xs
xsm
sm
md
lg

ศาล รธน.ตีตกคำร้องฟัน กกต.จัดเลือก สว.ไม่สุจริต ปล่อย ภท.ครอบงำ ชี้ ร้องไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ศาล รธน.ตีตกปมร้อง ฟัน กกต.จัดเลือก สว. ไม่สุจริต ปล่อย ภท.ครอบงำ ชี้ ร้องไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ พร้อมไม่รับคำร้องขอให้การเลือก สว.เป็นโมฆะ

วันนี้ (17 ก.ค.) ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติเอกฉันท์ไม่รับพิจารณาคดีที่ นางภัทรสุภางค์ เฉลิมนนท์ ผู้ร้อง ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 213 โดยกล่าวอ้างว่า คณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. ผู้ถูกร้องที่ 1 จัดการเลือกสมาชิกวุฒิสภา (สว.) ไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย เนื่องจากพรรคภูมิใจไทย ผู้ถูกร้องที่ 4 กรรมการบริหารพรรคภูมิใจไทย (ผู้ถูกร้องที่ 5) สมาชิกสังกัดพรรคภูมิใจไทย ผู้ถูกร้องที่ 6-16 ร่วมกันวางแผนครอบงำกระบวนการเลือก สว. โดยมิชอบไว้ตั้งแต่แรก เมื่อพบเห็นการกระทำที่มีเหตุอันควรสงสงสัยว่าการเลือกสว.มิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม เลขาธิการกกต. ผู้ถูกร้องที่ 2 มิได้สั่งการให้ดำเนินการใดๆ ส่งผลให้ สว.138 คน ผู้ถกร้องที่ 3 ได้รับเลือกเป็น สว. ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายอาญามาตรา 209 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 113 และมาตรา 224 ศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่า ข้อเท็จจริงตามคำร้องและเอกสารประกอบผู้ร้องกล่าวอ้างว่า ผู้ถูกร้องที่ 1 จัดการเลือก สว.ไม่เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม เนื่องจากละเลยต่อหน้าที่โดยปล่อยให้ผู้ถูกร้องที่ 4-16 ร่วมกันกระทำการครอบงำกระบวนการเลือก สว. ส่งผลให้ผู้ถูกร้องที่ 3 ได้รับเลือกเป็นสว. ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 209 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 113 และมาตรา 224 ซึ่งการยื่นคำร้องตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 213 ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.ป.ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 มาตรา 46 และมาตรา 47 แม้ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดินและผู้ตรวจการแผ่นดินไม่ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ทำให้ผู้ร้องมีสิทธิยื่นคำร้องโดยตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญก็ตาม เมื่อข้อเท็จจริงตามคำร้องและเอกสารประกอบ หากผู้ร้องเห็นว่าเป็นการละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพ ผู้ร้องอาจใช้สิทธิทางศาลอื่นได้ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 25 วรรคสาม

ส่วนกรณีขอให้ศาลรัฐธรรมนูญสั่งให้การเลือก สว.เป็นโมฆะนั้น เห็นว่า พ.ร.ป.ว่าด้วยการได้มาซึ่ง สว. พ.ศ. 2561 กำหนดกระบวนการยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลฎีกา หรือ กกต.ไว้แล้วตามมาตรา 44 และมาตรา 64 เป็นกรณีที่รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญได้กำหนดกระบวนการร้องหรือผู้มีสิทธิขอให้ศาลพิจารณาวินิจฉัยไว้เป็นการเฉพาะแล้ว ตาม พ.ร.ป.ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 มาตรา 47(2) ซึ่งมาตรา 46 วรรคสาม บัญญัติให้ศาลรัฐธรรมนูญสั่งไม่รับคำร้องไว้พิจารณา ดังนั้น ผู้ร้องไม่อาจยื่นคำร้อง ดังกล่าวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 213


กำลังโหลดความคิดเห็น