เวียนมติครม. "ปรับปรุง" หลักเกณฑ์ก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ ที่ใช้ระยะยาวมากว่า 15 ปี หลัง สงป. พบ 102 หน่วยรับงบประมาณ ไม่สามารถปฏิบัติตามตามหลักเกณฑ์ฯ บางข้อได้ จี้ขอยกเว้นตลอดมาสะท้อนหลักเกณฑ์ฯเดิม ไม่สอดรับสถานการณ์ปัจจุบัน เหตุกฎหมายการคลังสองฉบับ กําหนดสัดส่วนการตั้งงบลงทุน/ก่อหนี้ผูกพันข้ามปีตั้งแต่หนึ่งพันล้านบาทไว้แล้ว ด้าน"สภาพัฒน์" เห็นด้วยกําหนดสัดส่วนก่อหนี้ผูกพัน ไม่เกิน ร้อยละ 10 ของรายจ่ายประจําปี ช่วยลดภาระงบลงทุนรายการใหม่
วันนี้ (14 มี.ค. 2568) มีรายงานจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี( สลค.) เวียนหนังสือ มติ ครม.ถึงหน่วยงานราชการ 65 แห่ง แจ้งปรับปรุงมติครม. 10 ก.พ.2552 ที่ถือปฏิบัติมาเป็นระยะเวลานานกว่า 15 ปี
ตามที่สํานักงบประมาณ (สงป.) เสนอเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การก่อหนี้ผูกพัน ข้ามปีงบประมาณ และมาตรการอื่น ที่เกี่ยวข้อง
สงป. พบว่า หน่วยรับงบประมาณหลายแห่งไม่สามารถปฏิบัติตามตามหลักเกณฑ์ฯ บางข้อได้ ทําให้ ต้องขอยกเว้นการปฏิบัติตามมติครม.ดังกล่าวตลอดมา ซึ่งเป็นการสะท้อนให้เห็นว่าหลักเกณฑ์ฯ อาจไม่สอดรับกับสถานการณ์ปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป
ประกอบกับกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณได้มีการ แก้ไขใหม่ทั้งฉบับ พร้อมกับมีการตรากฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลังของรัฐขึ้นใช้บังคับ
ซึ่งกฎหมายทั้งสองฉบับ ได้กําหนดสัดส่วนการตั้งงบประมาณรายจ่ายลงทุนและการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณไว้แล้ว และกรณี รายการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณที่มีวงเงินตั้งแต่หนึ่งพันล้านบาทขึ้นไปให้เสนอ ครม.พิจารณา อนุมัติก่อนยื่นคําขอตั้งงบประมาณรายจ่าย
ขณะที่ สํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สภาพัฒน์ ให้ความเห็นว่า เนื่องจากหน่วยรับงบประมาณมีการขอผูกพันงบประมาณรายจ่ายข้ามปีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
จากการอนุมัติงบประมาณผูกพันข้ามปีสําหรับการดําเนินการตามนโยบาย รัฐบาล โดยเฉพาะโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ
ทําให้มีงบประมาณสําหรับค่าใช้จ่ายรายการใหม่ ๆ โดยเฉพาะ รายจ่ายเพื่อการลงทุนรายการใหม่ที่จําเป็นต้องดําเนินการในอนาคตเหลืออยู่อย่างจํากัด
ดังนั้น การปรับปรุง หลักเกณฑ์การผูกพันงบประมาณรายจ่ายลงทุนใหม่ในแต่ละปีงบประมาณ รวมกับภาระผูกพันเฉพาะรายจ่าย ลงทุนที่กําหนดไว้ก่อนแล้วทุกกรณี จะต้องมียอดภาระงบประมาณที่จะผูกพันในปีงบประมาณต่อไป
"เปรียบเทียบกับรายจ่ายลงทุนที่หน่วยรับงบประมาณได้รับในปีงบประมาณนั้นให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม สอดคล้องกับฐานะทางการคลังของประเทศในแต่ละช่วงเวลา"
กฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ และกฎหมายวินัย การเงินการคลังของรัฐ ซึ่งกําหนดสัดส่วนการก่อหนี้ผูกพันงบประมาณรายจ่ายข้ามปีงบประมาณไว้ไม่เกิน ร้อยละ 10 ของงบประมาณรายจ่ายประจําปี
จะช่วยลดภาระงบประมาณในปีงบประมาณต่อ ๆ ไป และทําให้ มีงบประมาณไว้สําหรับรองรับรายจ่ายลงทุนรายการใหม่ ๆ ที่จําเป็นต่อการพัฒนาประเทศในระยะถัดไป
ทั้งนี้ มติครม.ที่ สงป.เสนอ 1) ให้ยกเลิกข้อ 1.3 (กําหนดสัดส่วนภาระผูกพันรายจ่ายลงทุนของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ ในปีต่อ ๆ ไป เมื่อเปรียบเทียบกับรายจ่ายลงทุนในปีปัจจุบันจะต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 60 40 20 และ 10 ในปีแรก ปีที่สอง ปีที่สาม และปีที่สี่ ตามลําดับ เฉพาะรายการผูกพันข้ามปีงบประมาณที่มีระยะเวลาเกินกว่า 3 ปี)
ให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “1.3 การผูกพันงบประมาณรายจ่ายลงทุนใหม่ในแต่ละปีงบประมาณ เมื่อรวมกับภาระผูกพันเฉพาะรายจ่ายลงทุนที่กําหนดไว้ก่อนแล้วทุกกรณี จะต้องมียอดภาระงบประมาณที่จะผูกพันในปีงบประมาณต่อไป เปรียบเทียบกับรายจ่ายลงทุนที่หน่วยรับงบประมาณได้รับในปีงบประมาณนั้น
ให้เป็นไปตามที่ สงป.กําหนด โดยสอดคล้องกับ กฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ กฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลังของรัฐ และฐานะทางการคลัง ของประเทศ”
2) ยกเลิกข้อ 1.5 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “กรณีหน่วยรับงบประมาณได้รับผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราทําให้หน่วยรับงบประมาณที่ได้รับอนุมัติการก่อหนี้ผูกพันงบประมาณรายการต่าง ๆ
ในวงเงินที่คิดเทียบจากสกุลเงินตราต่างประเทศเพิ่มขึ้น ณ วันที่ลงนามในสัญญา ซึ่งจะมีผลทําให้วงเงินรวมเกินกว่าที่ได้รับอนุมัติไว้เดิม หากค่าดําเนินการที่เป็นเงินตราสกุลต่างประเทศและ ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ไม่เปลี่ยนแปลงไปจากที่หน่วยรับงบประมาณเสนอ ก็ให้หน่วยรับงบประมาณลงนามในสัญญาได้ โดยไม่ต้องเสนอ ครม.พิจารณา”
3) ยกเลิกข้อ 1.6 "รายจ่ายลงทุนที่จะขออนุมัติผูกพันข้ามปีงบประมาณทุกรายการต้องได้รับการจัดสรรงบประมาณแผ่นดินในปีแรก เป็นจํานวนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 20 ของวงเงินรายจ่ายส่วนที่เป็นเงินงบประมาณ ทั้งสิ้นของรายจ่ายลงทุนนั้น ๆ
โดยไม่รวมวงเงินเผื่อเหลือเผื่อขาด) จํานวน 102 หน่วยรับงบประมาณ สามารถ ดําเนินการก่อหนี้ผูกพันต่อไปได้"
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “1.6 รายจ่ายลงทุนที่จะขออนุมัติผูกพันข้ามปีมาทุกรายการ ต้องได้รับจัดสรรงบประมาณแผ่นดินในปีแรก เป็นจํานวนเงินไม่ต่ำกว่าร้อยละ 15 ของวงเงินรายจ่ายส่วนที่เป็นเงินงบประมาณทั้งสิ้นของรายจ่ายลงทุนนั้น ๆ
โดยไม่รวมวงเงินเผื่อเหลือเผื่อขาด และควรกําหนดระยะเวลาผูกพันให้สอดคล้องกับระยะเวลาที่ใช้ในการดําเนินการ โดยคํานึงถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการวางแผนการปฏิบัติงานที่เหมาะสม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดําเนินงาน
ทั้งนี้ ไม่นับรวม ถึงรายจ่ายที่เป็นลักษณะต้องจ่ายเป็นประจําในแต่ละเดือนหรือในรอบระยะเวลาในจํานวนเงินที่เท่ากัน เช่น ค่าเช่ารถยนต์ เป็นต้น”
4) ยกเลิกข้อ 1.7 5) แก้ไขคําว่า “ส่วนราชการ” ใน ข้อ 2.1 ข้อ 2.2 ข้อ 2.3 และข้อ 2.4 เป็น คําว่า “หน่วยรับงบประมาณ" (102 หน่วยรับงบประมาณ) 6) หลักเกณฑ์การก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณและมาตรการในการป้องกันและแก้ไข ปัญหาการเปลี่ยนแปลงรายการและเงินงบประมาณ นอกจากนี้ให้คงเดิม.