xs
xsm
sm
md
lg

“อธิบดีกรมชลฯ” นำทีมลงพื้นที่ติดตามโครงการคลอง “ยม–น่าน” วางแผนระบายน้ำในช่วงฤดูฝน กำชับพร่องน้ำล่วงหน้า

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



“อธิบดีกรมชลฯ” นำทีมลงพื้นที่ติดตามโครงการคลอง “ยม–น่าน” วางแผนระบายน้ำในช่วงฤดูฝน กำชับพร่องน้ำล่วงหน้า เฝ้าระวังแบบเรียลไทม์ ตั้งเป้ายกระดับความมั่นคงด้านน้ำ ลดความเสี่ยงภัยธรรมชาติ

วันนี้ (26 ก.ค. 2568) นายสุริยพล นุชอนงค์ อธิบดีกรมชลประทาน พร้อมด้วย นายเดช เล็กวิชัย รองอธิบดีกรมชลประทาน ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำและความก้าวหน้าโครงการปรับปรุงคลองผันน้ำยม–น่าน ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดสุโขทัยและอุตรดิตถ์ เพื่อประเมินศักยภาพการระบายน้ำในคลอง และเตรียมความพร้อมในการระบายน้ำลงสู่แม่น้ำน่านอย่างเป็นระบบ โดยมี นายสมจิตฐิพงศ์ อำนาจศาล ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 3 , นายทวีวัฒน์ สืบสุขมั่นสกุล ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 4 และนายโชค พรินทรากูล ผู้อำนวยการสำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดใหญ่ที่ 4 รวมถึงผู้เกี่ยวข้อง ร่วมลงพื้นที่และรายงานสถานการณ์น้ำ รวมถึงความก้าวหน้าของโครงการฯ


สำหรับคลองยม–น่าน ถือเป็นโครงข่ายชลประทานหลักที่เชื่อมโยงลุ่มน้ำยมกับลุ่มน้ำน่าน มีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการน้ำหลากจากพื้นที่ภาคเหนือตอนบนก่อนไหลเข้าสู่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน การบริหารการระบายน้ำผ่านคลองเส้นนี้จะช่วยลดผลกระทบจากอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มต่ำ พื้นที่การเกษตร และชุมชนที่อยู่ตลอดแนวคลอง


โดยการลงพื้นที่ในครั้งนี้ อธิบดีกรมชลประทานและคณะ ได้ตรวจสอบจุดสำคัญต่าง ๆ ของระบบชลประทาน เช่น ประตูระบายน้ำคอรุม อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์ และจุดควบคุมการระบายน้ำในเขต จ.สุโขทัย เพื่อประเมินความพร้อมของโครงสร้างชลประทาน ตลอดจนการระบายน้ำจากคลองยม–น่านลงสู่แม่น้ำน่าน โดยเฉพาะในช่วงที่มีปริมาณน้ำไหลหลากจากตอนบน


อธิบดีกรมชลประทาน ระบุว่า ตนได้กำชับให้ทุกโครงการชลประทานในพื้นที่เร่งพร่องน้ำล่วงหน้าในจุดที่เหมาะสม ตรวจสอบประสิทธิภาพของอาคารชลประทานและจุดเสี่ยงต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง พร้อมเฝ้าระวังและบริหารจัดการน้ำแบบเรียลไทม์ตลอดช่วงฤดูฝน ซึ่งโครงการปรับปรุงคลองยม–น่าน ถือเป็นส่วนสำคัญในแผนบริหารจัดการน้ำของกรมชลประทาน ที่มุ่งเน้นการบูรณาการทรัพยากร โครงสร้างพื้นฐาน และความร่วมมือกับหน่วยงานในระดับพื้นที่ เพื่อยกระดับความมั่นคงด้านน้ำและลดผลกระทบจากความเสี่ยงของภัยธรรมชาติได้อย่างยั่งยืน






กำลังโหลดความคิดเห็น