กทม.ชวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งตรวจสอบรายชื่อก่อน 18 ส.ค. ก่อนมากากบาทเลือกเลือกผู้ว่าฯในดวงใจ 29 ส.ค.นี้ ส่วนเรื่องป้ายผู้สมัคร ติดเกลื่อนเมือง ต้นไม้ เสาไฟฟ้า สะพาน ซึ่งบางป้ายกีดขวางทาจราจร อาจทำให้เกิดอันตราย ทาง กทม.จะส่งเจ้าหน้าที่ไปรื้อ แต่ก่อนรื้อจะถ่ายวีดีโอไว้เป็นหลักฐาน
คุณหญิงณฐนนท ทวีสิน ปลัดกรุงเทพมหานคร ในฐานะผู้อำนวยการเลือกตั้งประจำท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร กล่าวว่าตามที่ได้เปิดรับสมัครผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. ระหว่างวันที่ 26- 30 ก.ค.47 ที่ผ่านมา โดยมีผู้ยื่นใบสมัคร จำนวน 22 คน นั้น หลังจากการตรวจสอบคุณสมบัติตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 ปรากฏว่ามีผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนดและมีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.ในครั้งนี้ทั้ง 22 คน
หลังจากที่คณะกรรมการการเลือกตั้งได้ตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครรับการเลือกตั้งทั้ง 22 คนแล้วปรากฏว่าทั้ง 22 คนมีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด ดังนั้นทั้ง 22 คน จะได้หมายเลขดังต่อไปนี้ 1. นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน 2. นายวรัญชัย โชคชนะ 3.ร.อ.ต.เฉลิม อยู่บำรุง 4. นายกิตติศักดิ์ ถิรวิศิษฎ์ 5. นายมานะ มหาสุวีรชัย 6. นางลีน่า จังจรรยา 7.นางปวีณา หงสกุล 8. นายพีระพงศ์ ถนอมพงษ์พันธ์
9.ร.อ.เมตตา เต็มชำนาญ 10.นายวีรศักดิ์ อุปถัมภื 11.นายการุณ จันทรางศุ 12.นายวุฒิพงษ์ เพียบจริวัฒน์ 13. นายอุดม วิบูลย์เทพาชาติ 14.นายกอบศักดิ์ ชุติกุล 15.นายชูวิทย์ กมลวิศิษฏ์ 16.นายสุเมธ ตันธนาศิริกุล 17.นายวิทยา จังกอบพัฒนา 18.นายสุชาติ เกิดผล 19.นายพิจิตต รัตตกุล 20.นายโชคชัย เลาหชินบัญชร 21.ร.อ.ต.นิติภูมนวรัตน์ และ 22.นายวรา บัณฑุนาค
ซึ่งขณะนี้ทุกสำนักงานเขตได้ปิดรายชื่อทั้ง 22 คนที่มีสิทธิสมัครรับการเลือกตั้งให้ประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.ในครั้งนี้รับทราบ อีกทั้งทุกสำนักงานเขตได้ปิดประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งไว้ที่สำนักงานเขตและหน่วยเลือกตั้งใกล้บ้านเรียบร้อยแล้ว จึงขอเชิญชวนประชาชนชาวกรุงเทพมหานครมาตรวจสอบรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งในบ้านของท่านหากตรวจสอบแล้วพบว่ามีรายชื่อ-สกุล ตกหล่น หรือผิดพลาดไม่ไม่ถูกต้อง ให้ยื่นคำร้องขอแก้ไข เพิ่ม-ถอน ได้ที่ฝ่ายทะเบียน สำนักงานเขตพื้นที่ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปจนถึงวันที่ 18 ส.ค.47
นางนฐนนทกล่าวต่อไปอีกว่าในตอนนี้แผ่นป้ายผู้สมัครรับการเลือกตั้ง จะปิดประกาศหาเสียงแทบทุกตารางนิ้วของพื้นที่ในแต่ละสำนักงานเขตและมีแผ่นป้ายผู้สมัครบางส่วนไปติดตั้งบริเวณห้ามติดตั้ง อาทิ ตามต้นไม้ หรือติดตั้งบริเวณกีดขวางทาจราจร และบริเวณที่หล่อแหมอาจจะเป็นอันตรายได้ อย่างบริเวณเชิงสะพานฯลฯ ดังนั้นทางกทม.จึงได้จัดส่งเจ้าหน้าที่แต่ละสำนักงานเขตไปตรวจสอบว่าบริเวณใดที่มีแผ่นป้ายที่ไปปิดไว้ในพื้นที่ห้ามติดประกาศแต่ยังมีแผ่นป้ายของผู้สมัครติดอยู่อีกซึ่งหากตรวจพบจะทำการรื้อถอนออก โดยจะทำการถ่ายวีดีโอเก็บเอาไว้เป็นหลักฐานทุกครั้งที่มีการรื้อถอน
“เหตุที่ต้องมีการถ่ายวีดีโอขณะทำการรื้อถอนป้ายของผู้สมัครนั้นเพื่อเป็นการป้องกันปัญหาการกล่าวหาจากทางผู้สมัครที่ถูกทางเจ้าหน้าที่ของกทม.ทำการรื้อถอนป้าย ว่าทางเจ้าหน้าที่กทม.ไม่วางตัวเป็นกลาง ซึ่งอันที่จริงแล้วหากผู้สมัครไม่ต้องการให้ทางเจ้าหน้าที่ของกทม.รื้อถอนป้ายของผู้สมัครก็ควรที่จะนำป้ายไปติดตั้งบริเวณที่ไม่เป็นที่กีดขวางการจราจร ตามต้นไม้ของกทม.ที่ส่วนใหญ่จะนำไปตอกตรึงติดกับต้นไม้ทำให้ต้นไม้ซึ่งมีชีวิตมีจิตใจต้องทนทุกข์ทรมาน"
"เมื่อเป็นเช่นนี้ทางกทม.จึงจำเป็นต้องส่งเจ้าหน้าที่ไปรื้อถอนป้ายเหล่านั้นออก โดยในครั้งแรกหากรื้อถอนแล้วทางผู้สมัครสามารถมารับได้ที่สำนักงานเขตที่เข้าทำการรื้อถอนโดยไม่ต้องเสียค่าปรับแต่อย่างใดแต่หากกระทำผิดอีกเป็นครั้งที่ 2 ทางสำนักงานเขตจะทำการยึดแผ่นป้ายของผู้สมัครนั้นๆนำมาเก็บไว้ที่สำนักงานเขตและหากผู้สมัครจะมารับคืนในครั้งที่ 2 ทางเจ้าหน้าที่ในแต่ละเขตจะพิจารณาปรับในเบื้องต้นทราบว่าปรับแผ่นป้ายละ 1,000 บาท และทราบข่าวว่าตอนนี้ในบางพื้นที่จะมีคนเก็บของเก่าหรือซาเล้งไปเก็บแผ่นป้ายของผู้สมัครก่อนที่จะมีการเลือกตั้งในวันที่ 29 ส.ค.นี้ซึ่งถือว่าผิดกฎหมายหากผู้ใดพบเห็นสามารถแจ้งตำรวจให้ดำเนินการจับกุมดำเนินคดีฐานลักทรัพย์ได้”นางณฐนนท
นางนฐนนทกล่าวต่อไปอีกว่าเมื่อเกิดปัญหาการติดตั้งแผ่นป้ายของผู้สมัครในบริเวณที่ห้ามปิดประกาศในครั้งนี้ ทางคณะกรรมการการเลือกตั้งท้องถิ่นจึงได้หารือกันว่าในการเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.ครั้งต่อไปทางกทม.จะกำจัดแผ่นป้ายของผู้สมัครรับการเลือกตั้งว่าแต่ละคนที่สมัครจะสามารถใช้แผ่นป้ายได้คนละกี่แผ่นและทางกทม.จะเป็นผู้กำหนดสถานที่ที่จะติดตั้งแผ่นป้ายหาเสียงของผู้สมัครแต่ละคนเฉลี่ยในสัดส่วนที่เท่าๆกันในแต่ละพื้นที่เอง เพื่อความเหมาะสมและสวยงาม ไม่เป็นที่กีดขวางการจราจรอีกด้วย
ด้านนายสุทธิชัย ทรรศนสฤษดิ์ รองปลัดกรุงเทพมหานคร ในฐานะหัวหน้าฝ่ายประชาสัมพันธ์ ศูนย์"ประสานงานการเลือกตั้งกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่าปัจจุบันโทรศัพท์มือถือเป็นอุปกรณ์ไฮเทคที่คนกทม.นิยมและให้ความสำคัญใช้ในการติดต่อสื่อสารซึ่งกันและกันเพื่อเป็นการกระตุ้นให้ประชาชนคนกทม.ที่มีสิทธิเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.ในครั้งนี้เกิน 58 % ทางกทม.จึงได้ร่วมมือกับผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ 5 ข่ายใหญ่ ได้แก่ บริษัทแอดวานซ์ อินโฟ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) บริษัทโทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัทเอเชีย ไวร์เลส คอมมิวนิเคชั่น จำกัด บริษัททีเอ ออเร้นจ์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทฮัทชิสัน ซีเอที ไวร์เลส มัลติมีเดีย จำกัด ร่วมกันส่งข้อความเอสเอ็มเอสไปยังหมายเลขโทรศัพท์ของลูกค้า เพื่อรณรงค์ให้คนกรุงเทพฯ ออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ครั้งนี้ให้มากที่สุด
“โดยก่อนวันเลือกตั้งจะมีข้อความประชาสัมพันธ์ให้ทราบถึงวันเลือกตั้ง การตรวจสอบรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง และการรณรงค์ให้ตระหนักว่า การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติแล้ว ได้แก่ข้อความ เลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. 29 สิงหาคม 2547 เวลา 08.00-15.00 น.,ตรวจรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ภายใน 18 ส.ค.47 ณ สำนักงานเขต, ไม่ไปเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. แจ้งเหตุภายใน 21 ส.ค. 47 ณ สำนักงานเขต,เลือกตั้งเป็นหน้าที่ เลือกคนดีเป็นผู้ว่าฯ 29 สิงหาเลือกผู้ว่าฯกทม.,ไม่เลือก ไม่รู้ ไม่สน ก็ต้องทนไป 4 ปี 29 สิงหานี้เลือกผู้ว่าฯกทม. เป็นต้น
สำหรับในวันที่ใน 29 สิงหาคม 2547 ซึ่งเป็นวันเลือกตั้ง ทั้ง 5 เครือข่ายโทรศัพท์มือถือจะร่วมกันส่งข้อความกระตุ้นผ่านทางมือถือที่จะมีข้อความส่งถึงค่อนข้างถี่ตลอดวัน เพื่อกระตุ้นให้ออกมาใช้สิทธิ ได้แก่ข้อความว่า “วันนี้ อย่าลืมออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. 08.00-15.00น.”
นายสุทธิชัยกล่าวต่อไปอีกว่านอกจากนี้แล้วกิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบการเลือกตั้งและออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งผู้ว่ฯกทม.ในพื้นที่ กทม.จะกระทำอย่างต่อเนื่อง โดยจะเน้นกิจกรรมรณรงค์ในพื้นที่เขตทุกๆพื้นที่ในกทม.หมุนเวียนไปตามกลุ่มเขตใน กทม.ทั้ง 6 กลุ่มเขต ทุกวันเสาร์-อาทิตย์ โดยเริ่มจากเสาร์ที่ 7 สิงหาคมนี้ จะจัดกิจกรรมที่ห้างสรรพสินค้าแมคโคร จรัญสนิทวงศ์ ตั้งแต่ 14.00-18.00 น. วันอาทิตย์ที่ 8 สิงหาคม ตั้งแต่ 15.00-18.00 น. จัดกิจกรรมที่ห้างสรรพสินค้าฟิวเจอร์ปาร์ค บางแค โดยให้ชื่อกิจกรรมรณรงค์ว่า รวมพลังคนเมือง รวมพลังใช้สิทธิ ร่วมด้วยช่วยกันเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.
คุณหญิงณฐนนท ทวีสิน ปลัดกรุงเทพมหานคร ในฐานะผู้อำนวยการเลือกตั้งประจำท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร กล่าวว่าตามที่ได้เปิดรับสมัครผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. ระหว่างวันที่ 26- 30 ก.ค.47 ที่ผ่านมา โดยมีผู้ยื่นใบสมัคร จำนวน 22 คน นั้น หลังจากการตรวจสอบคุณสมบัติตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 ปรากฏว่ามีผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนดและมีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.ในครั้งนี้ทั้ง 22 คน
หลังจากที่คณะกรรมการการเลือกตั้งได้ตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครรับการเลือกตั้งทั้ง 22 คนแล้วปรากฏว่าทั้ง 22 คนมีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด ดังนั้นทั้ง 22 คน จะได้หมายเลขดังต่อไปนี้ 1. นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน 2. นายวรัญชัย โชคชนะ 3.ร.อ.ต.เฉลิม อยู่บำรุง 4. นายกิตติศักดิ์ ถิรวิศิษฎ์ 5. นายมานะ มหาสุวีรชัย 6. นางลีน่า จังจรรยา 7.นางปวีณา หงสกุล 8. นายพีระพงศ์ ถนอมพงษ์พันธ์
9.ร.อ.เมตตา เต็มชำนาญ 10.นายวีรศักดิ์ อุปถัมภื 11.นายการุณ จันทรางศุ 12.นายวุฒิพงษ์ เพียบจริวัฒน์ 13. นายอุดม วิบูลย์เทพาชาติ 14.นายกอบศักดิ์ ชุติกุล 15.นายชูวิทย์ กมลวิศิษฏ์ 16.นายสุเมธ ตันธนาศิริกุล 17.นายวิทยา จังกอบพัฒนา 18.นายสุชาติ เกิดผล 19.นายพิจิตต รัตตกุล 20.นายโชคชัย เลาหชินบัญชร 21.ร.อ.ต.นิติภูมนวรัตน์ และ 22.นายวรา บัณฑุนาค
ซึ่งขณะนี้ทุกสำนักงานเขตได้ปิดรายชื่อทั้ง 22 คนที่มีสิทธิสมัครรับการเลือกตั้งให้ประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.ในครั้งนี้รับทราบ อีกทั้งทุกสำนักงานเขตได้ปิดประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งไว้ที่สำนักงานเขตและหน่วยเลือกตั้งใกล้บ้านเรียบร้อยแล้ว จึงขอเชิญชวนประชาชนชาวกรุงเทพมหานครมาตรวจสอบรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งในบ้านของท่านหากตรวจสอบแล้วพบว่ามีรายชื่อ-สกุล ตกหล่น หรือผิดพลาดไม่ไม่ถูกต้อง ให้ยื่นคำร้องขอแก้ไข เพิ่ม-ถอน ได้ที่ฝ่ายทะเบียน สำนักงานเขตพื้นที่ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปจนถึงวันที่ 18 ส.ค.47
นางนฐนนทกล่าวต่อไปอีกว่าในตอนนี้แผ่นป้ายผู้สมัครรับการเลือกตั้ง จะปิดประกาศหาเสียงแทบทุกตารางนิ้วของพื้นที่ในแต่ละสำนักงานเขตและมีแผ่นป้ายผู้สมัครบางส่วนไปติดตั้งบริเวณห้ามติดตั้ง อาทิ ตามต้นไม้ หรือติดตั้งบริเวณกีดขวางทาจราจร และบริเวณที่หล่อแหมอาจจะเป็นอันตรายได้ อย่างบริเวณเชิงสะพานฯลฯ ดังนั้นทางกทม.จึงได้จัดส่งเจ้าหน้าที่แต่ละสำนักงานเขตไปตรวจสอบว่าบริเวณใดที่มีแผ่นป้ายที่ไปปิดไว้ในพื้นที่ห้ามติดประกาศแต่ยังมีแผ่นป้ายของผู้สมัครติดอยู่อีกซึ่งหากตรวจพบจะทำการรื้อถอนออก โดยจะทำการถ่ายวีดีโอเก็บเอาไว้เป็นหลักฐานทุกครั้งที่มีการรื้อถอน
“เหตุที่ต้องมีการถ่ายวีดีโอขณะทำการรื้อถอนป้ายของผู้สมัครนั้นเพื่อเป็นการป้องกันปัญหาการกล่าวหาจากทางผู้สมัครที่ถูกทางเจ้าหน้าที่ของกทม.ทำการรื้อถอนป้าย ว่าทางเจ้าหน้าที่กทม.ไม่วางตัวเป็นกลาง ซึ่งอันที่จริงแล้วหากผู้สมัครไม่ต้องการให้ทางเจ้าหน้าที่ของกทม.รื้อถอนป้ายของผู้สมัครก็ควรที่จะนำป้ายไปติดตั้งบริเวณที่ไม่เป็นที่กีดขวางการจราจร ตามต้นไม้ของกทม.ที่ส่วนใหญ่จะนำไปตอกตรึงติดกับต้นไม้ทำให้ต้นไม้ซึ่งมีชีวิตมีจิตใจต้องทนทุกข์ทรมาน"
"เมื่อเป็นเช่นนี้ทางกทม.จึงจำเป็นต้องส่งเจ้าหน้าที่ไปรื้อถอนป้ายเหล่านั้นออก โดยในครั้งแรกหากรื้อถอนแล้วทางผู้สมัครสามารถมารับได้ที่สำนักงานเขตที่เข้าทำการรื้อถอนโดยไม่ต้องเสียค่าปรับแต่อย่างใดแต่หากกระทำผิดอีกเป็นครั้งที่ 2 ทางสำนักงานเขตจะทำการยึดแผ่นป้ายของผู้สมัครนั้นๆนำมาเก็บไว้ที่สำนักงานเขตและหากผู้สมัครจะมารับคืนในครั้งที่ 2 ทางเจ้าหน้าที่ในแต่ละเขตจะพิจารณาปรับในเบื้องต้นทราบว่าปรับแผ่นป้ายละ 1,000 บาท และทราบข่าวว่าตอนนี้ในบางพื้นที่จะมีคนเก็บของเก่าหรือซาเล้งไปเก็บแผ่นป้ายของผู้สมัครก่อนที่จะมีการเลือกตั้งในวันที่ 29 ส.ค.นี้ซึ่งถือว่าผิดกฎหมายหากผู้ใดพบเห็นสามารถแจ้งตำรวจให้ดำเนินการจับกุมดำเนินคดีฐานลักทรัพย์ได้”นางณฐนนท
นางนฐนนทกล่าวต่อไปอีกว่าเมื่อเกิดปัญหาการติดตั้งแผ่นป้ายของผู้สมัครในบริเวณที่ห้ามปิดประกาศในครั้งนี้ ทางคณะกรรมการการเลือกตั้งท้องถิ่นจึงได้หารือกันว่าในการเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.ครั้งต่อไปทางกทม.จะกำจัดแผ่นป้ายของผู้สมัครรับการเลือกตั้งว่าแต่ละคนที่สมัครจะสามารถใช้แผ่นป้ายได้คนละกี่แผ่นและทางกทม.จะเป็นผู้กำหนดสถานที่ที่จะติดตั้งแผ่นป้ายหาเสียงของผู้สมัครแต่ละคนเฉลี่ยในสัดส่วนที่เท่าๆกันในแต่ละพื้นที่เอง เพื่อความเหมาะสมและสวยงาม ไม่เป็นที่กีดขวางการจราจรอีกด้วย
ด้านนายสุทธิชัย ทรรศนสฤษดิ์ รองปลัดกรุงเทพมหานคร ในฐานะหัวหน้าฝ่ายประชาสัมพันธ์ ศูนย์"ประสานงานการเลือกตั้งกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่าปัจจุบันโทรศัพท์มือถือเป็นอุปกรณ์ไฮเทคที่คนกทม.นิยมและให้ความสำคัญใช้ในการติดต่อสื่อสารซึ่งกันและกันเพื่อเป็นการกระตุ้นให้ประชาชนคนกทม.ที่มีสิทธิเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.ในครั้งนี้เกิน 58 % ทางกทม.จึงได้ร่วมมือกับผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ 5 ข่ายใหญ่ ได้แก่ บริษัทแอดวานซ์ อินโฟ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) บริษัทโทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัทเอเชีย ไวร์เลส คอมมิวนิเคชั่น จำกัด บริษัททีเอ ออเร้นจ์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทฮัทชิสัน ซีเอที ไวร์เลส มัลติมีเดีย จำกัด ร่วมกันส่งข้อความเอสเอ็มเอสไปยังหมายเลขโทรศัพท์ของลูกค้า เพื่อรณรงค์ให้คนกรุงเทพฯ ออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ครั้งนี้ให้มากที่สุด
“โดยก่อนวันเลือกตั้งจะมีข้อความประชาสัมพันธ์ให้ทราบถึงวันเลือกตั้ง การตรวจสอบรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง และการรณรงค์ให้ตระหนักว่า การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติแล้ว ได้แก่ข้อความ เลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. 29 สิงหาคม 2547 เวลา 08.00-15.00 น.,ตรวจรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ภายใน 18 ส.ค.47 ณ สำนักงานเขต, ไม่ไปเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. แจ้งเหตุภายใน 21 ส.ค. 47 ณ สำนักงานเขต,เลือกตั้งเป็นหน้าที่ เลือกคนดีเป็นผู้ว่าฯ 29 สิงหาเลือกผู้ว่าฯกทม.,ไม่เลือก ไม่รู้ ไม่สน ก็ต้องทนไป 4 ปี 29 สิงหานี้เลือกผู้ว่าฯกทม. เป็นต้น
สำหรับในวันที่ใน 29 สิงหาคม 2547 ซึ่งเป็นวันเลือกตั้ง ทั้ง 5 เครือข่ายโทรศัพท์มือถือจะร่วมกันส่งข้อความกระตุ้นผ่านทางมือถือที่จะมีข้อความส่งถึงค่อนข้างถี่ตลอดวัน เพื่อกระตุ้นให้ออกมาใช้สิทธิ ได้แก่ข้อความว่า “วันนี้ อย่าลืมออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. 08.00-15.00น.”
นายสุทธิชัยกล่าวต่อไปอีกว่านอกจากนี้แล้วกิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบการเลือกตั้งและออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งผู้ว่ฯกทม.ในพื้นที่ กทม.จะกระทำอย่างต่อเนื่อง โดยจะเน้นกิจกรรมรณรงค์ในพื้นที่เขตทุกๆพื้นที่ในกทม.หมุนเวียนไปตามกลุ่มเขตใน กทม.ทั้ง 6 กลุ่มเขต ทุกวันเสาร์-อาทิตย์ โดยเริ่มจากเสาร์ที่ 7 สิงหาคมนี้ จะจัดกิจกรรมที่ห้างสรรพสินค้าแมคโคร จรัญสนิทวงศ์ ตั้งแต่ 14.00-18.00 น. วันอาทิตย์ที่ 8 สิงหาคม ตั้งแต่ 15.00-18.00 น. จัดกิจกรรมที่ห้างสรรพสินค้าฟิวเจอร์ปาร์ค บางแค โดยให้ชื่อกิจกรรมรณรงค์ว่า รวมพลังคนเมือง รวมพลังใช้สิทธิ ร่วมด้วยช่วยกันเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.