กรมอนามัยชูหนังสือ “190 เมนูชูสุขภาพ” เป็นแนวทางในการกินอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี ประกอบด้วยรายการอาหารไขมันต่ำ เส้นใย แคลเซียมสูง อุดมด้วยวิตามินเอและธาตุเหล็ก พร้อมแจกฟรีเมื่อซื้อหนังสือกินตามแม่ ขณะที่นายกสมาคมภัตตาคารไทยพ้อนายกฯ ทุ่มเงิน 800 ล้านบาท หนุนครัวไทยสู่ครัวโลก แต่ไม่มีงบพัฒนาครัวไทยในประเทศ
น.พ.โสภณ เมฆธน รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวภายหลังเป็นประธานแถลงเปิดตัวหนังสือ “190 เมนูชูสุขภาพ” ในงานสืบสานปณิธานอาหารปลอดภัยถวายแด่แม่ของแผ่นดิน ว่า ที่ผ่านมากรมอนามัยได้รณรงค์ให้ประชาชนบริโภคอาหารหลัก 5 หมู่ แต่ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจรูปธรรม จึงมีโครงการรณรงค์โภชนบัญญัติ 9 ประการ และธงโภชนาการ แจกแจงรายละเอียดการบริโภคอาหาร
แต่ทั้งนี้ ยังมีประชาชนอีกส่วนหนึ่งที่ไม่รู้ว่าอาหารชนิดใดรับประทานแล้วได้สารอาหารครบถ้วนหรือเป็นอาหารเพื่อสุขภาพ ดังนั้น กองโภชนาการ กรมอนามัย จึงระดมนักวิชาการ วิเคราะห์รายการอาหารว่า เมนูใดมีไขมันไม่เกินร้อยละ 30 ไม่หวานจัด มันจัด เค็มจัด เปรี้ยวจัด ให้คุณค่าทางโภชนาการไม่ต่ำกว่า 4 หมู่ ปรุงด้วยอาหารปลอดสารปนเปื้อน เน้นการปรุงด้วยวิธีนึ่ง ต้ม ย่าง ยำ อบ
ถ้าเป็นประเภทผัดหรือแกงกะทิ ต้องใช้น้ำมันหรือกะทิแต่พอควร ซึ่งขณะนี้รวบรวมได้ 190 เมนู พิมพ์เป็นหนังสือภาพสีสวยงามหนา 36 หน้า เพื่อให้ประชาชนทั่วไป และผู้ประกอบการร้านอาหารใช้เป็นแนวทางในการเลือกบริโภค และประกอบอาหารที่มีคุณค่าต่อร่างกาย ประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมในแต่ละท้องถิ่น ซึ่งผู้ที่ซื้อหนังสือกินตามแม่ราคา 99 บาท จะได้รับแถมฟรีหนังสือ 190 เมนูชูสุขภาพนี้
ด้าน พ.ญ.แสงโสม สีนะวัฒน์ ผู้อำนวยการกองโภชนาการ กล่าวว่า หนังสือ 190 เมนูชูสุขภาพนี้ไม่ใช่ตำรับอาหาร ไม่ได้แจกแจงวิธีการปรุง แต่เป็นคู่มือให้คนไทยได้เลือกกินอาหารเพื่อสุขภาพ แบ่งเป็นเมนูชูสุขภาพให้ใยอาหารสูง ให้แคลเซียมสูง ให้วิตามินเอและธาตุเหล็กสูง และกลุ่มที่มีไขมันต่ำ
นอกจากนี้ ยังบอกสรรพคุณของแต่ละเมนูด้วย เช่น น้ำพริกชนิดต่าง ๆ จะต้องรับประทานควบคู่กับผัก เช่น ถั่วพู ถั่วฝักยาว ดอกแค มะระ แตงกวา ซึ่งล้วนแต่ให้ใยอาหารสูง โดยน้ำพริกมีพริกเป็นส่วนประกอบให้สารแคปไซซิน สารเบตาแคโรทีนจากผักต่าง ๆ ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง ส่วนประเภทยำ เช่น ยำตะไคร้ใส่กุ้งสดหรือกุ้งกรอบ มีตะไคร้เป็นส่วนประกอบสำคัญ สรรพคุณช่วยขับลม แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด
“กลุ่มใยอาหารสูง เช่น ข้าวยำปักษ์ใต้ ยำสมุนไพร แกงแค แกงขี้เหล็ก แกงเลียง แกงหอยขม น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกขี้กา , กลุ่มให้แคลเซียมสูง เช่น ยำยอดคะน้า ย้ำผักกระเฉด ยำปลาทู ลาบเต้าหู้ทรงเครื่อง แกงส้มดอกแค แกงส้มสมุนไพร ก๋วยเตี๋ยวราดหน้า , กลุ่มให้วิตามินเอและธาตุเหล็กสูง เช่น ยำยอดมะระหวาน ยำผักหวาน ยำผักกูด ยำใบบัวบก เมี่ยงปลาทู เมี่ยงคะน้า ข้าวกั้นจิ้น ลาบหมู ลาบเนื้อ ลาบเป็ด ลาบคั่ว ลาบไก่ และกลุ่มที่มีไขมันต่ำ เช่น ปลากระพงปลากรายลวกจิ้ม ปลาทับทิมนึ่งแจ่ว ส้มตำผลไม้ ตำมะเขือ แกงหน่อไม้ใบย่านาง เป็นต้น” พญ.แสงโสม กล่าว
ด้านนางปวรวรรณ กุลมงคล นายกสมาคมภัตตาคารไทย กล่าวว่า เป็นโอกาสดีที่ผู้ประกอบการร้านอาหารจะได้พัฒนาร้านให้ได้มาตรฐานอาหารสะอาดรสชาติอร่อย จากนั้นส่งเมนูอาหารของร้านเข้ารับการตรวจวิเคราะห์ที่กรมอนามัย ซึ่งไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ทั้งยังเพิ่มมูลค่าเพิ่มให้กับอาหารในร้าน มีคุณค่าต่อร่างกาย โดยชมรมผู้ประกอบการร้านอาหาร 230 ชมรมกว่า 55,000 ร้าน พร้อมสนับสนุนนโยบายของกรมอนามัย
นอกจากนี้ แม้รัฐบาลจะสนับสนุนให้ครัวไทยสู่ครัวโลก โดยมีงบประมาณถึง 800 ล้านบาท แต่ไม่มีงบสนับสนุนผู้ประกอบการร้านอาหารในประเทศ ต้องดิ้นรนต่อสู้ทำธุรกิจเอง ตนจึงเรียกร้องให้สื่อมวลชนให้ความสำคัญกับความสะอาด คุณภาพของวัตถุดิบที่ปรุงอาหารด้วย เนื่องจากปัจจุบันเน้นแต่ความอร่อยหรือความแปลกของอาหารเท่านั้น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรมอนามัยได้แจกป้าย “เมนูชูสุขภาพ”ให้ร้านอาหารในกรุงเทพฯ ด้วย 12 ร้าน เช่น ห้องอาหารวิจิตร ถนนราชดำเนินกลาง มีเมนูชูสุขภาพคือ ยำมะระกุ้งสด เมี่ยงคะน้า แกงป่ากระชายดำ แกงเลียงผักหวานบ้าน , อุทยานอาหารวชิรปราการ มีเมนูส้มตำเรือนธาตุ เป็นต้น
น.พ.โสภณ เมฆธน รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวภายหลังเป็นประธานแถลงเปิดตัวหนังสือ “190 เมนูชูสุขภาพ” ในงานสืบสานปณิธานอาหารปลอดภัยถวายแด่แม่ของแผ่นดิน ว่า ที่ผ่านมากรมอนามัยได้รณรงค์ให้ประชาชนบริโภคอาหารหลัก 5 หมู่ แต่ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจรูปธรรม จึงมีโครงการรณรงค์โภชนบัญญัติ 9 ประการ และธงโภชนาการ แจกแจงรายละเอียดการบริโภคอาหาร
แต่ทั้งนี้ ยังมีประชาชนอีกส่วนหนึ่งที่ไม่รู้ว่าอาหารชนิดใดรับประทานแล้วได้สารอาหารครบถ้วนหรือเป็นอาหารเพื่อสุขภาพ ดังนั้น กองโภชนาการ กรมอนามัย จึงระดมนักวิชาการ วิเคราะห์รายการอาหารว่า เมนูใดมีไขมันไม่เกินร้อยละ 30 ไม่หวานจัด มันจัด เค็มจัด เปรี้ยวจัด ให้คุณค่าทางโภชนาการไม่ต่ำกว่า 4 หมู่ ปรุงด้วยอาหารปลอดสารปนเปื้อน เน้นการปรุงด้วยวิธีนึ่ง ต้ม ย่าง ยำ อบ
ถ้าเป็นประเภทผัดหรือแกงกะทิ ต้องใช้น้ำมันหรือกะทิแต่พอควร ซึ่งขณะนี้รวบรวมได้ 190 เมนู พิมพ์เป็นหนังสือภาพสีสวยงามหนา 36 หน้า เพื่อให้ประชาชนทั่วไป และผู้ประกอบการร้านอาหารใช้เป็นแนวทางในการเลือกบริโภค และประกอบอาหารที่มีคุณค่าต่อร่างกาย ประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมในแต่ละท้องถิ่น ซึ่งผู้ที่ซื้อหนังสือกินตามแม่ราคา 99 บาท จะได้รับแถมฟรีหนังสือ 190 เมนูชูสุขภาพนี้
ด้าน พ.ญ.แสงโสม สีนะวัฒน์ ผู้อำนวยการกองโภชนาการ กล่าวว่า หนังสือ 190 เมนูชูสุขภาพนี้ไม่ใช่ตำรับอาหาร ไม่ได้แจกแจงวิธีการปรุง แต่เป็นคู่มือให้คนไทยได้เลือกกินอาหารเพื่อสุขภาพ แบ่งเป็นเมนูชูสุขภาพให้ใยอาหารสูง ให้แคลเซียมสูง ให้วิตามินเอและธาตุเหล็กสูง และกลุ่มที่มีไขมันต่ำ
นอกจากนี้ ยังบอกสรรพคุณของแต่ละเมนูด้วย เช่น น้ำพริกชนิดต่าง ๆ จะต้องรับประทานควบคู่กับผัก เช่น ถั่วพู ถั่วฝักยาว ดอกแค มะระ แตงกวา ซึ่งล้วนแต่ให้ใยอาหารสูง โดยน้ำพริกมีพริกเป็นส่วนประกอบให้สารแคปไซซิน สารเบตาแคโรทีนจากผักต่าง ๆ ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง ส่วนประเภทยำ เช่น ยำตะไคร้ใส่กุ้งสดหรือกุ้งกรอบ มีตะไคร้เป็นส่วนประกอบสำคัญ สรรพคุณช่วยขับลม แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด
“กลุ่มใยอาหารสูง เช่น ข้าวยำปักษ์ใต้ ยำสมุนไพร แกงแค แกงขี้เหล็ก แกงเลียง แกงหอยขม น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกขี้กา , กลุ่มให้แคลเซียมสูง เช่น ยำยอดคะน้า ย้ำผักกระเฉด ยำปลาทู ลาบเต้าหู้ทรงเครื่อง แกงส้มดอกแค แกงส้มสมุนไพร ก๋วยเตี๋ยวราดหน้า , กลุ่มให้วิตามินเอและธาตุเหล็กสูง เช่น ยำยอดมะระหวาน ยำผักหวาน ยำผักกูด ยำใบบัวบก เมี่ยงปลาทู เมี่ยงคะน้า ข้าวกั้นจิ้น ลาบหมู ลาบเนื้อ ลาบเป็ด ลาบคั่ว ลาบไก่ และกลุ่มที่มีไขมันต่ำ เช่น ปลากระพงปลากรายลวกจิ้ม ปลาทับทิมนึ่งแจ่ว ส้มตำผลไม้ ตำมะเขือ แกงหน่อไม้ใบย่านาง เป็นต้น” พญ.แสงโสม กล่าว
ด้านนางปวรวรรณ กุลมงคล นายกสมาคมภัตตาคารไทย กล่าวว่า เป็นโอกาสดีที่ผู้ประกอบการร้านอาหารจะได้พัฒนาร้านให้ได้มาตรฐานอาหารสะอาดรสชาติอร่อย จากนั้นส่งเมนูอาหารของร้านเข้ารับการตรวจวิเคราะห์ที่กรมอนามัย ซึ่งไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ทั้งยังเพิ่มมูลค่าเพิ่มให้กับอาหารในร้าน มีคุณค่าต่อร่างกาย โดยชมรมผู้ประกอบการร้านอาหาร 230 ชมรมกว่า 55,000 ร้าน พร้อมสนับสนุนนโยบายของกรมอนามัย
นอกจากนี้ แม้รัฐบาลจะสนับสนุนให้ครัวไทยสู่ครัวโลก โดยมีงบประมาณถึง 800 ล้านบาท แต่ไม่มีงบสนับสนุนผู้ประกอบการร้านอาหารในประเทศ ต้องดิ้นรนต่อสู้ทำธุรกิจเอง ตนจึงเรียกร้องให้สื่อมวลชนให้ความสำคัญกับความสะอาด คุณภาพของวัตถุดิบที่ปรุงอาหารด้วย เนื่องจากปัจจุบันเน้นแต่ความอร่อยหรือความแปลกของอาหารเท่านั้น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรมอนามัยได้แจกป้าย “เมนูชูสุขภาพ”ให้ร้านอาหารในกรุงเทพฯ ด้วย 12 ร้าน เช่น ห้องอาหารวิจิตร ถนนราชดำเนินกลาง มีเมนูชูสุขภาพคือ ยำมะระกุ้งสด เมี่ยงคะน้า แกงป่ากระชายดำ แกงเลียงผักหวานบ้าน , อุทยานอาหารวชิรปราการ มีเมนูส้มตำเรือนธาตุ เป็นต้น