รมว.คลัง ย้ำ โทเคนดิจิทัลของภาครัฐ ขยายฐานการลงทุน รายได้น้อยซื้อได้ มีผลตอบแทน-มั่นคง น้อมรับข้อเสนอ ธปท. ทำในสัดส่วนเหมาะสม ปล่อย 5,000 ล้านบาท เริ่ม 2 เดือนนี้
วันนี้ (13พ.ค.) นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง ระบุถึง ครม. มีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลังเสนอวิธีการกู้เงินตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะ เพื่อเปิดทางให้มีการออกโทเคนดิจิทัลของภาครัฐ (G Token) ตามมาตรา 10 วรรค 1 แห่ง พ.ร.บ.บริหารหนี้สาธารณะ ว่า เป็นการเพิ่มช่องทางการลงทุนให้กับประชาชนใหม่โดยการเพิ่มเครื่องมือการลงทุน พร้อมย้ำว่า สำนักบริหารหนี้ กระทรวงการคลังมีหน้าที่ในการออกตราสารให้กับสถาบันและประชาชนในการระดมเงินถือเป็นส่วนหนึ่งในการระดมเงินในส่วนที่ขาดดุลและทำอยู่โดยทั่วไปมีการออกพันธบัตรให้สถาบันไม่ว่าจะเป็นการออมออกพันธบัตรออมเงิน ให้กับประชาชนซึ่งถือเป็นช่องทางเดิมๆ ดังนั้นจึงมีแนวคิดว่า จะทำช่องทางใหม่ เพื่อเพิ่มทางเลือกให้กับนักลงทุนเลยมีการออกเครื่องมือการระดมทุนให้กับรัฐบาล โดยเรื่องนี้เป็นไทยแลนด์ดิจิทัลโทเคน คือผู้ถือหน่วย หรือเครื่องมือการลงทุนจะได้ผลตอบแทนที่ดีกว่าการลงทุนด้วยการฝากเงิน และถือเป็นส่วนหนึ่งของหนี้สาธารณะ ไม่ได้เป็นการพิมพ์เงินใหม่แต่อย่างใดและไม่ได้เป็นประเภทแบบคลิปโต ตามที่หลายฝ่ายเข้าใจโดยข้อดีประชาชนสามารถที่จะลงทุนได้แม้จะลงทุนน้อย
“มีจำนวนเงินน้อยก็สามารถลงทุนได้ เมื่ออยู่ในรูปดิจิทัลซึ่งสามารถออกมาเป็นเศษส่วน ในการที่จะลงทุนน้อย 1,000 บาทก็ได้ 100 บาท ก็ยังได้เลยหากจะลงทุน ว่าขึ้นอยู่กับทศนิยม ประโยชน์ที่ได้สามารถที่จะทำให้เราเข้าถึงกลุ่มที่มีความสามารถในการลงทุนน้อยทำให้ขยายฐานของการลงทุนมีทางเลือกที่มากขึ้นให้กับประชาชนข้อสำคัญอีกข้อหนึ่งคือเป็นการวางรากฐานทางนวัตกรรมซึ่งเป็นพื้นฐานของดิจิทัลอีโคโนมี ซึ่งเป็นเป็นตัวแรกที่ได้วางพื้นฐานตัวนี้ ให้ประชาชน ดังนั้นขายเป็นสินทรัพย์ดิจิทัลชนิดหนึ่งวันข้างหน้าเมื่อมีเครื่องมือลงทุนสามารถเข้าไปเทรดในระบบดิจิทัลเอ็กซ์เชนได้ ซึ่งมีระบบรองรับอยู่แล้วได้ผลตอบแทนที่มั่นคงและสม่ำเสมอ”นายพิชัยกล่าว
ส่วนข้อสังเกตจากธนาคารแห่งประเทศไทย นายพิชัยกล่าวว่า กระทรวงการคลังก็รับมาพิจารณาทั้งหมด โทเคนดังกล่าวจะไม่ได้นำไปใช้ในการชำระค่าสินค้าและบริการ (Means of Payment) และจะทำในสัดส่วนที่เหมาะสม โดยครั้งแรกเป็นการลดทอง เพื่อความมั่นคง ว่ามีความปลอดภัยใช้ได้ดี ดังนั้น การลงทุนครั้งนี้ จึงอยู่ในระดับต่ำจากเดิมที่เคยออกันธบัตร อยู่ในระดับ 30,000- 40,000 ล้านบาท แต่ครั้งนี้ จะออกแค่ 5,000 ล้านบาท บวกลบ ซึ่งถือเป็นการทดลองระบบ แม้ระบบจะมีอยู่แล้วของตลาดเพราะมีการเทรดดิจิทัล แอคเซส อยู่แล้ว และย้ำข้อดีรายย่อยถือได้แลกเปลี่ยนได้มีผลตอบแทนได้ระบบควบคุมดี
ด้าน นายพชร อนันตศิลป์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ระบุว่า จะออกได้ภายในไม่เกิน 2 เดือนนี้โดยรายละเอียด และการดำเนินการทุกอย่างอยู่ภายใต้พระราชกำหนด สินทรัพย์ดิจิทัลปัจจุบันมีผู้ประกอบการในประเทศไทย 7-8 ราย ส่วนช่องทางการซื้อในแง่ประชาชนทั่วไปซื้อเหมือนพันธบัตรก็คือผ่านธนาคาร หรือบริษัทหลักทรัพย์ ซึ่งเป็นผู้ให้บริการตาม พ.ร.ก.สินทรัพย์ดิจิทัล ดังนั้นในแง่ของประชาชนเข้าถึงได้ผ่านช่องทางดังกล่าว