กทม.นำระบบ ONE STOP SERVICE มาใช้ในการนับคะแนนเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.เพื่อความรวดเร็ว ถูกต้องแม่นยำ คาดรู้ผลไม่เกินตีหนึ่งใครนั่งเก้าอี้ผู้ว่าฯกทม. “พงษ์ศักดิ์” หวั่นมีการทุจริตการเลือกตั้งระหว่างขนหีบบัตรลงคะแนน เพราะมีหน่วยเลือกตั้งเกือบ 6 พันหน่วยและบางหน่วยอยู่ไกลต้องใช้เวลาขนย้ายกว่า 2 ชั่วโมง
นายพงษ์ศักดิ์ เกษมสันต์ รองปลัดกรุงเทพมหานคร กล่าวถึงการนำระบบประมวลผลคะแนนการเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.ผ่านคอมพิวเตอร์เครือข่ายพื้นฐานของกทม.ที่มีอยู่แล้ว คือระบบ MIS ที่ใช้ในการบริการ ONE STOP SERVICE เนื่องจากระบบนี้สามารถรายงานผลการนับคะแนนได้อย่างรวดเร็ว ชัดเจนและโปร่งใส
“ขั้นตอนในการเลือกตั้งในแต่ละครั้งเยอะมาก และใช้เวลาค่อนข้างนานกว่าจะทราบผล ทางกทม.จึงได้นำระบบ MIS ที่ใช้อยู่มาใช้ในการเลือกตั้ง ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ทดสอบมาระยะหนึ่งแล้วได้ผลเป็นที่น่าพึงพอใจ ที่สำคัญยังสะดวกรวดเร็วแถมยังโปร่งใส”
ทั้งนี้ ทางกทม.ได้จัดเตรียมระบบ MIS ซึ่งใช้คอมพิวเตอร์ทั้งหมด 21 เครื่อง โน้ตบุ๊กอีก 2 เครื่อง ปริ๊นเตอร์อีก 3 เครื่อง โดยเริ่มจากการนับคะแนนที่กระดานนับคะแนนของทางเจ้าหน้าที่ที่ประจำหน่วยเลือกตั้งทำการนับคะแนน แล้วส่งข้อมูลการนับคะแนนไปที่ผู้บันทึกข้อมูล ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่ตรวจสอบอยู่ประมาณ 4-6 คน หรือมากกว่านี้ขึ้นอยู่กับจำนวนของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในพื้นที่นั้นๆว่ามีมากน้อยแค่ไหน ซึ่งสัดส่วนของผู้มีสิทธิกับเจ้าหน้าที่จะต้องเฉลี่ยแล้วทางเจ้าหน้าที่สามารถตรวจสอบข้อมูลได้ไม่ผิดพลาด
เจ้าหน้าที่คนๆหนึ่งก็จะตรวจสอบผู้มีสิทธิลงคะแนนประมาณ 5,000-7,000 คน จากนั้นเมื่อตรวจสอบข้อมูลเรียบร้อยแล้วทางเจ้าหน้าที่จะทำการบันทึกข้อมูลเข้าระบบประมวลผลคอมพิวเตอร์ซึ่งจะต้องมีการตรวจสอบและยืนยันความถูกต้องอีกครั้งหนึ่ง และระบบคอมพิวเตอร์จะส่งข้อมูลไปยังศูนย์ควบคุมเครือข่ายทั้งหมดที่ศาลาว่าการ กทม.2 (ดินแดง) ก่อนส่งต่อไปประมวลผลที่ศาลาว่าการกทม. (เสาชิงช้า) เพื่อแสดงผลให้ประชาชนคะแนนให้ประชาชนได้ทราบเป็นระยะๆที่จอแสดงผลขนาด 200 นิ้ว จำนวน 2 จอ ที่หน้าศาลาว่าการกทม. (เสาชิงช้า) นอกจากนี้ประชาชนยังสามารถติดตามผลคะแนนได้ทางเว็บไซต์กรุงเทพมหานคร www.bma.go.th
เมื่อผลการรวบรวมคะแนนสิ้นสุดลงและทราบว่าผู้สมัครคนใดได้รับคัดเลือกแล้วทางเจ้าหน้าที่จะทำการรักษาหีบบัตรเลือกตั้งจากสำนักงานเขตทั้ง 50 เขต แล้วส่งไปยังกกต.ให้ตรวจสอบผลคะแนนอีกครั้งหนึ่งเพื่อให้ทางกกต.ประกาศผลยืนยันผลอย่างเป็นทางการอีกครั้งหนึ่งว่าใครคือผู้ว่าฯกทม.คนใหม่อีกครั้งหนึ่ง
ที่น่าเป็นห่วงในเรื่องการนับคะแนนนั้นจะอยู่ตรงขั้นตอนการรับหีบบัตรเลือกตั้งจากหน่วยเลือกตั้งแล้วให้ทางเจ้าหน้าที่ตรวจสอบนับแยกเป็นมัดๆละ 50 ใบ ใส่ถุงๆละ 500 ใบจากหน่วยเลือกตั้งแต่ละหน่วยมายังที่นับคะแนน แล้วนำมาคะเคล้ากันเพื่อให้ให้ทราบว่าบัตรเลือกตั้งถุงใดมาจากหน่วยไหนบ้าง จากนั้นก็จะรวบรวมการนับคะแนนที่หน่วยอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งในส่วนนี้จะใช้เวลาในการตรวจสอบอย่างละเอียดและรอบคอบเพื่อไม่ให้มีช่องว่างทำการทุจริตและมีความโปร่งใสของการนับคะแนนมากที่สุด
ส่วนเรื่องอื่นๆที่น่าห่วงก็จะเป็นเรื่องเส้นทางการขนส่งหีบบัตรเลือก เนื่องจากมีเกือบ 6 พันหน่วย และหลายหน่วยเลือกตั้งอยู่ไกลจากสถานที่นับคะแนน อย่างหมู่บ้านเสนาวิลล่า ย่านรามอินทรา ที่ต้องใช้ระยะเวลาขนหีบบัตรมายังที่นับคะแนนกว่า 3 ชั่วโมงจากที่ทำการทดลองขนส่งหีบบัตรในช่วงอาทิตย์ที่ผ่านมาและในหลายสำนักงานเขตมีหน่วยเลือกตั้งมากอย่างที่จตุกรที่มีถึง 202 หน่วยและที่ สำนักงานเขตบางที่มีจำนวน 195 หน่วย และที่สำคัญหากเกิดฝนตกในวันเลือกตั้งจะส่งผลต่อการนับคะแนนของ 19 สำนักงานเขตที่ไม่ได้ทำการนับคะแนนในสำนักงานเขตเพราะพื้นที่คับแคบ ซึ่งอาจจะทำให้เกิดการล่าช้าในการนับคะแนนแล้วส่งผลให้ทราบว่าใครได้เป็นผู้ว่าฯกทม.ประมาณ 01.00 น.
นายพงษ์ศักดิ์ เกษมสันต์ รองปลัดกรุงเทพมหานคร กล่าวถึงการนำระบบประมวลผลคะแนนการเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.ผ่านคอมพิวเตอร์เครือข่ายพื้นฐานของกทม.ที่มีอยู่แล้ว คือระบบ MIS ที่ใช้ในการบริการ ONE STOP SERVICE เนื่องจากระบบนี้สามารถรายงานผลการนับคะแนนได้อย่างรวดเร็ว ชัดเจนและโปร่งใส
“ขั้นตอนในการเลือกตั้งในแต่ละครั้งเยอะมาก และใช้เวลาค่อนข้างนานกว่าจะทราบผล ทางกทม.จึงได้นำระบบ MIS ที่ใช้อยู่มาใช้ในการเลือกตั้ง ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ทดสอบมาระยะหนึ่งแล้วได้ผลเป็นที่น่าพึงพอใจ ที่สำคัญยังสะดวกรวดเร็วแถมยังโปร่งใส”
ทั้งนี้ ทางกทม.ได้จัดเตรียมระบบ MIS ซึ่งใช้คอมพิวเตอร์ทั้งหมด 21 เครื่อง โน้ตบุ๊กอีก 2 เครื่อง ปริ๊นเตอร์อีก 3 เครื่อง โดยเริ่มจากการนับคะแนนที่กระดานนับคะแนนของทางเจ้าหน้าที่ที่ประจำหน่วยเลือกตั้งทำการนับคะแนน แล้วส่งข้อมูลการนับคะแนนไปที่ผู้บันทึกข้อมูล ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่ตรวจสอบอยู่ประมาณ 4-6 คน หรือมากกว่านี้ขึ้นอยู่กับจำนวนของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในพื้นที่นั้นๆว่ามีมากน้อยแค่ไหน ซึ่งสัดส่วนของผู้มีสิทธิกับเจ้าหน้าที่จะต้องเฉลี่ยแล้วทางเจ้าหน้าที่สามารถตรวจสอบข้อมูลได้ไม่ผิดพลาด
เจ้าหน้าที่คนๆหนึ่งก็จะตรวจสอบผู้มีสิทธิลงคะแนนประมาณ 5,000-7,000 คน จากนั้นเมื่อตรวจสอบข้อมูลเรียบร้อยแล้วทางเจ้าหน้าที่จะทำการบันทึกข้อมูลเข้าระบบประมวลผลคอมพิวเตอร์ซึ่งจะต้องมีการตรวจสอบและยืนยันความถูกต้องอีกครั้งหนึ่ง และระบบคอมพิวเตอร์จะส่งข้อมูลไปยังศูนย์ควบคุมเครือข่ายทั้งหมดที่ศาลาว่าการ กทม.2 (ดินแดง) ก่อนส่งต่อไปประมวลผลที่ศาลาว่าการกทม. (เสาชิงช้า) เพื่อแสดงผลให้ประชาชนคะแนนให้ประชาชนได้ทราบเป็นระยะๆที่จอแสดงผลขนาด 200 นิ้ว จำนวน 2 จอ ที่หน้าศาลาว่าการกทม. (เสาชิงช้า) นอกจากนี้ประชาชนยังสามารถติดตามผลคะแนนได้ทางเว็บไซต์กรุงเทพมหานคร www.bma.go.th
เมื่อผลการรวบรวมคะแนนสิ้นสุดลงและทราบว่าผู้สมัครคนใดได้รับคัดเลือกแล้วทางเจ้าหน้าที่จะทำการรักษาหีบบัตรเลือกตั้งจากสำนักงานเขตทั้ง 50 เขต แล้วส่งไปยังกกต.ให้ตรวจสอบผลคะแนนอีกครั้งหนึ่งเพื่อให้ทางกกต.ประกาศผลยืนยันผลอย่างเป็นทางการอีกครั้งหนึ่งว่าใครคือผู้ว่าฯกทม.คนใหม่อีกครั้งหนึ่ง
ที่น่าเป็นห่วงในเรื่องการนับคะแนนนั้นจะอยู่ตรงขั้นตอนการรับหีบบัตรเลือกตั้งจากหน่วยเลือกตั้งแล้วให้ทางเจ้าหน้าที่ตรวจสอบนับแยกเป็นมัดๆละ 50 ใบ ใส่ถุงๆละ 500 ใบจากหน่วยเลือกตั้งแต่ละหน่วยมายังที่นับคะแนน แล้วนำมาคะเคล้ากันเพื่อให้ให้ทราบว่าบัตรเลือกตั้งถุงใดมาจากหน่วยไหนบ้าง จากนั้นก็จะรวบรวมการนับคะแนนที่หน่วยอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งในส่วนนี้จะใช้เวลาในการตรวจสอบอย่างละเอียดและรอบคอบเพื่อไม่ให้มีช่องว่างทำการทุจริตและมีความโปร่งใสของการนับคะแนนมากที่สุด
ส่วนเรื่องอื่นๆที่น่าห่วงก็จะเป็นเรื่องเส้นทางการขนส่งหีบบัตรเลือก เนื่องจากมีเกือบ 6 พันหน่วย และหลายหน่วยเลือกตั้งอยู่ไกลจากสถานที่นับคะแนน อย่างหมู่บ้านเสนาวิลล่า ย่านรามอินทรา ที่ต้องใช้ระยะเวลาขนหีบบัตรมายังที่นับคะแนนกว่า 3 ชั่วโมงจากที่ทำการทดลองขนส่งหีบบัตรในช่วงอาทิตย์ที่ผ่านมาและในหลายสำนักงานเขตมีหน่วยเลือกตั้งมากอย่างที่จตุกรที่มีถึง 202 หน่วยและที่ สำนักงานเขตบางที่มีจำนวน 195 หน่วย และที่สำคัญหากเกิดฝนตกในวันเลือกตั้งจะส่งผลต่อการนับคะแนนของ 19 สำนักงานเขตที่ไม่ได้ทำการนับคะแนนในสำนักงานเขตเพราะพื้นที่คับแคบ ซึ่งอาจจะทำให้เกิดการล่าช้าในการนับคะแนนแล้วส่งผลให้ทราบว่าใครได้เป็นผู้ว่าฯกทม.ประมาณ 01.00 น.