หัวใจ เป็นอวัยวะที่สำคัญมากของร่างกาย มีขนาดเท่ากับกำปั้นของเจ้าของ ทำหน้าที่สูบฉีดโลหิตเพื่อนำออกซิเจนไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย และนำโลหิตที่ใช้งานแล้วที่มีคาร์บอนไดออกไซด์ไปฟอกที่ปอดต่อไป หัวใจจะเต้นประมาณ 75 ครั้งต่อนาที
การดูแลรักษาให้แข็งแรง ควรรับประทานอาหารที่ไม่มีไขมันมากเกินไป เพราะจะทำให้มีการสะสมไขมันที่ผนังหลอดเลือด หลอดเลือดตีบตัน ทำให้เลือดหมุนเวียนไม่สะดวก ควรหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่หรือดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ควรพักผ่อนอย่างเพียงพอ ควรทำจิตใจ อารมณ์ให้แจ่มใสและไม่เครียด
โรคที่เกี่ยวกับหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจเสื่อมสภาพ โรคหัวใจรูมาติค(โรคของลิ้นหัวใจ) และโรคหัวใจล้มเหลว
สาเหตุสำคัญที่ทำให้เป็นโรคหัวใจ ลิ้นหัวใจเสื่อม ทำให้เกิดลิ้นหัวใจรั่วหรือตีบ ความดันโลหิตสูงอยู่เรื่อยๆ เป็นเวลานานทำให้หัวใจต้องทำงานหนักอยู่เสมอ เส้นเลือดที่เลี้ยงหัวใจตีบ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจไม่ได้รับเลือด เกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและกล้ามเนื้อหัวใจตาย การติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย
อาการที่เกิดจากหัวใจทำงานผิดปกติ จังหวะชีพจรเต้นช้าหรือเร็ว หรือไม่สม่ำเสมอ เวียนศีรษะ อ่อนเพลีย เป็นลมบ่อย เจ็บแน่นที่หน้าอกเมื่อออกกำลังกายมากหรือเคร่งเครียด บางครั้งอาจเจ็บร้าวที่ไหล แขน หรือขากรรไกรข้างซ้าย หายใจขัด หอบเหนื่อย นอนราบไม่ได้ ขาบวม ผิวหนังซีดเย็นเปียกชื้นและสีเขียวคล้ำ(โรคหัวใจขั้นรุนแรง)
ข้อควรปฏิบัติของผู้ป่วยโรคหัวใจ รับประทานยาสม่ำเสมอ สังเกตอาการผิดปกติของตนเอง เมื่อพบควรปรึกษาแพทย์ งดสารเสพติด บุหรี่ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันมาก อาหารรสเค็ม พักผ่อนให้เพียงพอ
วิธีการรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจ โรคหัวใจขาดเลือด ให้ขาขยายเส้นเลือดหัวใจ เช่น ยาอมใต้ลิ้น อาจต้องให้ออกซิเจนเพื่อช่วยหายใจ ใช้บอลลูนขยายเส้นเลือดหัวใจ ผ่าตัดเส้นเลือดเลี้ยงหัวใจใหม่และการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ
การปลูกถ่ายหัวใจ ผู้ป่วยโรคหัวใจระยะสุดท้ายด้วยสาเหตุกล้ามเนื้อหัวใจเสื่อมสภาพ ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากการขาดเลือดหรือสาเหตุอื่นๆ ที่ไม่สามารถรักษาด้วยยาหรือการผ่าตัดทั่วไปได้ จำเป็นต้องได้รับการปลูกถ่ายหัวใจ ซึ่งเป็นหนทางสุดท้ายที่จะรอดชีวิต