xs
xsm
sm
md
lg

ศาลปค.แจงคดีเขากระโดงเหลือประเด็นเดียวในศาลสูง คือเรียกค่าเสียหาย ตามที่การรถไฟอุทธรณ์

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



รองปธ.ศาลปกครอง เผย คดีเขากระโดงเหลือประเด็นเดียวในศาลสูงคือคดีเรียกค่าเสียหาย ตามที่การรถไฟอุทธรณ์ หลังศาลชั้นต้น สั่งตั้ง กก.สอบสวนหาเเนวเขตเเล้ว

วันนี้ (5 มี.ค.) นายประวิตร บุญเทียม รองประธานศาลปกครองสูงสุด ปธ.กก.ประชาสัมพันธ์ ตอบคำถามสื่อมวลชนถึง ความคืบหน้าในคดีที่ดินเขากระโดง ว่าคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลปกครองสูงสุด เป็นคดีที่การรถไฟแห่งประเทศไทยฟ้องกรมที่ดินและอธิบดีกรมที่ดิน โดยอ้างคดีที่กรมที่ดินฟ้องว่า ศาลฎีกาและศาลอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยหลายคดี ให้เพิกถอนเอกสิทธิ์ของประชาชนหลายแปลง โดยศาลฎีกาและศาลอุทธรณ์ให้เหตุผลว่าเป็นที่ดิน ที่อยู่ในเขต พระราชกฤษฎีกาเวนคืนเพื่อสร้างทางรถไฟสายนครราชสีมา บนบริเวณทางแยกเขากระโดง ในขณะเมื่อปี 2462 ทางกรมรถไฟก็ได้ใช้ประโยชน์ตามแนวพระราชกฤษฎีกานั้น ในการทำทางรถไฟเป็นแหล่งลำเลียง
ศาลฎีกาก็มีคำวินิจฉัยว่าในการทำประโยชน์เหล่านั้น กรรมสิทธิ์ตกเป็นของกรมรถไฟ ตามพรบ. จัดวางการรถไฟแลทางหลวง พ.ศ.2464 ผลก็คือเป็นการหวงห้ามไม่ให้ประชาชนเข้าไปยึดถือคดีที่ไปฟ้องศาลยุติธรรมก็ถูกวินิจฉัยให้เพิกถอน

และเมื่อมีแนวคำวินิจฉัยของศาลยุติธรรมเช่นนี้ การรถไฟก็เลยไปร้องต่อกรมที่ดินขอให้ใช้อำนาจตามมาตรา 61 ตรวจสอบและเพิกถอนเอกสารสิทธิ์ต่างๆ แต่กรมที่ดินไม่ทำ การรถไฟก็เลยมาฟ้องเป็นคดีปกครองตามมาตรา 61 คือให้ตั้งกรรมการตรวจสอบ และเรียกค่าเสียหาย ศาลปกครองชั้นต้นวินิจฉัยว่าแม้ในคำพิพากษาศาลฎีกาและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่ได้วินิจฉัย
มาถึงที่ดินแปลงอื่นๆนอกจากที่ปรากฏในคำพิพากษาของศาลฎีกาและศาลอุทธรณ์ และกรมที่ดินอ้างว่าไม่ได้ผูกพัน แต่ศาลปกครองชั้นต้นวินิจฉัยว่าสามารถใช้คำพิพากษากับบุคคลภายนอกได้เว้นแต่จะอ้างสิทธิ์

กรมที่ดินจึงมีหน้าที่ตั้งกรรมการสอบสวน ข้ออ้างที่ว่ากรมที่ดินบอกให้การรถไฟไปเอาหนังสือแสดงสิทธิ์มาก่อน จึงจะดำเนินการนั้นรับฟังไม่ได้ ศาลปกครองชั้นต้นจึงพิพากษาว่า กรมที่ดินและอธิบดีกรมที่ดินมีอำนาจอำนาจหน้าที่ตามมาตรา 61 คือตั้งกรรมการสอบสวนให้แล้วเสร็จภายใน 15 วัน นับแต่คำพิพากษาถึงที่สุด โดยมีข้อสังเกตให้การรถไฟร่วมกับคณะกรรมการสอบสวนตามมาตรา 61 ช่วยกันหาแนวเขตให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลฎีกาและศาลอุทธรณ์ "

"เรื่องนี้กรมที่ดินไม่ได้อุทธรณ์ เนื่องจากศาลชั้นต้นให้ดำเนินการแต่ที่ยกฟ้องคือเรื่องค่าเสียหาย ฝ่ายอุทธรณ์คือการรถไฟที่อุทธรณ์ขอให้ชดใช้ค่าเสียหายด้วย ซึ่งคดีนี้ก็ค้างอยู่ในศาลปกครองสูงสุด ในประเด็นที่ว่าการรถไฟสมควรที่จะได้ค่าเสียหายหรือไม่ ส่วนเรื่องตั้งกรรมการสอบสวนตามมาตรา 61 นั้นยุติไปเรียบร้อยแล้ว"


กำลังโหลดความคิดเห็น