“กมธ.พัฒนาเศรษฐกิจฯ“ เผย ปล่อยเช่าคอนโด Airbnb ศก.ไทยเสียหายนับ 10,000 ล้านบาทต่อปี ”ปชน.“ จ่อเสนอแก้ พ.ร.บ.การโรงแรม-อาคารชุด เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น แนะ ไทยควรมี พ.ร.บ. ควบคุมนายหน้า
วันที่ (13 มี.ค.) เมื่อเวลา 14.00 น. ที่รัฐสภา นายสิทธิพล วิบูลย์ธนากุล สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การพัฒนาเศรษฐกิจ สภาผู้แทนราษฎร พร้อมด้วยนายศุภณัฐ มีนชัยนันท์ สส.กทม. พรรคประชาชน ในฐานะกมธ. แถลงหลังประชุมเรื่องการพิจารณาการควบคุมปล่อยเช่าคอนโดมิเนียมผ่านแอร์บีเอ็นบี และการถือกรรมสิทธิ์โดยชาวต่างชาติ โดยเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าให้ข้อมูล
โดยนายสิทธิพล กล่าวว่า ตนขอสื่อสารไปยังรัฐบาลว่าการปล่อยเช่าคอนโดมิเนียมโดยใช้แพลตฟอร์มต่างๆส่งผลกระทบอย่างกว้างขวาง มีประชาชนจากทั่วประเทศร้องเรียน นอกจากจะกระทบต่อผู้พักอาศัยในโครงการ ในเรื่องความไม่ปลอดภัย ซึ่งคาดว่าทั่วประเทศมีไม่ต่ำกว่า 10,000 ห้อง และยังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ มูลค่า 30 ล้านบาทต่อ หรือต่อปีกว่า 10,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นรายได้ที่หายไปในระบบเศรษฐกิจไทย และเราเห็นว่าสหกรณ์ที่เกิดขึ้นผิดกฎหมายหลายฉบับ ทั้งพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ควบคุมอาคารชุด หรือพ.ร.บ. โรงแรม มีข้อเสนอหลายอย่าง โดยเรียนว่าเราจำเป็นต้องแก้ไขปัญหานี้ตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ เช่น การ แก้ไขปัญหานอมมินี่ซื้อห้องชุด การแก้ไข พ.ร.บ. ควบคุมอาคารชุดชุด หรือ พ.ร.บ. โรงแรม และในระยะเร่งด่วนรัฐบาลจำเป็นต้องประสานแพลตฟอร์มต่างๆ แอร์บีเอ็นบี เพื่อประสานข้อมูลการปล่อยเช่าจุดใด และนำใบเสร็จมาประกอบเป็นหลักฐานความผิด และประชาสัมพันธ์ให้บุคคลต่างชาติว่าการประกอบธุรกิจลักษณะดังกล่าวผิดกฎหมายของไทย
ด้านนายศุภณัฐ กล่าวว่า ผู้ที่กระทำผิดมี 2 กลุ่ม ทั้งคนไทยและชาวต่างชาติ ซึ่งวิธีการเช่า 1. ทำในนามส่วนตัว และ 2. ทำผ่านเอเจนซี่ โดยชี้ว่าจากผลกระทบของผู้ที่พักอาศัยในคอนโดเมื่อมีการแจ้งความดำเนินคดี เป็นไปด้วยความล่าช้า และการตรวจสอบเอาผิดยากเนื่องจากว่าไม่มีหลักฐานใบเสร็จในการเช่า ส่วนกรณีที่เจ้าของเป็นชาวต่างชาติ ที่กำหนดห้ามชาวต่างชาติถือหุ้นเกินร้อยละ 49 แต่ขณะที่ภายหลังมีการโอนหุ้นกัน ปัญหาปัญหาที่เกิดขึ้นกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ไม่ได้แบ่งปันข้อมูลกับกรมที่ดินทำให้ไม่ทราบว่ามีการเปลี่ยนผู้ถือหุ้นแล้ว กลายเป็นว่าสัดส่วนการถือครองคอนโดของชาวต่างชาติมากกว่าร้อยละ 49 เมื่อโหวตนิติบุคคลกลายเป็นว่าชาวต่างชาติสามารถโหวตและยึดนิติบุคคลไป จึงนำเสนอว่าให้มีการแชร์ข้อมูล
นายศุภณัฐ กล่าวอีกว่า ส่วนการถือครองสลับไปมาจนอำนาจการตัดสินใจเป็นของชาวต่างชาติ ซึ่งเป็นปัญหาของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าในการตรวจสอบว่าใครคือผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจ
นอกจากนี้ยังมีการแก้ไขพ.ร.บ.อาคารชุด ที่กำหนดให้นิติบุคคลเป็นสัญชาติไทย เพื่อความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น แม้มีการใช้เอเจนซี่ดำเนินการแต่กฎหมายในหลายประเทศมีการกำหนดเกี่ยวกับควบคุมในหน้า แต่ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายดังกล่าว ดังนั้นจึงเห็นว่าควรที่จะมีพระราชบัญญัตินายหน้าเกิดขึ้น ซึ่งเป็นข้อเรียกร้องจากกลุ่มผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์แต่ยังไม่เกิดขึ้นจริงในประเทศไทย รวมถึงเรื่องฟรีวีซ่าที่อยู่สำนักในไทยได้ 60 วัน ที่สามารถเลือกไม่พักอาศัยในโรงแรม แต่เลือกพักอาศัยในห้องเช่าได้ แม้จะทำสัญญา 30 วัน แต่ในทางปฏิบัติเข้าพักวันเดียวก็สามารถออกได้เลย เมื่อเห็นว่าหักปรับเปลี่ยนเป็นฟรีวีซ่า 28 วัน ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
นายศุภณัฐ กล่าวว่า หลังจากนี้กมธ.การเศรษฐกิจ จะติดตามในประเด็นดังกล่าวอย่างใกล้ชิดต่อไป ขณะเดียวกันพรรคประชาชนกำลังเสนอยื่นแก้ไขกฎหมาย เช่น พ.ร.บ.การโรงแรม พ.ร.บ.อาคารชุด เพื่อให้ท่วงทันกับยุคสมัยและท่วงทันกับการแก้ไขปัญหา