ปลัดกระทรวงสาธารณสุขยืนยันคำสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ “หมอเกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ” เป็นไปตามมติของคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามหลักฐาน ชี้ก่อนที่จะมีการสอบสวนผู้ใดเกิดขึ้นจะยังถือว่าผู้นั้นเป็นผู้บริสุทธิ์ แต่สถานะอาจเปลี่ยนได้ภายหลังเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏ
จากกรณีที่ น.พ.วัลลภ ไทยเหนือ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้ลงนามในคำสั่งสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขที่ 1412/2547 เมื่อวันที่ 21 มิ.ย.ที่ผ่านมา เรื่องลงโทษภาคทัณฑ์ น.พ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลภูกระดึง ซึ่งได้กระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง ฐานไม่ปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เป็นไปตามกฎหมาย มติคณะรัฐมนตรีและนโยบายของรัฐบาลและฐานไม่รักษาชื่อเสียงและเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตนมิให้เสื่อมเสียตามมาตร 98 วรรคหนึ่ง ซึ่งคำสั่งนี้ น.พ.เกรียงศักดิ์อ้างว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมและจะยื่นอุทธรณ์ภายใน 30 วันนั้น
น.พ.วัลลภกล่าวว่า การลงนามในคำสั่งนี้เป็นการปฏิบัติตามมติของคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง ซึ่งมี น.พ.ชนะ ตันจันทร์พงศ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธานตามขั้นตอนของทางราชการทุกประการ ซึ่งผลที่เกิดขึ้นเป็นไปตามหลักฐานประจักษ์พยานทั้งสิ้น และเป็นไปตามมาตร 85 วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือน 2535
ที่สำคัญคือ ตามกระบวนการสอบสวนข้อเท็จจริงไม่สามารถสรุปได้ล่วงหน้าว่ารูปคดีจะออกมาในรูปใด หากมีการรับรองผลหรือคาดหวังผลล่วงหน้าได้ ระบบความยุติธรรมก็จะไม่มีความหมายและเกิดความเสียหายต่อทางราชการในที่สุด และระหว่างที่อยู่ในกระบวนการสอบสวนจะยังถือว่าผู้ที่ถูกสอบยังเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าจะมีข้อสรุปปรากฏออกมา จะด่วนสรุปก่อนมิได้
“ขอให้ น.พ.เกรียงศักดิ์ยอมรับและปฏิบัติตามคำสั่งลงโทษภาคทัณฑ์นี้ เพราะเป็นการลงโทษทางวินัยขั้นไม่ร้ายแรงขนานเบาที่สุด และตั้งใจปฏิบัติงานเพื่อประชาชนต่อไป”
น.พ.วัลลภกล่าวด้วยว่า อย่างไรก็ดี น.พ.เกรียงศักดิ์สามารถมีสิทธิ์อุทธรณ์คำสั่งนี้ต่อ ก.พ.ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่รับทราบคำสั่งลงโทษตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในกฎ ก.พ.ฉบับที่ 16(พ.ศ.2540) ว่าด้วยการอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์ และหาก น.พ.เกรียงศักดิ์ประสงค์จะฟ้องโต้แย้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ต่อศาลปกครองก็สามารถทำได้ โดยทำคำฟ้องเป็นหนังสือยื่นหรือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับต่อศาลปกครองขั้นต้นที่มีภูมิลำเนา หรือมูลคดีเกิดขึ้นในเขตอำนาจศาลภายใน 90 วัน นับตั้งแต่รับแจ้งหรือทราบคำวินิจฉัยอุทธรณ์ ตามความในมาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง 2539 และมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542
จากกรณีที่ น.พ.วัลลภ ไทยเหนือ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้ลงนามในคำสั่งสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขที่ 1412/2547 เมื่อวันที่ 21 มิ.ย.ที่ผ่านมา เรื่องลงโทษภาคทัณฑ์ น.พ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลภูกระดึง ซึ่งได้กระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง ฐานไม่ปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เป็นไปตามกฎหมาย มติคณะรัฐมนตรีและนโยบายของรัฐบาลและฐานไม่รักษาชื่อเสียงและเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตนมิให้เสื่อมเสียตามมาตร 98 วรรคหนึ่ง ซึ่งคำสั่งนี้ น.พ.เกรียงศักดิ์อ้างว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมและจะยื่นอุทธรณ์ภายใน 30 วันนั้น
น.พ.วัลลภกล่าวว่า การลงนามในคำสั่งนี้เป็นการปฏิบัติตามมติของคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง ซึ่งมี น.พ.ชนะ ตันจันทร์พงศ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธานตามขั้นตอนของทางราชการทุกประการ ซึ่งผลที่เกิดขึ้นเป็นไปตามหลักฐานประจักษ์พยานทั้งสิ้น และเป็นไปตามมาตร 85 วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือน 2535
ที่สำคัญคือ ตามกระบวนการสอบสวนข้อเท็จจริงไม่สามารถสรุปได้ล่วงหน้าว่ารูปคดีจะออกมาในรูปใด หากมีการรับรองผลหรือคาดหวังผลล่วงหน้าได้ ระบบความยุติธรรมก็จะไม่มีความหมายและเกิดความเสียหายต่อทางราชการในที่สุด และระหว่างที่อยู่ในกระบวนการสอบสวนจะยังถือว่าผู้ที่ถูกสอบยังเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าจะมีข้อสรุปปรากฏออกมา จะด่วนสรุปก่อนมิได้
“ขอให้ น.พ.เกรียงศักดิ์ยอมรับและปฏิบัติตามคำสั่งลงโทษภาคทัณฑ์นี้ เพราะเป็นการลงโทษทางวินัยขั้นไม่ร้ายแรงขนานเบาที่สุด และตั้งใจปฏิบัติงานเพื่อประชาชนต่อไป”
น.พ.วัลลภกล่าวด้วยว่า อย่างไรก็ดี น.พ.เกรียงศักดิ์สามารถมีสิทธิ์อุทธรณ์คำสั่งนี้ต่อ ก.พ.ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่รับทราบคำสั่งลงโทษตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในกฎ ก.พ.ฉบับที่ 16(พ.ศ.2540) ว่าด้วยการอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์ และหาก น.พ.เกรียงศักดิ์ประสงค์จะฟ้องโต้แย้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ต่อศาลปกครองก็สามารถทำได้ โดยทำคำฟ้องเป็นหนังสือยื่นหรือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับต่อศาลปกครองขั้นต้นที่มีภูมิลำเนา หรือมูลคดีเกิดขึ้นในเขตอำนาจศาลภายใน 90 วัน นับตั้งแต่รับแจ้งหรือทราบคำวินิจฉัยอุทธรณ์ ตามความในมาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง 2539 และมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542