xs
xsm
sm
md
lg

คน กทม 82.5 % อยากให้ภาครัฐนำสุนัข-แมวจรจัด นำไปดูแล และคิดว่าปัญหาสุนัข-แมวจรจัดเป็นปัญหาที่ต้องเร่งแก้ไข 73.8 %

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ได้ดำเนินโครงการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาสุนัข-แมวจรจัด โดยเก็บจากกลุ่มตัวอย่างจากประชาชนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 1,179 กลุ่มตัวอย่าง เก็บข้อมูลในวันที่ 11 - 18 มีนาคม 2568 กลุ่มตัวอย่างในการสำรวจครั้งนี้ใช้เกณฑ์ตารางสำเร็จรูปของ Taro Yamane กำหนดว่า ประชากรเกิน 100,000 คนต้องการความเชื่อมั่น 95% และความผิดพลาดไม่เกิน 3% ต้องใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,111 กลุ่มตัวอย่าง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สิงห์ สิงห์ขจร ประธานคณะกรรมการศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ กล่าวว่า ผลการสำรวจในครั้งนี้เรื่อง ผลการสำรวจในครั้งนี้ต่อเรื่องปัญหาสุนัข-แมวจรจัด ตามตาม พ.ร.บ. ป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557 มีผลบังคับใช้แล้ว กรุงเทพมหานครต้องดำเนินการตามขั้นตอนโดยกำหนดให้เจ้าของต้องนำสุนัขไปจดทะเบียนทำบัตรประจำตัวอิเล็กทรอนิกส์ ที่กองสัตวแพทย์สาธารณสุข สำนักอนามัยและศูนย์บริการสาธารสุข ภายใน 120 วันนับแต่วันที่สุนัขเกิดหรือภายใน 30 วันที่นำสุนัขมาเลี้ยง หากฝ่าฝืนมีโทษปรับ 5,000 บาท และมีการกำหนดโทษสำหรับเจ้าของสัตว์หรือผู้ซึ่งไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ รัฐมนตรีประกาศกำหนด ในการดำเนินการจัดสวัสดิภาพสัตว์ให้แก่สัตว์ของตน หรือปล่อยละทิ้ง หรือกระทำการใด ๆ ให้สัตว์พ้นจากการดูแลของตนโดยไม่มีเหตุอันสมควร ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท และพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ผู้ที่นำสัตว์เลี้ยงมาปล่อยทิ้งหรือไม่รักษาความสะอาด หรือปล่อยให้ก่อความเดือดร้อนรำคาญแก่ชุมชน ผู้เป็นเจ้าของจะถูกปรับ 5,000 บาท ในช่วงที่ผ่านมามีการถกเถียงในประเด็นปัญหาสุนัข-แมวจรจัด ว่าจะมีการแก้ไขอย่างไร โดยเฉพาะประเด็นเรื่องผู้เลี้ยงจะต้องมีความรับผิดชอบต่อสัตว์เลี้ยงของตนเอง การขึ้นทะเบียนสุนัข-แมว หรือแนวทางการจำกัดสุนัข-แมว จรจัดที่ไม่มีเจ้าของทิ้ง โดยมีข้อมูลที่น่าสนใจดังต่อไปนี้

กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คิดว่าสุนัข-แมวจรจัด เป็นปัญหาสังคมที่ต้องเร่งแก้ไข ร้อยละ 73.8 และสุนัข-แมวจรจัด เป็นอันตรายต่อท่านและครอบครัว ร้อยละ 40.7
ทราบว่า ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ผู้ที่นำสัตว์เลี้ยงมาปล่อยทิ้งหรือไม่รักษาความสะอาด หรือปล่อยให้ก่อความเดือดร้อนรำคาญแก่ชุมชน ผู้เป็นเจ้าของจะถูกปรับ 5,000 บาท ร้อยละ 56
อยากให้หน่วยงานภาครัฐมีกระบวนการนำสุนัข-แมวจรจัดไปดูแลในสถานที่ที่เหมาะสม ร้อยละ 82.5 และอยากให้กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่ปลอดจากสุนัข-แมวจรจัด เพื่อความปลอดภัยของประชาชน ร้อยละ 73.6
กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นด้วยว่าหน่วยงานภาครัฐมีการขึ้นทะเบียนสุนัข-แมว โดยผู้เลี้ยงจะต้องมีความรับผิดชอบต่อสัตว์เลี้ยงของตนเอง ร้อยละ 78.8

ส่วนที่ 1 ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาสุนัข-แมวจรจัด
1.ท่านคิดว่าสุนัข-แมวจรจัดเป็นปัญหาสังคมที่ต้องเร่งแก้ไข ใช่หรือไม่
ใช่ร้อยละ73.8
ไม่ใช่ร้อยละ14.8
ไม่แน่ใจร้อยละ11.4
2.ท่านคิดว่าสุนัข-แมวจรจัด เป็นอันตรายต่อท่านและครอบครัว หรือไม่
เป็นอันตรายร้อยละ40.7
ไม่เป็นอันตรายร้อยละ40.4
ไม่แน่ใจร้อยละ18.9
3.ท่านทราบหรือไม่ว่า ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ผู้ที่นำสัตว์เลี้ยงมาปล่อยทิ้งหรือไม่รักษาความสะอาด หรือปล่อยให้ก่อความเดือดร้อนรำคาญแก่ชุมชน ผู้เป็นเจ้าของจะถูกปรับ 5,000 บาทหรือไม่
ทราบร้อยละ56
ไม่ทราบร้อยละ32.3
ไม่แน่ใจร้อยละ11.7
4.ท่านอยากให้หน่วยงานภาครัฐมีกระบวนการนำสุนัข-แมวจรจัดไปดูแลในสถานที่ที่เหมาะสมหรือไม่
อยากร้อยละ82.5
ไม่อยากร้อยละ9.9
ไม่แน่ใจร้อยละ7.6
5.ท่านอยากให้กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่ปลอดจากสุนัข-แมวจรจัด เพื่อความปลอดภัยของประชาชน หรือไม่
อยากร้อยละ73.6
ไม่อยากร้อยละ11.6
ไม่แน่ใจร้อยละ14.8
6.ท่านเห็นด้วยหรือไม่หากหน่วยงานภาครัฐมีการขึ้นทะเบียนสุนัข-แมว โดยผู้เลี้ยงจะต้องมีความรับผิดชอบต่อสัตว์เลี้ยงของตนเอง
เห็นด้วยร้อยละ78.8
ไม่เห็นด้วยร้อยละ11
ไม่แน่ใจร้อยละ10.2


กำลังโหลดความคิดเห็น