นมาถกเถียงก็คือ ประเด็น “การรักนวลสงวนตัว” ซึ่งโตมร เกริ่นแกมหยอกว่า “เพศศึกษาสอนให้ชายไทยเรียนรู้ที่จะใส่ถุงยาง ขณะเดียวกันก็สอนที่จะให้หญิงรักนวลสงวนตัว แล้วถ้าเป็นเช่นนั้น ผู้ชายจะเอาถุงยางนี้ไปร่วมกับอะไร”
และอธิบายต่อว่า ความคิดเรื่องการรักนวลสงวนตัวถือเป็นสิ่งที่ดี แต่จะดีเฉพาะกับคนที่อยากรักนวลสงวนตัวเท่านั้น เพราะเมื่อผู้หญิงอายุปาเข้าไป 30 ปี สังคมก็จะบอกให้เลิกได้แล้ว ซึ่งสิ่งเหล่านี้เองที่โตมรเห็นว่าเป็นเรื่องของอำนาจทั้งนั้น เพราะสังคมจะเป็นตัวกำหนดว่า อายุเท่านี้ควรรักนวลสงวนตัว อายุเท่านั้นควรเลิกสงวนได้แล้ว
“วัฒนธรรมไทยตามความหมายใหม่ที่เพิ่งเกิดมาได้ไม่ถึง 50 ปีนี้ และเป็นสิ่งที่ภูมิใจกันนัก คือตัวการที่ทำให้เด็กมั่วเซ็กซ์กันทุกวันนี้ เมื่อก่อนเราไม่เคยมีการกดทับหรือบังคับคนในเรื่องเพศมากเท่านี้ แต่สิ่งที่วัฒนธรรมอันใหม่กำลังดำเนินไปอย่างเข้มข้นนี้ ยิ่งเข้มข้นมากเท่าไร เด็กก็ยิ่งต่อต้านการควบคุมหรือการบังคับมากเท่านั้น”

โตมร กล่าว และตอกย้ำอย่างถึงแก่นว่า โดยทั่วไปแล้ว เราก็เป็นคน “หน้าไหว้หลังหลอก” (hypocrite) กันทั้งสังคม ยกตัวอย่างเรื่องวีซีดีน้องแนท ที่บอกว่าเป็นสิ่งที่ไม่ดี ประณามว่าเป็นเรื่องผิดศีลธรรม แต่ก็ดูกัน บางคนนำไปคัดลอกแจกจ่าย มิหนำซ้ำบางคนถึงกับ masturbation ไปด้วยขณะดู แต่พอเสร็จ(กาม)กิจ ล้างมือจากคราบเมือกต่างๆ เรียบร้อยแล้ว ก็ลุกขึ้นมาชี้หน้าด่าว่า “ไอ้คนไม่มีศีลธรรม กูนี่แหละคนมีศีลธรรม”
กล่าวสำหรับประเด็นนี้แล้ว ดร.ชลิดาภรณ์ เห็นว่า การถกเถียงเรื่องการรักนวลสงวนตัวนั้น ไม่ควรใช้ข้ออ้างทางวัฒนธรรมมาเป็นตัวยึดมั่นถือมั่นว่า ควรรักนวลสงวนตัวเพราะเป็นวัฒนธรรมไทย เพราะถ้าเราเชื่อว่าอยุธยาเป็น “ไทย” ช่วงนั้นความคิดเรื่องรักนวลสงวนตัวเป็นเฉพาะของคนชั้นสูงเท่านั้น คนที่เป็น “ไพร่”อย่างพวกเราๆ ไม่มี ทั้งนี้ เพราะคนชั้นสูงต้องรักนวลสงวนตัวไว้เพื่อกิจกรรมบางอย่าง เช่น การแต่งงานเพื่อผูกมิตรทางการเมือง เป็นต้น
อย่างไรก็ดี ความคิดหรือconcept เรื่องรักนวลสงวนตัวนั้นเพิ่งเข้ามาในไทยสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นวัฒนธรรมแบบวิกตอเรียน ดังนั้น ถ้าจะมาอ้างว่าวัฒนธรรมไทยสอนให้รักนวลสงวนตัว ก็พูดเหมือนกับคนที่ไม่รู้จักประวัติศาสตร์ของตนเองเลย แต่ถ้าจะพูดถึงเรื่องดีหรือไม่ดีก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่ง ดร.ชลิดาภรณ์ ก็เห็นด้วยว่าเป็นเรื่องดี แต่ก็ดีเฉพาะกับคนที่อยากรักนวลสงวนตัวเท่านั้น เช่นกัน
“ในที่สุดแล้ว ในฐานะครูบาอาจารย์ เราต้องสอนให้เด็กโตขึ้น สอนให้เด็กรู้จักเลือกในความหลากหลายของเซ็กซ์ ใครอยากรักนวลก็เอา ใครอยากได้แบบไหนก็ตามนั้น เพราะปัญหาสำคัญมันอยู่ที่ว่า ถ้าเราอยากให้เขารักนวลสงวนตัว เรามีเครื่องมือที่จะช่วยให้เขารักนวลสงวนตัวไหม” ดร.ชลิดาภรณ์ กล่าว และตั้งคำถามที่ท้าทายต่อสังคมไทยว่า ถึงเวลาหรือยัง ที่เราจะลบคติ(อคติ?)ที่ว่า “เซ็กซ์ทำให้ผู้หญิงแปดเปื้อน แต่ทำให้ผู้ชายมีประสบการณ์”
ทิ้งท้าย…ดร.ชลิดาภรณ์ กล่าวตอกย้ำในสิ่งที่เธอหาญกล้าตั้งคำถามเหล่านี้กับสังคมว่า เพราะเชื่อในเสรีภาพของคนในเมืองนี้ และเสรีภาพไม่ได้แปลว่า จะทำอะไรก็ได้ แต่การใช้เสรีภาพคือ การต้องไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน และในแง่คิดเช่นนี้ เซ็กซ์หรือความต้องการทางเพศที่ต่างออกไป มันทำความเดือดร้อนอย่างไรกับเรา นอกจากความรำคาญหูรำคาญตา
ใครคิดว่า โรงเรียนไม่ควรรับคนที่เป็นเกย์ ตุ๊ด ทอม ดี้ เข้ามาเป็นครูบาอาจารย์บ้าง ...ยกมือขึ้น?
ใครคิดว่าเป็นเรื่องธรรมดา หากลูกสาวแต่งงานและออกไปทำงานนอกบ้าน ในขณะที่สามีกลับอยู่บ้านเลี้ยงลูกเฉยๆ...?
ใครคิดว่า.........
คำถามเหล่านี้ถูกใช้เกริ่นนำให้กับบรรดาครูอาจารย์ที่ได้เข้าร่วมเสวนาในหัวข้อ “อคติเรื่องบทบาทหญิงชายในเพศศึกษา” ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 26 ต.ค.ที่โรงแรมแอมบาสซาเตอร์
จากคำถามแรกที่มีผู้ร่วมยกมือเห็นด้วยกว่าครึ่งห้อง กลับค่อยๆ ลดลงในคำถามถัดๆ ไป พร้อมฉายแววตาของความฉงนและครุ่นคิดว่า ตนควรจะยกมือขึ้นดีหรือไม่ ด้วยเหตุผลความเชื่อเช่นไร และโดยหารู้ตัวไม่ หลังจากการเสวนาจบ พวกเขาจะรู้ว่าคำตอบหรือการตัดสินใจจะตอบในคำถามเหล่านี้ ล้วนยากยิ่งกว่าเวลานี้อีกเป็นเท่าทวีคูณ รวมถึงอคติความเชื่อเก่าๆ ซึ่งกำลังจะถูกท้าทายอย่างคาดไม่ถึง
-1-
โตมร ศุขปรีชา นักเขียนและคอลัมนิสต์ชื่อดัง กล่าวว่า ในการที่จะอธิบายเรื่องราวเหล่านี้ คำสำคัญคงอยู่ที่คำว่า “อคติ” เพราะเมื่อไรก็ตามที่เป็นอคติ เมื่อนั้นก็จะมองไม่เห็นมัน เพราะเรากำลังเชื่อว่าสิ่งที่กำลังกระทำหรือตัดสินใจเป็นเรื่องที่ถูกต้อง ในแง่นี้แล้วก็คงไม่ต่างจาก “ปลาที่อยู่ในน้ำ ย่อมมองไม่เห็นน้ำ”
ฉันใดฉันนั้น อคติก็เป็นสิ่งที่เราไม่อาจรู้ ถ้ามันยังคงอยู่กับเรา
“สิ่งที่ผมเห็นในสังคมตอนนี้ก็คือ ผมเห็นความพยายามในการครอบงำและควบคุมเด็ก ภายใต้อคติที่ว่า เด็กต้องโง่กว่าผู้ใหญ่เสมอ เพราะฉะนั้น ถ้าพ่อ-แม่ ผู้ปกครองคนใดสามารถควบคุมเด็กไปถึงเตียงนอนได้มากเท่าไร พวกเขาก็จะยิ่งรู้สึกปลอดภัยมากเท่านั้น ถ้าตอนนี้ใครคิดเครื่องเซ็นเซอร์ที่ติดจู๋-จิ๋มขึ้นมา ก็คงจะขายได้ดีมาก เพราะผู้ปกครองจะได้รู้ว่าเด็กของตนไปทำอะไรที่ไหนบ้าง เวลาที่พวกเขาบอกว่า ออกไปข้างนอกหรือออกไปหาเพื่อน” โตมรเกริ่นนำอย่างตรงประเด็น ก่อนจะเจาะลึกถึงอคติในเรื่องราวการสอนเพศศึกษาของสังคมไทย
โตมร เห็นว่า เราต่างมีฐานการสอนเพศศึกษาในการที่ควบคุมเรื่องเพศอย่างชัดเจน โดยไม่เปิดพื้นที่ทางสังคมให้กับคนที่เป็นเพศอื่นๆ (นอกจากชาย-หญิง) หรือยอมรับในความนิยมทางเพศที่ต่างไปจากตัวเอง เช่น พวกซาดิสต์-มาโซคิสต์ พวกชอบโชว์-ถ้ำมอง ที่สังคมมองในแง่ลบตลอดเวลา
แต่ถ้าเปิดและยอมรับให้คนเหล่านี้เจอกัน และบอกว่าเมื่อเป็นมาโซคิสต์จะไปหาพวกที่เป็นซาดิสต์ได้จากไหน หรือถ้าเป็นพวกชอบโชว์ จะสามารถเจอกับพวกถ้ำมองได้ที่ไหน ซึ่งถ้าเป็นเช่นนี้แล้ว โตมรเองก็ไม่คิดว่าปัญหาจะอยู่ที่ไหนได้
“ในการเรียนการสอนทางเพศศึกษา เรามักจะจำกัดเสรีภาพในการกระทำต่างๆ ในเรื่องเพศ ซึ่งส่วนหนึ่งผมก็เห็นด้วย แต่สิ่งที่ยังขาดก็คือ เสรีภาพทางเพศในการเลือก (Freedom of sexul choice) เพราะมันไม่เปิดทางเลือกที่หลากหลายให้กับสังคมและวัยรุ่น มันมีแต่จะตีกรอบและปิดขังความเชื่อทางเรื่องเพศแบบใดแบบหนึ่งเท่านั้น ดังนั้น จึงต้องพยายามตั้งคำถามกับสิ่งที่มันกดทับเราอยู่ให้ได้ เพราะไม่เช่นนั้น ก็ไม่มีวันที่จะเข้าใจว่า สิ่งที่มันเป็นคติของเรา แท้จริงมันคืออคติ”
เช่นเดียวกับ ดร.ชลิดาภรณ์ ส่งสัมพันธ์ คณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ก็ดูจะเห็นคล้องกับโตมรที่ว่า โดยหลักการแล้ว เพศศึกษาควรจะท้าทายหรือทำลายรากฐานความเชื่อชุดหนึ่งๆ แต่สิ่งที่กำลังทำอยู่ตอนนี้กลับเป็น การรักษาอคติที่สร้างปัญหาหลายๆ อย่างเอาไว้
ยกตัวอย่างเช่น มีความเชื่อว่า ในวัยรุ่นชายจะมีฮอร์โมนที่พลุ่งพล่าน เกิดความรู้สึกต้องการทางเพศ(sex desire) แต่เวลาคิดภาพเช่นนั้น กลับกำลังคิดถึงแต่เพศชาย ลืมคิดถึงเพศหญิงว่าก็มีความต้องการเช่นกัน เพราะคิดว่าเขาไม่มี และ(หรือ)ไม่มีความต้องการ
-2-
ดร.ชลิดาภรณ์ อธิบายต่อว่า ในสหรัฐฯ มีวัยรุ่นหญิงเข้าไปหาครูแนะแนว หรือครูทางสุขศึกษา แล้วบอกว่า “ครูคะ หนูมีความต้องการทางเพศ หนูผิดปกติใช่ไหมคะ”
แต่ปรากฏการณ์เหล่านี้เป็นเรื่องน่าแปลกในสังคมไทย เพราะไม่เคยให้ความรู้กับวัยรุ่นหญิงอย่างจริงจัง สอนแต่รักนวลสงวนตัว และผลักภาระเรื่องเซ็กซ์ไปให้วัยรุ่นหญิงมากทีเดียว
“เราบอกเขาว่าอย่าใส่สายเดี่ยว เพราะจะไปกระตุ้นอารมณ์เพศชาย คำถามก็คือ คุณสามารถรับผิดชอบอารมณ์คนอื่นได้หรือ และในสังคมแบบนี้ คุณให้อะไรกับเด็กผู้หญิงบ้าง เราอาจต้องย้อนกลับมาคิดว่า เรากำลังพูดอะไรอยู่ในเรื่องหญิงชาย เพราะท้ายที่สุด ระบบการศึกษาไทยกำลังหล่อเลี้ยงอคติเรื่องความอ่อนแอของผู้หญิง ผู้หญิงอย่าพูด(เรื่องเพศ)ให้มาก อย่าแสดงออกมาก(ต้องรักนวลสงวนตัว) ซึ่งทั้งหมดก็นำมาสู่ปัญหาเรื่องเพศ การบังคับร่วมเพศ ความรุนแรงที่ผู้หญิงเป็นฝ่ายถูกกระทำ ซึ่งก็เพราะผู้หญิงปฏิเสธไม่เป็น” ดร.ชลิดาภรณ์ กล่าว และย้ำว่า ทำไมไม่กล้าที่จะตั้งคำถามให้ผู้หญิงสามารถพูดเรื่องเพศได้
-3-
เมื่อพูดถึงตรงนี้แล้ว ปัญหาสำคัญประการต่อมาที่ถูกยกขึ้นมาถกเถียงก็คือ ประเด็น “การรักนวลสงวนตัว” ซึ่งโตมร เกริ่นแกมหยอกว่า “เพศศึกษาสอนให้ชายไทยเรียนรู้ที่จะใส่ถุงยาง ขณะเดียวกันก็สอนที่จะให้หญิงรักนวลสงวนตัว แล้วถ้าเป็นเช่นนั้น ผู้ชายจะเอาถุงยางนี้ไปร่วมกับอะไร”
และอธิบายต่อว่า ความคิดเรื่องการรักนวลสงวนตัวถือเป็นสิ่งที่ดี แต่จะดีเฉพาะกับคนที่อยากรักนวลสงวนตัวเท่านั้น เพราะเมื่อผู้หญิงอายุปาเข้าไป 30 ปี สังคมก็จะบอกให้เลิกได้แล้ว ซึ่งสิ่งเหล่านี้เองที่โตมรเห็นว่าเป็นเรื่องของอำนาจทั้งนั้น เพราะสังคมจะเป็นตัวกำหนดว่า อายุเท่านี้ควรรักนวลสงวนตัว อายุเท่านั้นควรเลิกสงวนได้แล้ว
“วัฒนธรรมไทยตามความหมายใหม่ที่เพิ่งเกิดมาได้ไม่ถึง 50 ปีนี้ และเป็นสิ่งที่ภูมิใจกันนัก คือตัวการที่ทำให้เด็กมั่วเซ็กซ์กันทุกวันนี้ เมื่อก่อนเราไม่เคยมีการกดทับหรือบังคับคนในเรื่องเพศมากเท่านี้ แต่สิ่งที่วัฒนธรรมอันใหม่กำลังดำเนินไปอย่างเข้มข้นนี้ ยิ่งเข้มข้นมากเท่าไร เด็กก็ยิ่งต่อต้านการควบคุมหรือการบังคับมากเท่านั้น”
โตมร กล่าว และตอกย้ำอย่างถึงแก่นว่า โดยทั่วไปแล้ว เราก็เป็นคน “หน้าไหว้หลังหลอก” (hypocrite) กันทั้งสังคม ยกตัวอย่างเรื่องวีซีดีน้องแนท ที่บอกว่าเป็นสิ่งที่ไม่ดี ประณามว่าเป็นเรื่องผิดศีลธรรม แต่ก็ดูกัน บางคนนำไปคัดลอกแจกจ่าย มิหนำซ้ำบางคนถึงกับ masturbation ไปด้วยขณะดู แต่พอเสร็จ(กาม)กิจ ล้างมือจากคราบเมือกต่างๆ เรียบร้อยแล้ว ก็ลุกขึ้นมาชี้หน้าด่าว่า “ไอ้คนไม่มีศีลธรรม กูนี่แหละคนมีศีลธรรม”
กล่าวสำหรับประเด็นนี้แล้ว ดร.ชลิดาภรณ์ เห็นว่า การถกเถียงเรื่องการรักนวลสงวนตัวนั้น ไม่ควรใช้ข้ออ้างทางวัฒนธรรมมาเป็นตัวยึดมั่นถือมั่นว่า ควรรักนวลสงวนตัวเพราะเป็นวัฒนธรรมไทย เพราะถ้าเราเชื่อว่าอยุธยาเป็น “ไทย” ช่วงนั้นความคิดเรื่องรักนวลสงวนตัวเป็นเฉพาะของคนชั้นสูงเท่านั้น คนที่เป็น “ไพร่”อย่างพวกเราๆ ไม่มี ทั้งนี้ เพราะคนชั้นสูงต้องรักนวลสงวนตัวไว้เพื่อกิจกรรมบางอย่าง เช่น การแต่งงานเพื่อผูกมิตรทางการเมือง เป็นต้น
อย่างไรก็ดี ความคิดหรือconcept เรื่องรักนวลสงวนตัวนั้นเพิ่งเข้ามาในไทยสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นวัฒนธรรมแบบวิกตอเรียน ดังนั้น ถ้าจะมาอ้างว่าวัฒนธรรมไทยสอนให้รักนวลสงวนตัว ก็พูดเหมือนกับคนที่ไม่รู้จักประวัติศาสตร์ของตนเองเลย แต่ถ้าจะพูดถึงเรื่องดีหรือไม่ดีก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่ง ดร.ชลิดาภรณ์ ก็เห็นด้วยว่าเป็นเรื่องดี แต่ก็ดีเฉพาะกับคนที่อยากรักนวลสงวนตัวเท่านั้น เช่นกัน
“ในที่สุดแล้ว ในฐานะครูบาอาจารย์ เราต้องสอนให้เด็กโตขึ้น สอนให้เด็กรู้จักเลือกในความหลากหลายของเซ็กซ์ ใครอยากรักนวลก็เอา ใครอยากได้แบบไหนก็ตามนั้น เพราะปัญหาสำคัญมันอยู่ที่ว่า ถ้าเราอยากให้เขารักนวลสงวนตัว เรามีเครื่องมือที่จะช่วยให้เขารักนวลสงวนตัวไหม” ดร.ชลิดาภรณ์ กล่าว และตั้งคำถามที่ท้าทายต่อสังคมไทยว่า ถึงเวลาหรือยัง ที่เราจะลบคติ(อคติ?)ที่ว่า “เซ็กซ์ทำให้ผู้หญิงแปดเปื้อน แต่ทำให้ผู้ชายมีประสบการณ์”
ทิ้งท้าย…ดร.ชลิดาภรณ์ กล่าวตอกย้ำในสิ่งที่เธอหาญกล้าตั้งคำถามเหล่านี้กับสังคมว่า เพราะเชื่อในเสรีภาพของคนในเมืองนี้ และเสรีภาพไม่ได้แปลว่า จะทำอะไรก็ได้ แต่การใช้เสรีภาพคือ การต้องไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน และในแง่คิดเช่นนี้ เซ็กซ์หรือความต้องการทางเพศที่ต่างออกไป มันทำความเดือดร้อนอย่างไรกับเรา นอกจากความรำคาญหูรำคาญตา