“ธีระชัย” เขียน จม.เปิดผนึกถึง รมว.คลังสหรัฐฯ ฝาก 4 ข้อก่อนเจรจา ต้องพิสูจน์ก่อนว่าคู่ค้าคิดภาษีไม่เป็นธรรมต่อสหรัฐฯ จริงหรือไม่ ต้องไม่ขยายวงถึงการเมือง-ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และต้องปฏิบัติให้เสมอภาคเท่าเทียมกันต่อผู้ลงทุนจากทุกชาติ
วันนี้(22 เม.ย.) นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานร่วมศูนย์นโยบายและวิชาการ เขียนจดหมายเปิดผนึกถึงนายสก๊อต เบสเซนต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง สหรัฐ (ส่งผ่านสถานฑูตสหรัฐประจำประเทศไทย) มีใจความดังนี้
ข้าพเจ้าในฐานะอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของประเทศไทย ขอเรียนให้ท่านตระหนักถึงความรับผิดชอบมหาศาลของท่านในฐานะหัวหน้าทีมเจรจาของสหรัฐเรื่องภาษีนำเข้า การทำงานของท่านจะมีผลต่อทิศทางของเศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะของประเทศกำลังพัฒนา
ข้าพเจ้าจึงจำเป็นต้องขอยก 4 ประเด็นที่ควรคำนึง ต่อไปนี้
หนึ่ง ท่านจะต้องคำนึงถึงบันทึกจากทำเนียบขาวฉบับลงวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2568 ที่ประธานาธิบดีทรัมป์ระบุถึง ‘แผนการคิดภาษีโต้ตอบเพื่อให้เป็นธรรมแก่สหรัฐ’ โดย ‘แผน’ ระบุว่าทางสหรัฐจะคำนึงถึงสิ่งที่ประเทศคู่ค้าปฏิบัติใน 5 เรื่อง
(ก) ภาษีอากรขาเข้า
(ข) ภาษีอื่นรวมไปถึงภาษีมูลค่าเพิ่ม
(ค) การกีดกันที่ไม่ใช่ภาษี
(ง) การบริหารค่าเงินที่ฝืนตลาด และ
(จ) ข้อจำกัดอื่นๆ ที่กีดกันไม่ให้สินค้าสหรัฐเข้าถึงตลาด
ดังนั้น ในการเริ่มต้นเจรจา ทีมของสหรัฐจึงมีหน้าที่พิสูจน์ก่อนว่า ข้อมูลตามที่ปรากฏในแผ่นตารางที่ประธานาธิบดีทรัมป์ยกแสดงต่อสาธารณะ ในช่องที่ระบุหัวข้อว่า “ภาษีนำเข้าที่คิดต่อสหรัฐ รวมไปถึงการบิดเบือนค่าเงินและอุปสรรคต่อการค้า” (ตัวอย่างกรณีประเทศไทยระบุตัวเลขร้อยละ 72 ทั้งที่ไทยเก็บภาษีขาเข้าเพียงประมาณร้อยละ 11) นั้น ได้คำนวนแยกตาม 5 หัวข้อที่ระบุอยู่ใน ‘แผน’ ดังกล่าว อย่างไร เท่าใด
สอง การเจรจาควรจะจำกัดวงอยู่แต่เฉพาะเรื่องการค้าแลกเปลี่ยนและภาษีอากร ไม่สมควรจะขยายไปถึงการเมืองและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศซึ่งเป็นเรื่องผลประโยชน์สูงสุดและความมั่นคงของแต่ละชาติ และย่อมไม่มีประเทศใดพึงจะนำมาปะปนใช้เป็นเครื่องมือเจรจาทางการค้า
สาม ท่านย่อมตระหนักดีอยู่แล้วว่าสหรัฐเกินดุลการค้าด้านบริการกับประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่แต่ละปีเป็นเงินมหาศาล
โดยสัดส่วนที่สำคัญเป็นเงินที่ประเทศเหล่านี้จ่ายให้แก่บริษัทยักษ์ใหญ่ในธุรกิจเกี่ยวกับอินเทอร์เนต และเนื่องจากการค้าแบบออนไลน์มีแนวโน้มจะโตขึ้นอีกมากทั้งภายในแต่ละประเทศและระหว่างประเทศ โดยเฉพาะในอนาคตเมื่อจะมีการใช้ปัญญาประดิษฐ์กันอย่างกว้างขวางมากขึ้น รายได้ทำนองนี้ของสหรัฐจึงจะขยายตัวอีกมาก
ดังนั้น ในการเจรจาจึงจำเป็นจะต้องนำประเด็นด้านการค้าบริการมาประกอบการพิจารณาควบคู่ไปกับประเด็นด้านการค้าสินค้า
สี่ ประเทศกำลังพัฒนาโดยเฉพาะสมาชิกของอาเซียนล้วนเปิดต้อนรับการลงทุนโดยตรงในโครงการอุตสาหกรรมจากต่างชาติที่หลากหลายและเสมอภาค ซึ่งผู้ลงทุนมีทั้งชาวอเมริกัน จีน ญี่ปุ่น เกาหลี ไต้หวัน ฯลฯ
ดังนั้น ผลจากการเจรจาจึงจะต้องปฏิบัติให้เสมอภาคเท่าเทียมกันแก่ผู้ส่งออกทุกรายไม่ว่าจะเป็นการลงทุนจากชาติใดตราบใดที่ขบวนการอุตสาหกรรมมีการเพิ่มมูลค่าที่เหมาะสมในแต่ละท้องถิ่น นโยบายเช่นนี้จะเอื้อประโยชน์ต่อคนอเมริกันโดยตรงเพื่อให้ยังสามารถมีสินค้าอุปโภคบริโภคในราคาที่ย่อมเยา
ข้าพเจ้าขอเรียนว่า คนทั้งโลกตั้งความหวังแก่ท่านว่า การเลือกจุดสมดุลระหว่างผลประโยชน์ของสหรัฐกับผลประโยชน์ของโลกจะดำเนินการอย่างสุขุมรอบคอบ
นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล
อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประเทศไทย
An Open Letter to The Honorable Mr. Scott Bessent US Secretary of the Treasury
(sent via the US Embassy in Thailand)
April 22, 2025
Dear Sir,
I am a former Finance Minister of Thailand and I have to stress to you your immense responsibilities.
As head of the US tariff negotiation team, you hold in your hands the future of world economy, especially the emerging markets. I therefore need to raise 4 points for your consideration.
Firstly, prior to a negotiation, reference must be made to President Trump’s memorandum dated February 13, 2025 in which he laid out in his “Plan” (the Fair and Reciprocal Plan) that his administration will examine US trading partners’:
(a) tariffs
(b) other taxes including a value-added-tax
(c) non-tariff barriers
(d) exchange rate manipulation and
(e) other unfair limitations on market access.
The US team is therefore duty bound to first substantiate as to how, in the placard held by President Trump, the figures in the column “Tariffs Charged to the U.S.A. including Currency Manipulation and Trade Barriers” (for example, Thailand was stated at 72% while the average tariff rate was only approx. 11%) were calculated in each of the five categories.
Secondly, trade negotiations must be confined only to exchanges and tariffs.
It must not be extended, whether by design or otherwise, to issues regarding international relations which for all countries are of paramount national interests and can never be offered as a tool in exchange for trade or money.
Thirdly, you are no doubt aware that each year the United States earns substantial surpluses in the trade in services with most emerging markets, much of which by the giant internet companies.
The growth of online commerce, within and between emerging markets, will continue in leaps and bounds, especially in the future when AI becomes more and more prevalent. These expanding surpluses must be taken into account.
Fourthly, emerging markets particularly ASEAN members have always welcomed diverse foreign direct investments. Among them are American investors, Chinese, Japanese, Korean, Taiwanese and many others.
The results of the negotiation must apply pari passu to all exporters in the emerging markets regardless of the shareholders as long as adequate safeguards are made to ensure sufficient values are being added. This will enable American consumers to continue to enjoy products at affordable prices in times ahead.
Sir, the whole world is watching. The need for a wise person to find the right balance between the interests of the United States and those of the world is most urgent.
Yours faithfully,
Thirachai Phuvanatnaranubala Mr.
Former Finance Minister of Thailand