xs
xsm
sm
md
lg

เวที ‘Smart No Smoking’ จุดพลังเยาวชน ร่วมสร้างสังคมปลอดบุหรี่ “เท่ได้ไม่ต้องสูบ”

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



เวทีสาธารณะ ‘Smart No Smoking’ จุดพลังเยาวชน ร่วมสร้างสังคมปลอดบุหรี่เครือข่ายนักสื่อสารรุ่นใหม่ ผนึกกำลังทุกภาคส่วน สร้างสังคมปลอดภัยให้เด็กและเยาวชน “เท่ได้ไม่ต้องสูบ”พร้อม ส่งเสริมแนวคิด “รักตัวเอง ไม่สูบ ลดเสี่ยง”

เมื่อวันที่ 13 ก.พ.2568 ที่ผ่านมา เครือข่ายนักสื่อสารรุ่นใหม่ ภายใต้การสนับสนุนของ กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ คณะกรรมาธิการการสาธารณสุข สภาผู้แทนราษฎร และมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ จัดงานเวทีสาธารณะ “คนรุ่นใหม่เท่ได้ไม่ต้องสูบ Smart No Smoking” เพื่อส่งเสริมแนวคิด “รักตัวเอง ไม่สูบ ลดเสี่ยง” และร่วมกันสร้างสังคมที่ปลอดภัยจากภัยบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าได้รับความสนใจจากเยาวชน นักเรียน และครูจากพื้นที่กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และปทุมธานี กว่า200คน ที่มารวมพลังกันเพื่อประกาศเจตนารมณ์ปกป้องตัวเองและคนที่รักจากพิษภัยของบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า

น.พ.ทศพร เสรีรักษ์ ประธานคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข กล่าวว่าตนรู้สึกดีใจที่ได้เห็นกิจกรรมรณรงค์ในวันนี้ ซึ่งสะท้อนถึงพลังของเยาวชนที่มีความมุ่งมั่นในการสร้างสังคมปลอดบุหรี่ และในอนาคตจะมีการประสานงานกับนักเรียนเพื่อขยายผลโครงการ "คนรุ่นใหม่ เท่ได้ ไม่ต้องสูบ" ไปสู่โรงเรียนต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมความตระหนักรู้เกี่ยวกับพิษภัยของบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า ซึ่งที่ผ่านมาได้รับความร่วมมือจากเยาวชนจิตอาสาหลายคนที่ช่วยกันผลิตคลิปวิดีโอให้ความรู้แก่สังคม นับเป็นตัวอย่างที่ดีของการใช้สื่อสร้างสรรค์เพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและสร้างสุขภาวะที่ดีให้กับคนรุ่นใหม่

น.พ.ทศพรยังกล่าวถึงกรณีสถานการณ์บุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าในปัจจุบันที่กำลังเป็นปัญหาโดยเฉพาะการเข้าถึงที่เด็กและเยาวชนสามารถเข้าถึงได้ง่ายเกินไป อีกทั้งยังมีเด็กและเยาวชนกลายเป็นผู้จำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้าเสียเอง ดังเช่นกรณีที่รังสิตที่กำลังเป็นข่าว แสดงให้เห็นว่าเรื่องนี้เป็นปัญหาใหญ่ที่หลายหน่วยงานต้องเร่งแก้ไข อีกทั้งเรื่องสถานที่ในการสูบบุหรี่ เช่น สนามบินสุวรรณภูมิที่กำลังขออนุญาตจัดห้องสูบบุหรี่เพื่อลดผลกระทบของควันบุหรี่มือสอง หรือรัฐสภาเองก็ไม่สามารถจัดห้องสูบบุหรี่ได้เพราะขัดกับกฎหมาย ดังนั้นสิ่งที่สามารถทำได้คือการรณรงค์ให้สังคมตระหนักถึงโทษและพิษภัยของผลิตภัณฑ์ยาสูบ เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับสังคมและลดจำนวนนักสูบหน้าใหม่ต่อไป

น.ส.ยศวดี ดิสสระ ผู้อำนวยการเครือข่ายนักสื่อสารรุ่นใหม่ กล่าวว่า เด็กและเยาวชนไทยกำลังตกเป็นเป้าหมายของอุตสาหกรรมบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า ซึ่งใช้กลยุทธ์การตลาดที่แยบยล เจาะกลุ่มวัยรุ่นด้วยผลิตภัณฑ์สีสันสดใส ทั้งกลิ่นและรสชาติที่ดึงดูดใจ ทำให้จำนวนผู้สูบหน้าใหม่เพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ ขณะที่ความเข้าใจผิดว่าสูบบุหรี่ไฟฟ้าปลอดภัยยังคงแพร่กระจาย แม้หลักฐานทางวิทยาศาสตร์จะชี้ชัดถึงอันตรายร้ายแรงของสารพิษในบุหรี่ไฟฟ้า เครือข่ายนักสื่อสารรุ่นใหม่ ซึ่งเป็นเครือข่ายเยาวชนจึงร่วมกับคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข เดินหน้าสร้างค่านิยม “เท่ได้ไม่ต้องสูบ” และผลักดันให้ทุกภาคส่วน โดยเฉพาะฝ่ายนิติบัญญัติ เร่งออกมาตรการคุ้มครองเด็กและเยาวชนจากอุตสาหกรรมยาสูบ พร้อมเรียกร้องให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายตระหนักถึงปัญหาและดำเนินการอย่างจริงจัง เพื่ิอสุขภาพที่ดีของเด็กและเยาวชนซึ่งจะเป็นกำลังหลักของประเทศชาติต่อไป


นายจตุพล จันทร์มล แกนนำเครือข่ายนักสื่อสารรุ่นใหม่ จังหวัดสงขลา กล่าวว่า การมาจัดงานในครั้งนี้เป็นการร่วมแลกเปลี่ยนและประกาศจับมือร่วมกันกับภาคีเครือข่ายที่มาร่วมการจัดงานในครั้งนี้ และ ได้มีการเล่าถึงการขับเคลื่อนงานเมื่อปีที่ผ่านมา ว่าเครือข่ายนักสื่อสารรุ่นใหม่ได้ลงพื้นที่ดำเนินการสานพลังแก่เยาวชนในการร่วมกำหนดอนาคตของตัวเองภายใต้สโลแกน “เท่ได้ไม่ต้องสูบ” โดยการสร้างพื้นที่ปลอดภัยและพื้นที่สร้างสรรค์ให้กับเยาวชน และ ได้ประกาศว่านี่คือจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืนและเรายังคงเดินหน้าต่อไปในการขยายพื้นที่เพื่อพัฒนานักศึกษารุ่นใหม่และทำให้เสียงของเยาวชนทุกพื้นที่ดังกว่าที่เคย โดยในปีนี้เราจะมีขยายพื้นที่ไปยังอีกสี่จังหวัดได้แก่จังหวัดพัทลุงจังหวัดนนทบุรี จังหวัดขอนแก่นและจังหวัดร้อยเอ็ด และยังได้กล่าวทิ้งท้ายไว้ว่า “เพราะอนาคตของเราควรเป็นเราที่จะเลือกว่ามันจะเป็นแบบไหน”
เวทีสาธารณะครั้งนี้ ไม่เพียงเป็นพื้นที่สำหรับการแลกเปลี่ยนความรู้เท่านั้น แต่ยังเป็นจุดเริ่มต้นของขบวนการขับเคลื่อนสังคมปลอดบุหรี่ โดยมีเยาวชนเป็นหัวใจสำคัญ การร่วมมือของทุกภาคส่วนเป็นก้าวสำคัญสู่อนาคตที่ปลอดภัย ปราศจากควันบุหรี่ เพื่อสุขภาพที่ดีของเด็กและเยาวชนไทยอย่างแ


ศ.เกียรติคุณ นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ ประธานมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ กล่าวถึง Harm Reduction บุหรี่ไฟฟ้าแบบไหนก็อันตรายทั้งนั้น โดยเตือนว่าวัยรุ่นเสี่ยงติดบุหรี่ไฟฟ้ารุนแรงกว่าบุหรี่มวน หนุนไทยคงมาตรการห้ามต่อไป เนื่องจากวัยรุ่นมีแนวโน้มติดบุหรี่ไฟฟ้ารุนแรงกว่าบุหรี่มวน และยังมี
ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับอันตรายของบุหรี่ไฟฟ้า ทั้งเรื่องการเสพติดและสารเคมีอันตรายที่ส่งผลกระทบต่อปอด หัวใจ และเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคมะเร็ง พร้อมสนับสนุนให้ไทยคงมาตรการห้ามบุหรี่ไฟฟ้าต่อไป ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) เพื่อปกป้องสุขภาพของประชาชน โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนจากอันตรายของนิโคตินและสารพิษในบุหรี่ไฟฟ้า

ศ.เกียรติคุณ พญ.สุวรรณา เรืองกาญจนเศรษฐ์ จากศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ(ศจย.) กล่าวถึง โทษและพิษภัยของบุหรี่ไฟฟ้าในเด็กและเยาวชน• ผศ.ดร.ศรัณญา เบญจกุล คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวถึง สถานการณ์บุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าในเด็กและเยาวชน โดยเผยผลสำรวจ GYTS ปี 2558 และ 2565 พบว่าเยาวชนไทยอายุ 13-15
ปี ตกเป็นเหยื่อบุหรี่ไฟฟ้าและบุหรี่มวนเพิ่มขึ้น โดย 6 ใน 10 คน เคยเห็นโฆษณาบุหรี่ผ่านโซเชียลมีเดียอัตราการซื้อบุหรี่เป็นมวนเพิ่มจาก 19.6% เป็น 37.4% และการได้รับบุหรี่ตัวอย่างฟรีเพิ่มจาก 7.3% เป็น 11.1% ขณะที่ความเชื่อว่าควันบุหรี่เป็นอันตรายลดลงจาก 77.6% เหลือ 66.9% และความต้องการเลิก สูบลดลงจาก 72.2% เหลือ 59.0% ข้อมูลเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่ามาตรการควบคุมยาสูบยังต้องได้รับการปรับปรุงและบังคับใช้อย่างเข้มงวดขึ้น โดยเฉพาะการควบคุมโฆษณาและการเข้าถึงบุหรี่ไฟฟ้าในกลุ่มเยาวชน




กำลังโหลดความคิดเห็น