“อดิศัย” หารือร่วมวิปรัฐบาลถึง พ.ร.บ.ครูและ พ.ร.บ.บัญชีเงินเดือนครู ยอมรับตามที่วุฒิสภาแก้ไขให้ ผอ.สพท.และ ผอ.สถานศึกษาได้วิทยฐานะถึงเชี่ยวชาญพิเศษ โดยไม่ตั้ง กมธ.ร่วม 2 สภา อดิศัย เตรียมดันร่าง พ.ร.บ.ทั้ง 2 ฉบับเข้าสภาใน 27 ต.ค.นี้เพื่อให้ทันในสมัยประชุมสภานี้
นายอดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังการหารือร่วมกับกรรมการวิปรัฐบาลถึงเรื่อง ร่างพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และร่างพ.ร.บ.เงินเดือน เงินวิทยฐานะและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ที่วุฒิสภาได้ปรับแก้ให้ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) และผู้อำนวยการสถานศึกษา ได้วิทยฐานะถึงเชี่ยวชาญพิเศษ ขณะที่รองผอ.สพท. และรองผอ.สถานศึกษา ได้วิทยฐานะแค่ชำนาญการ ว่า ที่ประชุมเห็นชอบและยอมรับตามที่วุฒิสภาได้ปรับแก้ โดยจะไม่มีการตั้งกรรมาธิการร่วม 2 สภา ทั้งนี้ เพื่อให้พ.ร.บ.ฉบับนี้ผ่านสภาโดยเร็ว ซึ่งจะมีการปรับโครงสร้างเงินเดือนของครู ให้มีฐานะความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ซึ่งถือเป็นนโยบายหลักของนายกรัฐมนตรี ดังนั้นการที่วุฒิสภาได้ปรับแก้ร่าง พ.ร.บ.จึงไม่ใช่ประเด็นสำคัญในการบริหาร แต่ถือเป็นการสนับสนุนรัฐบาล ที่ต้องการให้อาชีพครู เป็นอาชีพที่มั่นคง
" ที่วุฒิสภาได้มีการปรับแก้ ร่าง พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูฯ ในบางมาตรายอมรับว่ามีผลกระทบต่อร่าง พ.ร.บ.ฉบับของสภาผู้แทนราษฎรที่เสนอเข้ามา แต่ในส่วนของ ศธ.ถือว่าประเด็นนี้ไม่ใช่ประเด็นสำคัญ เพราะถือว่าหาก พ.ร.บ.ฉบับนี้ออกไป การปรับโครงสร้างเงินเดือนของข้าราชการครูก็จะเปลี่ยนไป ระบบซีต่างๆ ก็จะยกเลิก เปลี่ยนมาใช้เงินเดือนที่มีอยู่ใน 6 แท่ง แต่ละแท่งจะมีจุดสูงสุดที่ไม่เหมือนกัน และจะไม่มีคำว่าอาจารย์ 3 อีกต่อไปซึ่งผมจะทำให้เร็วที่สุด โดยจะเสนอร่างพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูฯ และร่างพ.ร.บ.เงินเดือน เงินวิทยฐานะฯ เข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรภายในวันที่ 27 ต.ค. เพื่อให้ร่างพ.ร.บ.ทั้ง 2 ฉบับมีผลบังคับใช้ทันในสมัยรัฐบาลนี้ " นายอดิศัย กล่าว
ด้าน น.พ.ทศพร เสรีรักษ์ เลขานุการรมว.ศธ. กล่าวถึงกรณีที่สมาคมข้าราชการพลเรือน สังกัด ศธ.ระบุว่าจะมีการตั้งเครือข่ายต่อต้านไม่เลือกพรรคไทยรักไทย หากไม่มีการปรับแก้ ร่างพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูฯ เพื่อให้ข้าราชการพลเรือนรับเงินเดือนในบัญชีเดียวกันกับข้าราชการครู ว่า ไม่อยากให้นำเรื่องนี้มาเป็นประเด็นทางการเมืองว่าจะเลือกพรรคไทยรักไทยหรือไม่ ยืนยันว่าพวกเราทำงานโดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติและส่วนรวมเป็นที่ตั้ง
ด้านนายเฉลียว อยู่สีมารักษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) กล่าวว่า ในวันนี้ข้าราชการพลเรือนจะมาอ้างว่าเป็นบุคลากรทางการศึกษาแล้วไม่ได้ เนื่องจากต้องรอให้ พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครู มีผลบังคับใช้ก่อน จากนั้นเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ต้องมีคำสั่งแต่งตั้งให้ข้าราชการพลเรือนเป็นบุคลากรทางการศึกษาจึงจะถือว่ามีผลโดยสมบูรณ์
นอกจากนี้ พ.ร.บ.เงินเดือน เงินวิทยฐานะฯ มาตรา 3 ระบุว่า ผู้ที่จะได้รับเงินเดือนตามพ.ร.บ.ฉบับนี้ ต้องมีใบประกอบวิชาชีพครูเท่านั้น ผู้ที่ไม่มีใบประกอบวิชาชีพให้ไปรับเงินเดือนของข้าราชการพลเรือน ดังนั้นหากข้าราชการพลเรือนต้องการรับเงินเดือนบัญชีเดียวกับข้าราชการครูก็ต้องให้นายจักรพรรดิ์ วะทา เลขาธิการคุรุสภาเป็นผู้ออกให้ โดยไม่จำเป็นต้องไปแก้กฎหมายใดๆ ทั้งสิ้น
ร.ท.กุเทพ ใสกระจ่าง รองประธานอนุกรรมการวิปรัฐบาล กล่าวว่า ที่ประชุมได้วิเคราะห์ในเรื่องระยะเวลาการดำเนินงานเกี่ยวกับ ร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าวแล้ว คงเป็นเรื่องยากหากจะมีการตั้งคณะกรรมมาธิการร่วมสองสภา เพราะหากวุฒิสภามีเจตนาเสนอเรื่องดังกล่าวมาแล้ว และไปตั้ง กมธ.ร่วมอีก จะทำให้ไม่สามารถควบคุมเวลาได้ ซึ่งรมว.ศธ เห็นว่าเรื่องนี้เป็นประโยชน์กับครู ที่ประชุมจึงมีมติให้สนับสนุนร่างของวุฒิสภา
ดังนั้นวิปจะรับร่างของวุฒิสภาเพื่อให้ออกเป็นกฎหมายในทันที เพื่อไม่ต้องเป็นปัญหาและไม่ต้องมีการเล่นเกมการเมืองกันต่อ ซึ่งหากรัฐบาลมีการตั้งกมธ.ร่วม ก็จะมีการออกไปปล่อยข่าวอีกว่า รัฐบาลจะล้มร่าง พ.ร.บ.นี้ ซึ่งผิดข้อเท็จจริงและจะทำให้เกิดความสับสน ดังนั้นเมื่อมีการนำกฎหมายเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรก็จะมีการยกมือรับรองร่างของวุฒิ จากนั้นจะนำขึ้นทูลเกล้าฯ และให้ออกเป็นกฎหมายโดยเร็ว ซึ่งเชื่อว่าทันวาระของรัฐบาลชุดนี้แน่นอน
นายอดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังการหารือร่วมกับกรรมการวิปรัฐบาลถึงเรื่อง ร่างพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และร่างพ.ร.บ.เงินเดือน เงินวิทยฐานะและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ที่วุฒิสภาได้ปรับแก้ให้ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) และผู้อำนวยการสถานศึกษา ได้วิทยฐานะถึงเชี่ยวชาญพิเศษ ขณะที่รองผอ.สพท. และรองผอ.สถานศึกษา ได้วิทยฐานะแค่ชำนาญการ ว่า ที่ประชุมเห็นชอบและยอมรับตามที่วุฒิสภาได้ปรับแก้ โดยจะไม่มีการตั้งกรรมาธิการร่วม 2 สภา ทั้งนี้ เพื่อให้พ.ร.บ.ฉบับนี้ผ่านสภาโดยเร็ว ซึ่งจะมีการปรับโครงสร้างเงินเดือนของครู ให้มีฐานะความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ซึ่งถือเป็นนโยบายหลักของนายกรัฐมนตรี ดังนั้นการที่วุฒิสภาได้ปรับแก้ร่าง พ.ร.บ.จึงไม่ใช่ประเด็นสำคัญในการบริหาร แต่ถือเป็นการสนับสนุนรัฐบาล ที่ต้องการให้อาชีพครู เป็นอาชีพที่มั่นคง
" ที่วุฒิสภาได้มีการปรับแก้ ร่าง พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูฯ ในบางมาตรายอมรับว่ามีผลกระทบต่อร่าง พ.ร.บ.ฉบับของสภาผู้แทนราษฎรที่เสนอเข้ามา แต่ในส่วนของ ศธ.ถือว่าประเด็นนี้ไม่ใช่ประเด็นสำคัญ เพราะถือว่าหาก พ.ร.บ.ฉบับนี้ออกไป การปรับโครงสร้างเงินเดือนของข้าราชการครูก็จะเปลี่ยนไป ระบบซีต่างๆ ก็จะยกเลิก เปลี่ยนมาใช้เงินเดือนที่มีอยู่ใน 6 แท่ง แต่ละแท่งจะมีจุดสูงสุดที่ไม่เหมือนกัน และจะไม่มีคำว่าอาจารย์ 3 อีกต่อไปซึ่งผมจะทำให้เร็วที่สุด โดยจะเสนอร่างพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูฯ และร่างพ.ร.บ.เงินเดือน เงินวิทยฐานะฯ เข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรภายในวันที่ 27 ต.ค. เพื่อให้ร่างพ.ร.บ.ทั้ง 2 ฉบับมีผลบังคับใช้ทันในสมัยรัฐบาลนี้ " นายอดิศัย กล่าว
ด้าน น.พ.ทศพร เสรีรักษ์ เลขานุการรมว.ศธ. กล่าวถึงกรณีที่สมาคมข้าราชการพลเรือน สังกัด ศธ.ระบุว่าจะมีการตั้งเครือข่ายต่อต้านไม่เลือกพรรคไทยรักไทย หากไม่มีการปรับแก้ ร่างพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูฯ เพื่อให้ข้าราชการพลเรือนรับเงินเดือนในบัญชีเดียวกันกับข้าราชการครู ว่า ไม่อยากให้นำเรื่องนี้มาเป็นประเด็นทางการเมืองว่าจะเลือกพรรคไทยรักไทยหรือไม่ ยืนยันว่าพวกเราทำงานโดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติและส่วนรวมเป็นที่ตั้ง
ด้านนายเฉลียว อยู่สีมารักษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) กล่าวว่า ในวันนี้ข้าราชการพลเรือนจะมาอ้างว่าเป็นบุคลากรทางการศึกษาแล้วไม่ได้ เนื่องจากต้องรอให้ พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครู มีผลบังคับใช้ก่อน จากนั้นเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ต้องมีคำสั่งแต่งตั้งให้ข้าราชการพลเรือนเป็นบุคลากรทางการศึกษาจึงจะถือว่ามีผลโดยสมบูรณ์
นอกจากนี้ พ.ร.บ.เงินเดือน เงินวิทยฐานะฯ มาตรา 3 ระบุว่า ผู้ที่จะได้รับเงินเดือนตามพ.ร.บ.ฉบับนี้ ต้องมีใบประกอบวิชาชีพครูเท่านั้น ผู้ที่ไม่มีใบประกอบวิชาชีพให้ไปรับเงินเดือนของข้าราชการพลเรือน ดังนั้นหากข้าราชการพลเรือนต้องการรับเงินเดือนบัญชีเดียวกับข้าราชการครูก็ต้องให้นายจักรพรรดิ์ วะทา เลขาธิการคุรุสภาเป็นผู้ออกให้ โดยไม่จำเป็นต้องไปแก้กฎหมายใดๆ ทั้งสิ้น
ร.ท.กุเทพ ใสกระจ่าง รองประธานอนุกรรมการวิปรัฐบาล กล่าวว่า ที่ประชุมได้วิเคราะห์ในเรื่องระยะเวลาการดำเนินงานเกี่ยวกับ ร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าวแล้ว คงเป็นเรื่องยากหากจะมีการตั้งคณะกรรมมาธิการร่วมสองสภา เพราะหากวุฒิสภามีเจตนาเสนอเรื่องดังกล่าวมาแล้ว และไปตั้ง กมธ.ร่วมอีก จะทำให้ไม่สามารถควบคุมเวลาได้ ซึ่งรมว.ศธ เห็นว่าเรื่องนี้เป็นประโยชน์กับครู ที่ประชุมจึงมีมติให้สนับสนุนร่างของวุฒิสภา
ดังนั้นวิปจะรับร่างของวุฒิสภาเพื่อให้ออกเป็นกฎหมายในทันที เพื่อไม่ต้องเป็นปัญหาและไม่ต้องมีการเล่นเกมการเมืองกันต่อ ซึ่งหากรัฐบาลมีการตั้งกมธ.ร่วม ก็จะมีการออกไปปล่อยข่าวอีกว่า รัฐบาลจะล้มร่าง พ.ร.บ.นี้ ซึ่งผิดข้อเท็จจริงและจะทำให้เกิดความสับสน ดังนั้นเมื่อมีการนำกฎหมายเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรก็จะมีการยกมือรับรองร่างของวุฒิ จากนั้นจะนำขึ้นทูลเกล้าฯ และให้ออกเป็นกฎหมายโดยเร็ว ซึ่งเชื่อว่าทันวาระของรัฐบาลชุดนี้แน่นอน