นับเป็นความภาคภูมิใจของคนไทยที่ไม่เคยตกเป็นอาณานิคมของชาติใด ทำให้ยังไม่มีนักสำรวจหรือนักล่าพรรณไม้จากซีกโลกตะวันตกเข้ามาสำรวจป่าในประเทศเหมือนเพื่อนบ้านใกล้เคียงมากมายนัก ซึ่งส่งผลให้ยังคงมีความหลากหลายทางชีวภาพสูงอยู่ในหลายพื้นที่
ล่าสุดนักวิทยาศาสตร์ไทยได้มีการค้นพบพรรณไม้พันธุ์ใหม่ของโลก และได้รับพระราชทานพระราชานุญาติจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ให้อัญเชิญพระนามาภิไธยเป็นชื่อพรรณไม้ ว่า"มหาพรหมราชินี"

ดร.ปิยะ เฉลิมกลิ่น ผู้อำนวยการฝ่ายเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย(วว.) ซึ่งเป็นผู้ค้นพบมหาพรหมราชินีภายใต้โครงการวิจัยเรื่องการรวบรวมและจำแนกพรรณไม้ในวงศ์กระดังงาทั่วประเทศ ให้ข้อมูลว่า มหาพรหมราชินีเป็นไม้วงศ์กระดังงาชนิดใหม่ของโลกโดยพบบริเวณยอดเขาในเขตอุทยานแห่งชาติน้ำตกแม่สุรินทร์ จังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งมีสภาพนิเวศวิทยาในพื้นที่สูงชันในป่าดิบเขา ในระดับความสูง 1,100 เมตร มีลมแรงและอากาศหนาวเย็นจัดในช่วงฤดูหนาว มีความชื้อสัมพัทธปานกลางค่อนข้างสูง
ทั้งนี้ การค้นพบดังกล่าวได้รับการรับรองจาก DR. Aruna Weerasooriya ผู้เชี่ยวชาญด้านพรรณไม้สกุลมหาพรหมแห่งมหาวิทยาลัยฮ่องกง ซึ่งข้อมูลทางพฤกษาศาสตร์ของมหาพรหมราชินีจะลงตีพิมพ์ในวารสาร Nordic Journal of Botany แห่งประเทศเดนมาร์ก
"การค้นพบมหาพรหมราชินีนับเป็นความบังเอิญอย่างมาก เพราะเป็นการพบระหว่างที่กำลังวิจัยเรื่องพรรณไม้วงศ์กระดังงาทั่วประเทศ"

ดร.ปิยะอธิบายเพิ่มเติมว่า ในปัจจุบันทั่วโลกมีไม้ในสกุลมหาพรหม 48 ชนิด ในประเทศไทย มี 7 ชนิด รวมมหาพรหมราชินีเป็น 8 ชนิด มหาพรหมราชินีเป็นพันธุ์ไม้ที่มีความคล้ายคลึงกับมหาพรหมเนื่องจากอยู่ในสกุลเดียวกัน จัดอยู่ในพันธุ์ไม้ป่าหายากและใกล้สูญพันธุ์
ข้อเด่นของมหาพรหมราชินีคือ เป็นไม้ดอกที่มีขนาดดอกใหญ่ที่สุดในบรรดามหาพรหมสกุลเดียวกัน มีดอกดก ลักษณะของดอกมีโคนกลีบสีเขียวอ่อน ปลายกลีบสีม่วงเข้ม รูปร่างคล้ายกระเช้า สวยกว่า มีกลิ่นหอมอ่อนๆ โดยเฉพาะในช่วงเย็นจะหอมมากๆ ดอกบานอยู่ได้นาน 3-5 วัน อีกทั้งมีผลสุขหวานกินได้
ส่วนความแตกต่างระหว่างมหาพรหมและมหาพรหมราชินีอย่างชัดเจน คือ มหาพรหมจะมีลักษณะใบกลมมน หนามีขนนุ่มทั้ง 2 ด้าน ส่วนมหาพรหมราชินีจะมีลักษณะใบแหลม เรียบเป็นมันทั้ง 2 ด้าน
สำหรับสรรพคุณทางยา ขณะนี้ยังไม่ได้ทำวิจัยออกมาเพียงแต่แยกดีเอ็นเอในสายพันธุ์ และกำลังตรวจหาสารที่นำไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไป
"มหาพรหมราชินีในสภาพธรรมชาติเหลือไม่ถึง 20 ต้น เบื้องต้นเราพยายามขยายพันธุ์ปลูกอย่างกว้างขวาง อนุรักษ์โดยการสนับสนุนให้ประชาชนปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับมากๆ ส่วนการที่จะอนุรักษ์ให้อยู่กับธรรมชาติเป็นไปได้ยากเพราะเราไม่สามารถควบคุมธรรมชาติได้ อย่างไรก็ตาม ในอนาคตมีแนวโน้มที่สามารถพัฒนาเป็นไม้ดอกไม้ประดับเศรษฐกิจสามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชนได้"
"ทั้งนี้ วว.ตั้งเป้าเอาไว้ว่าจะสามารถขยายพันธุมหาพรหมราชินีและสามารถนำมาจำหน่ายได้ในช่วงต้นปีหน้า ซึ่งประชาชนที่สนใจสามารถขอรับคำแนะนำคำปรึกษาได้ที่ ฝ่ายเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(วว.) โทร 0-2577-9000 ในวันแลเวลาราชการ"
ดร.ปิยะบอกด้วยว่า ในประเทศไทยได้มีการเก็บตัวอย่างแห้งมหาพรหมราชินีที่เป็น "ต้นแบบ" ไว้ที่หอพรรณไม้ของสวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ รวมทั้งมีการเก็บตัวอย่างแห้งที่เป็น isotype ใช้แทนตัวอย่าง หากมีการชำรุดเสียหายไว้ที่หอพรรณไม้สิรินธร กรมวิชาการเกษตร หอพรรณไม้กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพรรณพืช หอพรรณไม้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และที่ วว.เทคโนธานี คลองห้า
นอกจากนี้ ยังมีการเก็บตัวอย่างไว้ที่หอพรรณไม้สำคัญของโลก 5 แห่งด้วยกันคือ หอพรรณไม้มหาวิทยาลัยออฮุส ประเทศเดนมาร์ก หอพรรณไม้มหาวิทยาลัยโคเปนฮาเกน หอพรรณไม้สวนพฤกษาศาสตร์คิว ประเทศอังกฤษ หอพรรณไม้ไลเดน ประเทศเนเธอร์แลนด์และหอพรรณไม้มหาวิทยาลัยฮ่องกง

ตัวตนของ "มหาพรหมราชินี"
มหาพรหมราชินีมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Mitrephora sirikitiae Weerasooriya,Chalermglin & R.M.K. Saunders มีถิ่นกำเนิดอยู่ในบริเวณที่แคบๆ ของยอดเขาสูงชันที่ระดับความสูง 1,100 เมตร ในเขตอำเภอเมืองจังหวัดแม่ฮ่องสอน นับเป็นพรรณไม้เฉพาะถิ่น (endemic) เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น ทั้งยังเป็นพรรณไม้หายาก เนื่องจากมีจำนวนต้นในสภาพถิ่นกำเนิดน้อยมากและมีการกระจายพันธุ์ต่ำ
ลักษณะของต้นมหาพรหมราชินี เป็นไม้ต้นขนาดเล็กสูง 4-6 เมตร ลำต้นมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 5-8 เซนติเมตร เปลือกลำต้นสีน้ำตาล กิ่งอ่อนมีขนอ่อนคลุมอยู่ ใบมีรูปหอก กว้าง 4-9 เซนติเมตร ยาว 11-19 เซนติเมตร เนื้อใบค่อนข้างหนา ผิวใบ เรียบเป็นมันทั้ง 2 ด้าน โคนใบและปลายใบแหลม มีเส้นใบแขนงใบจำนวน 8-11 คู่
ดอกมีลักษณะเป็นดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อ 1-3 ดอก ออกที่ใกล้ปลายยอด เป็นพรรณไม้ที่มีดอกใหญ่ที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับดอกของพรรณไม้อื่นๆ ในสกุลมหาพรหมเดียวกัน คือ เมื่อบานเต็มที่มีดอกเส้นผ่านศูนย์กลาง 10 เซนติเมตร ก้านดอกยาว 1.8-2.7 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงมี 3 กลีบ รูปไข่กว้าง 2 เซนติเมตร ยาว 1.5 เซนติเมตร กลีบดอกมี 6 กลีบ เรียงเป็น 2 ชั้น ๆละ 3 กลีบ
กลีบดอกชั้นนอกเป็นรูปไข่ กว้าง 4.1-5.3 เซนติเมตร โคนกลีบบาน ปลายกลีบเรียวแหลมกลีบบางสีขาวมีลายเส้นเรียงตามความยาวของใบ กลีบดอกชั้นในกว้าง 3.6-4.1 เซนติเมตร ยาว 3.7-4.3 เซนติเมตร โคนกลีบสีเขียวอ่อน ปลายกลีบสีม่วงเข้ม กระดกงอขึ้นและประกบติดกันเป็นรูปกระเช้า แต่ละดอกบานอยู่ได้ 3-5 วัน กลิ่นหอมอ่อนๆ มีฤดูดอกบานเต็มต้นในช่วงเดือนพฤษภาคม
ส่วนผล เป็นผลกลุ่มมีผลย่อย 10-15 ผล รูปทรงกระบอกเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.2-2.4 เซนติเมตร ยาว 5.5-8 เซนติเมตร มีขนอ่อนปกคลุมหนาแน่นมี ซึ่งจะมีผลแก่ในช่วงเดือนตุลาคม
สำหรับการขยายพันธ์ที่ดีที่สุดคือการทาบกิ่ง เพาะเมล็ด เสียบยอด ส่วนการตอนปักกิ่งและการปักชำจะใช้ระยะเวลานานและได้ผลต่ำ แต่ที่น่าสนใจคือการปลูกนั้นดูแลไม่ยาก และใช้เวลาประมาณ 2-3 ปีก็ออกดอกให้เชยชมได้แล้ว
ล่าสุดนักวิทยาศาสตร์ไทยได้มีการค้นพบพรรณไม้พันธุ์ใหม่ของโลก และได้รับพระราชทานพระราชานุญาติจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ให้อัญเชิญพระนามาภิไธยเป็นชื่อพรรณไม้ ว่า"มหาพรหมราชินี"
ดร.ปิยะ เฉลิมกลิ่น ผู้อำนวยการฝ่ายเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย(วว.) ซึ่งเป็นผู้ค้นพบมหาพรหมราชินีภายใต้โครงการวิจัยเรื่องการรวบรวมและจำแนกพรรณไม้ในวงศ์กระดังงาทั่วประเทศ ให้ข้อมูลว่า มหาพรหมราชินีเป็นไม้วงศ์กระดังงาชนิดใหม่ของโลกโดยพบบริเวณยอดเขาในเขตอุทยานแห่งชาติน้ำตกแม่สุรินทร์ จังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งมีสภาพนิเวศวิทยาในพื้นที่สูงชันในป่าดิบเขา ในระดับความสูง 1,100 เมตร มีลมแรงและอากาศหนาวเย็นจัดในช่วงฤดูหนาว มีความชื้อสัมพัทธปานกลางค่อนข้างสูง
ทั้งนี้ การค้นพบดังกล่าวได้รับการรับรองจาก DR. Aruna Weerasooriya ผู้เชี่ยวชาญด้านพรรณไม้สกุลมหาพรหมแห่งมหาวิทยาลัยฮ่องกง ซึ่งข้อมูลทางพฤกษาศาสตร์ของมหาพรหมราชินีจะลงตีพิมพ์ในวารสาร Nordic Journal of Botany แห่งประเทศเดนมาร์ก
"การค้นพบมหาพรหมราชินีนับเป็นความบังเอิญอย่างมาก เพราะเป็นการพบระหว่างที่กำลังวิจัยเรื่องพรรณไม้วงศ์กระดังงาทั่วประเทศ"
ดร.ปิยะอธิบายเพิ่มเติมว่า ในปัจจุบันทั่วโลกมีไม้ในสกุลมหาพรหม 48 ชนิด ในประเทศไทย มี 7 ชนิด รวมมหาพรหมราชินีเป็น 8 ชนิด มหาพรหมราชินีเป็นพันธุ์ไม้ที่มีความคล้ายคลึงกับมหาพรหมเนื่องจากอยู่ในสกุลเดียวกัน จัดอยู่ในพันธุ์ไม้ป่าหายากและใกล้สูญพันธุ์
ข้อเด่นของมหาพรหมราชินีคือ เป็นไม้ดอกที่มีขนาดดอกใหญ่ที่สุดในบรรดามหาพรหมสกุลเดียวกัน มีดอกดก ลักษณะของดอกมีโคนกลีบสีเขียวอ่อน ปลายกลีบสีม่วงเข้ม รูปร่างคล้ายกระเช้า สวยกว่า มีกลิ่นหอมอ่อนๆ โดยเฉพาะในช่วงเย็นจะหอมมากๆ ดอกบานอยู่ได้นาน 3-5 วัน อีกทั้งมีผลสุขหวานกินได้
ส่วนความแตกต่างระหว่างมหาพรหมและมหาพรหมราชินีอย่างชัดเจน คือ มหาพรหมจะมีลักษณะใบกลมมน หนามีขนนุ่มทั้ง 2 ด้าน ส่วนมหาพรหมราชินีจะมีลักษณะใบแหลม เรียบเป็นมันทั้ง 2 ด้าน
สำหรับสรรพคุณทางยา ขณะนี้ยังไม่ได้ทำวิจัยออกมาเพียงแต่แยกดีเอ็นเอในสายพันธุ์ และกำลังตรวจหาสารที่นำไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไป
"มหาพรหมราชินีในสภาพธรรมชาติเหลือไม่ถึง 20 ต้น เบื้องต้นเราพยายามขยายพันธุ์ปลูกอย่างกว้างขวาง อนุรักษ์โดยการสนับสนุนให้ประชาชนปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับมากๆ ส่วนการที่จะอนุรักษ์ให้อยู่กับธรรมชาติเป็นไปได้ยากเพราะเราไม่สามารถควบคุมธรรมชาติได้ อย่างไรก็ตาม ในอนาคตมีแนวโน้มที่สามารถพัฒนาเป็นไม้ดอกไม้ประดับเศรษฐกิจสามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชนได้"
"ทั้งนี้ วว.ตั้งเป้าเอาไว้ว่าจะสามารถขยายพันธุมหาพรหมราชินีและสามารถนำมาจำหน่ายได้ในช่วงต้นปีหน้า ซึ่งประชาชนที่สนใจสามารถขอรับคำแนะนำคำปรึกษาได้ที่ ฝ่ายเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(วว.) โทร 0-2577-9000 ในวันแลเวลาราชการ"
ดร.ปิยะบอกด้วยว่า ในประเทศไทยได้มีการเก็บตัวอย่างแห้งมหาพรหมราชินีที่เป็น "ต้นแบบ" ไว้ที่หอพรรณไม้ของสวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ รวมทั้งมีการเก็บตัวอย่างแห้งที่เป็น isotype ใช้แทนตัวอย่าง หากมีการชำรุดเสียหายไว้ที่หอพรรณไม้สิรินธร กรมวิชาการเกษตร หอพรรณไม้กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพรรณพืช หอพรรณไม้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และที่ วว.เทคโนธานี คลองห้า
นอกจากนี้ ยังมีการเก็บตัวอย่างไว้ที่หอพรรณไม้สำคัญของโลก 5 แห่งด้วยกันคือ หอพรรณไม้มหาวิทยาลัยออฮุส ประเทศเดนมาร์ก หอพรรณไม้มหาวิทยาลัยโคเปนฮาเกน หอพรรณไม้สวนพฤกษาศาสตร์คิว ประเทศอังกฤษ หอพรรณไม้ไลเดน ประเทศเนเธอร์แลนด์และหอพรรณไม้มหาวิทยาลัยฮ่องกง
ตัวตนของ "มหาพรหมราชินี"
มหาพรหมราชินีมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Mitrephora sirikitiae Weerasooriya,Chalermglin & R.M.K. Saunders มีถิ่นกำเนิดอยู่ในบริเวณที่แคบๆ ของยอดเขาสูงชันที่ระดับความสูง 1,100 เมตร ในเขตอำเภอเมืองจังหวัดแม่ฮ่องสอน นับเป็นพรรณไม้เฉพาะถิ่น (endemic) เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น ทั้งยังเป็นพรรณไม้หายาก เนื่องจากมีจำนวนต้นในสภาพถิ่นกำเนิดน้อยมากและมีการกระจายพันธุ์ต่ำ
ลักษณะของต้นมหาพรหมราชินี เป็นไม้ต้นขนาดเล็กสูง 4-6 เมตร ลำต้นมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 5-8 เซนติเมตร เปลือกลำต้นสีน้ำตาล กิ่งอ่อนมีขนอ่อนคลุมอยู่ ใบมีรูปหอก กว้าง 4-9 เซนติเมตร ยาว 11-19 เซนติเมตร เนื้อใบค่อนข้างหนา ผิวใบ เรียบเป็นมันทั้ง 2 ด้าน โคนใบและปลายใบแหลม มีเส้นใบแขนงใบจำนวน 8-11 คู่
ดอกมีลักษณะเป็นดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อ 1-3 ดอก ออกที่ใกล้ปลายยอด เป็นพรรณไม้ที่มีดอกใหญ่ที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับดอกของพรรณไม้อื่นๆ ในสกุลมหาพรหมเดียวกัน คือ เมื่อบานเต็มที่มีดอกเส้นผ่านศูนย์กลาง 10 เซนติเมตร ก้านดอกยาว 1.8-2.7 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงมี 3 กลีบ รูปไข่กว้าง 2 เซนติเมตร ยาว 1.5 เซนติเมตร กลีบดอกมี 6 กลีบ เรียงเป็น 2 ชั้น ๆละ 3 กลีบ
กลีบดอกชั้นนอกเป็นรูปไข่ กว้าง 4.1-5.3 เซนติเมตร โคนกลีบบาน ปลายกลีบเรียวแหลมกลีบบางสีขาวมีลายเส้นเรียงตามความยาวของใบ กลีบดอกชั้นในกว้าง 3.6-4.1 เซนติเมตร ยาว 3.7-4.3 เซนติเมตร โคนกลีบสีเขียวอ่อน ปลายกลีบสีม่วงเข้ม กระดกงอขึ้นและประกบติดกันเป็นรูปกระเช้า แต่ละดอกบานอยู่ได้ 3-5 วัน กลิ่นหอมอ่อนๆ มีฤดูดอกบานเต็มต้นในช่วงเดือนพฤษภาคม
ส่วนผล เป็นผลกลุ่มมีผลย่อย 10-15 ผล รูปทรงกระบอกเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.2-2.4 เซนติเมตร ยาว 5.5-8 เซนติเมตร มีขนอ่อนปกคลุมหนาแน่นมี ซึ่งจะมีผลแก่ในช่วงเดือนตุลาคม
สำหรับการขยายพันธ์ที่ดีที่สุดคือการทาบกิ่ง เพาะเมล็ด เสียบยอด ส่วนการตอนปักกิ่งและการปักชำจะใช้ระยะเวลานานและได้ผลต่ำ แต่ที่น่าสนใจคือการปลูกนั้นดูแลไม่ยาก และใช้เวลาประมาณ 2-3 ปีก็ออกดอกให้เชยชมได้แล้ว