จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2547 ที่เด็กอนุบาล 18 คน จากโรงเรียนแห่งหนึ่งเกิดอาการเป็นพิษอย่างรุนแรงหลังดื่มเครื่องดื่มรสช็อคโกแลต โดยมี อาการอ่อนแรง เวียนศีรษะ อาเจียน เล็บเขียว ใจสั่น น้ำลายฟูมปากและแน่นหน้าอก ซึ่งหลังจากสาธารณสุขจังหวัดสมุทรปราการได้เก็บตัวอย่างอาหารและภาชนะรวม 7 ตัวอย่าง ส่งไปตรวจสอบที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์และได้มีการแจ้งผลการตรวจสอบพบว่า ไม่มีสารเคมีใดๆในเกล็ดผงช็อกโกแลตและน้ำตาลทรายแดง แต่พบสาร “แลนเนท” ซึ่งเป็นสารฆ่าแมลงในน้ำล้างกระเพาะของเด็กนักเรียนจากตัวอย่างที่ส่งตรวจ
จากข้อมูลที่ได้มีการนำเสนอผ่านสื่อมวลชน ได้มีการระบุว่า สารแลนเนท เป็นยาฆ่าแมลงชนิดหนึ่งที่เรียกว่า Cholinesterase มีลักษณะเป็นเกล็ดคล้ายน้ำตาล พิษของสารชนิดนี้เมื่อเข้าสู่ร่างกาย จะสกัดกั้น เอนไซม์โคลีนเอสโซเอท ซึ่งจะอยู่ที่เส้นประสาท ทำให้เส้นประสาทหยุดทำงานส่งผลต่อระบบหายใจ ทำให้ระบบหายใจล้มเหลวและมีพิษต่อตับ ในกรณีของเด็กดังกล่าวเป็นการสะสมในปริมาณน้อย ทำให้พิษเจือจางไม่น่าเป็นอันตรายมาก ส่วนสาเหตุที่มีการปนเปื้อนลงในเครื่องดื่มช็อคโกแลต อาจจะเกิดจากลักษณะของสารที่เหมือนกับน้ำตาลจึงเกิดการหยิบผิด ซึ่งในอดีตก็เคยเหตุการณ์เลักษณะเดียวกันนี้มาแล้ว นอกจากนี้ยังได้กล่าวถึงความเป็นพิษของสาร “แลนเนท” ว่าหากได้รับสารดังกล่าวเกิน 20 มิลลิกรัมขึ้นไปจะเป็นอันตรายต่อร่างกาย
ในประเด็นดังกล่าว รศ. สุชาตา ชินะจิตร ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) กล่าวว่า ในความจริงแล้ว “สารแลนเนท” มิใช่ชื่อเรียกสารเคมีที่เป็นยาฆ่าแมลง แต่เป็นชื่อทางการค้าตัวหนึ่งของสารพิษชื่อ “เมทโธมิล” ซึ่งเป็นสารฆ่าแมลงศัตรูพืชและมีชื่อทางการค้ามากมาย และแลนแนทเป็น 1 ในชื่อทางการค้าของสารเคมีตัวนี้เท่านั้น
“สารเมทโธมิล” จัดเป็นวัตถุอันตรายตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมที่ควบคุมโดยกรมวิชาการเกษตรและองค์การอาหารและยา (อย.) ถูกจัดเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 คือต้องมีการขึ้นทะเบียนและได้รับอนุญาตในการนำไปใช้ สำหรับความแตกต่างของการควบคุมนั้น คือทางองค์การอาหารและยา (อย.) จะควบคุมดูแลถ้านำมาใช้เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในบ้านเรือน จากข้อมูล ปรากฏว่ามีทะเบียนวัตถุอันตรายที่มี เมทโธมิล เป็นสารสำคัญและใช้เป็นผลิตภัณฑ์กำจัดแมลงอยู่ 4 ทะเบียนในชื่อการค้า โกลเด้น มัลริน และไบท์ ซึ่งมีเมทโธมิล เป็นองค์ประกอบร้อยละ 1 โดยน้ำหนัก
ส่วนข้อมูลจากผู้กรมวิชาการเกษตรพบว่า มีการขึ้นใบทะเบียน เมโธมิล เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้เพื่อการเกษตรในการกำจัดศัตรูพืช โดยมีจำหน่ายในชื่อการค้าต่างๆกัน แลนเนทเป็นเพียงชื่อการค้าเดียวในจำนวนชื่อการค้ากว่าร้อยชื่อ ซึ่งในส่วนของข้อมูลการนำเข้าจากกรมศุลกากรพบว่ามีการนำเข้า เมทโธมิล ในปี 2544 (เฉพาะครึ่งปีหลัง) 2545 และ2546 เป็นปริมาณถึง 181 , 659 และ 699 ตันตามลำดับ
ในส่วนของความเป็นพิษของสารที่มีการให้ข้อมูลว่า สารดังกล่าวจะไปขัดขวางการทำงานของเอนไซม์โคลีเอนเทอเรสนั้น จากฐานข้อมูลความปลอดภัย (Material safety Data Sheet,MSDS) ระบุว่า เมทโธมิลเป็นสารที่มีพิษสูงมาก หากเข้าสูร่างกายมันจะไปขัดขวางการทำงานของเอนไซม์โคลีนเอสเทอเรส (ซึ่งเป็นคนละตัวกับเอนไซม์โคลีนเอสโซเอท) โดยเอนไซม์ตัวนี้มีความสำคัญต่อกลไกการทำงานของระบบประสาท เนื่องจากเอนไซม์นี้อยู่ที่สมอง เซลล์ประสาทและเม็ดเลือดแดง
รศ. สุชาตา กล่าวว่า นอกเหนือจากข้อมูลสารเมโธนิล แล้ว “ฐานข้อมูลสารเคมี” ซึ่งจัดทำโดยหน่วยข้อมูลสารสนเทศวัตถุอันตรายและความปลอดภัย ศูนย์วิจัยแห่งชาติด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและของเสียอันตราย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยการสนับสนุนของ สกว. ยังมีข้อมูลอื่น ๆ ทั้งองค์ประกอบ ส่วนผสม อันตราย การป้องกัน การกำจัด ความเป็นพิษ ฯลฯ ของสารเคมีอีกกว่า 5,000 ชนิด ซึ่งสื่อมวลชนและผู้สนใจสามารถติดต่อขอรับข้อมูลได้โดยตรง หรือเข้าไปดูได้ที่ http://chemtrack.org และ http://chemtrack.or.th
สนับสนุนข้อมูลโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
จากข้อมูลที่ได้มีการนำเสนอผ่านสื่อมวลชน ได้มีการระบุว่า สารแลนเนท เป็นยาฆ่าแมลงชนิดหนึ่งที่เรียกว่า Cholinesterase มีลักษณะเป็นเกล็ดคล้ายน้ำตาล พิษของสารชนิดนี้เมื่อเข้าสู่ร่างกาย จะสกัดกั้น เอนไซม์โคลีนเอสโซเอท ซึ่งจะอยู่ที่เส้นประสาท ทำให้เส้นประสาทหยุดทำงานส่งผลต่อระบบหายใจ ทำให้ระบบหายใจล้มเหลวและมีพิษต่อตับ ในกรณีของเด็กดังกล่าวเป็นการสะสมในปริมาณน้อย ทำให้พิษเจือจางไม่น่าเป็นอันตรายมาก ส่วนสาเหตุที่มีการปนเปื้อนลงในเครื่องดื่มช็อคโกแลต อาจจะเกิดจากลักษณะของสารที่เหมือนกับน้ำตาลจึงเกิดการหยิบผิด ซึ่งในอดีตก็เคยเหตุการณ์เลักษณะเดียวกันนี้มาแล้ว นอกจากนี้ยังได้กล่าวถึงความเป็นพิษของสาร “แลนเนท” ว่าหากได้รับสารดังกล่าวเกิน 20 มิลลิกรัมขึ้นไปจะเป็นอันตรายต่อร่างกาย
ในประเด็นดังกล่าว รศ. สุชาตา ชินะจิตร ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) กล่าวว่า ในความจริงแล้ว “สารแลนเนท” มิใช่ชื่อเรียกสารเคมีที่เป็นยาฆ่าแมลง แต่เป็นชื่อทางการค้าตัวหนึ่งของสารพิษชื่อ “เมทโธมิล” ซึ่งเป็นสารฆ่าแมลงศัตรูพืชและมีชื่อทางการค้ามากมาย และแลนแนทเป็น 1 ในชื่อทางการค้าของสารเคมีตัวนี้เท่านั้น
“สารเมทโธมิล” จัดเป็นวัตถุอันตรายตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมที่ควบคุมโดยกรมวิชาการเกษตรและองค์การอาหารและยา (อย.) ถูกจัดเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 คือต้องมีการขึ้นทะเบียนและได้รับอนุญาตในการนำไปใช้ สำหรับความแตกต่างของการควบคุมนั้น คือทางองค์การอาหารและยา (อย.) จะควบคุมดูแลถ้านำมาใช้เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในบ้านเรือน จากข้อมูล ปรากฏว่ามีทะเบียนวัตถุอันตรายที่มี เมทโธมิล เป็นสารสำคัญและใช้เป็นผลิตภัณฑ์กำจัดแมลงอยู่ 4 ทะเบียนในชื่อการค้า โกลเด้น มัลริน และไบท์ ซึ่งมีเมทโธมิล เป็นองค์ประกอบร้อยละ 1 โดยน้ำหนัก
ส่วนข้อมูลจากผู้กรมวิชาการเกษตรพบว่า มีการขึ้นใบทะเบียน เมโธมิล เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้เพื่อการเกษตรในการกำจัดศัตรูพืช โดยมีจำหน่ายในชื่อการค้าต่างๆกัน แลนเนทเป็นเพียงชื่อการค้าเดียวในจำนวนชื่อการค้ากว่าร้อยชื่อ ซึ่งในส่วนของข้อมูลการนำเข้าจากกรมศุลกากรพบว่ามีการนำเข้า เมทโธมิล ในปี 2544 (เฉพาะครึ่งปีหลัง) 2545 และ2546 เป็นปริมาณถึง 181 , 659 และ 699 ตันตามลำดับ
ในส่วนของความเป็นพิษของสารที่มีการให้ข้อมูลว่า สารดังกล่าวจะไปขัดขวางการทำงานของเอนไซม์โคลีเอนเทอเรสนั้น จากฐานข้อมูลความปลอดภัย (Material safety Data Sheet,MSDS) ระบุว่า เมทโธมิลเป็นสารที่มีพิษสูงมาก หากเข้าสูร่างกายมันจะไปขัดขวางการทำงานของเอนไซม์โคลีนเอสเทอเรส (ซึ่งเป็นคนละตัวกับเอนไซม์โคลีนเอสโซเอท) โดยเอนไซม์ตัวนี้มีความสำคัญต่อกลไกการทำงานของระบบประสาท เนื่องจากเอนไซม์นี้อยู่ที่สมอง เซลล์ประสาทและเม็ดเลือดแดง
รศ. สุชาตา กล่าวว่า นอกเหนือจากข้อมูลสารเมโธนิล แล้ว “ฐานข้อมูลสารเคมี” ซึ่งจัดทำโดยหน่วยข้อมูลสารสนเทศวัตถุอันตรายและความปลอดภัย ศูนย์วิจัยแห่งชาติด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและของเสียอันตราย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยการสนับสนุนของ สกว. ยังมีข้อมูลอื่น ๆ ทั้งองค์ประกอบ ส่วนผสม อันตราย การป้องกัน การกำจัด ความเป็นพิษ ฯลฯ ของสารเคมีอีกกว่า 5,000 ชนิด ซึ่งสื่อมวลชนและผู้สนใจสามารถติดต่อขอรับข้อมูลได้โดยตรง หรือเข้าไปดูได้ที่ http://chemtrack.org และ http://chemtrack.or.th
สนับสนุนข้อมูลโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)