บ้านเดี่ยวสีขาว 10 กว่าหลังเรียงตัวทอดยาวท่ามกลางที่พื้นกว้าง ซึ่งห่างไกลจากถนนใหญ่ ช่วงกลางวันแม้อากาศจะค่อนไปทางร้อน แต่การตกแต่งสถานที่ช่วยให้ดูร่มเย็นและน่าอยู่ขึ้น ต้นไม้ใบหญ้ามีทีท่าว่ายังเติบโตไปได้อีกนาน แม้จะไม่ใช่ไม้ใหญ่มากนัก แต่ก็พอที่จะแผ่กิ่งก้านให้ความร่มรื่น
สระน้ำถูกขุดเป็นทางยาวคดเคี้ยวพาดผ่านบ้านแต่ละหลังเพื่อเสริมบรรยากาศ ลักษณะจึงคล้ายสองฝั่งคลองไปโดยปริยาย สะพานไม้จึงได้ทำหน้าที่เชื้อเชิญผู้คนทั้งสองฟากฝั่งให้ก้าวข้ามไปมาหาสู่กัน รั้วขาวถูกก่อตัวขึ้นเพื่อบอกเขตแดนหาใช่เพื่อปิดกั้นโลกภายนอก จึงมีลักษณะโปร่ง และไม่สูงมากนักพอที่ลมเย็นๆจะพัดเข้ามาได้ ทำให้บ้านแต่ละหลังไม่ร้อนและอยู่สบาย
ใครไม่ใช่คนพื้นที่นี้คงเข้าใจว่า นี่คือหมู่บ้านจัดสรรสร้างใหม่ หรือไม่ก็โรงเรียนประจำ แต่แท้จริงแล้วที่นี่คือ“บ้านกาญจนาภิเษก” ซึ่งเป็นศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน เฉกเช่นเดียวกับบ้านเมตตา บ้านมุทิตา บ้านอุเบกขา บ้านปราณี และศูนย์ฯศิรินธร แต่โครงสร้างการบริหาร จัดการภายในจะแตกต่างจากที่อื่นโดยสิ้นเชิง

โลกใหม่ที่บ้านแห่งใหม่
นัท (นามสมมุติ) หนุ่มน้อยวัย 17 ปี เคยทำผิดด้วยข้อหาพรากผู้เยาว์และกระทำชำเรา หลังศาลตัดสิน เขาถูกส่งตัวมาอยู่ศูนย์ฝึกอบรมฯแห่งหนึ่ง ความเป็นอยู่ที่นั้นสร้างความกดดันและหวาดผวาให้กับเขาไม่น้อย จากนั้นไม่นานนัก นัทก็ถูกส่งตัวมาอยู่ที่บ้านกาญจนาภิเษกแห่งนี้
นัทเล่าว่า วันแรกที่เข้ามาอยู่ดูจากบรรยากาศแล้วรู้สึกปลอดภัยมากขึ้น ยิ่งพออยู่มาครบอาทิตย์บอกได้เลยว่าที่นี่ดีมาก ไม่คิดว่าคนที่ทำความผิด จะได้อยู่ในที่ที่ดีอย่างนี้ ที่ที่ให้โอกาสและให้อภัย จนรู้สึกว่ากลับออกไปได้ จะทำตัวดีไม่กลับมาอยู่อีก ถ้ากลับมาก็คือกลับมาเยี่ยมเพื่อนๆ ป้ามล แล้วก็ครูทุกคน
“อยู่ได้ไม่นาน ป้ามลก็พายกโขยงไปกินหมูกะทะแล้ว ทั้งๆ ที่ไม่รู้ว่าพวกเราคิดยังไง ไม่กลัวหนีด้วย ให้ความไว้วางใจมาก ไม่เหมือนกับบ้านที่ผมย้ายมา ที่ทำอะไรก็โดนดุ มีขาใหญ่คุม น่าอยู่กว่าที่เคยอยู่มา ทำให้เวลาที่ผมทำผิดผมไม่กลัวว่าจะถูกลงโทษแล้ว เพราะมันไม่มีไง แต่กลัวที่จะทำให้ครู หรือป้ามลผิดหวังมากกว่า หรือเสียความตั้งใจที่มีให้กับผม”
ณ ปัจจุบัน เจ้าหน้าที่หลายคนลงความเห็นว่า นัทดีขึ้นทั้งกายและจิตใจ ซึ่งนัทเองก็รู้สึกเช่นนั้น
หรืออย่างในรายของ “พจน์”(นามสมมติ) ที่เขียนจดหมายมาบรรยายความรู้สึกว่า
....ต้องลำบากนิดหน่อยตรงที่ต้องช่วยทำความสะอาดบ้านและทำอะไรด้วยตัวเอง เพราะตอนอยู่กับแม่ไม่เคยต้องทำอะไรเลย การมาอยู่ที่นี้จึงเหมือนเป็นการมาชดใช้สิ่งที่เคยทำผิดไปในอดีต
...ตอนทำไม่คิด มาวันนี้เพิ่งจะเข้าใจ ตอนที่เขาปล่อยให้เราอยู่กับตัวเองมากขึ้นได้คิด หรืออย่างตอนป้ามลเอาข่าวมาให้วิเคราะห์ เราฉุกคิดได้เลย ว่าที่ผ่านมา เราคิดถึงแต่ตัวเราฝ่ายเดียวไม่คิดถึงคนอื่น ถึงได้ทรมาน อยากหนี อยากไปที่อื่น แต่ตอนนี้ไม่ไปแล้ว จะอยู่ทำตัวเป็นคนดี กลับออกไปจะได้มีคนยอมรับ แต่ก็ไม่รู้ว่าจะมีหรือเปล่า
...ที่นี่เป็นเหมือนกับบ้านหลังที่ 2 ผมสามารถรับรู้ได้ถึงความรักที่ป้าและครูคนอื่นมีให้รวมถึงการให้อภัย เพราะบ้านแรกรับหลังเดิมที่เคยอยู่มานั้นมีแต่เรื่องทะเลาะวิวาทและน่ากลัวจนทำให้รู้สึกว่าเหมือนตกขุมนรก จนอยากให้ไปรับเพื่อนๆที่อยู่บ้านอื่นมาอยู่ด้วยกัน
ความในใจและความรู้สึกของนัทและพจน์ เป็นแค่เพียงส่วนหนึ่งของเยาวชนที่เคยทำผิดพลาดในชีวิต และได้มามีชีวิตใหม่เมื่อได้มาอยู่ภายใต้ชายคาของบ้านกาญจนาภิเษก-บ้านแห่งใหม่ที่มีความแตกต่างไปจากบ้านเดิมๆ ที่มีอยู่อย่างสิ้นเชิง

ที่มาของอาณาจักรแห่งชีวิต
บ้านกาญจนาภิเษก เริ่มเปิดดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2545 เป็นโครงการนำร่องที่ต้องการจะดำเนินการให้สถานพินิจฯ มีแนวทางใหม่ในการเลี้ยงดู และปกป้องสิทธิเด็กและเยาวชนอายุระหว่าง 14 ถึง 24 ปี ที่กระทำผิด ให้มีความเป็นอยู่ที่เอื้อต่อการต่อการกลับตัวกลับใจ
ทั้งนี้ โดยมี ทิชา ณ นคร หรือ ป้ามล ของเด็กหนุ่มทั้งหลายแห่งบ้านนี้ สวมหมวกผู้อำนวยการโครงการบริหาร ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนบ้านกาญจนาภิเษก ซึ่งนับเป็นเอ็นจีโอคนแรกที่เข้ามาทำงานร่วมกับกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน
การก้าวเข้ามาครั้งนี้ไม่ได้ยิ่งใหญ่ขนาดที่คนภายนอกต้องร่วมรับรู้และกล่าวขาน แต่ก็ยิ่งใหญ่พอสำหรับการจุดไฟในใจของคนที่เคยก้าวพลาดในชีวิตให้คืนกลับมาอีกครั้ง
“พันธกิจ ของที่นี่ หมายมั่นให้เด็กที่เข้ามาอยู่หลุดพ้นจากพันธนาการหรือภาพลักษณ์ของเด็กในคุก อันธพาล หรือนักโทษ ด้วยการหนุนและกระตุ้นให้เห็นคุณค่าในตัวเองอย่างต่อเนื่อง จนตัวเด็กเกิดการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืนไปในทางที่ดี แต่การเปลี่ยนแปลงต้องมาจากใจของเขาเอง ต้องเกิดจากความปรารถนาที่จะเปลี่ยนแปลง ไม่ใช่อยากเปลี่ยนเพราะเขาบอกมา หรือว่าโดนบังคับ หรือโดนสั่ง”ป้ามลบอกเล่าถึงเป้าหมายในการทำงาน
แนวคิดการดูแลและปกครองของบ้านกาญจนาภิเษกนั้น อยู่ภายใต้ความเชื่อที่ว่า เมื่อเด็กๆ ตระหนักในคุณค่าของตัวเอง และเรียกกลับคืนมาได้ การเปลี่ยนแปลงที่อยากเห็น แต่ไม่เคยได้เห็นก็จะก่อรูป ก่อร่างอย่างมุ่งมั่น และเต็มเปี่ยมไปด้วยพลัง
เด็กๆจะได้รับสิทธิเต็มที่เพื่อเรียกคุณค่ากลับคืนมา เพราะบางคนยังฝังใจและเข้าใจว่าตัวเองคือ นักโทษ หมดสิ้นซึ่งการต่อรอง ต้องทำตามแต่เพียงอย่างเดียว ดังนั้น ป้ามลและเจ้าหน้าที่ทุกคนจึงเน้นเรื่องสิทธิการแสดงความคิดเห็นและการมีส่วนร่วม โดยได้มีการออกแบบโครงสร้างกิจกรรมหลายอย่างที่ตอกย้ำวัตถุจุดประสงค์อย่างชัดเจน
อาทิ ตู้รับฟังความคิดเห็น ถึงผู้อำนวยการโดยตรง ซึ่งก็ไม่ได้ทำแบบทิ้งๆขวางๆ ที่ติดตู้ไว้แล้วนานๆมาเปิดที แต่จะเปิดอ่านเพื่อรับรู้ความคิดเห็นและความต้องการของเด็กๆ ทุกวัน ที่สำคัญจะมีการเขียนตอบกลับไปแบบตัวต่อตัวอีกด้วย
...หลังจากที่ป้าพูดจบเมื่อวาน ผมเห็นป้าไม่ค่อยสบายใจ ผมก็รู้สึกไม่ค่อยสบายใจไปด้วย ไม่รู้จะทำยังไง แต่อยากบอกป้าว่ารีบหาย อย่าไปสน ป้าทำถูกแล้ว ไม่รู้ว่าพวกนั้นเขากล้าทำได้อย่างไร ทั้งที่บ้านก็ดีมีอิสระตั้งหลายอย่าง ดีกว่าที่เคยอยู่ๆมา รู้สึกว่าเขาช่างย่ามใจเหลือเกิน การที่ส่งตัวกลับไปที่เดิมนั้นก็ถือว่าเป็นการเชือดไก่ให้ลิงดู มีที่ดีๆให้อยู่แล้วไม่อยู่ก็ต้องปล่อยเขาไป
...วันแรกที่ผมเข้ามาอยู่ที่นี้ สิ่งที่ได้ป้าพูดอบรมความเข้าใจเกี่ยวกับบ้านหลังนี้ ผมคิดว่ามันเป็นเพียงคำพูดที่สวยหรู เอาไว้ตบตาคนทั่วไปเท่านั้น จะมีที่อย่างนี้ได้อย่างไรสำหรับพวกเรา แต่แล้วผมก็พบว่ามันเป็นเรื่องจริง ไม่เคยคิดมาก่อนว่าจะเจออย่างนี้ สมมุติว่าป้าไม่อยู่ที่นี้หรือที่นี่ไม่เป็นอย่างนี้อีกต่อไป ผมมีคำตอบ 2 ข้อในใจ คือ ทนเข้าสู่ระบบเดิมๆ ทนอยู่ต่อไปจนกว่าจะพ้นโทษ สองคือหนี ซึ่งผมคิดว่าคงจะเลือกอย่างหลังครับป้า จาก ....
เนื้อความท่อนหนึ่งจากจดหมายที่ได้จากตู้รับความคิดเห็นที่เด็กๆ ส่งถึงป้ามล แสดงให้เห็นว่าพวกเขามีความไว้วางใจในตัวเจ้าหน้าที่ค่อนข้างมาก บางข้อความบ่งบอกให้รู้ว่าพวกเขาเอาใจใส่คนที่อยู่ร่วมบ้านเดียวกันแม้จะต่างสถานะ ซึ่งป้ามลก็ได้ทราบความรู้สึกนั้นและเขียนตอบกลับไปแล้ว
“ทำอย่างนี้เพื่อให้เขารู้ว่า เรารับรู้แล้วนะ หรือว่าจะเป็นเรื่องเรียกร้องต่างๆ ก็บอกเขาว่าต้องค่อยหน่อย ถึงจะปรับและพัฒนาตามที่เขาต้องการได้ ถ้าเขาไม่บอกเรา ก็สามารถพูดคุยกับที่ปรึกษาประจำบ้านของเขาได้ คือที่นี่จะแบ่งนอนเป็นบ้านๆ เรามี 10 กว่าหลัง หลังหนึ่งจะอยู่ไม่มากนักจะได้ดูแลทั่วถึง ซึ่งจะลงลึกไปในรายละเอียดของแต่ละคนได้เลย ทำให้เราเข้าใจเขามากขึ้น”ป้ามลอธิบาย
นอกจากนี้ ยังมี กิจกรรมทักษะชีวิต ที่จะนำข่าวในแต่ละวันมาให้ฝึกวิเคราะห์ข่าว โดยลองให้สมมุติเป็นตัวละครในข่าวนั้น เมื่อเผชิญสถานการณ์นั้นขึ้นจะตัดสินใจอย่างไร เพราะการ ตัดสินใจเพียงครั้งเดียวอาจเปลี่ยนชีวิตคนได้ อย่างที่พวกเด็กๆ เป็นอยู่
หรือแม้แต่การออกนอกสถานที่เพื่อไปชมภาพยนตร์หรือกินข้าวนอกบ้าน ก็มีสิทธิทำได้ โดยบ้านกาญจนาภิเษกได้จัดทำโครงการเพื่อฝึกให้เยาวชนได้พัฒนาการใช้อำนาจภายในหรืออำนาจในการควบคุมการบังคับตนเอง แทนการใช้อำนาจจากเจ้าหน้าที่หรือการใช้กฎเหล็ก เช่น โครงการบ้านชนะใจ ซึ่งใครอยู่บ้านหลังนี้จะต้องไม่ยุ่งเกี่ยวกับอบายมุข ไม่ก่อการทะเลาะวิวาท รักษาระเบียบวินัยอย่างเคร่งครัด วิธีการคัดเลือกจะให้อาสาตัวเข้ามาเอง ถ้าทำไม่ได้ก็ต้องกลับไปอยู่บ้านหลังเดิม โครงการบ้านน่าอยู่ โครงการบันทึกจากห้องสมุด (สมุดทำมือ ซึ่งนำไปฝากวางขายที่สยามเซ็นเตอร์ และแลกให้เพื่อนอ่านในห้องสมุด) โครงการเยาวชนคนดี เป็นต้น
ทั้งนี้ แต่ละโครงการจะกำหนดผลที่คาดว่า “น่าพึงพอใจ” สำหรับเยาวชนไว้อย่างชัดเจน เช่น การพาไปซื้อหนังสือที่ห้างสรรพสินค้า การทานอาหารนอกบ้าน ชมภาพยนตร์ที่สยามเซ็นเตอร์ หรือพาไปถีบจักรยานนอกสถานที่ เป็นต้น ซึ่งก็ได้รับผลตอบรับจากเด็กๆดีเกินคาด
สำหรับสิทธิเรื่องการตัดสินใจและการไม่ถูกควบคุมในยามค่ำคืน จะเป็นสิทธิพิเศษของเด็กที่อยู่บ้านชนะใจเท่านั้น โดยทางปฏิบัติก็คือ ปล่อยให้เล่นกีฬาหรือทำกิจกรรมที่สนใจได้ตามสะดวกและตัดสินใจเองว่าจะขึ้นบ้านนอนเวลาใด (ในขณะที่คนที่ไม่ได้อยู่บ้านชนะใจต้องขึ้นนอนเวลา 19.30 น.) บนหลักคิดที่ว่าให้เกรงใจเจ้าหน้าที่และเกรงใจเพื่อนที่เข้าไม่ถึงโอกาสนี้

หนังสือสื่อทางขนานที่ลงตัว
อย่างที่ทราบกันดีว่าหนุ่มน้อยบ้านนี้ ส่วนมากแล้วจะล้มเหลวมาจากระบบการศึกษา เรียกได้ว่าเรื่องการเรียน อ่าน เขียนหนังสือกับพวกเขานั้นเป็นดั่งเส้นขนานเลยก็ว่าได้ แต่ที่บ้านกาญจนาภิเษกแห่งนี้ ภาพของพวกเขาเปลี่ยนไป ห้องสมุดกลายเป็นที่ที่ซึ่งหลายคนถวิลหา ประตูห้องสมุดจึงไม่เคยปิดสำหรับพวกเขา
“ตอนแรกมองดูแล้วว่า ตัวหนังสือกับพวกเขานั้นแทบไม่เป็นมิตรกันเลย แต่เรารู้ว่าเมื่อไหร่ที่เขาได้อ่าน เขาจะได้ เพราะมีสาระมากมายที่รอการมาย่อย แต่ถ้าจะไปบังคับก็คงไม่สนุกทั้งสองฝ่าย เลยคิดว่าหากตั้งเงื่อนไขที่ไม่ตึงเกินไป ก็น่าจะมีทางออกในการทำให้รักการอ่าน หรือเรียกร้องที่จะอ่านมันเอง”ป้ามลบอกเล่าถึงจุดเริ่มต้นของการทำหนังสือและสมุดทำมือ
หลังจับจุดได้ว่าเด็กๆ ต้องการเปิดหูเปิดตา ทางป้ามลและเจ้าหน้าที่จึงปรับเปลี่ยนความต้องการมาเป็นแรงบันดาลใจที่ยิ่งใหญ่และมีส่วนช่วยปรับทัศนคติของพวกเด็กๆได้ ภายใต้เงื่อนไข เข้าห้องสมุดประจำ สม่ำเสมอ อ่านแล้วรู้จักจดหรือเก็บเรื่องราวที่ประทับใจ จากนั้นนำมาต่อยอดทำเป็นหนังสือหรือสมุดบันทึกทำมือ โดยมีสโลแกน “มีสาระ สร้างสรรค์ สม่ำเสมอ” เพื่อนำไปให้เพื่อนๆอ่าน บางส่วนคัดเลือกนำไปฝากขายที่ร้านหนังสือข้างนอก
การทำเช่นนี้ไม่เพียงแต่จะเป็นการฆ่าเวลาที่เคยผ่านไปวันๆได้อย่างได้ผล เด็กหลายคนค้นพบว่า พวกเขามีศักยภาพในการเขียน การประดิษฐ์ตกแต่งมากมายทีเดียว นอกจากนั้น การแลกกันอ่านความคิดซึ่งกันและกัน ยังทำให้เขาเข้าใจและยอมรับความเป็นไปของการอยู่รวมกันในสังคมมากยิ่งขึ้น
เรื่องบางเรื่องที่บางคนประจำใจอาจดูไม่เอาไหนของอีกคนหนึ่ง แต่อย่างน้อยเขาก็จะได้รู้ว่า เพื่อนมีความชอบในจุดนี้ ในขณะที่บางคนผลงานที่ทำออกมาได้รับการกล่าวถึง แม้ในวงแคบก็เพียงพอที่จะทำให้เกิดความสุขใจกับการได้รับการยอมรับ และการมีตัวตนจริงอยู่ในสังคมด้วยวิธีที่ดีและสร้างสรรค์
ทั้งนี้ รางวัลสำหรับคนที่ได้รับการโหวตจะได้สิทธิ์ออกไปชอปปิงหนังสือตามใจชอบ เลือกให้ตัวเองหนึ่งเล่มและเลือกเข้าห้องสมุดให้เพื่อนๆอ่านอีกหนึ่งเล่ม โดยไม่กำหนดขอบเขต ลักษณะหรือรูปแบบหนังสือ

ป้ามลเล่าว่าหลายครั้งที่พาไป จะปล่อยให้เลือกเต็มที่ ไม่ค่อยบอกว่าผ่านไม่ผ่าน ซึ่งนับเป็นเรื่องที่แปลกมาก จนผู้ใหญ่หลายคนน่าจะเอามาเป็นบทเรียนบ้าง
“ในความเป็นจริงแล้วเด็กๆจะรู้คิดและรู้ตัดสินใจอยู่แล้ว เราอย่าไปกังวล วิตกกับการตัดสินใจของเขา อย่ากลัวว่าจะเป็นอย่างโน้น อย่างนี้ อย่างสร้างมโนภาพไปเอง เวลาที่เราเปิดกว้างให้เด็กๆตัดสินใจ เชื่อหรือไม่ว่าเด็กๆ ก็ไม่ได้ตัดสินใจเบียดเบียน หรือว่าเป็นไปแบบที่เราวิตกจริต เขารู้ดีว่าลิมิตของเขาอยู่ที่ไหน”
“ครอบครัว”ส่วนสำคัญที่ทำให้คนกลับใจ
ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่ ป้ามลตระหนักว่าไม่ควรมองข้ามโดยเด็ดขาด คือครอบครัว เพราะในช่วงเวลาที่เด็กๆต้องไกลบ้านจากพ่อแม่พี่น้อง มารับผิดชอบความผิดที่เคยกระทำไปนั้น ส่วนหนึ่งจะรู้สึกว่าถูกลงโทษให้โดนทอดทิ้ง ไม่มีใครเหลียวแลอยู่แล้ว ต่อให้ได้ความรักความเข้าใจจากใครที่รายล้อมมากมายก็ไม่เท่าจากครอบครัวของพวกเขาเอง
“หลายครอบครัวหลังจากเสร็จสิ้นการพิจารณาคดีทางกฎหมายแล้ว ศาลตัดสินให้ส่งตัวมาอยู่ที่นี่หรือที่บ้านหลังอื่นๆ ก็ขาดการติดต่อไปเลย โดยมองว่า จากนี้ไปเป็นภาระรับผิดชอบของกรมพินิจฯ จะทำอะไรก็เชิญ ขออย่างเดียวอย่างมาสร้างความเดือดเนื้อร้อนใจให้อีกเลย บางครอบครัวลืมไปว่าลูกเข้ามาเพื่อให้สำนึกในสิ่งที่เคยก้าวพลาด และปรับความพร้อมด้านจิตใจ เมื่อถึงวันหนึ่งก็จะต้องก้าวออกไปใช้ชีวิตปกติอย่างที่เคยเป็นมา”
“ฉะนั้น กำลังใจจากคนในครอบครัวที่เด็กๆ คุ้นเคยจึงเป็นส่วนสำคัญที่ละเลยไม่ได้ คือถ้าเขารู้สึกว่าคนในครอบครัวให้อภัย ให้โอกาส เขาก็จะรู้สึกเชื่อใจและสนิทใจจนอยากกลับไปอยู่ด้วย และพร้อมจะเริ่มต้นใหม่ ซึ่งก็คงจะเหมือนกับคำกล่าวของ แอร์โรลด์ เอส อัลเบิร์ต ที่ว่า เด็กๆต้องการความรัก โดยเฉพาะเวลาที่ทำตัวไม่สมควรได้รับความรัก”
ดังนั้น ที่นี่จึงเปิดโอกาสให้ญาติเข้าเยี่ยมได้ทุกวันอาทิตย์ที่ 1 และ 3 ของเดือน และหากใครที่เข้ามาอยู่จนครบ 3 เดือนแล้วจะได้รับคะแนนเดือนละ 100 คะแนน หากเดือนนั้นสามารถรักษาคะแนนได้ไม่ต่ำกว่า 60 คะแนนและพ่อแม่แสดงความจำนงขอรับกลับไปเยี่ยมบ้าน ก็จะได้รับสิทธินั้นทันที ส่วนใครที่ไม่มีพ่อแม่หรือญาติพี่น้องมาเยี่ยม เจ้าหน้าที่จะเป็นผู้พาไปเยี่ยมบ้านด้วยตัวเอง
“ก็ในเมื่อพวกเด็กๆไม่ใช่นักโทษ แล้วที่นี่ก็ไม่ใช่คุก เป็นแค่บ้านพักชั่วคราวของวัยรุ่นที่บังเอิญใช้ชีวิตก้าวผิดจังหวะไป จนเป็นเหตุให้ต้องสูญเสียอิสรภาพชั่วคราว พวกเขาก็สมควรที่จะได้รับไออุ่นจากครอบครัวบ้าง ได้กลับไปนอนคุยกันให้ความสัมพันธ์ในครอบครัวแนบแน่นขึ้น แล้วค่อยกลับมารับผิดชอบการกระทำของตนเองต่อ”
หรือแม้แต่เรื่องเล็กๆ น้อยๆ อย่างการแต่งกาย ที่นี่ก็ไม่ละเลยเพราะเข้าใจในธรรมชาติของวัยรุ่นที่อยากแต่งตัวให้ดูเท่ห์ ดูดีตามสมัยนิยม ฉะนั้น ทุกวันศุกร์หรือทุกครั้งที่ได้รับสิทธิให้ออกไปข้างนอก จึงเปิดโอกาสให้แต่งกายตามต้องการ เป้าหมายเพื่อให้ตระหนักในอำนาจของตนเองที่ยังดำรงอยู่จริง โดยเฉพาะอำนาจในการคิด การตัดสินใจและการเป็นตัวของตัวเอง ภายใต้สถานการณ์ที่ถูกจำกัดอิสรภาพตามเงื่อนไขของกฎหมาย

โอกาสมีไว้ใช้ ใช่มีไว้ฉวย
ฟังดูเหมือนว่า เด็กที่ได้เข้ามาอยู่ที่นี่จะสบาย จนเหมือนไม่ได้มารับโทษทัณฑ์ ป้ามลซึ่งคลุกคลี่กับเด็กๆ มาปีกว่า อธิบายว่า “เพียงแค่ต้องจากบ้านมาก็ถือเป็นการลงโทษแล้ว แล้วหากมาตอกย้ำว่าแกทำผิดนะ อย่าพูด อย่าถาม อย่าเถียง สารพัดห้าม ก็จะทำให้ยิ่งไปกันใหญ่ เท่ากับเราไปทำลายคุณลักษณะที่ดีของความเป็นคน ถ้าเขาไม่เหลือตรงนี้แล้วจะกู่ให้กลับก็ยาก คุณค่าของความเป็นคนคือต้องมีสิทธิในการต่อรอง”
“ลองนึกภาพคนที่อยู่อย่างเลือกไม่ได้ จะทรมานและกดดันแค่ไหน พวกเขาก็เช่นกัน แต่ก็ใช่ว่าบ้านหลังนี้จะให้จนไร้ขอบเขต เราก็มีขอบเขต มีกฎที่ให้มีส่วนร่วมในการกำหนดขึ้นมาแล้วให้รักษากฎที่ขีดเอาไว้เองให้ได้ เหมือนกับการฝึกให้รับผิดชอบในสิ่งที่ทำ พูดไปเหมือนง่าย แต่การเอาชนะใจตัวเองไม่ใช่เรื่องง่ายเลย”
“ยิ่งทุกวันนี้สิ่งแวดล้อมมันยั่วยุ ใจมันร่ำร้อง อย่างเห็นบุหรี่แล้วอยากสูบ บางคนก็จะคิดหาทางเข้าข้างตัวเองว่า แค่ม้วนเดียวไม่เป็นไรหรอก แต่บางคนไปแอบสูบมา แล้วมาสารภาพกลางที่ประชุม นั่นคือสัญญาณที่ดีสะท้อนให้เห็นว่าจิตสำนึกทำงานแล้ว เราต้องดีใจ เราพยายามทำให้เขาเห็นว่าการชนะใจตัวเอง คือชัยชนะที่ยั่งยืน” ป้ามลอธิบายถึงวิธีการทำงานว่า จะต้องเน้นย้ำกับเด็กๆ ว่า ให้ใช้วิกฤตนี้ให้เป็นโอกาส อย่าเป็นคนถือโอกาส ฉวยเอาความหวังดีของเราไปทำผิดมาอีก เพราะที่นี่จะไม่ทำโทษแบบแตะเนื้อต้องตัว ไม่ทำทารุณ ไม่ประจาน ไม่ทำให้เจ็บ จึงมีบางคนที่เอาตรงนี้ไปทำผิดซ้ำซาก แต่จะพยายามสร้างจิตสำนึกให้กลับคืนมา ทำให้เห็นว่าอิสรภาพจากบ้านหลังนี้ สามารถเปลี่ยนแปลงตัวเองได้
ที่สำคัญคือ อยากให้เด็กๆ ตัดขาดจากปัญหาที่เคยติดตัวมา และไม่มีปัญหาใหม่ๆติดตัวออกไป กลับเป็นลูกที่ดีของพ่อแม่ หรือในอนาคตถ้าจะมีคนรัก มีครอบครัวก็ให้เป็นเป็นพ่อ เป็นสามีที่รับผิดชอบ ทำบ้านในอุดมคติเป็นจริง มีความรัก ความเข้าใจ และให้อภัย เพราะบ้านที่จะเก็บเด็กๆเอาไว้ได้จะต้องเป็นบ้านที่เย็น คือให้โอกาสและไม่ซ้ำเติม
สำหรับใครที่ต้องการแบ่งปันความรู้ ความสนุกและความประทับใจในหนังสือให้น้องๆได้อ่านและต่อยอดทางความคิด สามารถส่งมาได้ที่ ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนบ้านกาญจนาภิเษก 103 หมู่ที่ 2 ต.คลองโยง อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม 73170 โทร 0 3424 6252-6 โทรสาร 0 3424 6253 4 หรือที่ Email//sptc.kamjanapisak@moi.go.th
ตัวอย่างจดหมายที่ป้ามลส่งถึงผู้ปกครอง

สระน้ำถูกขุดเป็นทางยาวคดเคี้ยวพาดผ่านบ้านแต่ละหลังเพื่อเสริมบรรยากาศ ลักษณะจึงคล้ายสองฝั่งคลองไปโดยปริยาย สะพานไม้จึงได้ทำหน้าที่เชื้อเชิญผู้คนทั้งสองฟากฝั่งให้ก้าวข้ามไปมาหาสู่กัน รั้วขาวถูกก่อตัวขึ้นเพื่อบอกเขตแดนหาใช่เพื่อปิดกั้นโลกภายนอก จึงมีลักษณะโปร่ง และไม่สูงมากนักพอที่ลมเย็นๆจะพัดเข้ามาได้ ทำให้บ้านแต่ละหลังไม่ร้อนและอยู่สบาย
ใครไม่ใช่คนพื้นที่นี้คงเข้าใจว่า นี่คือหมู่บ้านจัดสรรสร้างใหม่ หรือไม่ก็โรงเรียนประจำ แต่แท้จริงแล้วที่นี่คือ“บ้านกาญจนาภิเษก” ซึ่งเป็นศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน เฉกเช่นเดียวกับบ้านเมตตา บ้านมุทิตา บ้านอุเบกขา บ้านปราณี และศูนย์ฯศิรินธร แต่โครงสร้างการบริหาร จัดการภายในจะแตกต่างจากที่อื่นโดยสิ้นเชิง
โลกใหม่ที่บ้านแห่งใหม่
นัท (นามสมมุติ) หนุ่มน้อยวัย 17 ปี เคยทำผิดด้วยข้อหาพรากผู้เยาว์และกระทำชำเรา หลังศาลตัดสิน เขาถูกส่งตัวมาอยู่ศูนย์ฝึกอบรมฯแห่งหนึ่ง ความเป็นอยู่ที่นั้นสร้างความกดดันและหวาดผวาให้กับเขาไม่น้อย จากนั้นไม่นานนัก นัทก็ถูกส่งตัวมาอยู่ที่บ้านกาญจนาภิเษกแห่งนี้
นัทเล่าว่า วันแรกที่เข้ามาอยู่ดูจากบรรยากาศแล้วรู้สึกปลอดภัยมากขึ้น ยิ่งพออยู่มาครบอาทิตย์บอกได้เลยว่าที่นี่ดีมาก ไม่คิดว่าคนที่ทำความผิด จะได้อยู่ในที่ที่ดีอย่างนี้ ที่ที่ให้โอกาสและให้อภัย จนรู้สึกว่ากลับออกไปได้ จะทำตัวดีไม่กลับมาอยู่อีก ถ้ากลับมาก็คือกลับมาเยี่ยมเพื่อนๆ ป้ามล แล้วก็ครูทุกคน
“อยู่ได้ไม่นาน ป้ามลก็พายกโขยงไปกินหมูกะทะแล้ว ทั้งๆ ที่ไม่รู้ว่าพวกเราคิดยังไง ไม่กลัวหนีด้วย ให้ความไว้วางใจมาก ไม่เหมือนกับบ้านที่ผมย้ายมา ที่ทำอะไรก็โดนดุ มีขาใหญ่คุม น่าอยู่กว่าที่เคยอยู่มา ทำให้เวลาที่ผมทำผิดผมไม่กลัวว่าจะถูกลงโทษแล้ว เพราะมันไม่มีไง แต่กลัวที่จะทำให้ครู หรือป้ามลผิดหวังมากกว่า หรือเสียความตั้งใจที่มีให้กับผม”
ณ ปัจจุบัน เจ้าหน้าที่หลายคนลงความเห็นว่า นัทดีขึ้นทั้งกายและจิตใจ ซึ่งนัทเองก็รู้สึกเช่นนั้น
หรืออย่างในรายของ “พจน์”(นามสมมติ) ที่เขียนจดหมายมาบรรยายความรู้สึกว่า
....ต้องลำบากนิดหน่อยตรงที่ต้องช่วยทำความสะอาดบ้านและทำอะไรด้วยตัวเอง เพราะตอนอยู่กับแม่ไม่เคยต้องทำอะไรเลย การมาอยู่ที่นี้จึงเหมือนเป็นการมาชดใช้สิ่งที่เคยทำผิดไปในอดีต
...ตอนทำไม่คิด มาวันนี้เพิ่งจะเข้าใจ ตอนที่เขาปล่อยให้เราอยู่กับตัวเองมากขึ้นได้คิด หรืออย่างตอนป้ามลเอาข่าวมาให้วิเคราะห์ เราฉุกคิดได้เลย ว่าที่ผ่านมา เราคิดถึงแต่ตัวเราฝ่ายเดียวไม่คิดถึงคนอื่น ถึงได้ทรมาน อยากหนี อยากไปที่อื่น แต่ตอนนี้ไม่ไปแล้ว จะอยู่ทำตัวเป็นคนดี กลับออกไปจะได้มีคนยอมรับ แต่ก็ไม่รู้ว่าจะมีหรือเปล่า
...ที่นี่เป็นเหมือนกับบ้านหลังที่ 2 ผมสามารถรับรู้ได้ถึงความรักที่ป้าและครูคนอื่นมีให้รวมถึงการให้อภัย เพราะบ้านแรกรับหลังเดิมที่เคยอยู่มานั้นมีแต่เรื่องทะเลาะวิวาทและน่ากลัวจนทำให้รู้สึกว่าเหมือนตกขุมนรก จนอยากให้ไปรับเพื่อนๆที่อยู่บ้านอื่นมาอยู่ด้วยกัน
ความในใจและความรู้สึกของนัทและพจน์ เป็นแค่เพียงส่วนหนึ่งของเยาวชนที่เคยทำผิดพลาดในชีวิต และได้มามีชีวิตใหม่เมื่อได้มาอยู่ภายใต้ชายคาของบ้านกาญจนาภิเษก-บ้านแห่งใหม่ที่มีความแตกต่างไปจากบ้านเดิมๆ ที่มีอยู่อย่างสิ้นเชิง
ที่มาของอาณาจักรแห่งชีวิต
บ้านกาญจนาภิเษก เริ่มเปิดดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2545 เป็นโครงการนำร่องที่ต้องการจะดำเนินการให้สถานพินิจฯ มีแนวทางใหม่ในการเลี้ยงดู และปกป้องสิทธิเด็กและเยาวชนอายุระหว่าง 14 ถึง 24 ปี ที่กระทำผิด ให้มีความเป็นอยู่ที่เอื้อต่อการต่อการกลับตัวกลับใจ
ทั้งนี้ โดยมี ทิชา ณ นคร หรือ ป้ามล ของเด็กหนุ่มทั้งหลายแห่งบ้านนี้ สวมหมวกผู้อำนวยการโครงการบริหาร ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนบ้านกาญจนาภิเษก ซึ่งนับเป็นเอ็นจีโอคนแรกที่เข้ามาทำงานร่วมกับกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน
การก้าวเข้ามาครั้งนี้ไม่ได้ยิ่งใหญ่ขนาดที่คนภายนอกต้องร่วมรับรู้และกล่าวขาน แต่ก็ยิ่งใหญ่พอสำหรับการจุดไฟในใจของคนที่เคยก้าวพลาดในชีวิตให้คืนกลับมาอีกครั้ง
“พันธกิจ ของที่นี่ หมายมั่นให้เด็กที่เข้ามาอยู่หลุดพ้นจากพันธนาการหรือภาพลักษณ์ของเด็กในคุก อันธพาล หรือนักโทษ ด้วยการหนุนและกระตุ้นให้เห็นคุณค่าในตัวเองอย่างต่อเนื่อง จนตัวเด็กเกิดการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืนไปในทางที่ดี แต่การเปลี่ยนแปลงต้องมาจากใจของเขาเอง ต้องเกิดจากความปรารถนาที่จะเปลี่ยนแปลง ไม่ใช่อยากเปลี่ยนเพราะเขาบอกมา หรือว่าโดนบังคับ หรือโดนสั่ง”ป้ามลบอกเล่าถึงเป้าหมายในการทำงาน
แนวคิดการดูแลและปกครองของบ้านกาญจนาภิเษกนั้น อยู่ภายใต้ความเชื่อที่ว่า เมื่อเด็กๆ ตระหนักในคุณค่าของตัวเอง และเรียกกลับคืนมาได้ การเปลี่ยนแปลงที่อยากเห็น แต่ไม่เคยได้เห็นก็จะก่อรูป ก่อร่างอย่างมุ่งมั่น และเต็มเปี่ยมไปด้วยพลัง
เด็กๆจะได้รับสิทธิเต็มที่เพื่อเรียกคุณค่ากลับคืนมา เพราะบางคนยังฝังใจและเข้าใจว่าตัวเองคือ นักโทษ หมดสิ้นซึ่งการต่อรอง ต้องทำตามแต่เพียงอย่างเดียว ดังนั้น ป้ามลและเจ้าหน้าที่ทุกคนจึงเน้นเรื่องสิทธิการแสดงความคิดเห็นและการมีส่วนร่วม โดยได้มีการออกแบบโครงสร้างกิจกรรมหลายอย่างที่ตอกย้ำวัตถุจุดประสงค์อย่างชัดเจน
อาทิ ตู้รับฟังความคิดเห็น ถึงผู้อำนวยการโดยตรง ซึ่งก็ไม่ได้ทำแบบทิ้งๆขวางๆ ที่ติดตู้ไว้แล้วนานๆมาเปิดที แต่จะเปิดอ่านเพื่อรับรู้ความคิดเห็นและความต้องการของเด็กๆ ทุกวัน ที่สำคัญจะมีการเขียนตอบกลับไปแบบตัวต่อตัวอีกด้วย
...หลังจากที่ป้าพูดจบเมื่อวาน ผมเห็นป้าไม่ค่อยสบายใจ ผมก็รู้สึกไม่ค่อยสบายใจไปด้วย ไม่รู้จะทำยังไง แต่อยากบอกป้าว่ารีบหาย อย่าไปสน ป้าทำถูกแล้ว ไม่รู้ว่าพวกนั้นเขากล้าทำได้อย่างไร ทั้งที่บ้านก็ดีมีอิสระตั้งหลายอย่าง ดีกว่าที่เคยอยู่ๆมา รู้สึกว่าเขาช่างย่ามใจเหลือเกิน การที่ส่งตัวกลับไปที่เดิมนั้นก็ถือว่าเป็นการเชือดไก่ให้ลิงดู มีที่ดีๆให้อยู่แล้วไม่อยู่ก็ต้องปล่อยเขาไป
...วันแรกที่ผมเข้ามาอยู่ที่นี้ สิ่งที่ได้ป้าพูดอบรมความเข้าใจเกี่ยวกับบ้านหลังนี้ ผมคิดว่ามันเป็นเพียงคำพูดที่สวยหรู เอาไว้ตบตาคนทั่วไปเท่านั้น จะมีที่อย่างนี้ได้อย่างไรสำหรับพวกเรา แต่แล้วผมก็พบว่ามันเป็นเรื่องจริง ไม่เคยคิดมาก่อนว่าจะเจออย่างนี้ สมมุติว่าป้าไม่อยู่ที่นี้หรือที่นี่ไม่เป็นอย่างนี้อีกต่อไป ผมมีคำตอบ 2 ข้อในใจ คือ ทนเข้าสู่ระบบเดิมๆ ทนอยู่ต่อไปจนกว่าจะพ้นโทษ สองคือหนี ซึ่งผมคิดว่าคงจะเลือกอย่างหลังครับป้า จาก ....
เนื้อความท่อนหนึ่งจากจดหมายที่ได้จากตู้รับความคิดเห็นที่เด็กๆ ส่งถึงป้ามล แสดงให้เห็นว่าพวกเขามีความไว้วางใจในตัวเจ้าหน้าที่ค่อนข้างมาก บางข้อความบ่งบอกให้รู้ว่าพวกเขาเอาใจใส่คนที่อยู่ร่วมบ้านเดียวกันแม้จะต่างสถานะ ซึ่งป้ามลก็ได้ทราบความรู้สึกนั้นและเขียนตอบกลับไปแล้ว
“ทำอย่างนี้เพื่อให้เขารู้ว่า เรารับรู้แล้วนะ หรือว่าจะเป็นเรื่องเรียกร้องต่างๆ ก็บอกเขาว่าต้องค่อยหน่อย ถึงจะปรับและพัฒนาตามที่เขาต้องการได้ ถ้าเขาไม่บอกเรา ก็สามารถพูดคุยกับที่ปรึกษาประจำบ้านของเขาได้ คือที่นี่จะแบ่งนอนเป็นบ้านๆ เรามี 10 กว่าหลัง หลังหนึ่งจะอยู่ไม่มากนักจะได้ดูแลทั่วถึง ซึ่งจะลงลึกไปในรายละเอียดของแต่ละคนได้เลย ทำให้เราเข้าใจเขามากขึ้น”ป้ามลอธิบาย
นอกจากนี้ ยังมี กิจกรรมทักษะชีวิต ที่จะนำข่าวในแต่ละวันมาให้ฝึกวิเคราะห์ข่าว โดยลองให้สมมุติเป็นตัวละครในข่าวนั้น เมื่อเผชิญสถานการณ์นั้นขึ้นจะตัดสินใจอย่างไร เพราะการ ตัดสินใจเพียงครั้งเดียวอาจเปลี่ยนชีวิตคนได้ อย่างที่พวกเด็กๆ เป็นอยู่
หรือแม้แต่การออกนอกสถานที่เพื่อไปชมภาพยนตร์หรือกินข้าวนอกบ้าน ก็มีสิทธิทำได้ โดยบ้านกาญจนาภิเษกได้จัดทำโครงการเพื่อฝึกให้เยาวชนได้พัฒนาการใช้อำนาจภายในหรืออำนาจในการควบคุมการบังคับตนเอง แทนการใช้อำนาจจากเจ้าหน้าที่หรือการใช้กฎเหล็ก เช่น โครงการบ้านชนะใจ ซึ่งใครอยู่บ้านหลังนี้จะต้องไม่ยุ่งเกี่ยวกับอบายมุข ไม่ก่อการทะเลาะวิวาท รักษาระเบียบวินัยอย่างเคร่งครัด วิธีการคัดเลือกจะให้อาสาตัวเข้ามาเอง ถ้าทำไม่ได้ก็ต้องกลับไปอยู่บ้านหลังเดิม โครงการบ้านน่าอยู่ โครงการบันทึกจากห้องสมุด (สมุดทำมือ ซึ่งนำไปฝากวางขายที่สยามเซ็นเตอร์ และแลกให้เพื่อนอ่านในห้องสมุด) โครงการเยาวชนคนดี เป็นต้น
ทั้งนี้ แต่ละโครงการจะกำหนดผลที่คาดว่า “น่าพึงพอใจ” สำหรับเยาวชนไว้อย่างชัดเจน เช่น การพาไปซื้อหนังสือที่ห้างสรรพสินค้า การทานอาหารนอกบ้าน ชมภาพยนตร์ที่สยามเซ็นเตอร์ หรือพาไปถีบจักรยานนอกสถานที่ เป็นต้น ซึ่งก็ได้รับผลตอบรับจากเด็กๆดีเกินคาด
สำหรับสิทธิเรื่องการตัดสินใจและการไม่ถูกควบคุมในยามค่ำคืน จะเป็นสิทธิพิเศษของเด็กที่อยู่บ้านชนะใจเท่านั้น โดยทางปฏิบัติก็คือ ปล่อยให้เล่นกีฬาหรือทำกิจกรรมที่สนใจได้ตามสะดวกและตัดสินใจเองว่าจะขึ้นบ้านนอนเวลาใด (ในขณะที่คนที่ไม่ได้อยู่บ้านชนะใจต้องขึ้นนอนเวลา 19.30 น.) บนหลักคิดที่ว่าให้เกรงใจเจ้าหน้าที่และเกรงใจเพื่อนที่เข้าไม่ถึงโอกาสนี้
หนังสือสื่อทางขนานที่ลงตัว
อย่างที่ทราบกันดีว่าหนุ่มน้อยบ้านนี้ ส่วนมากแล้วจะล้มเหลวมาจากระบบการศึกษา เรียกได้ว่าเรื่องการเรียน อ่าน เขียนหนังสือกับพวกเขานั้นเป็นดั่งเส้นขนานเลยก็ว่าได้ แต่ที่บ้านกาญจนาภิเษกแห่งนี้ ภาพของพวกเขาเปลี่ยนไป ห้องสมุดกลายเป็นที่ที่ซึ่งหลายคนถวิลหา ประตูห้องสมุดจึงไม่เคยปิดสำหรับพวกเขา
“ตอนแรกมองดูแล้วว่า ตัวหนังสือกับพวกเขานั้นแทบไม่เป็นมิตรกันเลย แต่เรารู้ว่าเมื่อไหร่ที่เขาได้อ่าน เขาจะได้ เพราะมีสาระมากมายที่รอการมาย่อย แต่ถ้าจะไปบังคับก็คงไม่สนุกทั้งสองฝ่าย เลยคิดว่าหากตั้งเงื่อนไขที่ไม่ตึงเกินไป ก็น่าจะมีทางออกในการทำให้รักการอ่าน หรือเรียกร้องที่จะอ่านมันเอง”ป้ามลบอกเล่าถึงจุดเริ่มต้นของการทำหนังสือและสมุดทำมือ
หลังจับจุดได้ว่าเด็กๆ ต้องการเปิดหูเปิดตา ทางป้ามลและเจ้าหน้าที่จึงปรับเปลี่ยนความต้องการมาเป็นแรงบันดาลใจที่ยิ่งใหญ่และมีส่วนช่วยปรับทัศนคติของพวกเด็กๆได้ ภายใต้เงื่อนไข เข้าห้องสมุดประจำ สม่ำเสมอ อ่านแล้วรู้จักจดหรือเก็บเรื่องราวที่ประทับใจ จากนั้นนำมาต่อยอดทำเป็นหนังสือหรือสมุดบันทึกทำมือ โดยมีสโลแกน “มีสาระ สร้างสรรค์ สม่ำเสมอ” เพื่อนำไปให้เพื่อนๆอ่าน บางส่วนคัดเลือกนำไปฝากขายที่ร้านหนังสือข้างนอก
การทำเช่นนี้ไม่เพียงแต่จะเป็นการฆ่าเวลาที่เคยผ่านไปวันๆได้อย่างได้ผล เด็กหลายคนค้นพบว่า พวกเขามีศักยภาพในการเขียน การประดิษฐ์ตกแต่งมากมายทีเดียว นอกจากนั้น การแลกกันอ่านความคิดซึ่งกันและกัน ยังทำให้เขาเข้าใจและยอมรับความเป็นไปของการอยู่รวมกันในสังคมมากยิ่งขึ้น
เรื่องบางเรื่องที่บางคนประจำใจอาจดูไม่เอาไหนของอีกคนหนึ่ง แต่อย่างน้อยเขาก็จะได้รู้ว่า เพื่อนมีความชอบในจุดนี้ ในขณะที่บางคนผลงานที่ทำออกมาได้รับการกล่าวถึง แม้ในวงแคบก็เพียงพอที่จะทำให้เกิดความสุขใจกับการได้รับการยอมรับ และการมีตัวตนจริงอยู่ในสังคมด้วยวิธีที่ดีและสร้างสรรค์
ทั้งนี้ รางวัลสำหรับคนที่ได้รับการโหวตจะได้สิทธิ์ออกไปชอปปิงหนังสือตามใจชอบ เลือกให้ตัวเองหนึ่งเล่มและเลือกเข้าห้องสมุดให้เพื่อนๆอ่านอีกหนึ่งเล่ม โดยไม่กำหนดขอบเขต ลักษณะหรือรูปแบบหนังสือ
ป้ามลเล่าว่าหลายครั้งที่พาไป จะปล่อยให้เลือกเต็มที่ ไม่ค่อยบอกว่าผ่านไม่ผ่าน ซึ่งนับเป็นเรื่องที่แปลกมาก จนผู้ใหญ่หลายคนน่าจะเอามาเป็นบทเรียนบ้าง
“ในความเป็นจริงแล้วเด็กๆจะรู้คิดและรู้ตัดสินใจอยู่แล้ว เราอย่าไปกังวล วิตกกับการตัดสินใจของเขา อย่ากลัวว่าจะเป็นอย่างโน้น อย่างนี้ อย่างสร้างมโนภาพไปเอง เวลาที่เราเปิดกว้างให้เด็กๆตัดสินใจ เชื่อหรือไม่ว่าเด็กๆ ก็ไม่ได้ตัดสินใจเบียดเบียน หรือว่าเป็นไปแบบที่เราวิตกจริต เขารู้ดีว่าลิมิตของเขาอยู่ที่ไหน”
“ครอบครัว”ส่วนสำคัญที่ทำให้คนกลับใจ
ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่ ป้ามลตระหนักว่าไม่ควรมองข้ามโดยเด็ดขาด คือครอบครัว เพราะในช่วงเวลาที่เด็กๆต้องไกลบ้านจากพ่อแม่พี่น้อง มารับผิดชอบความผิดที่เคยกระทำไปนั้น ส่วนหนึ่งจะรู้สึกว่าถูกลงโทษให้โดนทอดทิ้ง ไม่มีใครเหลียวแลอยู่แล้ว ต่อให้ได้ความรักความเข้าใจจากใครที่รายล้อมมากมายก็ไม่เท่าจากครอบครัวของพวกเขาเอง
“หลายครอบครัวหลังจากเสร็จสิ้นการพิจารณาคดีทางกฎหมายแล้ว ศาลตัดสินให้ส่งตัวมาอยู่ที่นี่หรือที่บ้านหลังอื่นๆ ก็ขาดการติดต่อไปเลย โดยมองว่า จากนี้ไปเป็นภาระรับผิดชอบของกรมพินิจฯ จะทำอะไรก็เชิญ ขออย่างเดียวอย่างมาสร้างความเดือดเนื้อร้อนใจให้อีกเลย บางครอบครัวลืมไปว่าลูกเข้ามาเพื่อให้สำนึกในสิ่งที่เคยก้าวพลาด และปรับความพร้อมด้านจิตใจ เมื่อถึงวันหนึ่งก็จะต้องก้าวออกไปใช้ชีวิตปกติอย่างที่เคยเป็นมา”
“ฉะนั้น กำลังใจจากคนในครอบครัวที่เด็กๆ คุ้นเคยจึงเป็นส่วนสำคัญที่ละเลยไม่ได้ คือถ้าเขารู้สึกว่าคนในครอบครัวให้อภัย ให้โอกาส เขาก็จะรู้สึกเชื่อใจและสนิทใจจนอยากกลับไปอยู่ด้วย และพร้อมจะเริ่มต้นใหม่ ซึ่งก็คงจะเหมือนกับคำกล่าวของ แอร์โรลด์ เอส อัลเบิร์ต ที่ว่า เด็กๆต้องการความรัก โดยเฉพาะเวลาที่ทำตัวไม่สมควรได้รับความรัก”
ดังนั้น ที่นี่จึงเปิดโอกาสให้ญาติเข้าเยี่ยมได้ทุกวันอาทิตย์ที่ 1 และ 3 ของเดือน และหากใครที่เข้ามาอยู่จนครบ 3 เดือนแล้วจะได้รับคะแนนเดือนละ 100 คะแนน หากเดือนนั้นสามารถรักษาคะแนนได้ไม่ต่ำกว่า 60 คะแนนและพ่อแม่แสดงความจำนงขอรับกลับไปเยี่ยมบ้าน ก็จะได้รับสิทธินั้นทันที ส่วนใครที่ไม่มีพ่อแม่หรือญาติพี่น้องมาเยี่ยม เจ้าหน้าที่จะเป็นผู้พาไปเยี่ยมบ้านด้วยตัวเอง
“ก็ในเมื่อพวกเด็กๆไม่ใช่นักโทษ แล้วที่นี่ก็ไม่ใช่คุก เป็นแค่บ้านพักชั่วคราวของวัยรุ่นที่บังเอิญใช้ชีวิตก้าวผิดจังหวะไป จนเป็นเหตุให้ต้องสูญเสียอิสรภาพชั่วคราว พวกเขาก็สมควรที่จะได้รับไออุ่นจากครอบครัวบ้าง ได้กลับไปนอนคุยกันให้ความสัมพันธ์ในครอบครัวแนบแน่นขึ้น แล้วค่อยกลับมารับผิดชอบการกระทำของตนเองต่อ”
หรือแม้แต่เรื่องเล็กๆ น้อยๆ อย่างการแต่งกาย ที่นี่ก็ไม่ละเลยเพราะเข้าใจในธรรมชาติของวัยรุ่นที่อยากแต่งตัวให้ดูเท่ห์ ดูดีตามสมัยนิยม ฉะนั้น ทุกวันศุกร์หรือทุกครั้งที่ได้รับสิทธิให้ออกไปข้างนอก จึงเปิดโอกาสให้แต่งกายตามต้องการ เป้าหมายเพื่อให้ตระหนักในอำนาจของตนเองที่ยังดำรงอยู่จริง โดยเฉพาะอำนาจในการคิด การตัดสินใจและการเป็นตัวของตัวเอง ภายใต้สถานการณ์ที่ถูกจำกัดอิสรภาพตามเงื่อนไขของกฎหมาย
โอกาสมีไว้ใช้ ใช่มีไว้ฉวย
ฟังดูเหมือนว่า เด็กที่ได้เข้ามาอยู่ที่นี่จะสบาย จนเหมือนไม่ได้มารับโทษทัณฑ์ ป้ามลซึ่งคลุกคลี่กับเด็กๆ มาปีกว่า อธิบายว่า “เพียงแค่ต้องจากบ้านมาก็ถือเป็นการลงโทษแล้ว แล้วหากมาตอกย้ำว่าแกทำผิดนะ อย่าพูด อย่าถาม อย่าเถียง สารพัดห้าม ก็จะทำให้ยิ่งไปกันใหญ่ เท่ากับเราไปทำลายคุณลักษณะที่ดีของความเป็นคน ถ้าเขาไม่เหลือตรงนี้แล้วจะกู่ให้กลับก็ยาก คุณค่าของความเป็นคนคือต้องมีสิทธิในการต่อรอง”
“ลองนึกภาพคนที่อยู่อย่างเลือกไม่ได้ จะทรมานและกดดันแค่ไหน พวกเขาก็เช่นกัน แต่ก็ใช่ว่าบ้านหลังนี้จะให้จนไร้ขอบเขต เราก็มีขอบเขต มีกฎที่ให้มีส่วนร่วมในการกำหนดขึ้นมาแล้วให้รักษากฎที่ขีดเอาไว้เองให้ได้ เหมือนกับการฝึกให้รับผิดชอบในสิ่งที่ทำ พูดไปเหมือนง่าย แต่การเอาชนะใจตัวเองไม่ใช่เรื่องง่ายเลย”
“ยิ่งทุกวันนี้สิ่งแวดล้อมมันยั่วยุ ใจมันร่ำร้อง อย่างเห็นบุหรี่แล้วอยากสูบ บางคนก็จะคิดหาทางเข้าข้างตัวเองว่า แค่ม้วนเดียวไม่เป็นไรหรอก แต่บางคนไปแอบสูบมา แล้วมาสารภาพกลางที่ประชุม นั่นคือสัญญาณที่ดีสะท้อนให้เห็นว่าจิตสำนึกทำงานแล้ว เราต้องดีใจ เราพยายามทำให้เขาเห็นว่าการชนะใจตัวเอง คือชัยชนะที่ยั่งยืน” ป้ามลอธิบายถึงวิธีการทำงานว่า จะต้องเน้นย้ำกับเด็กๆ ว่า ให้ใช้วิกฤตนี้ให้เป็นโอกาส อย่าเป็นคนถือโอกาส ฉวยเอาความหวังดีของเราไปทำผิดมาอีก เพราะที่นี่จะไม่ทำโทษแบบแตะเนื้อต้องตัว ไม่ทำทารุณ ไม่ประจาน ไม่ทำให้เจ็บ จึงมีบางคนที่เอาตรงนี้ไปทำผิดซ้ำซาก แต่จะพยายามสร้างจิตสำนึกให้กลับคืนมา ทำให้เห็นว่าอิสรภาพจากบ้านหลังนี้ สามารถเปลี่ยนแปลงตัวเองได้
ที่สำคัญคือ อยากให้เด็กๆ ตัดขาดจากปัญหาที่เคยติดตัวมา และไม่มีปัญหาใหม่ๆติดตัวออกไป กลับเป็นลูกที่ดีของพ่อแม่ หรือในอนาคตถ้าจะมีคนรัก มีครอบครัวก็ให้เป็นเป็นพ่อ เป็นสามีที่รับผิดชอบ ทำบ้านในอุดมคติเป็นจริง มีความรัก ความเข้าใจ และให้อภัย เพราะบ้านที่จะเก็บเด็กๆเอาไว้ได้จะต้องเป็นบ้านที่เย็น คือให้โอกาสและไม่ซ้ำเติม
สำหรับใครที่ต้องการแบ่งปันความรู้ ความสนุกและความประทับใจในหนังสือให้น้องๆได้อ่านและต่อยอดทางความคิด สามารถส่งมาได้ที่ ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนบ้านกาญจนาภิเษก 103 หมู่ที่ 2 ต.คลองโยง อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม 73170 โทร 0 3424 6252-6 โทรสาร 0 3424 6253 4 หรือที่ Email//sptc.kamjanapisak@moi.go.th
ตัวอย่างจดหมายที่ป้ามลส่งถึงผู้ปกครอง