xs
xsm
sm
md
lg

“กระทรวงเกษตรฯ“มาถูกทาง หลังเลื่อนเปิดกรีดยาง 1 เดือน ทำให้ราคายางเพิ่มขึ้น 10 บาท แก้ปัญหาให้ชาวสวนมีรายได้เพิ่มขึ้น

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



วันนี้( 4 พ.ค.)ผู้สื่อข่าวรายงานถึงสถานการณ์ราคายางพาราหลังการยางแห่งประเทศไทย (กยท.)และคณะกรรมการเครือข่ายฯ และการยางแห่งประเทศไทย ขอความร่วมมือเครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยางเลื่อนฤดูกาลเปิดกรีดยางออกไปอีก 1 เดือน จากเดิมที่จะทำการเปิดเดือน พ.ค. 2568 โดยให้เริ่มทำการเปิดกรีดเดือน มิ.ย. 2568 ตามนโยบายของ ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหัวหน้าพรรคกล้าธรรม(กธ.)

โดยหากนำไปเปรียบเทียบกับสถานการณ์ก่อนการประกาศนโยบาย เมื่อวันที่ 8 เม.ย. 2568 จะพบว่าราคายางพาราอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ เนื่องมาจากผลกระทบจากสงครามการค้าและนโยบายขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าของประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ ซึ่งสร้างแรงกดดันต่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์ทั่วโลกรวมถึงยางพารา โดยในวันนั้น ราคากลางเปิดตลาด 1. ยางแผ่นรมควันชั้น 3 (ไม่อัดก้อน) อยู่ที่ราคา 60 บาทต่อกิโลกรัม 2. ยางแผ่นดิบคุณภาพดี (ความชื้นไม่เกิน 3%) ราคา 58 บาทต่อกิโลกรัม 3.น้ำยางสด ราคา 56 บาทต่อกิโลกรัม 4. ยางก้อนถ้วย (DRC 100%) ราคา 53 บาทต่อกิโลกรัม และ 5. ยางก้อนถ้วย (DRC 70%) ราคาปรับลงมาเหลือ 37.10 บาทต่อกิโลกรัม

แต่ผลจากนโยบายเลื่อนการเปิดกรีด เพื่อควบคุมปริมาณผลผลิตในช่วงต้นฤดูเปิดกรีด ราคายางเริ่มขยับขึ้นอย่างทันที ตัวอย่างเช่น ราคายางแผ่นดิบคุณภาพดี วันที่ 8 เม.ย.อยู่ที่ 58.00 บาท/กก.,วันที่ 30 เม.ย.อยู่ที่ 67.50 บาท/กก.และเมื่อวันที่ 2 พ.ค.อยู่ที่ 68.00 บาท/กก.เพิ่มขึ้น 10 บาทต่อกิโลกรัม (หรือประมาณ 17.2%) ภายในเวลาไม่ถึง 1 เดือน

ทั้งนี้ หากนำไปคำนวณมูลค่ารายได้ที่เพิ่มขึ้นของเกษตรกร บนพื้นที่สวนยางเฉลี่ย 10 ไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 250 กก./ไร่/ปี โดยรวมผลผลิตทั้งหมด 2,500 กก./ปี
รายได้ก่อนนโยบาย (ราคาวันที่ 8 เม.ย.)
= 2,500 กก. × 58.00 บาท = 145,000 บาท/ปี

รายได้หลังนโยบาย (ราคาวันที่ 2 พ.ค.)
= 2,500 กก. × 68.00 บาท = 170,000 บาท/ปี

สรุปแล้วปัจจุบันรายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้น 25,000 บาท/ปี หรือ +17.24%
กำลังโหลดความคิดเห็น