xs
xsm
sm
md
lg

เคาะแล้ว “7 Agenda 76 จังหวัด” ฟื้นผู้ว่าฯ ซีอีโอ กำหนดพื้นที่แก้หนี้นอกระบบ 10 จังหวัด จัดการขยะ 10 จังหวัด พัฒนาดิจิทัล 10 จังหวัด

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



เคาะแล้ว “7 Agenda 76 จังหวัด” ขับเคลื่อนฟื้น “ผู้ว่าฯ ซีอีโอ” หลังนำร่อง 5 จังหวัด จัดโมเดลขับเคลื่อนฯ เพิ่มประสิทธิภาพบริหารงานเชิงพื้นที่จังหวัดแบบบูรณาการ เผย พื้นที่วัดผล 7 ประเด็นนโยบายสำคัญ เน้นแก้หนี้นอกระบบ 10 จังหวัด สู้ PM 2.5 ใน 16 จังหวัด จัดการขยะ ใน 10 จังหวัด พัฒนาดิจิทัล 10 จังหวัด พัฒนาเศรษฐกิจชายแดน 10 จังหวัด บริหารจัดการภัยพิบัติ 10 จังหวัด สุดท้าย ส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน ใน 10 จังหวัด ชง “ปลดล็อก” เชิงนโยบาย แก้ปัญหานโยบายข้ามกระทรวง/กรม

วันนี้ (24 เม.ย.) มีรายงานจากกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยถึงความคืบหน้าต่อนโยบายรัฐบาล พรรคเพื่อไทย เพื่อฟื้น “ผู้ว่าฯ ซีอีโอ” ด้วยการกระจายอำนาจเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานเชิงพื้นที่ของผู้ว่าราชการจังหวัด

ภายหลังคณะทำงาน ในคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบราชการ (อนุฯ ก.พ.ร.) สำนักงาน ก.พ.ร. และกระทรวงมหาดไทย ได้ลงพื้นที่ เมื่อประเมินพื้นที่ “นำร่อง” 5 จังหวัด ประกอบด้วย จ.เชียงราย ขอนแก่น บุรีรัมย์ อุบลราชธานี และเพชรบุรี ระหว่างเดือน มี.ค. ที่ผ่านมา

รวมถึงได้ร่วมกันขับเคลื่อนข้อเสนอเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานเชิงพื้นที่จังหวัดฯ สนับสนุนและเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานของจังหวัด ให้เป็นไปตามหลักการแห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ พ.ศ. 2565

ล่าสุด พบว่า ในการประชุมร่วมเมื่อ คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบราชการเกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาระบบการบริหารราชการในส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น (อ.ก.พ.ร.)

ได้เห็นชอบข้อเสนอเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานเชิงพื้นที่ของจังหวัดแบบบูรณาการ ของทั้ง 76 จังหวัด ใน 7 ประเด็นนโยบายสำคัญ (Agenda) โดยให้ 76 จังหวัดดำเนินการขับเคลื่อนข้อเสนอดังกล่าว ประกอบด้วย

1) A การจัดการปัญหาหนี้นอกระบบ จำนวน 10 จังหวัด ประกอบด้วย ขอนแก่น ฉะเชิงเทรา ตรัง นครราชสีมา นครศรีธรรมราช ปทุมธานี พัทลุง ร้อยเอ็ด สระบุรี สุพรรณบุรี

เป็นการวัดผล A1 ว่าด้วยการปรับปรุงกลไกหรือเครื่องมือการไกล่เกลี่ยหนี้นอกระบบ ระดับจังหวัด เพื่อบูรณาการการทำงานในพื้นที่ และ A2 ว่าด้วยการมีเจ้าหนี้นอกระบบเข้ามาเป็นผู้ประกอบการสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์

2) B การจัดการอากาศสะอาด (PM 2.5) จำนวน 16 จังหวัด ประกอบด้วย

การวัดผล B1 ว่าด้วย การส่งเสริมให้ อปท. สนับสนุนการป้องกันและควบคุมไฟป่า ตามแนวทางตามประกาศ ก.ก.ถ. (6 จังหวัด) กำแพงเพชร นครสวรรค์แพร่ แม่ฮ่องสอน สุโขทัย อุตรดิตถ์

B2 ว่าด้วย การป้องกันและแก้ไขปัญหา PM2.5 ในพื้นที่เกษตรกรรม (10 จังหวัด) เชียงใหม่ ตาก นครสวรรค์ พะเยา พิษณุโลก แพร่ ลำปาง ลำพูน อุตรดิตถ์ พิจิตร

B3 ว่าด้วย การจัดทำโครงการสำคัญและ MOU เพื่อบูรณาการแผน/ งบประมาณในจังหวัด ตาม พ.ร.ฎ.ว่าด้วยการบริหารงานเชิง พื้นที่แบบบูรณาการ พศ. 2565 (4 จังหวัด) นครสวรรค์ น่าน เพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์

และ B4 ว่าด้วย มีการส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนและ ชุมชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหา PM2.5 (4 จังหวัด) นครสวรรค์ ลำพูน อุตรดิตถ์ อุทัยธานี

3) C การจัดการขยะมูลฝอย จำนวน 10 จังหวัด ประกอบด้วย การวัดผล C1 ว่าด้วย การกำจัดมูลฝอยข้ามเขตจังหวัด (1 จังหวัด) ราชบุรี

C2 ว่าด้วย การออกข้อบัญญัติหรือเทศบัญญัติกำหนดอัตราค่าธรรมเนียม เกี่ยวกับการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยของ อปท. ในจังหวัด (6 จังหวัด)ชัยภูมิ ประจวบคีรีขันธ์ พังงา ลพบุรี สตูล สมุทรปราการ

และ C3 ว่าด้วย การส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินขับเคลื่อนแผนบริหาร จัดการขยะของกลุ่มพื้นที่ในการจัดการมูลฝอย (Clusters) (3 จังหวัด) บุรีรัมย์ มหาสารคาม สุราษฎร์ธานี

4) D การพัฒนาดิจิทัล จำนวน 10 จังหวัด ประกอบด้วย กาฬสินธุ์ ชลบุรี ภูเก็ต ยะลา ระนอง สงขลา สุรินทร์ หนองคาย อุดรธานี อุบลราชธานี

การวัดผล D1 ว่าด้วย การมี Province Data Dashboard เพื่อใช้ในการตัดสินใจ สำหรับผู้บริหาร (อย่างน้อย 5 รายการข้อมูล)

D2 ว่าด้วย การรายงานผลการนำแพลตฟอร์ม “บอกเราถึงรัฐ” ไปใช้ ในพื้นที่ หรือการนำเครื่องมือทางดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ใน การพัฒนาศักยภาพหรือแก้ไขปัญหาสำคัญของจังหวัด

5) E การพัฒนาเศรษฐกิจชายแดน จำนวน 10 จังหวัด ประกอบด้วย กาญจนบุรี จันทบุรี ตราด นครพนม บึงกาฬ มุกดาหาร เลย ศรีสะเกษ สระแก้ว อำนาจเจริญ

การวัดผล E1 ว่าด้วย การมีกลไกบูรณาการนโยบายระดับจังหวัดเพื่อกำหนดกรอบ การทำงานแบบบูรณาการในพื้นที่ และ E2 การส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างจังหวัดกับเมืองชายแดน ของประเทศเพื่อนบ้าน

6) F การบริหารจัดการภัยพิบัติ จำนวน 10 จังหวัด ประกอบด้วย ชุมพร เชียงราย นนทบุรี นราธิวาส ปราจีนบุรี ปัตตานี พระนครศรีอยุธยา ระยอง สกลนคร สมุทรสาคร

การวัดผล F1 ว่าด้วย การจัดทำหรือทบทวนแผนเผชิญเหตุภัยพิบัติตามความเสี่ยงในพื้นที่ F2 การฝึกซ้อมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยระดับจังหวัด และ F3 การทบทวนแผน BCP ของพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง

7) G การส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน จำนวน 10 จังหวัด ประกอบด้วย กระบี่ ชัยนาท นครนายก นครปฐม เพชรบุรี ยโสธร สมุทรสงคราม สิงห์บุรี หนองบัวลำภู อ่างทอง

การวัดผล G1 ว่าด้วย การสนับสนุนแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชนในจังหวัดเพื่อรับการประเมินมาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชนของกรมการ ท่องเที่ยว หรือมีการเตรียมความพร้อมแหล่งท่องเที่ยวโดย ชุมชนเพื่อรับการประเมินมาตรฐานการท่องเที่ยวในปีถัดไป

การวัดผล G2 ว่าด้วย การจัดทำโครงการสำคัญและ MOU เพื่อบูรณาการแผน/ งบประมาณในจังหวัดตาม พ.ร.ฎ.ว่าด้วยการบริหารงาน เชิงพื้นที่แบบบูรณาการ พ.ศ. ๒๕๖๕

ขณะที่ อ.ก.พ.ร. มีความเห็นที่สำคัญ เช่น สำนักงาน ก.พ.ร. และกระทรวงมหาดไทย ควรพิจารณาประเด็น “การปลดล็อกปัญหา” อุปสรรคใน 2 ระดับ

คือ “Redesign System” การออกแบบเชิงระบบการทำงานเชิงนโยบาย เช่น กรณี การข้ามกระทรวง/กรม/ประเทศ และ “Resolve Issues” การแก้ไขปัญหาเชิงองค์ประกอบ ที่เป็นประเด็นย่อย

ขณะที่ จังหวัดควรมีการแสดงผลการดำเนินการในระดับผลลัพธ์ (Outcome) ที่จะเกิดขึ้นต่อ กลุ่มเป้าหมายหรือประชาชน เพื่อให้เห็นความสำเร็จของการดำเนินการที่เป็นรูปธรรม

ขณะเดียวกัน ในช่วง 6 เดือน (ตั้งแต่เดือนเมษายน - กันยายน 2568) กระทรวงมหาดไทยและ สำนักงาน ก.พ.ร. จะมีการหารือแนวทางปลดล็อกข้อจำกัดการดำเนินงานตามประเด็นนโยบายสำคัญ ภายหลังได้แจ้ง 7 ภารกิจ ให้กับ 76 จังหวัด

เดือน พ.ค.- ก.ค. จะขอรับทราบความก้าวหน้า ครั้งที่ 1และ 2 ก่อนลงพื้นที่ตรวจเยี่ยม 76 จังหวัด เหมือนแผนนำร่อง 5 จังหวัดแรก

“สุดท้ายในเดือน ก.ย.จะขอรับทราบสรุปรายงาน และ เสนอ อ.ก.พ.ร. ตามโครงการเพื่อขับเคลื่อนแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานเชิงพื้นที่ของผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณาการ (ผู้ว่าฯ ซีอีโอ) ต่อไป

ขณะเดียวกัน อ.ก.พ.ร. ยังได้กำหนด แนวทางการจัดทำกรอบบันทึกความร่วมมือ (MOU) ระหว่างจังหวัด กับ ส่วนราชการ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานอื่นของรัฐเพื่อขับเคลื่อนข้อเสนอเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานเชิงพื้นที่จังหวัด ด้วย.


กำลังโหลดความคิดเห็น