กระแสความก้าวหน้าของวงการแพทย์แผนปัจจุบัน ได้ตอบสนองความต้องการของมนุษย์ในหลายรูปแบบ และที่สำคัญได้ช่วยให้ผู้ทุกข์ยากในหลากหลายพื้นที่บนโลกใบนี้ บรรเทาความเจ็บปวดที่แสนทรมาน
แต่กระนั้น กระแสของการท้าทายทฤษฎีการแพทย์ปัจจุบัน ก็มีอยู่ให้เราได้พบเห็นอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการหันกลับมาให้ความสนใจในภูมิปัญญาดั้งเดิม การใช้สมุนไพร การทำโยคะ การฝังเข็ม หรือแม้กระทั่ง การใช้สมาธิบำบัด
ทั้งนี้ แม้จะไม่ได้เป็นการปฏิเสธแนวทางแพทย์แผนปัจจุบันโดยสิ้นเชิง แต่ก็เพียงพอที่จะทำให้วงการแพทย์แผนปัจจุบันต้องหันกลับมาทบทวนบทบาท หน้าที่ ตลอดจนองค์ความรู้ที่ได้ก่อตัวและพัฒนาเรื่อยมาว่าแท้จริงแล้ว ได้ตอบสนองความต้องการของมนุษย์และพัฒนามาถูกต้อง ถูกทิศทางเพียงไร หรือแม้กระทั่ง มีแนวคิดของทฤษฎีใหม่ทางการแพทย์เกิดขึ้นมา แนวคิดนี้เป็นเช่นไร และต่างจากแนวเดิมอย่างไร เราลองมาหาคำตอบกันดู

ศ.นพ. ประเวศ วะสี ผู้คิดค้นทฤษฎีนี้ ได้เล่าให้ฟังถึงแนวทางทฤษฎีใหม่การแพทย์ว่า ปัจจุบัน วงการแพทย์ได้ก้าวหน้าไปมาก สามารถทำในสิ่งที่ไม่เคยทำได้มาก่อน จนอาจกล่าวได้ว่าเป็นยุคของ "การปฏิวัติวงการแพทย์" แต่ทั้งนี้ ปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือ พื้นที่ทางสุขภาพของแพทย์แผนปัจจุบัน ตั้งอยู่บนปริมณฑลของสุขภาพเพียงส่วนเล็กๆ ส่วนเดียว คือ โรคที่แพทย์สามารถนิยามได้ชัดเจน ในขณะที่พื้นที่ที่เหลืออีกส่วนมาก เป็นพื้นที่ของความเจ็บป่วยที่นิยามไม่ได้ชัดเจน หรือโรคที่ไม่รู้สาเหตุ ตลอดจนพื้นที่ของการมีสุขภาพดีรวมอยู่ด้วย ดังนั้น พื้นที่ทางสุขภาพที่ถูกกำหนดโดยการนิยามของโรคจึงมีขนาดเล็กมาก
ทั้งนี้ ผลกระทบที่ตามมาของการแพทย์ที่ถือ "โรค" เป็นหลักนั้น มีมากมายหลายประการ ประการแรก คือ ทำให้การแพทย์ตั้งอยู่บนแกนของกายภาพที่สามารถตรวจสอบได้เพียงอย่างเดียว โดยละเลยความเจ็บป่วยที่อาจเกิดจากทาง "จิต" และทาง "สังคม" ดังนั้น ที่ผ่านมาเมื่อแพทย์พบผู้ป่วยที่ไม่สามารถหาโรคทางกายภาพได้ แพทย์จึงไม่เข้าใจ ไม่พอใจ หรืออาจเกลียดคนไข้ประเภทนี้ และดูแลรักษาไม่เป็น ส่งผลให้ขาดความสามารถที่จะรักษาผู้ป่วยส่วนใหญ่ ตลอดจนอาจทำให้คนไข้มีอาการหนักลง
ประการต่อมา คือการให้คนไข้ทั้งหมดเข้าสู่การตรวจรักษาด้วยเทคโนโลยี ในขณะที่การประเมินของคณะกรรมการประเมินเทคโนโลยี(Technology Assessment Board) ของรัฐสภาอเมริกัน พบว่า มีผู้ป่วยไม่ถึงร้อยละ 20 ที่หายเพราะใช้การรักษาด้วยเทคโนโลยี ขณะที่ที่เหลืออีกกว่าร้อยละ 80 หายป่วยเพราะเหตุอื่นๆ เช่น หายเอง หายเพราะplacebo (ยาที่ไม่ได้มีฤทธิ์ตรงกับโรค) หรือแม้กระทั่งหายเพราะได้รับการเอาใจใส่ ดังนั้น การแพทย์ปัจจุบันที่ให้คนไข้ทั้งหมดเข้าสู่กระบวนการวินิจฉัยและรักษาด้วยเทคโนโลยี จึงเป็นการสิ้นเปลือง ได้ผลไม่คุ้มค่า และเป็นการใช้เทคโนโลยีเกินความจำเป็น
นอกจากนี้ กระแสของการแพทย์ทางเลือกซึ่งเกิดขึ้นทั่วโลก ที่แม้จะไม่ได้ปฏิเสธข้อดีของการแพทย์แผนปัจจุบัน แต่ก็เป็นตัวสะท้อนว่าสังคมหรือผู้ทุกข์ยากรู้สึกว่ายังมีวิธีการอื่นๆ อีกที่จะช่วยให้พวกเขาดีขึ้น เช่น กลับไปหาแพทย์แผนดั้งเดิม กลับไปหาโยคะบำบัด การรักษาด้วยสมาธิ การฝังเข็ม หรือ การรักษาด้วยอาหารแมคโครไบโอติก เป็นต้น
ปัญหาอีกอย่างหนึ่งก็คือ การเกิดวิกฤตของระบบบริการสุขภาพ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูงขึ้นกว่า10 % ในทุกๆ ปีอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดภาวะเงินหมด บุคลากรทางการแพทย์แบกรักภาระไม่ไหว และคนไข้ไม่ได้รับการบริการที่ดี ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการเสนอทฤษฎีใหม่ทางการแพทย์ให้เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูประบบสุขภาพ ซึ่งจะนำไปสู่การทำให้บทบาทและสถานภาพของแพทย์เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมโดยแพทย์ควรจะเป็นผู้นำทางด้านสุขภาพ มิใช่เอาเวลาไปอยู่กับเทคโนโลยีเพียงอย่างเดียว ดังเช่นแพทย์จีนโบราณที่เป็นทั้งครู นักปราชญ์ นักจริยธรรม ซึ่งสามารถเป็นผู้ที่จะนำสังคมไปสู่สุขภาวะ หรือสังคมที่สงบร่มเย็นเป็นสุขได้ด้วย สำหรับปัญหาด้านความเครียดซึ่งถือเป็นปัญหาทางการแพทย์ที่ใหญ่ที่สุดทั่วโลกในขณะนี้นั้น
นพ.ประเวศ มีความเห็นว่า จากรายงานการวิจัยหลายแห่งที่แสดงให้เห็นว่าการเจริญสมาธิภาวนา หรือการทำให้จิตใจสงบนั้น สามารถบำบัดโรคและลดความเครียดลงได้ นั่นแสดงให้เห็นถึงปรากฏการณ์การเชื่อมโยงระหว่างกายและจิต ซึ่งการแพทย์ปัจจุบัน ยังรู้จักผลของจิตที่มีต่อการน้อยนัก และยิ่งเป็นการตั้งอยู่บนแกนทางกายภาพเพียงแกนเดียว ก็จะยิ่งไม่เห็นผลของจิตที่มีต่อสุขภาพ ทั้งทางด้านสุขภาพดีและสุขภาพเสียตามไปด้ว
ดังนั้น หากนิยามทฤษฎีใหม่ทางการแพทย์ว่า "การมีสุขภาพดีคือการมีดุลยภาพที่ดี" แทน "การมีสุขภาพดีคือการไม่มีโรค" ก็จะสามารถอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ ได้ดีกว่านิยามสุขภาพด้วยโรคเพราะดังที่กล่าวมาแล้วว่า มีความเจ็บป่วยมากมายที่หาโรคไม่ได้ หรือนิยามไม่ได้ชัดเจน ประดุจว่า "ไม่เป็นโรคก็สุขภาพไม่ดีได้" และหากมีการนิยามใหม่เช่นนี้ ความเจ็บป่วยทุกชนิด ก็คือการเสียดุลยภาพ ซึ่งสามารถเห็นภาพที่กว้างและชัดเจนมากกว่า
สำหรับดุลยภาพที่สมดุลนั้น นพ.ประเวศ เห็นว่า จะเกิดจากความสัมพันธ์อันถูกต้องและลงตัวระหว่าง กาย จิต สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งในแง่นี้ แม้เกิดความเจ็บป่วยที่เราไม่รู้สาเหตุ แต่ก็สามารถที่จะรักษาให้หายได้ โดยการใช้ดุลยภาพบำบัด ซึ่งมีสมมติฐานตามที่ได้เกริ่นมาก่อนหน้านี้ คือคนไข้ทั้งหลายล้วนมีความเครียดปนอยู่ทั้งสิ้นโดยไม่เลือกเพศ วัย และฐานะและไม่ว่าความเครียดนั้นจะเป็นปฐมเหตุหรือเป็นสาเหตุผสมก็ตาม
ทั้งนี้ หากตระหนักได้ว่า "ทฤษฎีโรค" กับ "ทฤษฎีสุขภาพ" นำไปสู่เวชปฏิบัติที่ต่างกัน และทฤษฎีสุขภาพเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยมากกว่า ก็จะทำให้โรงพยาบาลทั้งหมด ตกอยู่ในฐานะที่จะส่งเสริมการมีสุขภาพดี และมิได้เป็นเพียงสถานรักษาโรคแต่เพียงเท่านั้น
อย่างไรก็ดี ภารกิจตามแนวทฤษฎีใหม่นั้น จะรวมถึงการส่งเสริม ดำรงรักษา และฟื้นฟู ดุลยภาพทั้ง 4 มิติให้เชื่อมโยงกัน ไม่ใช่เฉพาะเทคโนโลยีทางการแพทย์สมัยใหม่เท่านั้น และผู้ที่เกี่ยวข้องก็จะไม่ใช่แต่เรื่องของผู้เชี่ยวชาญเพียงฝ่ายเดียว หากแต่คนทั้งหมดต้องเข้ามามีบทบาทไม่ว่าจะเป็นครอบครัว ชุมชน หน่วยงานต่างๆ และทุกพื้นที่ในสังคม
"ปัจจุบัน บุคลากรทางสุขภาพมีเยอะมาก อยู่ในขุมทองของความดีและความงาม ซึ่งเราจำเป็นที่จะต้องใช้กระบวนการขับเคลื่อนทางสุขภาพตรงนี้ เป็นเสมือนการขับเคลื่อนทางศีลธรรม เพื่อทำให้สังคม และเพื่อนมนุษย์ทั้งหมดอยู่รวมกันอย่างสันติสุขต่อไป" นพ.ประเวศ ให้แง่คิดทิ้งท้าย
แต่กระนั้น กระแสของการท้าทายทฤษฎีการแพทย์ปัจจุบัน ก็มีอยู่ให้เราได้พบเห็นอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการหันกลับมาให้ความสนใจในภูมิปัญญาดั้งเดิม การใช้สมุนไพร การทำโยคะ การฝังเข็ม หรือแม้กระทั่ง การใช้สมาธิบำบัด
ทั้งนี้ แม้จะไม่ได้เป็นการปฏิเสธแนวทางแพทย์แผนปัจจุบันโดยสิ้นเชิง แต่ก็เพียงพอที่จะทำให้วงการแพทย์แผนปัจจุบันต้องหันกลับมาทบทวนบทบาท หน้าที่ ตลอดจนองค์ความรู้ที่ได้ก่อตัวและพัฒนาเรื่อยมาว่าแท้จริงแล้ว ได้ตอบสนองความต้องการของมนุษย์และพัฒนามาถูกต้อง ถูกทิศทางเพียงไร หรือแม้กระทั่ง มีแนวคิดของทฤษฎีใหม่ทางการแพทย์เกิดขึ้นมา แนวคิดนี้เป็นเช่นไร และต่างจากแนวเดิมอย่างไร เราลองมาหาคำตอบกันดู
ศ.นพ. ประเวศ วะสี ผู้คิดค้นทฤษฎีนี้ ได้เล่าให้ฟังถึงแนวทางทฤษฎีใหม่การแพทย์ว่า ปัจจุบัน วงการแพทย์ได้ก้าวหน้าไปมาก สามารถทำในสิ่งที่ไม่เคยทำได้มาก่อน จนอาจกล่าวได้ว่าเป็นยุคของ "การปฏิวัติวงการแพทย์" แต่ทั้งนี้ ปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือ พื้นที่ทางสุขภาพของแพทย์แผนปัจจุบัน ตั้งอยู่บนปริมณฑลของสุขภาพเพียงส่วนเล็กๆ ส่วนเดียว คือ โรคที่แพทย์สามารถนิยามได้ชัดเจน ในขณะที่พื้นที่ที่เหลืออีกส่วนมาก เป็นพื้นที่ของความเจ็บป่วยที่นิยามไม่ได้ชัดเจน หรือโรคที่ไม่รู้สาเหตุ ตลอดจนพื้นที่ของการมีสุขภาพดีรวมอยู่ด้วย ดังนั้น พื้นที่ทางสุขภาพที่ถูกกำหนดโดยการนิยามของโรคจึงมีขนาดเล็กมาก
ทั้งนี้ ผลกระทบที่ตามมาของการแพทย์ที่ถือ "โรค" เป็นหลักนั้น มีมากมายหลายประการ ประการแรก คือ ทำให้การแพทย์ตั้งอยู่บนแกนของกายภาพที่สามารถตรวจสอบได้เพียงอย่างเดียว โดยละเลยความเจ็บป่วยที่อาจเกิดจากทาง "จิต" และทาง "สังคม" ดังนั้น ที่ผ่านมาเมื่อแพทย์พบผู้ป่วยที่ไม่สามารถหาโรคทางกายภาพได้ แพทย์จึงไม่เข้าใจ ไม่พอใจ หรืออาจเกลียดคนไข้ประเภทนี้ และดูแลรักษาไม่เป็น ส่งผลให้ขาดความสามารถที่จะรักษาผู้ป่วยส่วนใหญ่ ตลอดจนอาจทำให้คนไข้มีอาการหนักลง
ประการต่อมา คือการให้คนไข้ทั้งหมดเข้าสู่การตรวจรักษาด้วยเทคโนโลยี ในขณะที่การประเมินของคณะกรรมการประเมินเทคโนโลยี(Technology Assessment Board) ของรัฐสภาอเมริกัน พบว่า มีผู้ป่วยไม่ถึงร้อยละ 20 ที่หายเพราะใช้การรักษาด้วยเทคโนโลยี ขณะที่ที่เหลืออีกกว่าร้อยละ 80 หายป่วยเพราะเหตุอื่นๆ เช่น หายเอง หายเพราะplacebo (ยาที่ไม่ได้มีฤทธิ์ตรงกับโรค) หรือแม้กระทั่งหายเพราะได้รับการเอาใจใส่ ดังนั้น การแพทย์ปัจจุบันที่ให้คนไข้ทั้งหมดเข้าสู่กระบวนการวินิจฉัยและรักษาด้วยเทคโนโลยี จึงเป็นการสิ้นเปลือง ได้ผลไม่คุ้มค่า และเป็นการใช้เทคโนโลยีเกินความจำเป็น
นอกจากนี้ กระแสของการแพทย์ทางเลือกซึ่งเกิดขึ้นทั่วโลก ที่แม้จะไม่ได้ปฏิเสธข้อดีของการแพทย์แผนปัจจุบัน แต่ก็เป็นตัวสะท้อนว่าสังคมหรือผู้ทุกข์ยากรู้สึกว่ายังมีวิธีการอื่นๆ อีกที่จะช่วยให้พวกเขาดีขึ้น เช่น กลับไปหาแพทย์แผนดั้งเดิม กลับไปหาโยคะบำบัด การรักษาด้วยสมาธิ การฝังเข็ม หรือ การรักษาด้วยอาหารแมคโครไบโอติก เป็นต้น
ปัญหาอีกอย่างหนึ่งก็คือ การเกิดวิกฤตของระบบบริการสุขภาพ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูงขึ้นกว่า10 % ในทุกๆ ปีอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดภาวะเงินหมด บุคลากรทางการแพทย์แบกรักภาระไม่ไหว และคนไข้ไม่ได้รับการบริการที่ดี ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการเสนอทฤษฎีใหม่ทางการแพทย์ให้เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูประบบสุขภาพ ซึ่งจะนำไปสู่การทำให้บทบาทและสถานภาพของแพทย์เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมโดยแพทย์ควรจะเป็นผู้นำทางด้านสุขภาพ มิใช่เอาเวลาไปอยู่กับเทคโนโลยีเพียงอย่างเดียว ดังเช่นแพทย์จีนโบราณที่เป็นทั้งครู นักปราชญ์ นักจริยธรรม ซึ่งสามารถเป็นผู้ที่จะนำสังคมไปสู่สุขภาวะ หรือสังคมที่สงบร่มเย็นเป็นสุขได้ด้วย สำหรับปัญหาด้านความเครียดซึ่งถือเป็นปัญหาทางการแพทย์ที่ใหญ่ที่สุดทั่วโลกในขณะนี้นั้น
นพ.ประเวศ มีความเห็นว่า จากรายงานการวิจัยหลายแห่งที่แสดงให้เห็นว่าการเจริญสมาธิภาวนา หรือการทำให้จิตใจสงบนั้น สามารถบำบัดโรคและลดความเครียดลงได้ นั่นแสดงให้เห็นถึงปรากฏการณ์การเชื่อมโยงระหว่างกายและจิต ซึ่งการแพทย์ปัจจุบัน ยังรู้จักผลของจิตที่มีต่อการน้อยนัก และยิ่งเป็นการตั้งอยู่บนแกนทางกายภาพเพียงแกนเดียว ก็จะยิ่งไม่เห็นผลของจิตที่มีต่อสุขภาพ ทั้งทางด้านสุขภาพดีและสุขภาพเสียตามไปด้ว
ดังนั้น หากนิยามทฤษฎีใหม่ทางการแพทย์ว่า "การมีสุขภาพดีคือการมีดุลยภาพที่ดี" แทน "การมีสุขภาพดีคือการไม่มีโรค" ก็จะสามารถอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ ได้ดีกว่านิยามสุขภาพด้วยโรคเพราะดังที่กล่าวมาแล้วว่า มีความเจ็บป่วยมากมายที่หาโรคไม่ได้ หรือนิยามไม่ได้ชัดเจน ประดุจว่า "ไม่เป็นโรคก็สุขภาพไม่ดีได้" และหากมีการนิยามใหม่เช่นนี้ ความเจ็บป่วยทุกชนิด ก็คือการเสียดุลยภาพ ซึ่งสามารถเห็นภาพที่กว้างและชัดเจนมากกว่า
สำหรับดุลยภาพที่สมดุลนั้น นพ.ประเวศ เห็นว่า จะเกิดจากความสัมพันธ์อันถูกต้องและลงตัวระหว่าง กาย จิต สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งในแง่นี้ แม้เกิดความเจ็บป่วยที่เราไม่รู้สาเหตุ แต่ก็สามารถที่จะรักษาให้หายได้ โดยการใช้ดุลยภาพบำบัด ซึ่งมีสมมติฐานตามที่ได้เกริ่นมาก่อนหน้านี้ คือคนไข้ทั้งหลายล้วนมีความเครียดปนอยู่ทั้งสิ้นโดยไม่เลือกเพศ วัย และฐานะและไม่ว่าความเครียดนั้นจะเป็นปฐมเหตุหรือเป็นสาเหตุผสมก็ตาม
ทั้งนี้ หากตระหนักได้ว่า "ทฤษฎีโรค" กับ "ทฤษฎีสุขภาพ" นำไปสู่เวชปฏิบัติที่ต่างกัน และทฤษฎีสุขภาพเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยมากกว่า ก็จะทำให้โรงพยาบาลทั้งหมด ตกอยู่ในฐานะที่จะส่งเสริมการมีสุขภาพดี และมิได้เป็นเพียงสถานรักษาโรคแต่เพียงเท่านั้น
อย่างไรก็ดี ภารกิจตามแนวทฤษฎีใหม่นั้น จะรวมถึงการส่งเสริม ดำรงรักษา และฟื้นฟู ดุลยภาพทั้ง 4 มิติให้เชื่อมโยงกัน ไม่ใช่เฉพาะเทคโนโลยีทางการแพทย์สมัยใหม่เท่านั้น และผู้ที่เกี่ยวข้องก็จะไม่ใช่แต่เรื่องของผู้เชี่ยวชาญเพียงฝ่ายเดียว หากแต่คนทั้งหมดต้องเข้ามามีบทบาทไม่ว่าจะเป็นครอบครัว ชุมชน หน่วยงานต่างๆ และทุกพื้นที่ในสังคม
"ปัจจุบัน บุคลากรทางสุขภาพมีเยอะมาก อยู่ในขุมทองของความดีและความงาม ซึ่งเราจำเป็นที่จะต้องใช้กระบวนการขับเคลื่อนทางสุขภาพตรงนี้ เป็นเสมือนการขับเคลื่อนทางศีลธรรม เพื่อทำให้สังคม และเพื่อนมนุษย์ทั้งหมดอยู่รวมกันอย่างสันติสุขต่อไป" นพ.ประเวศ ให้แง่คิดทิ้งท้าย