รักษาการผอ.อค.แฉองค์การค้าฯ พบทุจริตเพียบ หนี้เยอะ คนเยอะ ต้องลดคนใน 4 ปีคาดปีละ 100 คนเลือกไร้ประสิทธิภาพการทำงานต่ำพร้อมให้บุคลากรสร้างข้อตกลงร่วมกันเพื่อประเมินงาน
นายยืนยง จิรัฐฐิติกาลรักษาการผู้อำนวยการองค์การค้าของคุรุสภา (อค.) เปิดเผยว่าภายหลังจากที่เข้ามารักษาการ ประมาณ 26 วัน พบว่า รูปแบบการบริหารจัดการของ อค.นั้นเป็นลักษณะรวมศูนย์ทุกเรื่องจะต้องผ่านการพิจารณาของผอ.อค.ขณะเดียวกันการพิจารณาอนุมัติใดๆนั้นต้องผ่านขั้นตอนมาก ส่งผลให้งานเกิดความล่าช้า
ทั้งนี้ อค.เป็นองค์กรที่มีขนาดใหญ่ มีเจ้าหน้าที่และลูกจ้างรวมทั้งสิ้น 3,090 คน แบ่งเป็นเจ้าหน้าที่ประจำ 2,590 คน ลูกจ้างจาก 5 บริษัท 500 คนโดยในส่วนของเจ้าหน้าที่ประจำประมาณ 2,000 กว่าคนนั้น สามารถแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มได้ดังนี้
1.กลุ่มภาคใต้ ประมาณ 70% ของบุคลากรอค.เป็นคนในภาคใต้ 2.กลุ่มภาคกลางที่มีหัวหน้าระดับสูง 3.กลุ่มผู้บริหารเดิมๆ ซึ่งแบ่งเป็นพรรคพวกของผอ.คนเก่าๆ ที่ผ่านมา และ4.กลุ่มสหภาพแรงงาน ซึ่งมีทั้งที่ทำงานและไม่ทำงาน
ดังนั้น จึงทำให้อค.ขาดความเป็นหนึ่งเดียวกันรวมทั้งการที่เป็นองค์กรขนาดใหญ่ทำให้มีค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการที่ค่อนข้างสูง รวมทั้งเจ้าหน้าที่ประจำก็เป็นข้าราชการ ซึ่งเมื่อมีความผิดการจะเอาออกก็ทำค่อนข้างยาก อย่างไรก็ตาม ขณะนี้มีข้าราชการระดับ 8 – 11 จำนวน 23 คน ที่ถูกแขวนตำแหน่งอยู่ แต่ในวันที่ 16 มิ.ย.นี้ได้สั่งการให้กลุ่มคนเหล่านี้ทำงานในหน้าที่เรียบร้อยแล้ว
“ด้วยความที่มีบุคลากรค่อนข้างมาก เราจำเป็นต้องลดจำนวนบุคลากรลงซึ่งจากการวิเคราะห์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยระบุไว้ว่า เพื่อให้อค.อยู่รอดจำเป็นต้องลดคนลงประมาณ 1,000 คนแต่การจะลดคนจำนวนมากเช่นนี้เป็นเรื่องยาก ดังนั้น ผมจึงคิดไว้ว่าจะให้บุคลากรจำนวน 2,000 กว่าคนนี้เขียนข้อตกลงในการทำงานร่วมกับองค์กรว่าจะต้องทำอะไรบ้างอย่างไรในแต่ละเดือนแล้วผมจะเสนอบอร์ดคณะกรรมการอค.เพื่อให้ตั้งคณะทำงานขึ้นมาประเมินประสิทธิภาพตามข้อตกลง โดยวางแผนไว้ว่าจะลดคนลงปีละ 100 คน ใน 4 ปีนี้ โดยการประเมินจะเริ่มตั้งแต่เดือนมิ.ย.นี้เป็นต้นไป”
“รวมทั้งยังได้มีสำรวจผู้ที่ขอลามากที่สุดในรอบ 5 ปี หรือจำนวน240 วัน ซึ่งมีอยู่ประมาณ 23 คนก็จะถูกให้ออกด้วยและกำลังคิดเรื่องของการเออรี่รีไทร์ด้วย โดยจะต้องสำรวจจำนวนคนเพื่อจัดสรรงบประมาณได้ถูกต้อง ส่วนปัญหาความไม่เป็นหนึ่งเดียวกันนั้น ผมคิดว่าควรต้องมีกิจกรรมสานสัมพันธ์กัน ซึ่งคาดว่าน่าจะช่วยได้ระดับหนึ่ง ”
นายยืนยง กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้ปัญหาที่สำคัญ คือ การพบการทุจริตคอรัปชั่นในทุกรูปแบบไม่ว่าจะมากหรือน้อยก็ตามโดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นเรื่องการใช้จ่ายเรื่องการน้ำมันรถโดยฟุ่มเฟือย หรือการลักลอบนำอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ออกไปโดยไม่ผ่านขั้นตอนการจัดซื้อของที่มีราคาแพง ซึ่งมีอยู่ประมาณ 1,000 รายการ ขณะนี้ได้ให้สำรวจว่ามีรายการใดบ้าง เพื่อขออนุมัติคณะกรรมการองค์การค้าของคุรุสภาซึ่งมีคุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเพื่อนำมาประมูลในราคาต่ำกว่าทุน หรือสินค้าคงคลัง อย่างเช่นรองเท้าไนกี้ที่ยังมีอยู่ในคลังสินค้าก็ยังขายไม่ออก
ขณะเดียวกันก็ได้ข่าวอย่างไม่เป็นทางการว่า สัญญาที่อค.ทำไว้กับบริษัทเน็ทเวิร์ค 200 นั้น อค.เสียเปรียบและเมื่ออนุญาโตตุลาการพิจารณาสัญญาแล้ว อค.ต้องสั่งซื้อรองเท้าไนกี้อีก 1 แสนคู่กับบริษัทเนทเวิร์คฯซึ่งเรื่องนี้ทำให้รู้สึกไม่สบายใจอย่างมาก เพราะขณะนี้การเงินของ อค.อยู่ในภาวะฝืดเคือง หรือลูกโลกที่ประเทศลาวนำส่งกลับคืนเนื่องจากส่งสเปกไปไม่ถูกต้อง และหนังสือสุริโยไทที่ยังขายไม่ออกจำนวน 9 แสนเล่ม หนังสือแบบเรียนส่วนหนึ่งที่ถูกยกเลิกยังคงในคลังสินค้า เป็นต้นโดยขณะนี้ได้พยายามเร่งระบายสินค้าอยู่
นายยืนยง กล่าวต่ออีกว่า สำหรับภาวะทางการเงิน อค.มีหนี้สินอยู่จำนวน 2,490 ล้านบาท แยกเป็นหนี้ธนาคาร 2,090 ล้านบาท และภาคการค้า 154 ล้านบาท ทั้งนี้ อค.ไม่มีเงินสดอยู่เลย เนื่องจากวงเงินทีกู้ตามสัญญาทำไว้นั้นมีความเสียหายมากที่สุดในปี 2542 โดยในปี 2537 – 2538 มีวงเงินกู้ธนาคาร 780 ล้านบาท พอในปี 2542 วงเงินกู้เพิ่มเป็น 2,090 ล้านบาท มีการเบิกเงินเกินบัญชี 144 ล้านบาท ขณะที่ในปี 2540 อค.มีเงินสะสมอยู่ประมาณ 900 ล้านบาท พอปี 2542 อค.ไม่มีเงินสะสมอยู่เลย
อย่างไรก็ตาม จากการหารือร่วมกับธนาคารที่เป็นเจ้าหนี้อค.เห็นว่า หากให้ตนยังเป็นรักษาการอยู่อีกประมาณ 2 ปี ก็จะมีการปล่อยเงินต้นให้ยาวเนื่องจากเชื่อมั่นว่าการที่ตนเป็นทั้งรักษาการและยังเป็นบอร์ดในคณะกรรมการฯด้วยแล้วนั้น จะบริหารงานอย่างโปร่งใสแน่นอน สำหรับลูกหนี้ที่อค.มีอยู่แบ่งเป็นส่วนราชการ 300 กว่าล้านบาท และภาคการค้า 700 ล้านบาทนั้น จากการพิจารณาแล้วเห็นว่าที่ผ่านมามีปัญหาเรื่องการติดตามหนี้อย่างจริงจัง
อย่างไรก็ตาม เห็นว่าแนวทางการแก้ปัญหาทางการเงินนั้นนอกจากจะเร่งจำหน่ายสินค้าแล้วต้องลดค่าใช้จ่ายทุกด้าน อาทิรถประจำตำแหน่งของตนนั้น ก็เรียกคืนไปแล้ว ปัจจุบันใช้รถส่วนตัวส่วนรถของผู้บริหารในองค์กรยังใช้ได้อยู่ แต่ต้องออกค่าน้ำมันรถเองทั้งนี้จะต้องนำมารวมไว้ที่ศูนย์และกำหนดอัตราไมล์ที่จะออกไปใช้ในแต่ละครั้งด้วย ,การลดเบี้ยเลี้ยงของฝ่ายบริหารลง 10% รวมทั้งการลดค่าใช้จ่ายวัสดุสำนักงาน ค่าน้ำค่าไฟ อย่างละ 10%
ทั้งนี้หากหัวหน้างานไม่สามารถปฏิบัติได้ ก็จำเป็นต้องให้ออก เนื่องจากถือว่าไม่ให้ความร่วมมือในการทำงาน เป็นต้น โดยจะเริ่มต้นในวันที่ 16 มิ.ย.นี้เป็นต้นไป อย่างไรก็ตาม จะนำข้อปัญหาและข้อเสนอทั้งหมดเสนอต่อคณะกรรมการฯในวันที่ 15 มิ.ย.นี้
นายยืนยง จิรัฐฐิติกาลรักษาการผู้อำนวยการองค์การค้าของคุรุสภา (อค.) เปิดเผยว่าภายหลังจากที่เข้ามารักษาการ ประมาณ 26 วัน พบว่า รูปแบบการบริหารจัดการของ อค.นั้นเป็นลักษณะรวมศูนย์ทุกเรื่องจะต้องผ่านการพิจารณาของผอ.อค.ขณะเดียวกันการพิจารณาอนุมัติใดๆนั้นต้องผ่านขั้นตอนมาก ส่งผลให้งานเกิดความล่าช้า
ทั้งนี้ อค.เป็นองค์กรที่มีขนาดใหญ่ มีเจ้าหน้าที่และลูกจ้างรวมทั้งสิ้น 3,090 คน แบ่งเป็นเจ้าหน้าที่ประจำ 2,590 คน ลูกจ้างจาก 5 บริษัท 500 คนโดยในส่วนของเจ้าหน้าที่ประจำประมาณ 2,000 กว่าคนนั้น สามารถแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มได้ดังนี้
1.กลุ่มภาคใต้ ประมาณ 70% ของบุคลากรอค.เป็นคนในภาคใต้ 2.กลุ่มภาคกลางที่มีหัวหน้าระดับสูง 3.กลุ่มผู้บริหารเดิมๆ ซึ่งแบ่งเป็นพรรคพวกของผอ.คนเก่าๆ ที่ผ่านมา และ4.กลุ่มสหภาพแรงงาน ซึ่งมีทั้งที่ทำงานและไม่ทำงาน
ดังนั้น จึงทำให้อค.ขาดความเป็นหนึ่งเดียวกันรวมทั้งการที่เป็นองค์กรขนาดใหญ่ทำให้มีค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการที่ค่อนข้างสูง รวมทั้งเจ้าหน้าที่ประจำก็เป็นข้าราชการ ซึ่งเมื่อมีความผิดการจะเอาออกก็ทำค่อนข้างยาก อย่างไรก็ตาม ขณะนี้มีข้าราชการระดับ 8 – 11 จำนวน 23 คน ที่ถูกแขวนตำแหน่งอยู่ แต่ในวันที่ 16 มิ.ย.นี้ได้สั่งการให้กลุ่มคนเหล่านี้ทำงานในหน้าที่เรียบร้อยแล้ว
“ด้วยความที่มีบุคลากรค่อนข้างมาก เราจำเป็นต้องลดจำนวนบุคลากรลงซึ่งจากการวิเคราะห์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยระบุไว้ว่า เพื่อให้อค.อยู่รอดจำเป็นต้องลดคนลงประมาณ 1,000 คนแต่การจะลดคนจำนวนมากเช่นนี้เป็นเรื่องยาก ดังนั้น ผมจึงคิดไว้ว่าจะให้บุคลากรจำนวน 2,000 กว่าคนนี้เขียนข้อตกลงในการทำงานร่วมกับองค์กรว่าจะต้องทำอะไรบ้างอย่างไรในแต่ละเดือนแล้วผมจะเสนอบอร์ดคณะกรรมการอค.เพื่อให้ตั้งคณะทำงานขึ้นมาประเมินประสิทธิภาพตามข้อตกลง โดยวางแผนไว้ว่าจะลดคนลงปีละ 100 คน ใน 4 ปีนี้ โดยการประเมินจะเริ่มตั้งแต่เดือนมิ.ย.นี้เป็นต้นไป”
“รวมทั้งยังได้มีสำรวจผู้ที่ขอลามากที่สุดในรอบ 5 ปี หรือจำนวน240 วัน ซึ่งมีอยู่ประมาณ 23 คนก็จะถูกให้ออกด้วยและกำลังคิดเรื่องของการเออรี่รีไทร์ด้วย โดยจะต้องสำรวจจำนวนคนเพื่อจัดสรรงบประมาณได้ถูกต้อง ส่วนปัญหาความไม่เป็นหนึ่งเดียวกันนั้น ผมคิดว่าควรต้องมีกิจกรรมสานสัมพันธ์กัน ซึ่งคาดว่าน่าจะช่วยได้ระดับหนึ่ง ”
นายยืนยง กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้ปัญหาที่สำคัญ คือ การพบการทุจริตคอรัปชั่นในทุกรูปแบบไม่ว่าจะมากหรือน้อยก็ตามโดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นเรื่องการใช้จ่ายเรื่องการน้ำมันรถโดยฟุ่มเฟือย หรือการลักลอบนำอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ออกไปโดยไม่ผ่านขั้นตอนการจัดซื้อของที่มีราคาแพง ซึ่งมีอยู่ประมาณ 1,000 รายการ ขณะนี้ได้ให้สำรวจว่ามีรายการใดบ้าง เพื่อขออนุมัติคณะกรรมการองค์การค้าของคุรุสภาซึ่งมีคุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเพื่อนำมาประมูลในราคาต่ำกว่าทุน หรือสินค้าคงคลัง อย่างเช่นรองเท้าไนกี้ที่ยังมีอยู่ในคลังสินค้าก็ยังขายไม่ออก
ขณะเดียวกันก็ได้ข่าวอย่างไม่เป็นทางการว่า สัญญาที่อค.ทำไว้กับบริษัทเน็ทเวิร์ค 200 นั้น อค.เสียเปรียบและเมื่ออนุญาโตตุลาการพิจารณาสัญญาแล้ว อค.ต้องสั่งซื้อรองเท้าไนกี้อีก 1 แสนคู่กับบริษัทเนทเวิร์คฯซึ่งเรื่องนี้ทำให้รู้สึกไม่สบายใจอย่างมาก เพราะขณะนี้การเงินของ อค.อยู่ในภาวะฝืดเคือง หรือลูกโลกที่ประเทศลาวนำส่งกลับคืนเนื่องจากส่งสเปกไปไม่ถูกต้อง และหนังสือสุริโยไทที่ยังขายไม่ออกจำนวน 9 แสนเล่ม หนังสือแบบเรียนส่วนหนึ่งที่ถูกยกเลิกยังคงในคลังสินค้า เป็นต้นโดยขณะนี้ได้พยายามเร่งระบายสินค้าอยู่
นายยืนยง กล่าวต่ออีกว่า สำหรับภาวะทางการเงิน อค.มีหนี้สินอยู่จำนวน 2,490 ล้านบาท แยกเป็นหนี้ธนาคาร 2,090 ล้านบาท และภาคการค้า 154 ล้านบาท ทั้งนี้ อค.ไม่มีเงินสดอยู่เลย เนื่องจากวงเงินทีกู้ตามสัญญาทำไว้นั้นมีความเสียหายมากที่สุดในปี 2542 โดยในปี 2537 – 2538 มีวงเงินกู้ธนาคาร 780 ล้านบาท พอในปี 2542 วงเงินกู้เพิ่มเป็น 2,090 ล้านบาท มีการเบิกเงินเกินบัญชี 144 ล้านบาท ขณะที่ในปี 2540 อค.มีเงินสะสมอยู่ประมาณ 900 ล้านบาท พอปี 2542 อค.ไม่มีเงินสะสมอยู่เลย
อย่างไรก็ตาม จากการหารือร่วมกับธนาคารที่เป็นเจ้าหนี้อค.เห็นว่า หากให้ตนยังเป็นรักษาการอยู่อีกประมาณ 2 ปี ก็จะมีการปล่อยเงินต้นให้ยาวเนื่องจากเชื่อมั่นว่าการที่ตนเป็นทั้งรักษาการและยังเป็นบอร์ดในคณะกรรมการฯด้วยแล้วนั้น จะบริหารงานอย่างโปร่งใสแน่นอน สำหรับลูกหนี้ที่อค.มีอยู่แบ่งเป็นส่วนราชการ 300 กว่าล้านบาท และภาคการค้า 700 ล้านบาทนั้น จากการพิจารณาแล้วเห็นว่าที่ผ่านมามีปัญหาเรื่องการติดตามหนี้อย่างจริงจัง
อย่างไรก็ตาม เห็นว่าแนวทางการแก้ปัญหาทางการเงินนั้นนอกจากจะเร่งจำหน่ายสินค้าแล้วต้องลดค่าใช้จ่ายทุกด้าน อาทิรถประจำตำแหน่งของตนนั้น ก็เรียกคืนไปแล้ว ปัจจุบันใช้รถส่วนตัวส่วนรถของผู้บริหารในองค์กรยังใช้ได้อยู่ แต่ต้องออกค่าน้ำมันรถเองทั้งนี้จะต้องนำมารวมไว้ที่ศูนย์และกำหนดอัตราไมล์ที่จะออกไปใช้ในแต่ละครั้งด้วย ,การลดเบี้ยเลี้ยงของฝ่ายบริหารลง 10% รวมทั้งการลดค่าใช้จ่ายวัสดุสำนักงาน ค่าน้ำค่าไฟ อย่างละ 10%
ทั้งนี้หากหัวหน้างานไม่สามารถปฏิบัติได้ ก็จำเป็นต้องให้ออก เนื่องจากถือว่าไม่ให้ความร่วมมือในการทำงาน เป็นต้น โดยจะเริ่มต้นในวันที่ 16 มิ.ย.นี้เป็นต้นไป อย่างไรก็ตาม จะนำข้อปัญหาและข้อเสนอทั้งหมดเสนอต่อคณะกรรมการฯในวันที่ 15 มิ.ย.นี้