บางลำพู สรรพสินค้า ตั้งอยู่ตรงข้ามกับห้างนิวเวิลด์ ได้รับการอนุญาตเมื่อปี 2526 ก่อสร้างเป็นอาคารตึก 3 ชั้น ดาดฟ้า แต่ได้ต่อเติมผิดแบบเป็นอาคาร 11 ชั้น เมื่อปี 2534 ศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้รื้อถอนส่วนที่ต่อเติม บริษัทขอรื้อถอนเองแต่ได้รื้อถอนเพียงบางส่วน และประวิงเวลาจนถึงปี 2541 จึงได้มีการเสนอแผนการรื้อและขยายเวลารื้อถอนเรื่อยมา ขณะที่ กทม.เข้าไปปิดกั้นและรื้อเส้นทางที่จะขึ้นไปสู่อาคารที่ผิดกฎหมาย รวมทั้งติดป้ายเตือนประชาชนไม่ให้เข้าไปในอาคาร
จนกระทั่งปี 2542 กทม.ได้เข้าไปรื้อถอนอาคารส่วนที่เหลือ ซึ่งทั้งหมดใช้เวลาถึง 8 ปีเต็ม ทุกวันนี้ห้างบางลำพูก็ยังเปิดให้บริการอยู่ เฉพาะชั้นที่ 1 - 3 ที่ขออนุญาตถูกต้อง โดยชั้นล่างได้แบ่งซอยเป็นร้านค้าย่อยๆ จนเต็มพื้นที่ ส่วนชั้นบนตั้งแต่ชั้น 4 ขึ้นไปแม้จะรื้อถอนไปแล้ว แต่ก็ยังเหลือโครงสร้างหลักอยู่ เพราะหากรื้อทั้งหมดอาคารส่วนที่เหลืออาจพังลงมาได้ สภาพจึงเป็นอย่างที่เห็นในปัจจุบัน
ตั้งฮั่วเส็ง บางลำพู เป็นอีกห้างฯ หนึ่งที่สร้างจากอาคารพาณิชย์ สภาพจึงแออัด คับแคบ เข้าข่ายห้างที่มีการต่อเติมโดยไม่ได้รับอนุญาต แต่ก็ยังมีผู้ใช้บริการจำนวนมากเช่นเดียวกับห้างเซ็นทรัล วังบูรพา และเมอรี่คิงส์ วังบูรพา
เดอะมอลล์ บางแค ห้างสรรพสินค้ายักษ์ใหญ่ย่านฝั่งธนบุรี มีมูลค่าการลงทุนนับพันล้าน เป็นอีกห้างที่ทำผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร 2535 หลายกระทง คือ ก่อสร้างอาคารรุกล้ำลำกระโดงสาธารณะ ความยาว 140 เมตร กว้าง 2-9 เมตร และยังเชื่อมต่ออาคารห้างฯ กับอาคารที่จอดรถเข้าด้วยกันคร่อมลำกระโดง ซึ่งถือเป็นการต่อเติมอาคารเกินจากแบบที่ได้รับอนุญาต จากวันที่ศาลพิพากษาให้รื้อถอนอาคารตั้งแต่ พ.ศ.2537 เกือบสิบปีแล้ว ห้างยังเปิดใช้บริการโดยมีลูกค้าหนาแน่น ซึ่งแม้ว่าทาง กทม.จะระบุว่า อาคารดังกล่าวมีโครงสร้างที่ปลอดภัย ก็ตาม แต่ก็ไม่เป็นหลักประกันได้ว่าจะเกิดอุบัติเหตุกับสวนน้ำและสวนสนุกที่อยู่ด้านบนหรือไม่
นอกจากนี้ กรณีของเดอะมอลล์ บางแค ยังมีเรื่องที่น่าสนใจอีกหลายเรื่อง อาทิ ทางห้างอาศัยระยะเวลาที่ยาวนานในการขออุทธรณ์คดี และยอมเสียเงินค่าปรับรายวันแลกกับผลประโยชน์ที่คุ้มค่า ที่ร้ายก็นั้นก็คือ ว่ากันว่า เงินค่าปรับที่ต้องจ่ายจนถึงขณะนี้ ทางห้างฯ ยังค้างชำระเป็นเงินถึงกว่า 1,000 ล้านบาท และใช้วิธีเลี่ยงภาษี โดยการยื่นอุทธรณ์ขอเช่าพื้นที่ลำกระโดงจาก กทม.แทนการรื้อถอน โดยทำเรื่องมาตั้งแต่ปี 2540 ซึ่งถือเป็นกรณีใหม่ที่ กทม.ไม่เคยพบ ทางเขตบางแคจึงต้องนำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาว่า จะให้อนุญาตได้หรือไม่ กรรมที่ประกอบด้วยตัวแทนฝ่ายโยธาและกองรายได้ สำนักการคลัง เพื่อพิจารณาว่าจะให้อนุญาตหรือไม่ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้การพิจารณาก็ยังไม่แล้วเสร็จ
พาต้า ปิ่นเกล้า มีความผิดฐาน เปิดใช้อาคารก่อนได้รับอนุญาต ดัดแปลงอาคารโดยการกั้นผนังคอนกรีตเสริมเหล็ก เพื่อทำเป็นโรงภาพยนตร์ 2 โรง และเป็นการเปลี่ยนแปลงการใช้อาคาร นอกจากนี้ ยังก่อสร้างอาคารรอบอาคารชั้นล่าง เพื่อตั้งวางแผงขายสินค้าทับที่จอดรถยนต์ และทางวิ่งรถยนต์รอบอาคาร ทั้งที่ตามหลักอาคารที่มีความสูงเท่านี้ จะต้องมีพื้นที่ว่างรอบอาคาร และด้านหน้าห้างฯ ยังต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต โดยก่อสร้างเป็นห้างวัตสัน ก่อสร้างอาคารโครงเหล็ก หลังคาเหล็กทับที่ว่างด้านหลังคา โดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งก็อยู่ระหว่างดำเนินคดี ห้างก็ยังเปิดบริการได้ตามปกติ
มาบุญครอง ก่อนหน้านี้มีความผิดฐานเปิดใช้อาคารก่อนได้รับอนุญาต และตั้งวางร้านค้าย่อยเป็นอุปสรรคในการหนีไฟ แต่ในที่สุดก็ใช้ช่องว่างของกฎหมาย โดยการไปยื่นขออนุญาตย้อนหลัง ทำให้ขณะนี้กลายเป็นห้างที่ไม่มีความผิดแล้ว โดยทางห้างได้แก้ไขส่วนที่กีดขวางทางเดินเท้า และทำบันไดหนีไฟหน้าอาคารเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ส่วนที่ยังคงมีความผิดอยู่ก็คือทำการดัดแปลงพื้นที่เพื่อการพาณิชย์เป็นโรงภาพยนตร์
แต่ที่ยังน่ากลัวอยู่ คือ ห้างโบนันซ่า มอลล์ ฝั่งตรงข้ามมาบุญครอง ที่มีลักษณะทำทางเชื่อมต่ออาคารพาณิชย์ 2 หลังเข้าด้วยกัน และแบ่งซอยเป็นร้านค้าย่อยๆ อย่างแออัด ในพื้นที่ 2 ชั้น โดยห้างโบนันซ่า มอลล์ ทำผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร ฐานต่อเติมทางเชื่อมด้านหลังอาคารพาณิชย์ 2 อาคารให้ติดกัน คดีเริ่มต้นตั้งแต่ปี 2538 โดยเขตปทุมวันมีหนังสือถึงบริษัทช้อปปิ้งสยาม ผู้ขอจดทะเบียน ให้รื้อถอนตามคำสั่งศาลในปี 2539 แต่ทางห้างก็ขอเวลาดำเนินการ และเปิดให้บริการตามปกติ ทางเขตจึงแจ้งตำรวจดำเนินคดีอาญาด้วย ซึ่งเรื่องนี้ยังอยู่ที่ตำรวจ
ส่วนการรื้อทางเชื่อมหลังอาคารเขตปทุมวัน ได้มีหนังสือล่าสุดแจ้งไปทางบริษัทเมื่อเดือนสิงหาคม 2544 ว่า หากทางห้างฯ ยังไม่รื้อ กทม.จะเข้าไปรื้อเอง ในที่สุดทางห้างยอมรื้อเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา แต่นั่นไม่ได้ทำให้สภาพห้างมีความปลอดภัยขึ้น เพราะสภาพร้านค้าไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า รองเท้า เครื่องสำอาง เทป ฯลฯ ก็ยังเบียดเสียดกันเหมือนเดิม
นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายห้างสรรพสินค้าที่ทำผิดกฎหมาย เช่น หลักสี่พลาซ่าที่ดัดแปลงที่จอดรถเป็นห้างสรรพสินค้า พันธุ์ทิพย์พลาซ่าที่กั้นผนังทับที่จอดรถ ซิตี้ประตูน้ำซึ่งนำที่จอดรถมาเป็นห้องค้าขาย ตั้งฮั่วเส็ง ธนบุรีที่ดัดแปลงที่จอดรถเป็นร้านค้า ฟิวเจอร์พาร์ค บางแคสร้างอาคารรุกล้ำที่สาธารณะ เป็นต้น
จนกระทั่งปี 2542 กทม.ได้เข้าไปรื้อถอนอาคารส่วนที่เหลือ ซึ่งทั้งหมดใช้เวลาถึง 8 ปีเต็ม ทุกวันนี้ห้างบางลำพูก็ยังเปิดให้บริการอยู่ เฉพาะชั้นที่ 1 - 3 ที่ขออนุญาตถูกต้อง โดยชั้นล่างได้แบ่งซอยเป็นร้านค้าย่อยๆ จนเต็มพื้นที่ ส่วนชั้นบนตั้งแต่ชั้น 4 ขึ้นไปแม้จะรื้อถอนไปแล้ว แต่ก็ยังเหลือโครงสร้างหลักอยู่ เพราะหากรื้อทั้งหมดอาคารส่วนที่เหลืออาจพังลงมาได้ สภาพจึงเป็นอย่างที่เห็นในปัจจุบัน
ตั้งฮั่วเส็ง บางลำพู เป็นอีกห้างฯ หนึ่งที่สร้างจากอาคารพาณิชย์ สภาพจึงแออัด คับแคบ เข้าข่ายห้างที่มีการต่อเติมโดยไม่ได้รับอนุญาต แต่ก็ยังมีผู้ใช้บริการจำนวนมากเช่นเดียวกับห้างเซ็นทรัล วังบูรพา และเมอรี่คิงส์ วังบูรพา
เดอะมอลล์ บางแค ห้างสรรพสินค้ายักษ์ใหญ่ย่านฝั่งธนบุรี มีมูลค่าการลงทุนนับพันล้าน เป็นอีกห้างที่ทำผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร 2535 หลายกระทง คือ ก่อสร้างอาคารรุกล้ำลำกระโดงสาธารณะ ความยาว 140 เมตร กว้าง 2-9 เมตร และยังเชื่อมต่ออาคารห้างฯ กับอาคารที่จอดรถเข้าด้วยกันคร่อมลำกระโดง ซึ่งถือเป็นการต่อเติมอาคารเกินจากแบบที่ได้รับอนุญาต จากวันที่ศาลพิพากษาให้รื้อถอนอาคารตั้งแต่ พ.ศ.2537 เกือบสิบปีแล้ว ห้างยังเปิดใช้บริการโดยมีลูกค้าหนาแน่น ซึ่งแม้ว่าทาง กทม.จะระบุว่า อาคารดังกล่าวมีโครงสร้างที่ปลอดภัย ก็ตาม แต่ก็ไม่เป็นหลักประกันได้ว่าจะเกิดอุบัติเหตุกับสวนน้ำและสวนสนุกที่อยู่ด้านบนหรือไม่
นอกจากนี้ กรณีของเดอะมอลล์ บางแค ยังมีเรื่องที่น่าสนใจอีกหลายเรื่อง อาทิ ทางห้างอาศัยระยะเวลาที่ยาวนานในการขออุทธรณ์คดี และยอมเสียเงินค่าปรับรายวันแลกกับผลประโยชน์ที่คุ้มค่า ที่ร้ายก็นั้นก็คือ ว่ากันว่า เงินค่าปรับที่ต้องจ่ายจนถึงขณะนี้ ทางห้างฯ ยังค้างชำระเป็นเงินถึงกว่า 1,000 ล้านบาท และใช้วิธีเลี่ยงภาษี โดยการยื่นอุทธรณ์ขอเช่าพื้นที่ลำกระโดงจาก กทม.แทนการรื้อถอน โดยทำเรื่องมาตั้งแต่ปี 2540 ซึ่งถือเป็นกรณีใหม่ที่ กทม.ไม่เคยพบ ทางเขตบางแคจึงต้องนำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาว่า จะให้อนุญาตได้หรือไม่ กรรมที่ประกอบด้วยตัวแทนฝ่ายโยธาและกองรายได้ สำนักการคลัง เพื่อพิจารณาว่าจะให้อนุญาตหรือไม่ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้การพิจารณาก็ยังไม่แล้วเสร็จ
พาต้า ปิ่นเกล้า มีความผิดฐาน เปิดใช้อาคารก่อนได้รับอนุญาต ดัดแปลงอาคารโดยการกั้นผนังคอนกรีตเสริมเหล็ก เพื่อทำเป็นโรงภาพยนตร์ 2 โรง และเป็นการเปลี่ยนแปลงการใช้อาคาร นอกจากนี้ ยังก่อสร้างอาคารรอบอาคารชั้นล่าง เพื่อตั้งวางแผงขายสินค้าทับที่จอดรถยนต์ และทางวิ่งรถยนต์รอบอาคาร ทั้งที่ตามหลักอาคารที่มีความสูงเท่านี้ จะต้องมีพื้นที่ว่างรอบอาคาร และด้านหน้าห้างฯ ยังต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต โดยก่อสร้างเป็นห้างวัตสัน ก่อสร้างอาคารโครงเหล็ก หลังคาเหล็กทับที่ว่างด้านหลังคา โดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งก็อยู่ระหว่างดำเนินคดี ห้างก็ยังเปิดบริการได้ตามปกติ
มาบุญครอง ก่อนหน้านี้มีความผิดฐานเปิดใช้อาคารก่อนได้รับอนุญาต และตั้งวางร้านค้าย่อยเป็นอุปสรรคในการหนีไฟ แต่ในที่สุดก็ใช้ช่องว่างของกฎหมาย โดยการไปยื่นขออนุญาตย้อนหลัง ทำให้ขณะนี้กลายเป็นห้างที่ไม่มีความผิดแล้ว โดยทางห้างได้แก้ไขส่วนที่กีดขวางทางเดินเท้า และทำบันไดหนีไฟหน้าอาคารเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ส่วนที่ยังคงมีความผิดอยู่ก็คือทำการดัดแปลงพื้นที่เพื่อการพาณิชย์เป็นโรงภาพยนตร์
แต่ที่ยังน่ากลัวอยู่ คือ ห้างโบนันซ่า มอลล์ ฝั่งตรงข้ามมาบุญครอง ที่มีลักษณะทำทางเชื่อมต่ออาคารพาณิชย์ 2 หลังเข้าด้วยกัน และแบ่งซอยเป็นร้านค้าย่อยๆ อย่างแออัด ในพื้นที่ 2 ชั้น โดยห้างโบนันซ่า มอลล์ ทำผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร ฐานต่อเติมทางเชื่อมด้านหลังอาคารพาณิชย์ 2 อาคารให้ติดกัน คดีเริ่มต้นตั้งแต่ปี 2538 โดยเขตปทุมวันมีหนังสือถึงบริษัทช้อปปิ้งสยาม ผู้ขอจดทะเบียน ให้รื้อถอนตามคำสั่งศาลในปี 2539 แต่ทางห้างก็ขอเวลาดำเนินการ และเปิดให้บริการตามปกติ ทางเขตจึงแจ้งตำรวจดำเนินคดีอาญาด้วย ซึ่งเรื่องนี้ยังอยู่ที่ตำรวจ
ส่วนการรื้อทางเชื่อมหลังอาคารเขตปทุมวัน ได้มีหนังสือล่าสุดแจ้งไปทางบริษัทเมื่อเดือนสิงหาคม 2544 ว่า หากทางห้างฯ ยังไม่รื้อ กทม.จะเข้าไปรื้อเอง ในที่สุดทางห้างยอมรื้อเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา แต่นั่นไม่ได้ทำให้สภาพห้างมีความปลอดภัยขึ้น เพราะสภาพร้านค้าไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า รองเท้า เครื่องสำอาง เทป ฯลฯ ก็ยังเบียดเสียดกันเหมือนเดิม
นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายห้างสรรพสินค้าที่ทำผิดกฎหมาย เช่น หลักสี่พลาซ่าที่ดัดแปลงที่จอดรถเป็นห้างสรรพสินค้า พันธุ์ทิพย์พลาซ่าที่กั้นผนังทับที่จอดรถ ซิตี้ประตูน้ำซึ่งนำที่จอดรถมาเป็นห้องค้าขาย ตั้งฮั่วเส็ง ธนบุรีที่ดัดแปลงที่จอดรถเป็นร้านค้า ฟิวเจอร์พาร์ค บางแคสร้างอาคารรุกล้ำที่สาธารณะ เป็นต้น