เปิดงบพัฒนา ปี 69 หน่วยรับงบฯขอจัดสรรลง 18 กลุ่มฯ - 76 จังหวัด รวมกว่า 26,525 ล้าน หลัง ครม.รับทราบตัวเลข ในฐานะหน่วยรับงบประมาณ ขอตั้งมากกว่างบปี 68 ถึง 2,501 ล้าน เผย 18 กลุ่มจังหวัด ขอเพิ่มงบฯ อื้อ! เฉพาะ “ตะวันออก 1” นำโดย ชลบุรี ขอเพิ่ม 115 ล้าน ส่วน “3 จว.ชายแดนใต้” ขอรวมกัน 51.8 ล้าน เฉพาะนราธิวาส ตั้งเพิ่ม 35 ล้าน ส่วน “โคราช” ตั้งงบสูงสุด 442 ล้าน "สมุทรปราการ" ตั้งงบฯลดลงจากปีก่อน 22 ล้าน
วันนี้ (18 เม.ย.2568) มีรายงานจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ คณะรัฐมนตรี ได้รับทราบการปรับปรุงรายละเอียดงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2569 โดยมีหน่วยรับงบประมาณ 4 กระทรวง เสนอปรับปรุงรายละเอียด วงเงินรวม 836,901 ล้านบาทเศษ
พบว่า เฉพาะหน่วยรับงบประมาณ ของ 18 กลุ่มจังหวัด และ 76 จังหวัด ในงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2569 เสนอขอรับการจัดสรร วงเงินรวม 26,525,184,700 บาท มากกว่างบประมาณรายจ่าย ปี 2568 ในส่วนนี้ถึง 2,501,006,500 บาท โดยปี 2568 ได้รับจัดสรร 24,024,178,200 บาท
พบว่า หน่วยรับงบประมาณ กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน ขอรับจัดสรร 483,322,700 บาท เพิ่มขึ้่น 91,294,200 บาท กลุ่มจังหวัดภาคกลางปริมณฑล ขอรับ 489,980,800 บาท เพิ่มขึ้น 70,940,800 บาท
กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 ขอรับ 321,846,400 บาท เพิ่มขึ้น 83,501,000 บาท กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 2 ขอรับ 351,807,400 บาท เพิ่มขึ้น 79,046,300 บาท
กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ขอรับ 419,087,000 เพิ่มขึ้น 44,720,800 บาท กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝังอันดามัน ขอรับ 440,615,100 บาท เพิ่มขึ้น 89,797,100 บาท
กลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน ขอรับ 343,810,800 เพิ่มขึ้น 51,890,700 บาท กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก 1 ขอรับ 541,040,000 บาท เพิ่มขึ้น 88,882,200 บาท
กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก 2 ขอรับ 396,040,900 เพิ่มขึ้น 115,970,200 บาท กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 ขอรับ 473,994,500 บาท เพิ่มขึ้น 134,719,900 บาท
กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2 ขอรับ 384,917,100 เพิ่มขึ้น 110,966,700 บาท กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง 440,708,300 บาท เพิ่มขึ้น 124,995,400 บาท
กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 ขอรับ 378,622,000 บาท เพิ่มขึ้น 55,153,900 บาท กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 ขอรับ 412,603,200 บาท เพิ่มขึ้น 93,643,400 บาท
กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 ขอรับ 311,534,200 บาท เพิ่มขึ้น 66,565,200 บาท กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 ขอรับ 307,144,200 บาท เพิ่มขึ้น 23,709,700 บาท
กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1 ขอรับ 374,116,300 เพิ่มขึ้น 30,325,800 บาท กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 2 ขอรับ 395,579,300 เพิ่มขึ้น 118,697,200 บาท
ขณะที่ ใน 76 จังหวัด จ.ชัยนาท ขอรับจัดสรร 221,868,500 บาท เพิ่มขึ้น 9 ล้าน พระนครศรีอยุธยา 256,835,800 บาท เพิ่มขึ้น 13 ล้าน ลพบุรี 227,548,300 บาท เพิ่มขึ้น 9 ล้าน
สระบุรี 226,453,200 บาท เพิ่มขึ้นกว่า 19 ล้านบาท สิงห์บุรี 171,126,100 บาท เพิ่มขึ้น 10 ล้าน อ่างทอง 212,320,500 บาท เพิ่มขึ้น 14 ล้าน
นครปฐม 234,069,500 บาท เพิ่มขึ้น 2.5 ล้านบาท นนทบุรี 243,560,100 บาท เพิ่มขึ้น 5.5 ล้านบาท ปทุมธานี 274,484,100 บาท เพิ่มขึ้น 27 ล้านบาท สมุทรปราการ 308,308,800 บาท ลดลง 22 ล้านบาท
กาญจนบุรี 271,114,800 บาท เพิ่มขึ้น 20 ล้านบาท ราชบุรี 254,574,300 บาท เพิ่มขึ้น 15 ล้านบาท สุพรรณบุรี 276,429,600 บาท เพิ่มขึ้น 25 ล้านบาท
ประจวบคีรีขันธ์ 207,569,100 บาท เพิ่มขึ้น 17 ล้านบาท เพชรบุรี 207,708,100 บาท เพิ่มขึ้น 1.5 ล้านบาท สมุทรสงคราม 166,678,600 บาท เพิ่มขึ้น 15 ล้านบาท สมุทรสาคร 260,669,700 บาท เพิ่มขึ้น 11 ล้านบาท
ชุมพร 202,013,100 บาท เพิ่มขึ้น 3 ล้านบาท นครศรีธรรมราช 314,755,200 บาท เพิ่มขึ้น 16 ล้านบาท พัทลุง 222,817,500 บาท เพิ่มขึ้น 2 ล้านบาท
สงขลา 297,393,300 บาท เพิ่มขึ้น 2 ล้านบาท สุราษฎร์ธานี 250,180,700 บาท เพิ่มขึ้น 2 ล้านบาท
กระบี่ 210,454,300 บาท เพิ่มขึ้น 22 ล้านบาท ตรัง 239,280,800 บาท เพิ่มขึ้น 21 ล้านบาท พังงา 186,453,700 บาท เพิ่มขึ้น 35 ล้านบาท
ภูเก็ต 171,223,500 บาท เพิ่มขึ้น 2 ล้านบาท ระนอง 233,421,100 บาท เพิ่มขึ้น 19 ล้านบาท สตูล 206,105,900 บาท เพิ่มขึ้น 11 ล้านบาท
นราธิวาส 285,585,700 เพิ่มขึ้น 43 ล้านบาท ปัตตานี 306,813,100 บาท เพิ่มขึ้น 24 ล้านบาท ยะลา 271,662,700 บาท เพิ่มขึ้น 26 ล้านบาท
ฉะเชิงเทรา 267,637,000 บาท เพิ่มขึ้น 1 แสนบาทเศษ ชลบุรี 424,260,600 บาท เพิ่มขึ้น 43 ล้านบาท ระยอง 359,673,300 บาท เพิ่มชึ้น 28 ล้านบาท
จันทบุรี 204,090,200 บาท เพิ่มขึ้น 4 แสนบาท ตราด 179,522,000 บาท เพิ่มขึ้น 2 ล้านบาท นครนายก 164,535,800 บาท เพิ่มขึ้น 2 ล้านบาท
ปราจีนบุรี 217,059,700 บาท ลดลง 9 ล้านบาท สระแก้ว 249,706,300 บาท เพิ่มขึ้น 16 ล้านบาท
บึงกาฬ 189,782,200 บาท เพิ่มขึ้น 16 ล้านบาท เลย 231,529,900 บาท เพิ่มขึ้น 3 ล้านบาท หนองคาย 205,859,900 บาท เพิ่มขึ้น 16 ล้านบาท
หนองบัวลำภู 246,626,500 บาท เพิ่มขึ้น 9 ล้านบาท อุดรธานี 318,092,300 บาท เพิ่มขึ้น 25 ล้านบาท
นครพนม 265,463,600 บาท เพิ่มขึ้น 40 ล้านบาท มุกดาหาร 196,663,500 บาท เพิ่มขึ้น 5 ล้านบาท สกลนคร 272,125,500 บาท เพิ่มขึ้น 12 ล้านบาท
กาฬสินธุ์ 306,844,600 บาท เพื่มขึ้น 6 ล้านบาท ขอนแก่น 332,929,900 บาท เพิ่มขึ้น 5 ล้านบาท มหาสารคาม 223,939,600 บาท เพิ่มขึ้น 5 ล้านบาท ร้อยเอ็ด 295,927,200 บาท เพิ่มขึ้น 20 ล้านบาท
ชัยภูมิ 269,952,400 บาท เพิ่มขึ้น 19 ล้านบาท นครราชสีมา 442,450,100 บาท เพิ่มขึ้น 29 ล้านบาท บุรีรัมย์ 310,118,000 บาท ลดลง 643,800 บาท สุรินทร์ 280,120,200 บาท เพิ่มขึ้น 17 ล้านบาท
ยโสธร 213,818,800 บาท เพิ่มขึ้น 7 แสนบาทเศษ ศรีสะเกษ 331,653,400 บาท เพิ่มขึ้น 23 ล้านบาท อำนาจเจริญ 206,445,400 บาท เพิ่มขึ้น 15 ล้านบาท อุบลราชธานี 369,396,800 บาท เพิ่มขึ้น 27 ล้านบาท
เชียงใหม่ 353,375,800 บาท เพิ่มขึ้น 4 แสนบาทเศษ แม่ฮ่องสอน 300,157,200 บาท เพิ่มขึ้น 15 ล้านบาท ลำปาง 258,773,900 บาท เพิ่มขึ้น 19 ล้านบาท ลำพูน 193,993,300 บาท เพิ่มขึ้น 6 ล้านบาท
เชียงราย 315,472,800 บาท ลดลง 1 ล้านบาทเศษ น่าน 229,207,600 บาท ลดลง 1 ล้านบาทเศษ พะเยา 262,754,000 บาท เพิ่มขึ้น 35 ล้านบาท แพร่ 216,033,600 บาท เพิ่มึ้น 12 ล้านบาท
ตาก 264,412,500 บาท เพิ่มขึ้น 12 ล้านบาท พิษณุโลก 244,498,500 บาท เพิ่มขึ้น 19 ล้านบาท เพชรบูรณ์ 242,186,300 บาท เพิ่มขึ้น 9 ล้านบาท สุโขทัย 252,855,400 บาท เพิ่มขึ้น 25 ล้านบาท อุตรดิตถ์ 220,258,100 บาท เพิ่มขึ้น 4 ล้านบาท
กำแพงเพชร 233,650,800 บาท เพิ่มขึ้น 10 ล้านบาท นครสวรรค์ 269,820,500 บาท เพิ่มขึ้น 9 แสนบาทเศษ พิจิตร 205,137,400 บาท เพิ่มขึ้น 19 ล้านบาท และ อุทัยธานี 218,126,000 บาท เพิ่มขึ้น 21 ล้านบาท.