นักกฎหมายมหาชน ชี้ปม “พีระพันธ์” ถือหุ้น 4 บริษัท "สนธิญา สวัสดี" ยื่นร้องศาล รธน.วินิจฉัย ส่อลุกลาม ถึงนายกฯ แพทองธาร ตั้ง รมต.ขัดจริยธรรมร้ายแรง สะเทือนหลุดเก้าอี้ เขย่าอนาคต รทสช.ส่อพัง
ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม หรือ ดร.ณัฏฐ์ นักกฎหมายมหาชน เปิดเผยถึงปม นายพีระพันธ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พลังงาน มีปัญหาเรื่องคุณสมบัติความเป็นรัฐมนตรี แม้จะทำสัญญาการจัดการหุ้นส่วนหรือหุ้นของรัฐมนตรีต่อนิติบุคคลในการบริหารจัดการ แต่ยังไม่มีการโอนหุ้นและยังมีสถานะเป็นกรรมการบริษัท มีอำนาจลงนาม บริหารกิจการเอกชน มีอำนาจครอบงำ สั่งการยุ่งเกี่ยวกับบริษัทได้ เป็นกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงหรือไม่ ควรเสนอให้องค์กรตามรัฐธรรมนูญ ยื่นศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยชี้ขาด
วันที่ 26 เมษายน 2568 สืบเนื่องจากนายสนธิญา สวัสดี ได้ยื่นคำร้องต่อ ปปช.เพื่อตรวจสอบกรณีนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาครองนายกรัฐมนตรีและ รมว.กระทรวงพลังงาน ส่อขาดคุณสมบัติในการดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 187 กรณียังมีชื่อเป็นกรรมการในบริษัทเอกชน แม้จะมีการโอนหุ้นไปให้บริษัทจัดการทรัพย์สินแทนแล้วก็ตาม โดยอาจถือว่าเป็นการฝ่าฝืนเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญในการป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อนว่าด้วยผลประโยชน์ขัดกัน
ล่าสุด ดร.ณัฏฐ์ ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม นักกฎหมายมหาชน ได้ให้ความเห็นความรู้ทางด้านกฎหมายมหาชน อันเป็นประโยชน์สาธารณะ ในประเด็นดังกล่าว รัฐธรรมนูญได้บัญญัติเป็นคุณสมบัติต้องห้ามในการเป็นเจ้าของหรือถือครองหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนใดๆ ในมาตรา ๙๘(๓) และห้ามรัฐมนตรีถือครองหุ้นในห้างหุ้นส่วนและบริษัท รวมถึงห้ามเป็นลูกจ้างอีกด้วย โดยบัญญัติห้ามไว้ในมาตรา ๑๘๗
แต่รัฐธรรมนูญเปิดช่องให้รัฐมนตรีจะต้องแจ้งให้ ประธาน ปปช.ทราบภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้ง และจะต้องโอนหุ้นให้นิติบุคคลแก่นิติบุคคลไปบริหารจัดการเพื่อประโยชน์ของผู้อื่นภายใน 90 วัน และจะต้องแจ้งให้ ปปช.ทราบภายใน 10 วัน ตามพระราชบัญญัติการจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ.2543 โดยกฎหมายกำหนดหุ้นขั้นต่ำ ที่รัฐมนตรีถือไว้ได้ ไม่เกิน 5 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนหุ้นทั้งหมด
โดยแตกต่างกับกรณีเป็นเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนใด รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ได้บัญญัติห้ามผู้สมัคร สส. หรือ สว.จะต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามไว้ในมาตรา 98(3) และ พรป.สส. หรือ พรป.สว.ต้องไม่มีคุณสมบัติลักษณะต้องห้ามก่อนยื่นใบสมัคร แต่รัฐธรรมนูญบัญญัติเป็นส่วนหนึ่งของคุณสมบัติลักษณะต้องห้าม รวมถึงรัฐมนตรีในมาตรา 160(6) เช่นกัน
ประเด็นของนายพีระพันธุ์ฯ มีการโอนหุ้นให้แก่นิติบุคคลซึ่งจัดการทรัพย์สินเพื่อประโยชน์ของคนอื่นหรือไม่ จากการตรวจสอบพบว่า นายพีระพันธุ์ฯ บอจ.4 ยังถือครองหุ้นทั้ง 4 บริษัท เพราะรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้เด็ดขาดจะต้องโอน หมายความว่า กรรมสิทธิ์ในหุ้นจะต้องโอนด้วย แม้ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ได้ทำสัญญาให้บริษัทอื่นบริหารจัดการก็ตาม
แต่รัฐธรรมนูญห้ามเด็ดขาด รัฐมนตรีจะเข้าไปเกี่ยวข้องการบริหารจัดการหุ้นหรือกิจการของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทไม่ได้ โดยบัญญัติไว้ในมาตรา 187 วรรคสาม
ซึ่งจากการตรวจสอบกรมพัฒนาธุรกิจการค้า พบว่า นายพีระพันธ์ ฯ เป็นเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นของบริษัท หากตรวจสอบรายละเอียด พบว่า บริษัท รพีโสภาค จำกัด ทะเบียนนิติบุคคลเลขที่ 0105556089395 มีวัตถุประสงค์ ข้อ 17 ในการประกอบกิจการหนังสือพิมพ์ บริษัท โสภา คอลเล็คชั่นส์ จำกัด ทะเบียนนิติบุคคลเลขที่ 0105561163191 มีวัตถุประสงค์ ข้อ 17 ในการประกอบกิจการหนังสือพิมพ์ บริษัท วีพี แอโร่เทค จำกัด ทะเบียนนิติบุคคลเลขที่ 0105532097495 วัตถุประสงค์ข้อ 19 ในการประกอบกิจการโรงพิมพ์ รับพิมพ์หนังสือ พิมพ์หนังสือจำหน่าย และออกหนังสือพิมพ์ และบริษัท พี แอนด์ เอส แลนด์ แอนด์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด ทะเบียนนิติบุคคลเลขที่ 0105532097487 วัตถุประสงค์ ข้อ 18 ในการประกอบกิจการโรงพิมพ์ รับพิมพ์หนังสือ พิมพ์หนังสือจำหน่าย และออกหนังสือพิมพ์ ซี่งเป็นคุณสมบัติต้องห้ามดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีในมาตรา 160(6) ประกอบมาตรา 98(3) อธิบายความได้ว่า กรณีขาดคุณสมบัติในการสมัคร สส.บัญชีรายชื่อ พรรครวมไทยสร้างชาติ ย้อนหลังไปถึงวันที่ยื่นใบสมัครต่อ กกต.เพราะเป็นความผิดสำเร็จแล้ว แม้จะปรากฎข้อเท็จจริงว่า นายพีระพันธุ์ลาออกจาก สส. ไปแล้วก็ตาม ไม่มีผลกฎหมาย ให้ความผิดสำเร็จไปแล้วไม่เป็นความผิด เมื่อได้ความว่า เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 เป็น สส.บัญชีรายชื่อ ภายลาออกจากตำแหน่งวันที่ 30 มิถุนายน 2566 กกต.ย่อมสามารถไต่สวน ย้อนหลังเอาผิดคดีอาญาได้
หากพิจารณาถึงสถานะกรรมการบริษัททั้งขณะนี้ยังดำรงตำแหน่งอยู่และลาออกไปสมัยรัฐบาลแพทองธาร ชินวัตร นั้น หากพิจารณาข้อเท็จจริง มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้นายพีระพันธุ์ ดำรงตำแหน่ง รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.พลังงาน ประกอบด้วย 2 รัฐบาล (1) รัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เมื่อ วันที่ 1 กันยายน 2566 ประกาศราชกิจจานุเบกษา วันที่ 2 กันยายน 2566 จนถึงวันที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี พ้นจากตำแหน่ง (2) รัฐบาลนางสาวแพทองธาร ชินวัตร เมื่อ วันที่ 3 กันยายน 2567 ประกาศราชกิจจานุเบกษา วันที่ 4 กันยายน 2567
จากการตรวจสอบกรมพัฒนาธุรกิจการค้าพบว่า นายพีระพันธุ์ฯ ยังมีสถานะเป็นกรรมการบริษัท ของบริษัท รพีโสภาค จำกัด นับตั้งแต่ก่อนเป็นรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2556 จนถึงปัจจุบันที่นั่งเป็นรัฐมนตรีแล้ว โดย นายพีระพันธ์ สาลีรัฐวิภาค และนางโสภาพรรณ สาลีรัฐวิภาค ยังมีสถานะเป็นกรรมการผู้มีอำนาจคนหนึ่งคนใดมีอำนาจในการลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัทได้ อธิบายได้ความ แม้นายพีระพันธุ์ฯจะทำสัญญาให้บริษัทบุคคลภายนอกจัดการในทางนิติกรรมสัญญา แต่หุ้นยังไม่มีการโอนและยังมีอำนาจจัดการบริหารบริษัท แสดงถึงการเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับบริษัท ต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญมาตรา 187 วรรคสามและขัดต่อพระราชบัญญัติการจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ.2543 มาตรา 11 ที่บัญญัติห้าม รัฐมนตรีกระทำการใดอันมีลักษณะเป็นการบริหารครอบงำหรือออกคำสั่งเกี่ยวกับการจัดการหุ้นส่วนหรือบริษัทหรือการจัดการหาผลประโยชน์ในหุ้นส่วนหรือหุ้น ซึ่งถือว่า มีความสงสัยสถานะความเป็นรัฐมนตรีของนายพีระพันธุ์ฯ สิ้นลงตามรัฐธรรมนูญหรือไม่
หากพิจารณาถึงสถานะกรรมการบริษัททั้งขณะนี้ยังดำรงตำแหน่งอยู่และลาออกไปสมัยรัฐบาลแพทองธาร ชินวัตร นั้น หากพิจารณาข้อเท็จจริง มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้นายพีระพันธุ์ ดำรงตำแหน่ง รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.พลังงาน ประกอบด้วย 2 รัฐบาล (1) รัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เมื่อ วันที่ 1 กันยายน 2566 ประกาศราชกิจจานุเบกษา วันที่ 2 กันยายน 2566 จนถึงวันที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี พ้นจากตำแหน่ง (2) รัฐบาลนางสาวแพทองธาร ชินวัตร เมื่อ วันที่ 3 กันยายน 2567 ประกาศราชกิจจานุเบกษา วันที่ 4 กันยายน 2567
จากการตรวจสอบกรมพัฒนาธุรกิจการค้า พบว่า บริษัท โสภา คอลเล็คชั่นส์ จำกัด นายพีระพันธุ์ เป็นกรรมการ ระหว่าง วันที่ 21 กันยายน 2561 - วันที่ 29 ตุลาคม 2567 บริษัท วีพี แอโร่เทค จำกัด นายพีระพันธุ์ เป็นกรรมการ ระหว่าง วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2559 - วันที่ 29 ตุลาคม 2567 และบริษัท พี แอนด์ เอส แลนด์ แอนด์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด ถือหุ้น ลำดับที่ 1 จำนวน 46,500 หุ้น(อยู่ระหว่างตรวจสอบสถานะกรรมการ) เป็นการลาออกภายหลังดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี สมัยรัฐบาลนางสาวแพทองธาร ชินวัตร ทั้งสิ้น ส่อแสดงว่า ในสมัยรัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสิน อดีตนายกรัฐมนตรี ยังเป็นกรรมการบริษัทเอกชนทั้งสามแห่งอีกด้วย
บทบัญญัติห้ามรัฐมนตรี ขัดกันแห่งผลประโยชน์ระหว่างประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์สาธารณะ ห้ามเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานรัฐ ห้ามถือครองหุ้นในกิจการของห้างหุ้นส่วนจำกัดหรือบริษัท โดยพระราชการจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ.2543 กำหนดสัดส่วนหุ้นขั้นต่ำไว้ ไม่เกิน 5 เปอร์เซ็นต์ ทั้งห้ามเป็นเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์หรือส่วนมวลชนใดๆ บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับปราบโกง ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 160(6) ประกอบมาตรา 98(3) มาตรา 186 และมาตรา 187 พ.ร.ป.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2561 มาตรา 126 มาตรา 127 ประกาศ ปปช. เรื่อง กำหนดตำแหน่งเจ้าพนักงานของรัฐที่ต้องห้ามมิให้ดำเนินกิจการตามความในมาตรา 126 พ.ศ.2563 ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2563 ประกาศ ปปช. เรื่อง กำหนดจำนวนหุ้นในบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดที่กรรมการ ผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ และเจ้าพนักงานของรัฐที่คณะกรรมการ ปปช.กำหนดถือหุ้นได้ ตามมาตรา 126(2) พ.ศ.2563 ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2563 ประกาศ ปปช.เรื่อง กำหนดจำนวนหุ้นในบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดที่กรรมการ ผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ และเจ้าพนักงานของรัฐที่คณะกรรมการ ปปช.ประกาศกำหนด ถือหุ้นได้ ตามมาตรา 126(3) พ.ศ.2563 ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2563 และประกาศ ปปช.เรื่อง กำหนดตำแหน่งซึ่งต้องห้ามมิให้ดำเนินการตามมาตรา 127 พ.ศ.2563 ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2563 -ประกาศ ปปช.เรื่อง หลักเกณฑ์ของผู้ซึ่งอยู่กินฉันสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรส พ.ศ.2561 ลงวันที่ 21 กันยายน 2561 รวมถึงพระราชการจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ.2543 มาตรา 4 มาตรา 5 มาตรา 6 มาตรา 11 ห้ามรัฐมนตรีกระทำการใดอันมีลักษณะเป็นการบริหารครอบงำหรือออกคำสั่งเกี่ยวกับการจัดการหุ้นส่วนหรือบริษัทหรือการจัดการหาผลประโยชน์ในหุ้นส่วนหรือบริษัท
ทั้งนี้ยังพบข้อเท็จจริงที่ปราฎอันแพร่หลายของนายทะเบียน กรมพัฒนาธุกิจการค้า พบว่า นายพีระพันธุ์ รัฐมนตรี มีการถือหุ้นอยู่ในบริษัทเอกชน ปรากฏชื่อของ พล.ท.เจียรนัย วงศ์สอาด ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ในปัจจุบัน เป็นผู้มีอำนาจลงนาม หรือเป็นกรรมการบริษัท โดยในส่วนของ นายพีระพันธุ์ ถือครองหุ้นใน 4 บริษัท ตามเอกสารที่ปรากฏในบัญชีทรัพย์สินที่ ป.ป.ช.เปิดเผยข้อมูล ได้แก่ บริษัท วีพี แอโร่เทค จำกัด นายพีระพันธุ์ ถือหุ้นอยู่ 588,500 หุ้น (คิดเป็น 73.58%) บริษัทนี้ มีกรรมการ 3 คน ได้แก่ พล.ท.เจียรนัย วงศ์สอาด นายสยาม บางกุลธรรม และร้อยเอกพีระภัฏ บุญเจริญ