xs
xsm
sm
md
lg

กกต.ชี้ สื่อลงข่าวคลาดเคลื่อน ยันไมไ่ด้รับแจ้งเหตุทุจริตจากผู้ตรวจเลือกตั้งในวันเลือก สว.ระดับประเทศ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



กกต.แจงไม่ได้รับเรื่องแจ้งจากผู้ตรวจการเลือกตั้ง เหตุการกระทำทุจริตการเลือก สว. ในวันเลือกระดับประเทศ 26 มิ.ย. ชี้ สื่อนำเสนอข่าวคลาดเคลื่อน พร้อมแจงจัด 6 มาตรการ ดักทางทุจริตการเลือก สว.

วันนี้ (20 พ.ค.) สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้เผยแพร่เอกสารชี้แจงกรณีผู้ตรวจการเลือกตั้งประจำจังหวัด แจ้งว่า จะมีโพยฮั้ว สว.ในวันเลือก สว ระดับประเทศ ระบุว่า ตามที่ได้มีสื่อมวลชนบางสื่อได้นำเสนอข่าวว่า นายแสวง บุญมี เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง ไม่ได้ดำเนินการกรณีมีผู้ตรวจการเลือกตั้งประจำจังหวัด แจ้งว่า จะมีโพยฮั้ว สว. ซึ่งเป็นการเอื้อให้มีการฮั่ว สว. ในวันเลือก สว ระดับประเทศ เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2567 ณ อาคารศูนย์การประชุมอิมแพ็ค ฟอรั่ม อาคาร 4 เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี นั้น สำนักงานกกต.ขอชี้แจง ดังนี้

1. ในวันที่ 26 มิ.ย. 67 ไม่ปรากฏว่า มีผู้ตรวจการเลือกตั้งประจำจังหวัดผู้ใด รายงานการกระทำผิดตามแบบรายงานของผู้ตรวจการเลือกตั้งประจำจังหวัด (แบบ ผตล. จว. 2 หรือ แบบ ผตล. จว. 2/1) ตามระเบียบ กกต. ว่าด้วยผู้ตรวจการเลือกตั้ง ข้อ 32 แต่อย่างใด ซึ่งหากพบการกระทำผิด เป็นหน้าที่ของผู้ตรวจการเลือกตั้งประจำจังหวัดต้องรายงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือกรรมการการเลือกตั้งทราบทันที เพื่อดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจต่อไป แบบรายงานดังกล่าวจะเป็น “ต้นเรื่อง” เพื่อให้สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งพิจารณาเหตุ แล้วจะได้ดำเนินการตามระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการ สืบสวน ไต่สวน และวินิจฉัยชี้ขาด พ.ศ. 2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2566 ต่อไป
แต่มาปรากฏภายหลังจากการเลือก สว. ระดับประเทศผ่านไปแล้วว่า ผู้ตรวจการเลือกตั้งประจำจังหวัดได้ยื่นแบบ ผตล. ลงวันที่ 28 มิ.ย. 67 ต่อประธานกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งได้ผ่านพ้น วันเลือกระดับประเทศไปแล้ว

2. ในวันเลือก สว. ระดับประเทศ พนักงานสืบสวน ที่ถูกสั่งให้ไปปฏิบัติหน้าที่รับเรื่องร้องเรียน หรือร้องคัดค้านการกระทำผิดในสถานที่เลือก ก็ไม่ได้รายงานว่า มีผู้ตรวจการเลือกตั้งประจำจังหวัดผู้ใด ยื่นแบบรายงาน ผตล. ต่อพนักงานสืบสวน หรือมีผู้สมัครคนใดมาร้องหรือให้ถ้อยคำต่อพนักงานสืบสวน ที่จุดรับเรื่องร้องเรียนในสถานที่เลือก ถึงเหตุที่มีการกระทำผิดตามกฎหมายแต่อย่างใด การนำเสนอข่าวว่ามีการแจ้งว่ามีการกระทำความผิดจึงไม่เป็นความจริง

นอกจากนี้ ระบุด้วยว่าเพื่อประโยชน์แห่งความสุจริตและเที่ยงธรรมในสถานที่เลือก คณะกรรมการการเลือกตั้ง และผู้อำนวยการการเลือกตั้งระดับประเทศ ได้มีมาตรการเพื่อให้การเลือกเป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ในวันเลือกระดับประเทศ ดังนี้

 1. จัดให้มีจุดรับเรื่องร้องเรียนเรื่องการกระทำที่อาจเป็นความผิดในสถานที่เลือก โดยให้พนักงานสืบสวนประจำจุดอย่างเพียงพอ เพื่อให้ผู้ตรวจการเลือกตั้งประจำจังหวัดได้ยื่นแบบ ผตล, หากพบว่ามีการกระทำผิด หรือให้ผู้สมัครมาแจ้งเหตุ และพนักงานสอบสวนจะบันทึกปากคำไว้ เพื่อเป็นต้นเรื่องในการดำเนินการ ตามหน้าที่และอำนาจต่อไป

2. จัดสถานที่ให้สื่อมวลชนในบริเวณสถานที่เลือกเพื่อสังเกตการณ์การเลือกในจุดที่สามารถ มองเห็นได้อย่างชัดเจน 

3. อนุญาตให้ผู้สังเกตการณ์จากต่างประเทศ ตัวแทนจากสถานทูตประจำประเทศไทย หรือ อียู และองค์กรเอกชนของไทย เข้าไปสังเกตการณ์ในสถานที่เลือก

4. สั่งให้ผู้ตรวจการเลือกตั้งประจำจังหวัดกรุงเทพมหานครและในเขตปริมณฑล เข้าไปตรวจ ในสถานที่เลือก 

5. บันทึกภาพวิดีโอ จากกล้องวงจรปิด ตั้งแต่ผู้สมัครมารายงานตัว การลงคะแนน การนับคะแนน การรวมคะแนน และการประกาศผลคะแนน 

6. สั่งการให้ชุดสืบสวนหาข่าวแฝงตัวในพื้นที่สถานที่เลือกและโรงแรมที่ผู้สมัครมาพักโดยรอบ เพื่อหาข่าวเกี่ยวกับการกระทำที่อาจเป็นความผิดก่อนวันเลือกจนถึงสิ้นสุดกระบวนการเลือก






กำลังโหลดความคิดเห็น