โฆษกกระทรวงสาธารณสุขเตือนวัยรุ่นที่ฮิตฟังเพลงดัง ๆ ทั้งฟังในบ้าน ในรถ และเร่งเสียงเบสหนักสุดขีด ระวังปอดแตก เจ็บหน้าอก หายใจไม่ออก นักวิจัยต่างประเทศมีรายงานผู้ป่วยแล้ว แพทย์ต้องช่วยชีวิตโดยเจาะปอด ใส่ท่อระบายลมออกจากเยื่อหุ้มปอดออกเป็นการด่วน นอกจากนี้ ยังมีรายงานวิจัยอีกว่าหญิงที่กำลังตั้งครรภ์ 7 เดือน หลังที่ฟังเสียงเพลงดัง ๆ มีผลให้ชีพจรเด็กในครรภ์เต้นรัวผิดปกติอีกด้วย

นางนิตยา จันทร์เรือง มหาผล โฆษกกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้วัยรุ่นกำลังเสี่ยงกับการใช้เครื่องมือไฮเทค ไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบต่อสุขภาพ โดยเฉพาะการฟังเพลง ซึ่งความชอบทั่วไปของวัยรุ่นมักจะต้องฟังดัง ๆ เสียงเบสหนัก ๆ เพราะฟังแล้วสะใจในอารมณ์ บางคนบอกว่า มันตึ๊บดี บางรายลงทุนแต่งรถเพื่อประกวดความดังเครื่องเสียง กำลังฮิตในหมู่วัยรุ่นบางกลุ่มที่พอจะมีฐานะ ทั้งที่ปัญหาของการฟังเสียงที่ดังเกินมาตรฐาน ส่วนใหญ่จะกระทบต่อหู อาจทำให้หูหนวก หูตึง ไม่ได้ยินเสียงพูดในระดับปกติ ขณะนี้มีคนทั่วโลกกำลังมีปัญหานี้ถึง 120 ล้านคน นอกจากนั้นยังเปลี่ยนอัตราการเต้นของชีพจรและความดันโลหิตสูง
“รายงานการศึกษาว่าเสียงที่ดังกระแทกกระทั้น ทำให้ชีพจรของทารกในครรภ์แม่ที่อายุครรภ์ 7 เดือน เต้นผิดปกติ และเมื่อเร็ว ๆ นี้ วงการแพทย์ต่างประเทศได้ค้นพบปัญหาใหม่ที่เป็นผลกระทบจากเสียงดังเกินไปที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง โดยพบว่าการฟังเพลงที่เปิดดังมาก มีส่วนทำให้ปอดแฟบ เนื้อปอดไม่สามารถขยายได้ จะทำให้เกิดอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่ออก จากงานวิจัยดังกล่าวได้พบวัยรุ่นชายในสหรัฐ 4 คน มีปัญหาหายใจไม่ออก แน่นหน้าอก หลังจากที่ฟังเพลงที่เปิดเสียงดังมาก โดย 3 คนเกิดอาการระหว่างดูคอนเสิร์ต ส่วนวัยรุ่นอีก 1 คน เกิดอาการระหว่างฟังเพลงในรถยนต์ที่ขับเอง ซึ่งเด็กรายนี้ติดตั้งเบสขนาด 1,000 วัตต์ เนื่องจากเป็นคนที่ชอบฟังเพลงที่เสียงดัง ๆ ทั้งหมดนี้ หลังจากที่ได้นำส่งโรงพยาบาล แพทย์ได้ระบุอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่ออกเกิดมาจากการเกิดลมในช่องเยื่อหุ้มปอด ทำให้ปอดไม่สามารถขยายตัวได้ตามปกติ จึงได้ทำการเจาะปอด ใส่ท่อระบายลมออก เพื่อให้ปอดทำงานต่อไปได้ และผู้ป่วยประเภทนี้ก็พบที่ประเทศเบลเยียมเช่นกัน”นางนิตยากล่าว
โฆษกกระทรวงสาธารณสุข กล่าวอีกว่า สาเหตุที่ทำให้เกิดลมในเยื่อหุ้มปอดหลังฟังเพลงดัง ๆ เกิดเนื่องจากผลกระทบจากเสียงความถี่ของเบส ซึ่งเป็นคลื่นเสียงที่มีความทุ้มและหนัก เมื่อฟังแล้วทำให้รู้สึกสั่นสะเทือนไปทั้งตัว และน้ำในเซลล์ปอดก็จะสั่นสะเทือนไปด้วย จึงเป็นเหตุให้ปอดฉีกได้ ซึ่งในทางวิทยาศาสตร์ทั่วไป คลื่นเสียงก็จัดเป็นพลังงาน และสามารถรบกวนระบบการทำงานในร่างกายได้ เช่นเดียวกันวงการแพทย์ระบุว่าหากอยู่ในที่ที่มีระดับเสียงดังมากกว่า 80 เดซิเบลนาน ๆ จะทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจขาดเลือดตามมาได้ ดังนั้น จึงขอเตือนใจ วัยรุ่นไทยพึงระวัง ป้องกันไว้ก่อนจะปลอดภัย โดยหากจะฟังเพลงก็ควรเปิดระดับเสียงให้พอดี และหากชมดนตรีก็ไม่ควรยืนอยู่ใกล้ลำโพง หรืออยู่หน้าลำโพง เพราะอาจได้รับผลกระทบจากคลื่นเสียงได้ อย่างน้อยเบื้องต้นคือการป้องกันหูตึง ซึ่งเมื่อเร็ว ๆ นี้มีผลงานวิจัยผลกระทบของผู้ที่ทำงานในดิสโก้เธค ไทยที่อยู่ในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด 8 แห่ง ซึ่งเปิดเพลงดังเช่นกัน พบว่ามีพนักงานมีระดับการได้ยินผิดปกติสูงถึงร้อยละ 77 โดยในดิสโก้เธคมีระดับความดังเสียงสูงถึง 90-120 เดซิเบล บางที่วัดได้สูงถึง 148 เดซิเบล
นางนิตยา จันทร์เรือง มหาผล โฆษกกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้วัยรุ่นกำลังเสี่ยงกับการใช้เครื่องมือไฮเทค ไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบต่อสุขภาพ โดยเฉพาะการฟังเพลง ซึ่งความชอบทั่วไปของวัยรุ่นมักจะต้องฟังดัง ๆ เสียงเบสหนัก ๆ เพราะฟังแล้วสะใจในอารมณ์ บางคนบอกว่า มันตึ๊บดี บางรายลงทุนแต่งรถเพื่อประกวดความดังเครื่องเสียง กำลังฮิตในหมู่วัยรุ่นบางกลุ่มที่พอจะมีฐานะ ทั้งที่ปัญหาของการฟังเสียงที่ดังเกินมาตรฐาน ส่วนใหญ่จะกระทบต่อหู อาจทำให้หูหนวก หูตึง ไม่ได้ยินเสียงพูดในระดับปกติ ขณะนี้มีคนทั่วโลกกำลังมีปัญหานี้ถึง 120 ล้านคน นอกจากนั้นยังเปลี่ยนอัตราการเต้นของชีพจรและความดันโลหิตสูง
“รายงานการศึกษาว่าเสียงที่ดังกระแทกกระทั้น ทำให้ชีพจรของทารกในครรภ์แม่ที่อายุครรภ์ 7 เดือน เต้นผิดปกติ และเมื่อเร็ว ๆ นี้ วงการแพทย์ต่างประเทศได้ค้นพบปัญหาใหม่ที่เป็นผลกระทบจากเสียงดังเกินไปที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง โดยพบว่าการฟังเพลงที่เปิดดังมาก มีส่วนทำให้ปอดแฟบ เนื้อปอดไม่สามารถขยายได้ จะทำให้เกิดอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่ออก จากงานวิจัยดังกล่าวได้พบวัยรุ่นชายในสหรัฐ 4 คน มีปัญหาหายใจไม่ออก แน่นหน้าอก หลังจากที่ฟังเพลงที่เปิดเสียงดังมาก โดย 3 คนเกิดอาการระหว่างดูคอนเสิร์ต ส่วนวัยรุ่นอีก 1 คน เกิดอาการระหว่างฟังเพลงในรถยนต์ที่ขับเอง ซึ่งเด็กรายนี้ติดตั้งเบสขนาด 1,000 วัตต์ เนื่องจากเป็นคนที่ชอบฟังเพลงที่เสียงดัง ๆ ทั้งหมดนี้ หลังจากที่ได้นำส่งโรงพยาบาล แพทย์ได้ระบุอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่ออกเกิดมาจากการเกิดลมในช่องเยื่อหุ้มปอด ทำให้ปอดไม่สามารถขยายตัวได้ตามปกติ จึงได้ทำการเจาะปอด ใส่ท่อระบายลมออก เพื่อให้ปอดทำงานต่อไปได้ และผู้ป่วยประเภทนี้ก็พบที่ประเทศเบลเยียมเช่นกัน”นางนิตยากล่าว
โฆษกกระทรวงสาธารณสุข กล่าวอีกว่า สาเหตุที่ทำให้เกิดลมในเยื่อหุ้มปอดหลังฟังเพลงดัง ๆ เกิดเนื่องจากผลกระทบจากเสียงความถี่ของเบส ซึ่งเป็นคลื่นเสียงที่มีความทุ้มและหนัก เมื่อฟังแล้วทำให้รู้สึกสั่นสะเทือนไปทั้งตัว และน้ำในเซลล์ปอดก็จะสั่นสะเทือนไปด้วย จึงเป็นเหตุให้ปอดฉีกได้ ซึ่งในทางวิทยาศาสตร์ทั่วไป คลื่นเสียงก็จัดเป็นพลังงาน และสามารถรบกวนระบบการทำงานในร่างกายได้ เช่นเดียวกันวงการแพทย์ระบุว่าหากอยู่ในที่ที่มีระดับเสียงดังมากกว่า 80 เดซิเบลนาน ๆ จะทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจขาดเลือดตามมาได้ ดังนั้น จึงขอเตือนใจ วัยรุ่นไทยพึงระวัง ป้องกันไว้ก่อนจะปลอดภัย โดยหากจะฟังเพลงก็ควรเปิดระดับเสียงให้พอดี และหากชมดนตรีก็ไม่ควรยืนอยู่ใกล้ลำโพง หรืออยู่หน้าลำโพง เพราะอาจได้รับผลกระทบจากคลื่นเสียงได้ อย่างน้อยเบื้องต้นคือการป้องกันหูตึง ซึ่งเมื่อเร็ว ๆ นี้มีผลงานวิจัยผลกระทบของผู้ที่ทำงานในดิสโก้เธค ไทยที่อยู่ในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด 8 แห่ง ซึ่งเปิดเพลงดังเช่นกัน พบว่ามีพนักงานมีระดับการได้ยินผิดปกติสูงถึงร้อยละ 77 โดยในดิสโก้เธคมีระดับความดังเสียงสูงถึง 90-120 เดซิเบล บางที่วัดได้สูงถึง 148 เดซิเบล